สมุนไพร ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพร กำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค และในความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสม ปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่ง มิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ รวมถึงความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2554 ได้ระบุว่า สมุนไพร หมายถึง ผลิตผลธรรมชาติ ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กำมะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น แต่ในทางการค้า สมุนไพร มักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึง สมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น
สมุนไพร เป็นพืชพรรณที่มีประโยชน์หลากหลาย และมีคุณค่าหลายด้าน ทั้งการบำบัดโรค การดูแลร่างกาย และการรักษาสุขภาพ และ สมุนไพร ยังเป็นยานำมารักษาความเจ็บป่วย รวมถึงการใช้ในการช่วยดูแลสุขภาพด้วย โดยศาสตร์ของแพทย์พื้นบ้าน หรือแพทย์ทางเลือกได้นำพืชสมุนไพรทั้งหลายมาใช้ในกระบวนการดูแลสุขภาพและบำรุงสุขภาพของคนไทย เพราะในปัจจุบันคนเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ ใกล้ตัวมากมาย และ สมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพรไทยถือเป็นทางเลือกที่คนทั่วไปนิยมใช้ดูแลสุขภาพในเบื้องต้น โดยอาศัยการดูแลสุขภาพอย่างมีศาสตร์และศิลปะตามหลักการมาตรฐาน ในแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และการนวดไทย ล้วนแล้วแต่จะต้องใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพร่างกายทั้งสิ้น สมุนไพร จึงเป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่อดีตกาล ทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน กระแสสังคมหันมาเห็นความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและบำบัดอาการของโรคด้วยวิธีการทางธรรมชาติมากขึ้น พืชสมุนไพรไทยก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งรักษาอาการเจ็บป่วยได้หลายกลุ่มอาการโรค จึงได้มีการพัฒนามาตรฐานการเรียนและการสอนอย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยอีกด้วย
ในปัจจุบันแหล่งสมุนไพรตามธรรมชาติหาได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากป่าไม้ที่สมบูรณ์ในธรรมชาติลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลต่อพืช สมุนไพร ดังนั้นป่ากรุงชิง ซึ่งเป็นผืนป่าที่เป็นป่าดงดิบชื้นและดงดิบเขา ระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์อยู่ในตัวของผืนป่ามีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์หลายชนิด รวมทั้งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้นในผืนป่าแห่งนี้จึงอุดมไปด้วยพืชและสัตว์มากมาย รวมถึงสมุนไพรมากชนิดอีกด้วย ท่านที่เคยศึกษาธรรมชาติเส้นทางเดินป่า หรือไปเที่ยวชมน้ำตกมาแล้ว คงจะได้เห็นและสัมผัสกับความอุดมสมบูรณ์เหล่านั้น ดังนั้นผู้ที่ศึกษาด้านแพทย์แผนไทย หรือผู้ที่รู้จักถึงคุณค่าของ สมุนไพร เป็นอย่างดี ที่นี่จึงเป็นแหล่งค้นคว้าและเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรอีกแห่งที่สำคัญ เราลองมาเรียนรู้ ชื่อ สมุนไพร พร้อมรายละเอียดในการรักษา จะทำให้เราเห็นคุณค่าและประโยชน์ของพืชพรรณในธรรมชาติมากขึ้น ดังตัวอย่างของ สมุนไพรที่มากด้วยคุณค่าทั้ง 30 ชนิด ดังต่อไปนี้
สมุนไพร 30 ชนิดในป่ากรุงชิง
ชื่อพืชสมุนไพร
เทพทาโร
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
เทพทาโร
ชื่อพืชสมุนไพร
ค้างคาวดำ | เนระพูสี | ม่างแผลน
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ค้างคาวดำ, มังกรดำ (กลาง), ดีงูหว้า (เหนือ), เนียมฤาษี (เชียงใหม่), ม่านแผลน, ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช), นิลพูสี (ตรัง), ว่านพังพอน (ยะลา), ว่านหัวฬา, คุ้มเลีย(จันทบุรี), ดีปลาช่อน (ตราด), ม้าถอนหลัก (ชุมพร)
ชื่อท้องถิ่น
เนระพูสีไทย
ชื่อวงศ์
Dioscoreaceae
Tcca chantrieri Andre
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เหง้า รสสุขุม แก้ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ดับพิษไข้ ฝาดสมาน แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้แก้ท้องเสีย ต้มหรือดองสุราดื่มแก้ความดันโลหิตต่ำ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำลังสตรีระหว่างตั้งครรภ์
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีประมาณ 3-12 ใบ ใบเป็นรูปรีกว้าง รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบ
- ดอก ออกเป็นช่อกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 1-2 ช่อ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกแทงออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ดอกเป็นสีม่วงดำหรือสีเขียวเข้ม กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน กลีบด้านนอก 3 กลีบ เป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยม
- ลักษณะเมล็ด เมล็ดเป็นรูปไต
- ผล เป็นทรงสามเหลี่ยมหรือรูปกระสวย ผลมีสันเป็นคลื่น 6 สันตามยาวาของผล
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เหง้า รสสุขุม แก้ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ดับพิษไข้ ฝาดสมาน แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้แก้ท้องเสีย ต้มหรือดองสุราดื่มแก้ความดันโลหิตต่ำ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำลังสตรีระหว่างตั้งครรภ์
ตัวอย่างตำหรับยาที่นำมาปรุงยา | รักษาโรค | หรือพิกัดยา
ใช้เหง้าผสมในตำรับยาแก้ซางในเด็ก แก้ไข้ แก้ลิ้นคอเปื่อย แก้ไอ แก้ปวด เจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ และผสมในตำรับยารักษาโรค ช้าง ม้า ใช้บำรุงให้อ้วนขึ้น เหง้าใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ไม่ง่วง โดยนำหัวมาฝานบาง ๆ ตากแห้ง ชงเป็นชาดื่ม เหง้า หรือใบ การแพทย์พื้นบ้านใช้เหง้า หรือใบ ต้มน้ำกิน เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว แก้ปวดท้อง และแก้อาการอาหารเป็นพิษ ทั้งต้น รสสุขุม ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคันตามร่างกาย


ชื่อพืชสมุนไพร
เทพทาโร
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
เทพทาโร
ชื่อท้องถิ่น
จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไคต้น จะไคหอม (ภาคเหนือ) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี) การบูร (หนองคาย)
ชื่อวงศ์
Lauraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ไม้ต้น สูง 10 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว
- เปลือก สีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น
- ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร
- ดอก สีขาว เหลืองอ่อน ออกเป็นช่อประจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร สีเขียว
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
- ใบ รสร้อน ใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลม จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้เรอ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ
- เปลือก รสร้อน มีน้ำมันระเหย 1-25 % และแทนนิน แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร บำรุงธาตุ
วิธีการใช้
เนื้อไม้สีขาว มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการะบูน อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกมาจากเนื้อไม้นี้ได้ และอาจดัดแปลงทางเคมี ให้เป็นการะบูนได้ ใบมีกลิ่นหอมเป็นเครื่องเทศตามร้านขายยาสมุนไพรในประเทศไทย ใช้ใบนี้เป็นใบกระวานสำหรับใส่เครื่องแกงมัสหมั่น ทุกร้านถ้าเราไปขอซื้อใบกระวานจะได้ใบไม้นี้ ส่วนใบกระวานจริงๆ เราไม่ได้ใช้กัน (ใบกระวานจริงๆ ลักษณะเหมือนใบข่า) ราก ใช้ดองกับเหล้ารับประทานเป็นยาขับลมชื้นในร่างกาย เป็นยาแก้กระเพาะลําไส้อักเสบ ขับลมในกระเพาะลําไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้องน้อย ใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ ไขข้ออักเสบ
ตํารับยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเส้นเอ็น ให้ใช้รากข่าต้น 20 กรัม, เจตมูลเพลิง 15 กรัม, โกฐหัวบัว 20 กรัม, โกฐเชียง 15 กรัม และโกฐสอ 10 กรัม นํามาแช่กับเหล้ารับประทาน (ตํารับนี้ใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกาย ได้เช่นเดียวกับการใช้รากเดี่ยว ๆ)


ชื่อพืชสมุนไพร
พร้าวนกคุ้ม
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
พร้าวนกคุ่ม
ชื่อท้องถิ่น
พร้าวนก พร้าวนกคุ่ม (นครศรีธรรมราช) ละโมยอ (มาลายู-นราธิวาส)
ชื่อวงศ์
HYPOXIDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Molineria latifolia Herb. ex Kurz
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลำต้น ลักษณะคล้ายปาล์ม สูง 30-40 ซม. ลำต้นเหนือดินมีลักษณะกลมชุ่มน้ำ มีหัวคล้ายรากแทงลึกลงไปในดิน 10-30 ซม. ตรงหัวจะมีรากเล็กๆ ลึกลงไปในดินอีกรากหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสากตําข้าว หรือเป็นรูปไข่กลมรี
- ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับติดกันที่โคนต้น รูปยาวรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบพับเป็นร่อง ๆ ตามยาวคล้ายกับใบปาล์ม ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ส่วนขอบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม กว้าง 3.5-6 ซม. ยาว 20-70 ซม. โคนก้านใบแผ่กว้าง หุ้มลำต้น
- ดอก ดอกช่อ แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ มีรูปร่างและสีเหลืองเหมือนกัน โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. เกสรตัวผู้ 6 อัน รังไข่ 3 ห้อง
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ราก สามารถรับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คนคลอดบุตรใหม่ ๆ มดลูกลอยเพราะความอักเสบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกให้กลับมาเป็นปกติ รากสามารถนำมาหั่นและดองสุราทำเป็นยาชักมดลูกได้
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
รากสามารถนำมาหั่น และดองสุราทำเป็นยาชักมดลูกได้
ราก รสร้อน ดองสุราหรือบด รับประทานชักมดลูกให้เข้าอู่ แก้มดลูกอักเสบ บำรุงกำลัง ปรุงยาขัดผิว แก้สิวฝ้าจุดด่างดำ


ชื่อพืชสมุนไพร
เข็มม่วง /ร่องไม้/ยายกลั้ง
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
เข็มม่วง/ร่องไม้
ชื่อท้องถิ่น
เข็มพญาอินทร์ |เข็มสีม่วง | เฉียงพร้าป่า | เฒ่าหลังลาย | ยายกลั้ง | รงไม้ |ร่องไม้ | สังกรณีม่วง
ชื่อวงศ์
Acanthaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pseuderanthemum graciliflorum (Nees) Ridl.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร
- ใบ กลมปลายแหลม ใบบางเรียบมัน ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อย
- ดอก มีสีครามคล้ายดอกเข็ม ออกส่วนยอด
- ผล แก่สีเขียว ผลสุกสีดำ ออกเป็นช่อปลายผลแหลม ผลแบนดูคล้ายผลแผด ข้างในมีเมล็ด 2 เมล็ด
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
รากสามารถรับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คนคลอดบุตรใหม่ๆ มดลูกลอย เพราะความอักเสบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกให้กลับมาเป็นปกติ รากสามารถนำมาหั่นและดองสุราทำเป็นยาชักมดลูกได้
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ดอกยายกลั้งจะบานพร้อม ๆ กับช่วงที่มีไข่มดแดง ต้มไข่มดแดงใส่ดอกยายกลั้ง เพิ่มความอร่อยได้ ใช้ทั้งต้นรวมรากนำมาต้มรับประทานเป็นยา ว่ากันว่าสามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ ชาวเขาเผ่าแม้วและกะเหรี่ยงจะใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีบ ต้นใช้ต้มกับ Pseuderanthemum graciliflorum (Nees) Ridl. น้ำดื่มช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ใบ นำมาตำพอกหรือต้มกับน้ำอาบ ช่วยแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน และหูด
ว่านนาคราช


ชื่อพืชสมุนไพร
เถานาคราช (ว่านนาคราช)
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
เถานาคราช (ว่านนาคราช)
ชื่อท้องถิ่น
นาคราช (กลาง) | ไส้หนุมาร (กรุงเทพฯ)
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aporocactus flagelliformis Lem.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นเถานาคราช เป็นไม้เถาเลื้อย เป็นพืชตระกูลกระบองเพชร มีลักษณะของลำต้นที่ยาวทรงกระบอกฉ่ำน้ำ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5-4 เซนติเมตร มีความยาววัดได้ถึง 60 เซนติเมตร มีตารูปขนมเปียกปูนหรือรูปหกเหลี่ยมรอบลำต้น ตรงกลางตาจะมีหนามขนาด 1-2 มิลลิเมตร สีแดง อยู่ 2 อัน
- ใบ เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบพาย ส่วนปลายใบแหลม ใบจะไม่มีก้านออกจากลำต้น ความยาวสูงสุดของใบประมาณ 10 เซนติเมตร ใบมักจะเป็นสีแดงเมื่อโดนแดดจัดๆ เป็นไม้ที่ทนแล้ง ชอบแดด ตายอดใหม่จะแตกจากโคนต้นและแตกเป็นกิ่งได้
- ดอก ดอกเดี่ยว ออกระหว่างตาของลำต้น ดอกจะมีลักษณะของดอกจะเป็นเหมือนหูกระต่ายหงายท้อง กลีบดอกชั้นนอกที่อยู่ข้างบนจะสั้นแบน กลีบดอกชั้นนอกที่อยู่ข้างล่าง จะยาวเหมือนหูกระต่ายมีรอยหยักตรงปลายกลีบ ดอกชั้นในเป็นวงกลมสีแดง เกสรสีเหลือง ดอกจะออกห่างจากยอดประมาณ 3-4 ชั้น ตาล้อมยอดไว้ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร สีแดงเข้ม
- ผล ลักษณะรูปกลม มีขนาดเล็ก มีขนยาวนุ่ม เมล็ดมีขนาดเล็ก สีน้ำตาล
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เถา รสเย็น สรรพคุณ ถอนพิษอักเสบ ปวดแสบ ปวดร้อน ถอนพิษสัตว์ กัดต่อย แก้พิษฝี แก้สัตว์มีพิษขบกัด
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
อาการพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้เถาคั่วให้เหลืองหรือให้นำเถานาคราชตำกับเหล้า หรือน้ำซาวข้าวพอกที่ปากแผล จะช่วยระงับการเจ็บปวดได้ ถอนพิษตะขาบ แมงป่อง แก้พิษงู หรือถูกงูกัด สัตว์มีพิษกัดและถอนพิษต่าง ๆ
หวายลิง


ชื่อพืชสมุนไพร
หวายลิง
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
หวายลิง
ชื่อท้องถิ่น
หวายเย็บจาก | หวายลี (ใต้)
ชื่อวงศ์
FLAGELLARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Flagellaria indica L
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เลื้อย ลำต้นแข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.8 ซม. แตกกิ่ง 3-5 เมตร หรือบางครั้งอาจยาวได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ลำต้นเหนียวใช้ทำเชือกและทำเครื่องจักสาน
- ใบ เดี่ยว เรียงสลับถึงเวียนสลับเรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปใบหอกขนาด 0.5-2 x 5-20 ซม.ปลายใบเรียวยาวม้วนงอ และ แข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น ฐานใบกว้างมีกาบใบหุ้มรอบลำต้น เรียงเวียนซ้อนทับกันเป็นระยะคล้ายกาบหวาย ไม่มีหนาม
- ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแยกแขนงสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก
- ผล กลม ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดจะเป็นสีชมพูอมแดงเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 ซม. แต่ละผลมี 1 เมล็ด พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง มีระดับน้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ทั้ง 5 (ราก, ลำต้น, ใบ, ดอก, ผล) ต้มเป็นยาหม้อดื่ม หัว ต้มผสมกับน้ำอาบให้เด็กขับพยาธิ ให้เด็กอาบทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน หัวและราก ต้มเป็นยาหม้อดื่มแก้ไข้ดีซ่าน ผล ใช้เป็นยาเบื่อได้ ต้นและหัว ต้มน้ำดื่ม ลดไข้ ไข้กาฬ (แผลกดทับ) ชัก สลบ หอบ ลิ้นแข็ง เหง้า ต้น ใบ ดอก ผล สดๆ ต้มรับประทานแทนน้ำ แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะขับปัสสาวะ เหง้า ต้มน้ำดื่ม รักษาถุงน้ำดีและโลหิต
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้พยาธิ แก้ไข้ดีซ่าน ใช้เป็นยาเบื่อ ลดไข้ ไข้กาฬ(แผลกดทับ) รักษาถุงน้ำดีและโลหิต
นมสวรรค์


ชื่อพืชสมุนไพร
นมสวรรค์
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
พนมสวรรค์
ชื่อท้องถิ่น
สาวสวรรค์ | พนมสวรรค์ | เข็มฉัตร | ฉัตรฟ้า | สาวสวรรค์ | น้ำนมสวรรค์ | พวงพีเหลือง | หัวลิง | ปิ้งแดง | นมหวัน | ปรางมาลี
ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Clerodendrum paniculatum L.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มสูง มีลำต้นตรงเป็นเหลี่ยม ไม่มีกิ่ง แต่มีก้านใบแตกออกจากตรงลำต้นโดยตรง ลำต้นสูงได้ถึง 3 เมตร เปลืองต้นมีลักษณะเรียบ เป็นสีน้ำตาลแกมเขียว ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
- ลักษณะใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นฝ่ามือรูปไข่กว้างหรือรูปไข่เกือบกลม ใบกว้างประมาณ 7-38 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-40 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-7 แฉก ปลายแฉกจะแหลม ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย ผิวใบมีขน หลังใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีขนสากระคายมือ มีสีอ่อนกว่า ก้านใบยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร
- ลักษณะดอก ดอกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายยอด ดอกมีสีแดงหรือสีส้ม ช่อดอกเป็นชั้นคล้ายฉัตรหรือรูปไข่ ขนาดช่อดอกกว้างประมาณ 20-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร ก้านช่อดอกเป็นเหลี่ยม กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังสีส้มแดง มี 5 กลีบ โคนเชื่อมกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เป็นรูปหอก ดอกเล็กที่ออกเป็นช่อเป็นชั้นคล้ายฉัตรมีอยู่ 2 ชนิด ดอกขาวเรียกนมสวรรค์ตัวผู้ ดอกแดงเรียกนมสวรรค์ตัวเมีย
- ลักษณะผล ผลกลม มีขนาดเล็กสีเขียว ผลผนังชั้นในแข็ง ทรงกลม มี 2-4 พู มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-9 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีน้ำเงินแกมเขียวหรือสีดำ ในผลมี 1 เมล็ด
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ต้นนมสวรรค์ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด (ราก, ดอก, ต้น) รากและเหง้ามีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต โดยพบว่ารากและ
- เหง้า มีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นเฉพาะตัวและมีสาร 2-asarone ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต แต่มีรายงานพบว่าเป็นพิษต่อตับและอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ จึงต้องรอการศึกษาความเป็นพิษเพิ่มเติมก่อนการนำมาใช้
- ราก ใช้ฝนกับน้ำดื่มแก้ไข้ ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย แก้ไข้เหนือ ช่วยแก้ไข้เพื่อโลหิต (มีอาการไข้และถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด และมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง) ช่วยแก้วัณโรค
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต แก้ไข้ ไข้มาลาเรีย ไข้เหนือ แก้วัณโรค รักษาอาการแน่นอก แก้ลมในทรวงอก ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ขับลม ใช้เป็นยาถ่าย แก้โลหิตในท้อง รักษาฝี ฝีฝักบัว ฝีกาฬ ฝีดาษ ฝีภายใน พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อักเสบจากตะขาบและแมงป่องกัด รักษาอาการปวดข้อและปวดประสาท บำรุงน้ำนม
คันหามเสือ


ชื่อพืชสมุนไพร
คันหามเสือ
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
คันหามเสือ | ต้างดง
ชื่อท้องถิ่น
คันหามเสือ (ภาคใต้) | พรมมาลี (มาเลย์-ยะลา) | พะนางใบเตี้ย (ตราด) | มอนป่า (ยะลา) | มาลี (นราธิวาส, มาเลย์-ยะลา)
ชื่อวงศ์
Vitaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Leea angulata Korth. ex Miq.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. ต้นและกิ่งมีหนาม หูใบคล้ายปีกแคบ ๆ ยาว 2.5–5 ซม. ใบประกอบ 2–3 ชั้น แกนกลางเป็นสัน ยาวได้ถึง 25 ซม. ก้านใบประกอบยาว 3–6.5 ซม.
- ใบ ย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 2.5–15 ซม. ขอบจักซี่ฟัน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.
- ช่อดอก ออกที่ปลายกิ่ง แผ่กว้าง ยาวได้ถึง 25 ซม. แกนช่อเป็นเหลี่ยมหรือครีบคล้ายปีก ตามข้อมีขน ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายจักลึกประมาณ 1 มม. มีขนด้านนอก
- ดอก สีเขียวอ่อน กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคน ยาว 3.5–4 มม. กลีบรูปไข่ ยาว 2–3 มม. แผ่นก้านชูอับเรณูที่เป็นหมันเชื่อมติดกันประมาณ 2 มม. ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7–1 ซม. จักเป็นพู สุกสีน้ำเงินปนเทา พบในภูมิภาคมาเลเซียและภาคใต้ของไทยที่นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ขึ้นตามชายป่าดิบชื้น ริมลำธาร ความสูง 50–200 เมตร
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ต้นมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดจากท้องเสีย
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
เข้าตำหรับยาบำรุงกำลัง
ลังทังช้าง | กะลังตังช้าง | ว่านตอด


ชื่อพืชสมุนไพร
กะลังตังช้าง
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
กะลังตังช้าง
ชื่อท้องถิ่น
ตำแยช้าง (ภาคกลาง) | กะลังตังช้าง (ภาคใต้) | หานสา | หานช้างไห้ | หานช้างร้อง (ภาคเหนือ)
ชื่อวงศ์
Urticaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dendrocnide sinuata (Blume) Chew
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะของพืช เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 2 เมตรพบตามป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบรูปไข่ ปลายแหลม มีขนปกคลุม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ดอกช่อขนาดเล็ก ดอกกลางช่อบานก่อน แยกเพศในต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ขนหรือหนามตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เจ็บ คัน และปวดมาก
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
การเกิดพิษ ในบางท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียใช้ขนของพืชนี้ผสมกับน้ำคั้นจากต้นยางน่อง (Antiaris toxicaria (Pers.) Lesch.) อาบลูกศร กะลังตังช้างเป็นพิษมาก ถ้าขนถูกศีรษะทำให้ผมไหม้และเกิดการเจ็บปวดเป็นเวลานานหลายวัน ความเป็นพิษของพืชนี้รุนแรงมากในขณที่มีดอก ถ้าถูกทำให้จาม นอนไม่หลับเพราะความเจ็บปวด และเป็นไข้
กระชายป่า


ชื่อพืชสมุนไพร
กระชายป่า
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
กระชายป่า
ชื่อท้องถิ่น
ตำแยช้าง (ภาคกลาง) | กะลังตังช้าง (ภาคใต้) | หานสา | หานช้างไห้ | หานช้างร้อง (ภาคเหนือ)
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
BOESENBERGRA SP.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นกระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มักพบขึ้นในป่าดิบร้อนชื้น
- ใบ กระชาย คือลักษณะของส่วนที่อยู่เหนือดิน มีประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ด้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะนูนเป็นสัน ด้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ—
- ดอก กระชาย ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อันที่เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย
- ผล กระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ตำรายาไทย: เหง้า ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด แก้ปวดมวนท้อง ขับลม ช่วยให้กระเพาะ และลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น แก้โรคอันเกิดในปาก แก้มุตกิด แก้ลมอันบังเกิดแต่กองหทัยวาต แก้ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากแตกเป็นแผล แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดเบ่ง รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ขับระดูขาว แก้ใจสั่น ราก(นมกระชาย) แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงความกำหนัด มีสรรพคุณคล้ายโสม หมอโบราณเรียกว่า “โสมไทย” หัวและราก ขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง แดง เจ็บปวดบั้นเอว บำรุงกำหนัด บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะ หัวใช้เผาไฟฝนรับประทานกับน้ำปูนใส เป็นยาแก้บิด แก้โรคบังเกิดในปาก แก้มุตะกิต
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ยาแผนไทย ระบุว่า หัวสดของ “กระชายป่า” กับใบหญ้าขัดมอญแบบสด จำนวนเท่ากันต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือดดื่มต่างน้ำ จะช่วยบำรุงกำหนัดคนเป็นกามตายด้านได้ หัวสด “กระชายป่า” ตามแต่จะหาได้ทุบพอแตกดองเหล้าขาว 40 ดีกรี ดื่มวันละ 2 แก้วเป๊กก่อนและหลังอาหารเช้ากับเย็น เป็นยาชูกำลัง หัวสดเคี้ยวอมแก้ปากเปื่อยเป็นแผลเกิดจากร้อนในดีมาก รากสดตำพอละเอียดผสมน้ำผึ้งกินก่อนอาหารเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ร่างกายแข็งแรงกระชุ่มกระชวย หัวตากแห้งบดเป็นผงตัก 1 ช้อน ชงกับน้ำร้อนกินบำรุงหัวใจให้เต้นสม่ำเสมอ รากและหัวสดของ “กระชายป่า” มีน้ำมันหอมระเหย เช่น ไพนิน เมอร์ซิน บอร์นิออล และ การบูร
กระดาด


ชื่อพืชสมุนไพร
กระดาด
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
กระดาด
ชื่อท้องถิ่น
กระดาดดำ (กาญจนบุรี) | กระดาดแดง (กรุงเทพฯ) | บึมบื้อ (เชียงใหม่) | บอนกาวี เอาะลาย (ยะลา) | โหรา (สงลา) | คือ โทป๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) | เผือกกะลา มันโทป้าด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) | กลาดีบูเก๊าะ (มลายู-ยะลา) เป็นต้น (ส่วนข้อมูลอื่นระบุว่ามีชื่อว่า กระดาดเขียว | กระดาดขาว | บอนเขียว
ชื่อวงศ์
ARACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง และมีความสูงได้มากกว่า 1 เมตรจนถึง 2 เมตร ลำต้นสั้นและเป็นสีม่วงปนสีน้ำตาล มีหัวอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด แยกหน่อและไหล มักขึ้นในที่ที่มีอากาศชื้น แสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากหัวใต้ดิน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบเว้าลึก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นแบบห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 25-60 เซนติเมตรและยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวและเป็นมันลื่น ส่วนท้องใบเรียบ มีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 5-7 เส้น ส่วนก้านใบใหญ่และเป็นสีม่วงปนสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.2-1.5 เมตร
- ดอก เป็นช่อ ช่อมีลักษณะเป็นแท่งยาวปลายแหลม (ลักษณะคล้ายกับดอกบอน) ออกตรงกลางต้น มีความยาวประมาณ 11-23 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกเล็ก ยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร ดอกมีกาบสีเหลืองอมสีเขียวหุ้มอยู่ ส่วนโคนของกาบโอบรอบโคนของช่อ ช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเพศผู้อยู่ที่บริเวณส่วนบน มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่บริเวณโคนช่อ มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ซึ่งดอกจะเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้จะมีจำนวนมากกว่าดอกเพศเมีย และระหว่างดอกเพศผู้และดอกเพศเมียคอดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนปลายเป็นส่วนที่ไม่มีดอก จะยาวประมาณ 6.7-13 เซนติเมตร ปลายมน ดอกเพศเมียจะมีรังไข่ 1 ช่อง และมีออวุลอยู่ 3-5 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียจะมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมตัด มีความกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร โดยดอกเพศผู้จะสั้นกว่าและกว้างกว่าดอกเพศเมีย ค่อนข้างแบนทางด้านข้าง
- ผล เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมและมีขนาดเล็ก (บ้างว่าเป็นรูปไข่กลีบ) โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร เนื้อในผลนุ่มสีแดงและมีเมล็ดแข็งอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมและเป็นสีดำ
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
น้ำจากก้านใบมีรสเย็น ใช้กินแก้อาการไอ (น้ำจากก้านใบ) ต้น ราก เหง้าใช้เป็นยาระบายแบบอ่อน ๆ โดยนำมาต้มกินเป็นยา ใช้เป็นยาถ่ายชนิดอุจจาระเป็นพรรดึก ยาต้มจากใบใช้กินแก้อาการท้องผูกชนิดพรรดึก ไหลใช้กินเป็นยาขับพยาธิ รากหรือเหง้ามีรสเย็นและจืด ใช้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ใบใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยห้ามเลือด หัวมีรสเมาเย็น นำมาโขลกใช้พอกรักษาแผลที่เป็นหนอง ใบมีรสเย็น ช่วยแก้อาการอักเสบที่ข้อทำให้บวมแดง รากใช้ทาแก้พิษของแมงป่อง (ราก)
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
เหง้าใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่ายชนิดอุจจาระเป็นพรรดึก ใช้ใส่แกง เหง้าต้มสุกกินได้ ไหลใช้กินเพื่อขับพยาธิ ต้นต้มแล้วกินเป็นยาระบายอ่อนๆ ใบใช้เป็นยาฝาดสมานห้ามเลือด ยาต้มจากใบใช้แก้ท้องผูกชนิดพรรดึก นอกจากใช้ประโยชน์ทางยาแล้วยังนิยมปลูกเป็นไม้ประดับอีกด้วย
ดาดตะกั่ว


ชื่อพืชสมุนไพร
ดาดตะกั่ว
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ดาดตะกั่ว
ชื่อท้องถิ่น
ฮ่อมครั่ง | ฤาษีผสมแล้ว | ห่งจี๊อั้ง
ชื่อวงศ์
ACANTHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hemigraphis alternata (Burm. f.) T. Anderson
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง และมีความสูงได้มากกว่า 1 เมตรจนถึง 2 เมตร ลำต้นสั้นและเป็นสีม่วงปนสีน้ำตาล มีหัวอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด แยกหน่อและไหล มักขึ้นในที่ที่มีอากาศชื้น แสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากหัวใต้ดิน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบเว้าลึก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นแบบห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 25-60 เซนติเมตรและยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวและเป็นมันลื่น ส่วนท้องใบเรียบ มีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 5-7 เส้น ส่วนก้านใบใหญ่และเป็นสีม่วงปนสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.2-1.5 เมตร
- ดอก เป็นช่อ ช่อมีลักษณะเป็นแท่งยาวปลายแหลม (ลักษณะคล้ายกับดอกบอน) ออกตรงกลางต้น มีความยาวประมาณ 11-23 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกเล็ก ยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร ดอกมีกาบสีเหลืองอมสีเขียวหุ้มอยู่ ส่วนโคนของกาบโอบรอบโคนของช่อ ช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเพศผู้อยู่ที่บริเวณส่วนบน มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่บริเวณโคนช่อ มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ซึ่งดอกจะเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้จะมีจำนวนมากกว่าดอกเพศเมีย และระหว่างดอกเพศผู้และดอกเพศเมียคอดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนปลายเป็นส่วนที่ไม่มีดอก จะยาวประมาณ 6.7-13 เซนติเมตร ปลายมน ดอกเพศเมียจะมีรังไข่ 1 ช่อง และมีออวุลอยู่ 3-5 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียจะมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมตัด มีความกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร โดยดอกเพศผู้จะสั้นกว่าและกว้างกว่าดอกเพศเมีย ค่อนข้างแบนทางด้านข้าง
- ผล เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมและมีขนาดเล็ก (บ้างว่าเป็นรูปไข่กลีบ) โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร เนื้อในผลนุ่มสีแดงและมีเมล็ดแข็งอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมและเป็นสีดำ
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ มีสรรพคุณ ใบใช้แก้บิด ช่วยขับปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวาร ต้นต้มดื่มเป็นยาแก้ตกเลือด หรือจะใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนัง
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
เพื่อกระตุ้นการปัสสาวะได้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรักษาโรคนิ่ว และยังใช้แก้บิดกับบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวารได้ด้วยหากนำลำต้นสดมาต้มดื่มจะช่วยบรรเทาอาการตกเลือด และช่วยปรับสมดุลเกี่ยวกับระบบเลือดลมในร่างกายได้ หรือจะนำมาบดละเอียดแล้วพอกไว้ภายนอกก็สามารถช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้เช่นกัน ใบ มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะชั้นดี สามารถใช้ปรุงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น
กระไดลิง


ชื่อพืชสมุนไพร
กระไดลิง
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
กระไดลิง
ชื่อท้องถิ่น
กระไดลิง (ราชบุรี)| กระไดวอก | มะลืมดำ (ภาคเหนือ)| โชกนุ้ย (ชาวบน-ชัยภูมิ) | บันไดลิง | ลางลิง
ชื่อวงศ์
LEGUMINOSAE–CAESALPINIOIDEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bauhinia scandens L.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นกระไดลิงเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า “กระไดลิง” กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง
- ใบ กระไดลิงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย
- ดอก กระไดลิงช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 12-25 ซม. ออกที่ปลายกิ่ง มีขนประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง แยกกัน คล้ายรูปพัด ก้านกลีบดอกสั้น เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 2 อัน ขนาดเล็กกว่า รังไข่ก้านสั้น
- ผล กระไดลิงเป็นฝักแบน รูปรีหรือรูปไข่แกมรี กว้าง 5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม ฝักแก่สีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลมสั้นๆ
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เถาแก้พิษทั้งปวง แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้พิษฝี แก้ไข้เชื่อมซึม แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน พิษโลหิต แก้กระษัย แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้พิษเลือดลม รากแก้พิษต่างๆ เปลือกแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ ใบขับเหงื่อ แก้ไข้ตัวร้อนเมล็ดถ่ายพยาธิ แก้ไข้เชื่อมซึม แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ลำต้น ในประเทศอินโดนีเซียจะนิยมใช้น้ำเลี้ยง หรือน้ำที่ตัดได้จากเถาหรือต้นสดของกระไดลิงที่ไหลซึมออกมา แล้วใช้ภาชนะรอง นำมาจิบกินบ่อย ๆ เพื่อเป็นยาบรรเทาอาการไอ ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานของไทยจะใช้เถาหรือต้นนำมาต้มกับน้ำหรือฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำอาบเพื่อใช้เป็นยาคุมกำเนิด แต่คนท้องห้ามใช้เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้ รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ตัวร้อน เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้เซื่องซึม มีอาการหน้าหมองเนื่องมาจากพิษไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ
กะตังใบ


ชื่อพืชสมุนไพร
กะตังใบ
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
กะตังใบ
ชื่อท้องถิ่น
ต้างไก่ (อุบลราชธานี) | คะนางใบ(ตราด) | ตองจ้วม ตองต้อม (เหนือ) | บั่งบายต้น(ตรัง) | ช้างเขิง | ดังหวาย (นราธิวาส) เรือง
ชื่อวงศ์
Leeaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Leea indica (Burm.f.) Merr.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ
- ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่น กว้างได้ถึง 4 เซนติเมตร ยาว 6 เซนติเมตร มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แกนกลางใบยาว 10-35 เซนติเมตร เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี กว้าง 3-12 เซนติเมตร ยาว 10-24 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย ขอบใบจักมน หรือจักแบบฟันเลื่อย หรือแบบซี่ฟันตื้นๆเนื้อใบหนาปานกลาง ด้านล่างมีต่อมขนาดเล็กรูปเหลี่ยม หรือกลม เส้นใบมี 6-16 คู่ หลังใบและท้องใบเป็นลอนตามแนวเส้นใบ ก้านใบย่อยยาวได้ถึง 25 มิลลิเมตร เกลี้ยง หรือมีขน ก้านใบรวมยาว 10-25 เซนติเมตร เกลี้ยง หรือมีขนเล็กน้อย ริ้วประดับมีตั้งแต่รูปสามเหลี่ยมค่อนข้างกว้าง ถึงรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร
- ดอก ออกเป็นช่อตั้งขึ้น ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ดอกย่อยสีเขียวอ่อน มีจำนวนมาก ดอกตูมรูปทรงกลมสีแดงเข้มพอบานมีสีขาว กลีบเลี้ยงยาว 2-3 มิลลิเมตร เชื่อมติดกัน ที่โคน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ปลายอับเรณูจะโผล่พ้นหลอดออกไปเป็นแฉกมนๆ ปลายแฉกเว้า เกสรเพศเมียมี 6 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด ก้านเกสรสั้น ปลายมน ผล กลม แป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม
- ผล อ่อนมีสีเขียวพอแก่จัดมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำ มี 6 เมล็ด ผลรับประทานได้ ออกดอกราวเดือนมิถุนายนถึงกันยายน พบตามป่าเต็งรัง
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ฝนกับเหล้าทา รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ตำรายาไทย ใช้ ราก รสเย็นเมาเบื่อ ต้มน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด ขับเหงื่อ และเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว ดับร้อน นำรากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง จนยาหมดรสฝาด แก้ตกขาว มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก ใบ ย่างไฟให้เกรียม ใช้พอกศีรษะ แก้วิงเวียน มึนงง ตำเป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้ผื่นคันตามผิวหนัง น้ำยาง จากใบอ่อนกินเป็นยาช่วยย่อย ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งเต้านม
ขิงเขาหลวง


ชื่อพืชสมุนไพร
ขิงเขาหลวง
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ขิงป่า
ชื่อท้องถิ่น
ขิงแกลง | ขิงแดง (จันทบุรี) | ขิงเผือก (เชียงใหม่) | สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวงศ์
Zingiberaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Zingiber newmanii Theilade & Mood
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 3 ม. มีขนที่โคนกาบใบถึงก้านใบ ลิ้นกาบ เส้นกลางใบด้านล่าง ลิ้นกาบยาวประมาณ 1 ซม. ปลายจัก 2 พู ใบรูปขอบขนาน ยาว 40-50 ซม.
- ก้านใบ ยาวประมาณ 3 มม. ช่อดอกออกจากเหง้า ก้านช่อยาว 5-15 ซม. กาบดอกสีแดง ช่อดอกรูปไข่ ยาว 10-16 ซม.
- ใบ ประดับสีแดงรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5 ซม. ใบประดับย่อยรูปรี ยาวประมาณ 3 ซม. กลีบเลี้ยงรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 3.3. ซม.
- ดอก สีขาว รูปขอบขนาน กลีบหลังยาวประมาณ 2 ซม. กลีบข้างยาวประมาณ 1.8 ซม. กลีบปากสีม่วงมีจุดสีครีมกระจาย ยาวประมาณ 1.3 ซม. แผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาวประมาณ 7 มม. อับเรณูสีครีม สันสีม่วง พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ที่ระนอง นครศรีธรรมราช และตรัง ขึ้นตามป่าดิบชื้น และที่โล่ง ความสูง 150-400 เมตร
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เหง้าแก่สด ยาแก้อาเจียน ยาขมเจริญอาหาร ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดันโลหิต
ต้น ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
ใบ แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา ขับลมในลำไส้
ดอก ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด
ผล แก้ไข้
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ยาแก้อาเจียน ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่มนำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
ยาขมเจริญอาหาร ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
ลดความดันโลหิต ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
ขี้หนอน


ชื่อพืชสมุนไพร
ขี้หนอน
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ขี้หนอน
ชื่อท้องถิ่น
ขี้มอด (ขอนแก่น, นครราชสีมา)
ชื่อวงศ์
SAPINDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Zollingeria dongnaiensis Pierre
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปไข่หรือเป็นพุ่มกลม โปร่ง เปลือกต้นด้านนอกเป็นสีเทาดำ เรียบ แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลทั่วไป ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีขาว ตามลำต้นหรือกิ่งไม้จะมีหนามยาว ๆ อยู่ประปราย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าผลัดใบ ชายป่า ที่รกร้างและด้านหลังชายหาด ที่ความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 375 มิลลิเมตร
- ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงเวียนสลับ มีประมาณ 5-8 คู่ ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือสอบ โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-16 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเป็นมัน ส่วนท้องใบมีขนสั้นนุ่ม แผ่นใบห่อเข้าเล็กน้อย เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 7-9 เส้น ส่วนก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
- ดอก เป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบค่อนไปทางปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และเป็นแบบแยกเพศ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงประมาณพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม[2] ดอกมีพิษถ้ากินเข้าไปจะทำให้ตายได้
- ผล เป็นผลแห้ง มีปีกยาว 3 ปีก เรียงตามยาว ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ด่างไม้ใช้เป็นยาแก้โรคกระษัย เปลือกใช้เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้หวัดคัดจมูก ด้วยการนำเปลือกมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาแช่กับน้ำตีให้เป็นฟองสีขาว แล้วใช้ฟองนั้นสุมหรือพอกศีรษะเด็ก ใช้เป็นยาแก้หวัด คัดจมูก เปลือกใช้ผสมเป็นยาเขียวแก้ร้อนใน ใบใช้เป็นยาแก้ร้อน ด่างไม้ใช้เป็นยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับมุตกิดของสตรี
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ด่างไม้ใช้เป็นยาแก้โรคกระษัย เปลือกใช้เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้หวัดคัดจมูก ด้วยการนำเปลือกมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาแช่กับน้ำตีให้เป็นฟองสีขาว แล้วใช้ฟองนั้นสุมหรือพอกศีรษะเด็ก ใช้เป็นยาแก้หวัด คัดจมูก เปลือกใช้ผสมเป็นยาเขียวแก้ร้อนใน ใบใช้เป็นยาแก้ร้อน ด่างไม้ใช้เป็นยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับมุตกิดของสตรี
คลุ้ม


ชื่อพืชสมุนไพร
คลุ้ม
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
คลุ้ม
ชื่อท้องถิ่น
คลุ่ม (เกาะช้าง) | คลุ้ม (ภาคตะวันออก) | แหย่ง (ภาคเหนือ) | ก้านพร้า คล้า (ภาคกลาง) | คล้าย (ภาคใต้) | บูแมจีจ้ะบะแม เบอร์แม ( มลายู-นราธิวาส) | บูแมจี่จ๊ะไอย์ (มลายู-ปัตตานี) | บูแมจีจ้ะ ไอ (มลายู) | คล้าใบเงิน | คล้ากั้นแหย่ง
ชื่อวงศ์
MARANTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Donax canniformis (G. Forest) K.Schum
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชยืนต้นไม้เนื้ออ่อนเจริญเติบโตขึ้นเป็นพุ่มหรือเป็นกอ และมีอายุยืนหลายปี มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในที่เป็นน้ำหรือเป็นโคลนตามริมคลองริมสระหรือตามลำธารตามหุบเขาในพื้นที่ภูเขาหินปูนภูมิประเทศแบบคลาสต์ที่มีความชุ่มชื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 800 เมตร
- ลำต้น มีทั้งแบบตั้งตรงและเป็นแบบเลื้อย มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินสามารถแตกหน่อได้ ลำต้นกลมเป็นสีเขียวเข้มออกเป็นข้อ ๆ และมีข้อปล้องยาวหากรวมทั้งก้านและใบจะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 2-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ โดยคนสมัยก่อนมักนำมาใช้จักสานเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เสื่อ กระบุง กระด้ง หรือทำเชือกมัดสิ่งของในชีวิตประจำวัน ต้นคลุ้มมีลักษณะและขนาดคล้ายกับต้นไผ่ ไม่มีปล้องหรือแขนง ตามลำต้น มีผิวเรียบ มีความเหนียว ดัดง่ายรูปทรงสวยงามและคงทนมากกว่าพืชที่ใช้จักสานชนิดอื่น
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เหง้า
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
เหง้า รสเย็น เบื่อ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ดับพิษไข้ทั้งปวง กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้เหนือ ไข้ปอดบวม ดับพิษร้อน แก้ไข้ราดสาด เหือดหัด อีสูกอีใส ฝีดาษ
ชก


ชื่อพืชสมุนไพร
ชก
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ชก
ชื่อท้องถิ่น
ฉก (ภูเก็ต พังงา) | โยก (สตูล) | เนา (ตรัง) | กาชก (ชุมพร) | ชิด (ภาคกลาง) | ตาว (ภาคเหนือ)
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Arenga pinnata (Wurmb) Merr.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้จำพวกปาล์ม มีลำต้นตรง ขนาดใหญ่กว่าต้นตาล สูงประมาณ20–25 เมตร ต้นชกมีอายุประมาณ 30 ปี
- ใบ มีลักษณะคล้ายใบมะพร้าว แต่ใหญ่และแข็งแรงกว่า ก้านใบ และทางใบเหยียดตรงกว่าใบมะพร้าว มีรกสีดำตามกาบใบ หนาแน่น มีความยาวประมาณ 3 เมตร
- ดอก ดอกหรืองวงของต้นชก จะออกดอกจากส่วนบนใกล้ยอดของ ลำต้น มีนิ้วหรือก้านดอกห้อยเป็นพวง ยาวประมาณ 3–5 เมตร ต้นชกจะออกดอกประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม
- ผล ออกผลเป็นทะลาย เนื้อคล้ายผลหลุมพี ภายในผลมี 3 เมล็ดภายในเมล็ดมีเยื่อหุ้มอยู่ด้วย ผลแก่ราวเดือนมกราคมถึง กุมภาพันธ์ ต้นชกตัวผู้เมื่อออกดอกแล้วจะไม่มีผล
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เนื้อเมล็ด ใช้รับประทานเป็นของหวาน ก่อนรับประทานต้องนำไปต้มก่อน แล้วจึงผ่าเพื่อแคะเอาเนื้อออกมาเพราะมีเยื่อหุ้มอยู่จะทำให้เกิดอาการคันได้ ยอดอ่อน ใช้ทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน งวงหรือดอก ใช้ทำน้ำตาลชก คล้ายน้ำตาลโตนด เส้นใยของต้นที่เรียกว่ารกชกใช้ทำแปรง ก้านใบใช้ทำไม้กวาด ใบของต้นชก ใช้มุงหลังคา
เหง้า
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
–
ชิงดอกเดียว


ชื่อพืชสมุนไพร
ชิงดอกเดียว
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ชิงดอกเดียว
ชื่อท้องถิ่น
ราชครูดำ | กาเยาะบราเนาะ |กิ่งดอกเดียว
ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Goniothalamus macrophyllus (Blume) Hook. f. & Thomson
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบและลำต้น กลีบดอกสีเหลืองนวลหรือเหลืองอมชมพู มีกลิ่นหอม ผลกลุ่ม เมื่อสุกสีม่วงเข้ม
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ราก ลำต้น ต้มน้ำให้ผู้หญิงหลังคลอดดื่ม ดองเหล้าดื่มบำรุงร่างกายสำหรับผู้ชาย บำรุงกำลัง
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
–
เชียด


ชื่อพืชสมุนไพร
อบเชยต้น (เชียด)
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
อบเชยต้น (เชียด)
ชื่อท้องถิ่น
กระแจะโมง | กะเชียด | กะทังนั้น (ยะลา) | กระดังงา (กาญจนบุรี) | กะพังหัน | โกเล่ | เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) | เขียด | เคียด | เฉียด | ชะนุต้น (ภาคใต้) | มหาปราบตัวผู้ อบเชย | อบเชยต้น (ภาคกลาง) | ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) | บอกคอก (ลำปาง) | ฝักดาบ (พิษณุโลก) | พญาปราบ (นครราชสีมา) | สะวง (ปราจีนบุรี)
ชื่อวงศ์
Lauraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น ใบและเปลือกหอม ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เหม็น กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เปลือก ใบ
- เปลือก หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต
- ใบ เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
รากกับใบ – ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ๆ
ซองระอา


ชื่อพืชสมุนไพร
ซองระอา
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ซองระอา
ชื่อท้องถิ่น
ไม้ปล้องทอง
ชื่อวงศ์
–
ชื่อวิทยาศาสตร์
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น ใบและเปลือกหอม ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เหม็น กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ชองระอาเป็นสมุนไพรหายาก มีความเชื่อกันว่าสามารถแก้คุณไสย และป้อนกันคุณไสยได้เป็นอย่างดี จึงมีบางคนนำชองระอาพกติดตัว ติดกระเป๋า มีการใช้ไม้ชองระอาไปทำ เครื่องรางของขลัง และทำยารักษาโรค
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
แก้เจ็บเอว แก้ปวดหลัง แก้คุณไสย แก้ยาเบื่อ แก้พิษแมงสัตว์กัดต่อย แก้งูสวัด แก้เริม แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ
เต่าร้าง


ชื่อพืชสมุนไพร
เต่าร้าง
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
เต่าร้าง
ชื่อท้องถิ่น
เต่าร้างแดง | เชื่องหมู่ | มะเด็ง | งือเด็ง
ชื่อวงศ์
PALMAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caryota mitis Lour.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร
- ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบ Caryota mitis Lour.ย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า กว้างประมาณ 13 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน กาบใบ ยาว 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม
- ดอก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบหรือใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว 60-80 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร
- ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกเป็นพวงๆ ทรงกลม ขนาด 2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงคล้ำ
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
หัวและราก มีรสหวานเย็นขม ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ส่วนของหัวและราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงหัวใจ บำรุงปอด และช่วยแก้พิษที่ตับและปอด รวมถึงแก้หัวใจพิการได้ ถือเป็นต้นที่ดีอย่างมากต่ออวัยวะสำคัญ 3 อย่างนี้ รากและหัวมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬขึ้นปอด แก้หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ และอาการช้ำใน ผลแก่ใช้ตำพอกแผล ช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลแห้งและตกสะเก็ดไวยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยป้องกันบาดทะยักอีกด้วยเช่นกัน หรือถ้าเป็นหิดก็ให้ใช้ผลที่ฝานแล้วมาทาแก้หิด กลาก เกลื้อน ส่วนอีกวิธีจะผลใช้ผสมกับน้ำมะพร้าว หั่นลูกทาแก้หิด
เถาว์สะค้าน


ชื่อพืชสมุนไพร
เถาว์สะค้าน
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
เถาว์สะค้าน
ชื่อท้องถิ่น
ตะค้านหยวก (นครราชสีมา)| จะขัด | จะค้าน | จัดค่าน | จั๊กค่าน | ตะค้าน | สะค้าน | หนาม | หนามแน เป็นต้น
ชื่อวงศ์
PIPERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Piper ribesioides Wall.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เถาขนาดกลางเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีรากงอกออกตามข้อ ไม่มีเนื้อไม้ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เถายาวประมาณ 5-6 เมตร เนื้อเถามีหน้าตัดเป็นรัศมี ส่วนเปลือกเถาค่อนข้างอ่อนเนื้อสีขาว
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน
- ดอก เป็นช่อยาวห้อยลงตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กมาก เรียงอัดกันแน่นบนแกนช่อดอก
- ผล เป็นผลสดขนาดเล็ก มีลักษณะกลม
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
เถา สะค้านมีรสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้จุกเสียด บำรุงธาตุ ทำให้ผายเรอ และใช้ปรุงยาธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นตัวยาประจำธาตุลม แก้ไข้ แก้หืด รากมีรสเผ็ดร้อน แก้ไข้ แก้หืด แก้จุกเสียด และบำรุงธาตุ
- ใบ มีรสเผ็ดร้อน แก้ลมในกองเสมหะ และโลหิต ขับลมในลำไส้ แก้แน่นจุกเสียด แก้ธาตุพิการ
- ผล มีรสเผ็ดร้อนอ่อนๆ แก้ลมแน่นในทรวงอก บำรุงธาตุ ดอกมีรสเผ็ดร้อนเช่นกัน ใช้แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมปัตคาดอันเนื่องมาจากพิษพรรดึก
- ผลอ่อน เมื่อนำมาทำให้แห้งใช้เป็นยาแก้ไอ หลอดลมอักเสบ ไซนัส ลดการติดเชื้อในลำคอและการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ฟื้นฟูระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติและอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้ออะมีบา
- ดอก มีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมอัมพฤกษ์ ลมปัตคาดที่เกิดจากพิษพรรดึก
- เถาและใบ มีสรรพคุณเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ แก้แน่นจุกเสียด
- ราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ เป็นยาแก้หืด
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
พบสะค้านเป็นสมุนไพรในตำรับยาอีกมากมาย เช่น ในตำรับพระโอสถพระนารายณ์ มีตำรับ ยามหาจุลทิพย์ แก้เส้นอัมพาต และตำรับ น้ำมันมหาวิศครรภราชไตล เป็นยาทำให้โลหิตไหลเวียนดี และเป็นยาคลายเส้น เป็นต้น การใช้สะค้านไว้ในตำรับ “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของเถาสะค้านร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
ธรณีเย็น


ชื่อพืชสมุนไพร
ว่านธรณีเย็น
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ว่านธรณีเย็น
ชื่อท้องถิ่น
ว่านพญาเย็น | เปราะป่า
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Kaempferia roscoeana Wall.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดินขนาดเล็ก ก้านใบสีเขียว ลักษณะกลมขนาดเล็ก ออกในลักษณะ 2 ด้าน
- ใบ รูปวงรียาว ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ด้านบนแผ่นใบสีเขียว ด้านล่างแผ่นใบสีเขียวนวล เส้นกลางใบ และเส้นใบออกขนานกัน และขนาดเท่าๆ กัน นูนแลเว้าสลับกันทั้งทางด้านบนและด้านล่างใบ
- ดอก สีเหลืองแทงออกจากโคนต้น เป็นช่อเหมือนกล้วยไม้
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ใบและหัวกินเป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ โดยนำใบมาตำให้แหลกผสมน้ำซาวข้าวหรือน้ำเหล้า พอกดับพิษไข้ มีสรรพคุณดูดหนองรักษาแผลได้อย่างดี ปลูกไว้กับบ้านเป็นสิริมงคล มีความร่มเย็นเป็นสุข หากว่านนี้งอกงามเป็นที่ผิดสังเกตเป็นสัญญาณแสดงว่าเจ้าของจะได้เกียรติยศ ได้ตำแหน่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมีโชคลาภ และใช้ประกอบในพิธีน้ำมนต์ ใช้ประพรมสิ่งของที่ต้องเสนียด
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
รากดองเหล้ากินเป็นยากำลัง ต้มดื่มถอนพิษไข้ตำพอกบรรเทาอาการอักเสบของหนองฝี
ปลายข้าวสารไหม้


ชื่อพืชสมุนไพร
ปลายข้าวสารไหม้
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ปลายข้าวสารไหม้
ชื่อท้องถิ่น
ดอกปลายข้าวสาร | ดอกปลายสาร | เข็มปลายสาร | เข็มปลายข้าวสาร (ภาคใต้ ดอกปลายสาร)
ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ixora sp.,chasaslia curviflors Thw.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร แผ่กิ่งก้าน เป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก ขึ้นได้ทุกพื้นที่ที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบ น้ำขัง ชอบขึ้นแซมในป่าสวนยาง หรือขึ้นแซมตามร่องสวน
- ใบ ป้อมรีปลายแหลม เส้นใบเป็นร่องมองเห็น ได้ชัด ขนาดประมาณ 2.0 x 5 นิ้ว
- ดอก เป็นช่อคล้ายปะการัง คล้ายดอกเข็ม แต่ดอกปลายข้าวสารจะสั้นและมนกว่า ดอกจะมี 2 ชนิด คือ ชนิดสีขาวอมชมพูเรื่อ ๆ ฐานรองดอกจะมีสีเข้มกว่า มีสีม่วงเรื่อ ๆ
- ผล อ่อนสีเขียวมีลักษณะคล้ายผมดอกเข็ม ผลเมื่อสุกจะมีสีดำ
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อนใช้แกงเลียง แกงส้ม หวานอมขมเล็กน้อย
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ทั้งต้น ต้มดื่ม บำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่น แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ
ใช้ทั้งต้น ตำพอกแก้พิษงู โดยเฉพาะตำพอกแก้แผลเปื่อยจากการถูกงูกัด
เจตพังคี


ชื่อพืชสมุนไพร
เจตพังคี
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
เจตพังคี
ชื่อท้องถิ่น
ใบหลังขาว (ภาคกลาง) | ตองตาพราน (สระบุรี) | ตะเกีย | เปล้าเงิน หนาดตะกั่ว (นครพนม) | เปล้าน้ำเงิน (ภาคใต้) | มนเขา (สุราษฎร์ธานี) | สมี (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อวงศ์
Euphorbiaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cladogynos orientalis Zipp.ex Span.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 2 เมตร กิ่งก้านมีขนรูปดาวสีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาลขรุขระ ทุกส่วนมีขน รากมีเปลือกหุ้มเป็นเยื่อบางสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน หรือเป็นทรงกลมแคบ ขอบใบหยักไม่สม่ำเสมอ แผ่นใบหนา ด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างมีขนสีขาวจำนวนมาก ทำให้มองเห็นแผ่นใบสีขาวหรือสีเงิน ก้านใบยาว 1.5-5 เซนติเมตร มีขน หูใบรูปหอก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ที่ฐานมีต่อม 1 ต่อม เส้นใบข้าง 4-5 คู่
- ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ก้านช่อยาว 1 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน แต่ละช่อมีดอกเพศเมีย 1 ดอก ดอกเพศผู้ 1-2 ดอก ดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาด 1.5-2 มิลลิเมตร มีขนนุ่มรูปดาว เกสรเพศผู้สีเหลือง เป็นเส้นยาวยื่น 4 เส้น อับเรณูขนาด 0.5 มิลลิเมตร ก้านชูยาว 2-3 มิลลิเมตร มีเกสรเพศเมียที่เป็นหมัน ขนาด 0.5 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียมีก้านดอกย่อยยาว 1.3 เซนติเมตร ใบประดับ 2 ใบ หนึ่งใบมีลักษณะคล้ายใบ ขนาด 9 มิลลิเมตร อีกใบเป็นรูปแถบ ขนาด 4 มิลลิเมตร ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงติดคงทน รูปแถบ 6-7 กลีบ กว้าง 1 มิลลิเมตร ยาว 6-13 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม ที่ขอบมีต่อมประปราย รังไข่กึ่งทรงกลม ก้านชู 3 อัน ขนาด 7 มิลลิเมตร
- ผลรูปทรงกลม ผลแห้งไม่แตก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร แบ่งเป็น 3 พู ผิวเป็นลายเส้นสีขาวทั้งผล และมีขนนุ่มสีขาว เมล็ดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร พบตามป่าดิบ ป่าไม่ผลัดใบ ป่าเขาหินปูน ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-500 เมตร ออกดอกและติดผลราวเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ตำรายาไทย ราก รสเผ็ดขื่นเฝื่อนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม ช่วยขับลม แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้อง หรือนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาท้องเด็กอ่อน ทำให้ผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคในกระเพาะและลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร หรือใช้ร่วมกับมหาหิงคุ์หรือการบูรก็ได้ หรือนำรากมาผสมกับรากกำยาน ต้มน้ำดื่ม บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ หรือผสมกับไพล กะทือบ้าน กะทือป่า กระเทียม ขิง พริกไทย ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง บดเป็นผงละลายน้ำตาลทรายพอหวาน ดื่มเป็นยารักษาธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในกระเพาะและลำไส้ ทั้งต้น ต้มน้ำหรือทำเป็นผง หรือดองเหล้า กินแก้ลมจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และท้องร่วง
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในเด็ก หรือตำประคบ แก้ปวด ตำรับยาสมุนไพรล้านนา ปรากฏยารักษาอาการเลือดคั่ง หรือเกิดอาการกระสับกระส่าย ให้เอาหัวเป้งบก รากดับยาง เจตพังคี ในสัดส่วนเท่ากัน ตำเป็นผงใส่น้ำเย็น เอาเหล็กหล่อเผาให้ร้อนแดง แล้วโยนใส่น้ำยา แล้วนำมากิน นำมาแปรรูปเป็นตำรับยาสมุนไพรสำเร็จรูป ในชื่อของตำรับยา “ยาประสะเจตพังคี” โดยจัดเป็นตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งมีสรรพคุณแก้กษัยและแก้อาการจุกเสียด โดยประกอบไปด้วยสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ดังนี้ กานพลู การบูร กรุงเขมา เกลือสินเธาว์ ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกสมอทะเล ลูกกระวาน ใบกระวาน รากไคร้เครือ พญารากขาว เปลือกหว้า (ทั้งหมดนี้อย่างละ 1 ส่วน), และยังมีพริกไทยล่อน บอระเพ็ด ระย่อม (อย่างละ 2 ส่วน), ข่า (16 ส่วน) และเจตพังคี (34 ส่วน) ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายด้วยน้ำสุก
พลูเถื่อน


ชื่อพืชสมุนไพร
พลูเถื่อน
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
พลูเถื่อน
ชื่อท้องถิ่น
พลูเขา | พลูนาบ
ชื่อวงศ์
PIPERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Piper betle Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเลื้อย ลำต้นเป็นปล้องและมีข้อ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีร่องเล็ก ๆ สีน้ำตาลอมแดงตามแนวยาวของลำต้น สันร่องมีสีเขียว โดยลำต้นส่วนปลายจะมีสีเขียว ส่วนลำต้นส่วนต้นจะมีสีเขียวอมเทา
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มมากกว่าด้านล่าง ใบเป็นร่องบุ๋มด้านใบ โคนใบมีลักษณะกลมเบี้ยวหรือมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม มีเส้นใบนูนเด่น ใบอ่อนมีสีเขียวออ่น และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่เต็มที่จะมีสีเหลือง เนื้อใบหนา เป็นมัน รสเผ็ดมากและมีกลิ่นฉุน
- ดอก ออกรวมกันเป็นช่อสีขาว มีช่อดอกแบ่งเพศกันอยู่คนละต้น ประกอบด้วยช่อดอกตัวเมีย และดอกตัวผู้ มีใบประดับดอกขนาดเล็กรูปวงกลม ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ 2 อัน มีขนาดสั้นมาก ส่วนช่อดอกตัวเมียมีความยาวเท่ากับช่อดอกตัวผู้ แต่มีก้านช่อดอกยาวกว่า ดอกมักบานไม่พร้อมกัน จึงทำให้ไม่ค่อยพบเห็นผลของพลู เพราะมีโอกาสผสมเกสรน้อย
- ผล ลักษณะอัดแน่นที่เกิดจากดอกในช่อดอก ผลของพลูมีลักษณะลักษณะผลเป็นผลสด รูปกลม ออกเป็นพวง มีก้านยาว เรียงตัวค่อนข้างแน่น ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดง ผลค่อนข้างนุ่ม ด้านในประกอบด้วย 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกล
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ใบ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้รำนาด ปวดฟัน
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
อาการปวดฟัน รำมะนาด ช่วยให้ฟันทน ใช้ใบสด 1-2 ใบ (ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่) เคี้ยวอมในปากแล้วคายทิ้ง ช่วยลดอาการปวดฟัน
มะนาวผี


ชื่อพืชสมุนไพร
มะนาวผี
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
มะนาวผี
ชื่อท้องถิ่น
ขี้ติ้ว | จ๊าลิ้ว (เหนือ) | นางกาน (ขอนแก่น) | กะนาวพลี | กรูดผี (ใต้) | มะลิว | กรูดเปรย
ชื่อวงศ์
Rutaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์
Atalantia monophylla DC.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูงได้ ถึง 6 เมตร ลำตันและกิ่งค่อนข้างเป็นเหลี่ยม มีหนามยาวหนึ่งอันตามซอกใบ หนามยาว 1-1.5 ซม. เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกตื้นๆ ตามยาวของลำต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 1.8-4.5 ซม. ยาว 4.8-8 ซม. ปลายป้านเป็นติ่ง โคนรูปลิ่ม กว้าง ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย
- ใบแผ่เรียบ หนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอ่อน เกลี้ยงทั้งสองด้าน หรือมีขนกระจายตามเส้นกลางใบ เส้นใบข้าง 5-7 คู่ เส้นใบย่อยแบบร่างแห ชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบยาว 4-8 มม.
- ช่อดอก แบบช่อซี่ร่ม ออกตามซอกใบ ก้านช่อดอก และก้านดอกเกลี้ยง ถึงมีขนละเอียด ก้านดอก ยาว 0.8-1.5 ซม. ใบประดับย่อย รูปใบหอก ร่วงง่าย ยาวประมาณ 1.5 มม. มีขน กลีบเลี้ยงไม่สมมาตร แยกออกถึงฐานเพียงหนึ่งด้าน มักมี 2 แฉก ยาวประมาณ 2 มม.เกลี้ยง ถึงมีขนละเอียด ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาว มี 4 หรือ 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ รูปขอบขนานแกมรูปรี ยาว 6-8 มม. เกลี้ยง เกสรเพศผู้ 8 หรือ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน สลับกันระหว่าง สั้นกับยาว โคนเชื่อมกัน เป็นหลอด เกลี้ยง อับเรณู รูปไข่ ยาวประมาณ 1 มม. รังไข่อยู่ เหนือวงกลีบ ยาว 6-7 มม. มี 3-4 ช่อง แต่ละช่อง มีออวุล 1-2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมีย ยาวเท่ากับรังไข่ ยอดเกสรเพศเมียมี 3-4 แฉก ไม่เท่ากัน จานฐานดอก รูปวงแหวน มี 8-10 พู ไม่ชัดเจน ผลกลม หรือรี ขนาดเล็ก ผิวเรียบ สีเขียวอ่อนหรือเทา เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. ผิวหนาคล้ายหนังมีต่อมน้ำมันเป็นจุดหนาแน่น ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมีย ติดทน
- ผลภายในมีกลีบคล้ายส้ม เมล็ดจำนวนน้อย รูปรี สีขาว พบตามป่าชายหาด บนเขาหิน ชายฝั่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 800 เมตร ประเทศไทยพบทุกภาค ออกดอก และเป็นผลระหว่าง เดือน ธันวาคม- เมษายน
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ใบ มีกลิ่นคล้ายใบมะกรูดหรือใบมะนาว แก้โรคทางเดินหายใจ แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง ผล รักษาโรคทางเดินหายใจ น้ำมันจากเปลือกผลใช้ทาภายนอก แก้โรคไขข้ออักเสบ
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ในตำรายาไทย ใบมะนาวผีมีกลิ่นคล้ายใบมะกรูดหรือใบมะนาว ซึ่งก็มีตำรับยาใช้ใบมะนาวผีเป็นยาแก้โรคทางเดินหายใจ แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง ผลมะนาวผีก็ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจ น้ำมันจากเปลือกผลใช้ทาภายนอก แก้โรคไขข้ออักเสบ ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านใช้ใบและผลมะนาวผี แก้โรคทางเดินหายใจ ใบเข้ายาแก้อาการจุกเสียด แก้อาการท้องเสีย และใช้เป็นยาภายนอกโดยผสมเข้าในตำรับยาแก้โรคผิวหนัง ในตำรับยาทางอายุรเวทและสิทธา ซึ่งเป็นการแพทย์ดั้งเดิมของอินเดีย ทำการสกัดน้ำมันจากเปลือกผล แล้วนำน้ำมันมาอุ่นให้ร้อนใช้ทาแก้ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ในหลายประเทศนิยมนำผลมะนาวผีมาดองกินเป็นอาหาร น้ำมันจากเปลือกมะนาวผียังมีกลิ่นหอมช่วยผ่อนคลายหรือลดความเครียดด้วย
มะเฟือง


ชื่อพืชสมุนไพร
มะเฟือง
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
มะเฟือง
ชื่อท้องถิ่น
เฟือง (ภาคใต้)
ชื่อวงศ์
OXALIDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Averrhoa carambola L.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะเป็นทรงพุ่ม สูงไม่เกิน 30 ฟุต แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำสีแดงอ่อน ลำต้นสีน้ำตาล เปลือกลำต้นไม่เรียบ
- ใบ มนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น มีดอกออกตามซอกใบเป็นช่อสั้นๆ สีชมพูอ่อน แดง กลางหลอดดอกมีสีเหลือง และดอกมีกลิ่นหอม
- ผล มะเฟืองจะมีความอวบน้ำ รูปร่างแปลกตา ตัวผลหยักเว้าเป็นร่อง 5 ร่อง มีผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลืองใสสวยงาม เปลือกบางเรียบ เมื่อเวลาหั่นตามขวางจะเป็นรูปดาวสวยงาม สามารถทานได้ทั้งผลสุกและผลอ่อน รสชาติเปรี้ยวฝาด ไปจนถึงหวาน
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ผล ช่วยดับกระหาย แก้ร้อนใน ช่วยลดความร้อนภายในร่างกายได้ดี บรรเทาอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับเสมหะ ช่วยให้เลือดแข็งตัวง่าย ช่วยระงับความฟุ้งซ่าน ช่วยให้นอนหลับง่าย บรรเทาอาการเลือดออกตามไรฟัน และใช้ขจัดรังแค บำรุงเส้นผมได้ ใบและราก ปรุงกินเป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ใบสดตำใช้พอกตุ่มอีสุกอีใสและกลากเกลื้อน และนำใบไปต้มน้ำอาบ แก้ตุ่มคันได้ ใบอ่อนและรากมะพร้าว ผสมรวมกันต้มดื่มแก้ไข้หวัดใหญ่ แก่นและราก ต้มกินแก้ท้องร่วง แก้เส้นเอ็นอักเสบ
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
ตำรายาไทย ใช้ ใบ รสจืดมันเย็น ต้มดื่มดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด บดทาหรือพอก แก้เม็ดผดผื่นคัน ต้มน้ำอาบแก้ตุ่มคัน บวม แผลมีหนอง ห้ามเลือด แก้ปวด ถอนพิษแมงมุม แก้พิษงู นำใบสดมาตำให้ละเอียด ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้ปวดฟัน และใช้ทารักษาอีกสุกอีใส ใบและราก เป็นยาเย็น ใช้ใบและรากสด นำมาต้มเอาน้ำเป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้กาฬขึ้นภายนอกภายใน แก้พิษสำแดง ใช้ใบและผลสด นำมาต้มกินเป็นยาแก้ไข้ แก้อาเจียน ยอด ผสมกับรากมะพร้าว แก้ไข้หวัดใหญ่ แก่น ราก ต้มกิน แก้ท้องร่วง แก้เจ็บเส้นเอ็น ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น รับประทานแก้ไอ แก้ไข้ ระงับความร้อน ถอนพิษผิดสำแดง แก้คอแห้ง แก้กระหายน้ำ แก้อาเจียน แก้ปอด ขับเสมหะ ขับน้ำลาย ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้กามโรค แก้บิด แก้ท้องร่วง ลดการอักเสบ บวม แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เลือดออกตามไรฟัน ใช้สระผม บำรุงเส้นผม ขจัดรังแค คั้นเอาน้ำจากผลกินแก้ไข้ แก้เมา แก้ม้ามโตเนื่องจากไข้ป่า ผสมสารส้ม หรือสุราดื่มขับนิ่ว แก้หนองใน ขับเลือดเสีย กินมากขับระดู ทำให้แท้ง ดอก รสจืดเย็น ต้มดื่ม แก้ไข้ ขับพยาธิ ถอนพิษเฮโรอีน ทาแก้แพ้ เปลือกต้น รสฝาดเมา แก้ไข้ท้องเสีย ดับพิษแผลปวดแสบปวดร้อน เปลือกลำต้นชั้นใน นำมาปรุงเป็นยาผสมกับไม้จันทน์ และชะลูด ใช้ทาภายนอกแก้ผดผื่นคัน ราก รสหวานเย็น ต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ปวดแสบกระเพาะอาหาร จุกแน่นอกยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ รากและแก่น เข้ายากับหญ้าหวายนา หญ้าแห้วหมู ข้าวโพด และเมล็ดฝ้าย ต้มน้ำดื่ม แก้นิ่ว ใบ ใบมะยมตัวผู้ และใบหมากผู้หมากเมีย ต้มน้ำอาบ แก้อีสุกอีไส ใบ และราก แก้ไข้ ผล ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
ไม้ค้อนตีหมา


ชื่อพืชสมุนไพร
ไม้ค้อนตีหมา
ชื่อตามตำราเภสัชกรรมไทย
ไม้ค้อนตีหมา
ชื่อท้องถิ่น
ลิ้นควาย (ลำปาง) | หางกวาง (นครพนม) | ค้อนหมาแดง(นครราชสีมา) | หูกลวง (ปราจีนบุรี , ตราด) | โคนมะเด็น (สุพรรณบุรี) | คันทรง | ทรงคันทรง (ชลบุรี) | ค้อนตีหมา (ยะลา) | พันทรง (นราธิวาส) | ค้อนหมาขาว (ภาคกลาง) | ยูลง ลิดาซาปี (มลายู-ภาคใต้) | กระม้า (เขมร-สระบุรี |ขุนม้า ขุนมา (เขมร-สุรินทร์) | ซินตะโกพลี (กะเหรี่ยง-ลำปาง) | กะม้า ขุนนา (เขมร)
ชื่อวงศ์
ANCISTROCLADCEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ancistrocladus tectorius (Lour.) Merr
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น เป็นเถาแก่สีน้ำตาล เถาแตกเป็นรอยตื้นตามยาว มักเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่น มีตะขอเป็นมือจับเป็นข้อแข็ง ๆ สำหรับเป็นที่ยึดเกาะพันไม้อื่น
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียงเวียนสลับ รูปหอกกลับ รูปรี หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลมและค่อย ๆ สอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น แผ่นใบแข็งกระด้าง มีเส้นใบเชื่อมกันก่อนถึงขอบใบ
- ยอดอ่อน เป็นสีแดงหรือสีเขียวอมขาวอ่อน ๆ ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด
- ดอก จะมีขนาดเล็ก ฐานดอกเป็นสีเขียว กลีบดอกเป็นสีขาวอมแดงถึงสีแดงคล้ำ ส่วนโคนเป็นท่อสั้น ๆ แยกออกเป็น 5 กลีบ ผล มีปีก 5 ปีก มีความยาวไม่เท่ากันแบ่งเป็นปีกเล็ก 2 ปีก และปีกใหญ่ 3 ปีก เมื่อแก่จะแห้งเป็นสีน้ำตาล
สรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา
ใช้เถาและใบมาต้ม เคี่ยวให้น้ำเข้มข้น รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหารเช้าจะช่วยขับพยาธิ ทั้งต้น ต้มดื่มแก้โรคกระษัย ไตพิการ ไข้ป่า
ตัวอย่างตำหรับยา ที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา
เนื้อไม้ ราก รสฝาดเอียนเล็กน้อย แก้พิษทั้งปวง แก้วัณโรค แก้พิษไข้ ร้อนใน บำรุงปอด ราก รสเย็น แก้ตัวร้อน ดับพิษไข้ตัวร้อน ดับพิษตานซาง แก้วัณโรค แก้ปวดท้อง
30 สมุนไพร จากที่กล่าวมาล้วนมีประโยชน์มากมาย สำหรับสรรพคุณ ตามส่วนที่ใช้ปรุงยา และตัวอย่างตำหรับยาที่นำมาปรุงยา รักษาโรค หรือพิกัดยา ล้วนแล้วแต่มีคุณอนันต์ ท่านที่เป็นโรคประจำตัว หรือต้องการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง และสนใจนำสมุนไพรเหล่านี้ไปรักษา ท่านสามรถนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสม และยังเป็นการส่งเสริมให้เราร้กษาจากธรรมชาติบ้าง และเพื่่อให้แพทย์ทางเลือกนี้ช่วยให้คนไทยมีสขภาพดีด้วยยาจากธรรมชาติ จาก สมุนไพร ใกล้ถิ่นบ้านเราเอง
เอกสารอ้างอิง
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 . สภาเภสัชกรรม. https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=70&itemid=2514&catid=0
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. อักษรเจริญทัศน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ราชบัณฑิตยสถาน. https://dictionary.orst.go.th/
รายชื่อสมุนไพรไทย-จีน ก-ฮ (วิกิสมุนไพร) พร้อมสรรพคุณกว่า 1,800 ชนิด !. Medthai. https://medthai.com/รายชื่อสมุนไพร/
เจ้าของเรื่อง และเจ้าของภาพ

เมษา สินทบทอง
ผู้ศึกษาอบรม การแพทย์แผนไทย
ศูนย์ฝึกอบรมรักษ์สุขภาพการแพทย์แผนไทย นครศรีธรรมราช
Views: 17386
- อุทยานแห่งชาติเขาหลวง : จากผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์สู่แหล่งต้นน้ำสำคัญของแดนใต้ตอนกลาง
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เดินป่าหน้าฝน – น้ำตกกรุงชิง
- น้ำตกกรุงชิง ความงามกลางป่าเขาหลวงและธนบัตร 1000 บาท
- น้ำตกอ้ายเขียว : เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่เดินสบายตามสวนหินเลียบลำธาร
- ป่ากรุงชิง มหัศจรรย์พืชพรรณและสัตว์ป่าแห่งผืนป่าดิบชื้นของภาคใต้
- น้ำตกพรหมโลก อีกหนึ่งเสน่ห์ทางธรรมชาติและสายน้ำของนครศรีธรรมราช
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ : สัมผัสบรรยากาศป่าดงดิบริมน้ำตกพรหมโลก
- สมุนไพร 30 ชนิดจากการสำรวจพรรณไม้ในป่าธรรมชาติกรุงชิง