ประวัติศาสตร์ชุมชน
ชุมชนท่าวังเริ่มตั้งชุมชนบริเวณริมคลองท่าวัง หรือคลองท่าซักเป็นเส้นทางคมนาคมหลักทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนไปสู่ทะเลอ่าวไทยที่ปากแม่น้ำปากพญา
ซึ่งเป็นอ่าวสําหรับพักเรือสําเภา ทําให้ชุมชนท่าวังเป็นย่านการค้าที่สําคัญ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของเมืองเก่านครศรีธรรมราชในอดีตเคยเป็นวังของ “เจ้าหญิงปรางหรือหม่อมปราง” เนื่องจากบริเวณหน้าวังของหม่อมปรางเป็นท่าเรือ มีเรือสําเภาในและต่างประเทศมาจอดเรียงรายนับแต่ท่าหน้าวังของอุปราชพัด (ยศขณะนั้น) ปัจจุบันคือวัดท่าโพธิ์มาจนถึงท่าหน้าวังของหม่อมปรางซึ่งปัจจุบันคือช่วงสะพานราเมศวร์จึงได้ชื่อบริเวณนี้ว่า “ท่าวัง” (Upparamai, 1983)


ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหัวเมืองเป็นแบบเทศาภิบาล เมืองนครถูกลดบทบาทความสําคัญด้านการเมืองการปกครอง แต่มีการพัฒนาด้านอื่นเกิดขึ้น เช่น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้า ด้านการศึกษา การทําเหมืองแร่ และด้านการคมนาคม เป็นต้น กําแพงเมืองบางส่วนถูกรื้อออกเนื่องจากมีการพัฒนาของเมืองตามนโยบายของเมืองหลวง มีการสร้างสะพานเพื่อเชื่อมต่อเพื่อความสะดวกในการเดินทางมากขึ้น ทําให้มีการขยายตัวการตั้งถิ่นฐานตามแนวสันทรายเดิม โดยเฉพาะชุมชนท่าวัง กลายเป็นย่านการค้าที่สําคัญ (Nonnat, 2019)
จากการพัฒนาเมืองในยุคนี้ส่งผลให้มีกลุ่มชาวจีนจํานวนมากอพยพมาทําการค้าขายในบริเวณนี้ นครศรีธรรมราชเข้าสู่เศรษฐกิจในยุคใหม่และชุมชนท่าวังเป็นศูนย์กลางด้านการค้าของภูมิภาค เป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ พ่อค้าชาวจีนบางคนทําการค้าจนกิจการรุ่งเรื่องถึงส่งออกสินค้าไปเมืองปีนัง สิงคโปร์ และกลายเป็นบุคคล
สําคัญของเมือง ได้รับศักดินาและตําแหน่งทางราชการในการดูแลผลประโยชน์ของราชการ ส่งผลให้พ่อค้า ชาวจีนและชาวต่างชาติสร้างอาคารบ้านเรือนและร้านค้ามี ความหนาแน่นมากขึ้นโดยก่อสร้างเป็นลักษณะของตึกแถว 2-3 ชั้น เพื่อเป็นร้านค้าและที่อยู่อาศัยซึ่งได้รับอิทธิพล รูปแบบการก่อสร้างจากตะวันตกผ่านฝีมือชาวจีนที่ อพยพเข้ามาทําการค้าในชุมชนท่าวัง (Songprasert, 2011)


สภาพแวดล้อมชุมชนในปัจจุบัน
ปัจจุบันชุมชนท่าวังเป็นพื้นที่สําคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นย่านธุรกิจที่สําคัญของเมือง มีถนนราชดําเนินเป็นถนนสายหลักของเมืองและเป็นถนนสายหลักของพื้นที่ มีอาคารพาณิชย์และอาคารเรือนแถวเพื่อการค้าขายตั้งริมสองฝั่งของถนน มีถนนจําเริญวิถีและถนนศรีปราชญ์เป็นถนนสายรองซึ่งวางตัวขนานกับถนนราชดําเนิน ถนนเทวราช ถนนชมพูพล และถนนวัดคิดเป็นถนนรองที่ตัดขวางกับถนนราชดําเนิน มีอาคารพาณิชย์และบ้านเดี่ยวริมถนนดังกล่าว ในพื้นที่ชุมชนมีศาลเจ้าและวัดจํานวนมาก เช่น ศาลเจ้ากวนอู วัดโพธิ์ วัดจันทาราม วัดศรีทวี วัดวังตะวันตกและวัดวังตะวันออก


สถาปัตยกรรมในชุมชนท่าวัง
สถานที่สําคัญ ๆ ในพื้นที่ชุมชนท่าวัง และอาคารเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่ ประกอบด้วย
1. โบราณสถาน : บริเวณพื้นที่ชุมชนท่าวังในปัจจุบัน มีสถาปัตยกรรมที่เป็นโบราณสถานซึ่งขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรในพื้นที่จํานวน 3 แหล่งคือ อาคารตึกรัตนธัช วัดท่าโพธิ์,กุฏิวัดจันทาราม ตั้งอยู่ในวัดจันทาราม, กุฏิวัดวังตะวันตกตั้งอยู่ในวัดวังตะวันตก



2. ตึกแถวบริษัทบวรพาณิชย์ : เป็นอาคารเรือนตึกแถวรูปแบบโคโลเนียล 2 ชั้น 6 คูหา เป็นของขุนบวรรัตนรักษ์ ซึ่งเป็นบุคคลสําคัญของชุมชนท่าวัง อาคารตั้งอยู่ริมถนน ราชดําเนินและใกล้กับพื้นที่ชุมชนริมคลองท่าซัก เป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากการขยายตัวของชุมชนริมคลอง ปัจจุบันเป็นสํานักงานขายส่งเครื่องดื่มต่าง ๆ ถือเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทรงคุณค่า
3. ศาลเจ้ากวนอู : ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2430 ในสมัย รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นอาคารไม้ ต่อมามีการสร้างใหม่เป็น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้นในบริเวณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2473 ถือเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทรงคุณค่า ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารสองชั้นเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นล่างเป็นส่วนสํานักงาน ห้องเก็บของ และช่องทางถนน เพื่อไปยังลานโล่งด้านหลังและตึกสมาคมพาณิชย์จีน ชั้นสองเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของเทพเจ้ากวนอู และเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ผังบริเวณประกอบด้วยลานโล่ง เอนกประสงค์เพื่อรองรับกิจกรรมประเพณีของชุมชน ท่าวัง ผังชุมชนอาคารตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนการค้าชาวจีน เป็นย่านการค้าที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์คุณค่า ด้านประวัติศาสตร์ ศาลเจ้ากวนอูมีความเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ชาวจีนในชุมชนท่าวังในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนายหลีซําเฮงพ่อค้าคหบดีชาวจีนแต้จิ๋ว คนสําคัญ ของชุมชนท่าวัง และได้ยกพื้นที่ให้ตั้งสมาคมพาณิชย์จีน นครศรีธรรมราช เป็นหลักฐานสําคัญทางประวัติศาสตร์ ของชุมชน อาคารมีสภาพดี โครงสร้างมั่นคงแข็งแรง มีอายุอาคารประมาณ 90 ปี



ปัจจุบันชุมชนท่าวังยังคงหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ยังคงมีการค้าขาย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ แต่การขยายตัวของเมือง และระบบการคมนาคมที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดความซบเซาของย่านการค้า ไม่คึกคักเหมือนในอดีต ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพุทธ และชาวจีน จจุบันเป็นชุมชนการค้าขนาดใหญ่ที่ผสานสองวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ-จีน ให้อยู่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างลงตัว ทั้งยังมีประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่ยาวนาน ทำให้เป็นแหล่งรวมของสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมอย่างหนาแน่น ทั้งยังมีกลุ่มคนสร้างสรรค์อย่าง Creative Nakhon ที่ขับเคลื่อนย่านให้คึกคักอย่างน่าจับตามองในช่วงหลายปีมานี้



ขอบคุณภาพจาก Facebook นครศรีดีย์ - Nakhon Si Dee
Views: 2136