โนราโรงครู : วิถีแห่งศรัทธาบนคาบสมุทรภาคใต้

โนราโรงครู
โนราโรงครู

      โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะและเป็นที่นิยมอย่างสูงของคนในภาคใต้ เป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนาย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โนราประกอบพิธีกรรม หรือ โนราโรงครู และโนราเพื่อความบันเทิง
      โดยตระหนักถึงความสำคัญและเพื่อการรู้จักรากเหว้าของตัวเอง ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมโนราให้เป็นที่เข้าใจของคนไทยโดยทั่วไป
      โนราโรงครู จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความตระหนักให้เป็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมพื้นบ้านได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ ส่งเสริมสนับสนุน และสืบทอดงานวัฒนธรรมพื้นบ้านอันเป็นภูมิปัญญาของภาคใต้ รวมทั้งส่งเสริมให้โนราโรงครูได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในโอกาสต่อไป
      โนราโรงครูเล็ก ใช้เวลา 1 วันกัน 1 คืน โดยปกตินิยมเริ่มในตอนเย็นวันพุธแล้วไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับโนราโรงครูใหญ่ แต่ไม่สามารถจัดพิธีให้ครบถ้วนได้ โดยเฉพาะพิธีครอบเทิด การรำคล้องหงส์ และการรำแทงเข้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเลา หรือความไม่พร้อมด้านอื่นๆ 

การทำพิธีโนราโรงครูมีความมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1) เพื่อไว้ครูหรือไว้ตายายโนรา อันเป็นการแสดงกตเวทิตาคุณต่อครูของตน  
2) เพื่อทำพิธีแก้บน (แก้เหมรย) รวมถึงพิธีอื่นๆ เช่น เหยียบเสน ตัดจุก จัดผมผีช้อ ผู้ผ้าปล่อย ฯลฯ
3) เพื่อทำพิธีครอบเทริด หรือผู้ผ้าใหญ่ สำหรับผู้ที่จะเป็นโนราใหญ่ หรือนายโรงโนรา และทำพิธีโนราโรงครูต่อไป

องค์ประกอบและรูปแบบในการแสดงโนราโรงครู

ประกอบด้วย การรำ มีรูปแบบการรำพื้นฐาน การรำขั้นสูงและการรำประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ รำสิบสองท่า รำสิบสองบท รำคล้องหงส์และแทงเข้ การร้องใช้รูปแบบการร้องรับของผู้รำและนักดนตรี คือ การร้องรับไม่ใช้ท่ารำ การร้องรับประกอบท่ารำ ได้แก่ ร้องรับบทกาดครู ร้องรับประกอบการรำทุกประเภท การแสดงเป็นเรื่อง เป็นรูปแบบของการแสดงละครจากวรรณกรรมพื้นบ้านเฉพาะตอนสำคัญต่อเนื่องกัน 12 เรื่อง และเลือกเรื่องมาแสดงเต็มรูปแบบของพิธีกรรมอีก 2 เรื่องเพื่อสร้างความศรัทธาในพิธีกรรมให้มากยิ่งขึ้น การบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรม มีรูปแบบของจังหวะที่ใช้ประกอบพิธีกรรมแต่ละขั้นตอนโดยเฉพาะ ได้แก่ การเซ่นของสังเวยและประทับทรงใช้เพลงเชิด การเชิญวิญญาณใช้จังหวะเชิญตายาย การร่ายรำประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ใช้เพลงโค

พิธีกรรมโนราโรงครู เป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีการจัดขึ้นในชุมชนของภาคใต้มาแต่สมัยโบราณ ผู้ประกอบพิธีกรรมโนราโรงครูต้องเป็นศิลปินโนราที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ได้รับการสืบสานและสืบทอดความรู้ในการประกอบพิธีกรรมต่อกันมาจากบรรพบุรุษ การแสดงโนราโรงครูจึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของชุมชนและสังคมเกี่ยวกับความสามมัคคี การเคารพและเชื่อมันวิญญาณบรรพบุรุษว่าจะสามารถคุ้มครองและปกปักรักษาลูกหลาน สามารถแก้บนและรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในครอบครัวได้ จึงนิยมรวมเครือญาติและผู้คนในละแวดใกล้เครียงจัดแสดงโนราโรงครูกันเป็นประจำทุกปี

โนราโรงครู : องค์ประกอบ

  1. โรงโนรา
  2. เทริด
  3. ครูหมอ
  4. หน้ากากพราน

คณะโนราโรงครู

โนราโรงครูคณะหนึ่ง ประกอบด้วย โนราใหญ่ ซึ่งเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ บางแห่งเรียนกโนราใหญ่ว่า “ครูหมอโนรา” คณะโนรา มีศิลปินประมาณ 15-20 คน หรือแล้วแต่กรณีที่มีการตกลงกันและคนทรง

Views: 90

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

โนราโรงครู
โนราโรงครู