อำเภอ นาบอน

นาบอน

1. ชื่ออำเภอ

อำเภอ นาบอน


2. ข้อมูลทั่วไป/ประวัติความเป็นมา

     นาบอน เป็นคำศัพท์ที่เรียกพื้นที่ลุ่มระหว่างควนที่มีต้นบอนขึ้น ซึ่งคนสมัยก่อนทำนาเรียกโดยทั่วไปว่า “นาใน” หรือ “นาบอน” ตลาดนาบอน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ที่แปด” ขณะนั้นตำบลนาบอนยังไม่มีสถานีรถไฟเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนฟุโจวจากรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย กลุ่มหนึ่ง นำโดย ลิ่งจื้อป้อ ลาวฮวาลิ่ง พ้างมิงอู้ กงกวางจั๊ว โดยสารรถไฟจากมาเลเซียมาลงที่สถานีรถไฟทุ่งสง ค้างที่ทุ่งสง ๑ คืน จากนั้นต่อรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟคลองจัง และเดินเท้ามาตั้งชุมชน “ที่แปด” คือสะพานรถไฟจากทุ่งสงถึงนาบอน เป็นสะพานที่แปด และต่อมาได้เรียกชื่อตามหมู่บ้านนาบอน ว่า “ตลาดนาบอน”

     ยุคหลัง ๆ เมื่อคนจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาทำมาหากินกัน คนไทยมักขายที่สวนไปหาที่ทำนา เมื่อยางพาราเข้ามาในเมืองไทย ปลูกยางพารากันเป็นส่วนใหญ่ จึงได้สถิติเป็นเมืองปลูกยางพารามากที่สุด ในเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2508-2516 คำว่า “นาบอน” จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ต่อมาเมื่อสุขาภิบาลนาบอน ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลนาบอน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการบริหาร รวมถึงการจัดตั้งชุมชนย่อยในเขตเทศบาล เทศบาลตำบลนาบอนได้กำหนดให้มีชุมชนย่อย จำนวน 2 ชุมชน โดยแบ่งตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้ คือ ชุมชนตลาดบน และชุมชนตลาดล่าง

3. ที่ตั้งและอาณาเขต

        อำเภอนาบอนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอฉวางและอำเภอช้างกลาง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทุ่งใหญ่
นาบอน
ภาพจาก วิกิพีเดีย

4. ข้อมูลด้านสังคม

     4.1 เขตการปกครอง (หมู่บ้าน/ตำบล) ข้อมูลประชากร

อำเภอนาบอนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 34 หมู่บ้าน ได้แก่

นาบอน

(Na Bon)

14 หมู่บ้าน

ทุ่งสง

(Thung Song)

10 หมู่บ้าน

แก้วแสน

(Kaeo Saen)

10 หมู่บ้าน

นาบอน
ภาพจาก วิกิพีเดีย

     4.2 ข้อมูลประชากร

จำนวน 18,980 คน
*หมายเหตุ* รายงานข้อมูลอำเภอนาบอน อัพเดตข้อมูล ณ วันที่ 3 ม.ค. 2566 เวลา 03:33:12
ที่มา : https://shorturl.asia/miLjq

5. คำขวัญอำเภอ

น้ำตกคลองจัง ยางดังพันธุ์ดี พื้นที่อุดม ชมงานปิดกรีด

6. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ

     6.1 ที่ตั้งและขนาด

         นาบอนเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประมาณ 192.899 ตารางกิโลเมตรที่ว่าการอำเภอห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 77 ตารางกิโลเมตร

     6.2 อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอฉวาง  
ทิศใต้ ติดต่ออำเภอทุ่งสง   
ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอทุ่งสง   
ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอทุ่งใหญ่

     6.3 ภูมิประเทศ

โดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นที่สูงและเนินเขาต่างๆ สลับกับที่ราบบางแห่ง เหมาะแก่การทำสวนยางพารา สวนกาแฟ สวนปาล์ม ทำนาบ้างเพียงส่วนน้อย

     6.4 ภูมิอากาศ

       อำเภอนาบอน  ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่านอ่าวไทยและมรสุม –ตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย มี 2 ฤดู คือ

  1. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนธันวาคม และมีฝนตกมากที่สุดช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 1,200 มิลลิลิตร
  2. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะเริ่มร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายนของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส

     6.5 การคมนาคม

  สามารถเดินทางได้ทั้งทางรถไฟและรถยนต์

7. การนับถือศาสนาและวัฒนธรรม

ด้านศาสนา

ประชากรนับถือศาสนาพุทธ = 27,202 คน ร้อยละ 99.41

  • ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม = 161 คน ร้อยละ 0.59
  • ประชากรนับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ = – คน ร้อยละ –

ด้านวัฒนธรรม

  • โครงการวัฒนธรรมด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์จีนฮกจิว ชุมชนนาบอน ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชุมชนชาวจีนฮกจิวนาบอนอาศัยกันอยู่ในหมู่ที่ 11 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนแห่งนี้มีลักษณะเป็นห้องแถวเก่าแก่ที่เรียงรายเป็นแนวยาว มีลักษณะเป็นทั้งอาคารไม้ห้องแถวแบบดั้งเดิมและอาคารปูน 2 ชั้น ตลอดทั้งชุมชนห้องแถวนี้แบ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัย ร้านขายอาหารจีนฮกจิว ร้านทำขนมจีนฮกจิว ร้านน้ำชา ร้านค้าทั่วไป ร้านขายของชำ ตลาด ศาลเจ้า สมาคมจีน และสำนักงานของบริษัทยางพารา ทั้งหมดล้อมรอบไปด้วยสวนยางพาราที่เป็นอาชีพสำคัญของคนในชุมชนแห่งนี้มาอย่างยาวนาน หลายปีที่ผ่านมาชุมชนชาวจีนฮกจิวในตำบลนาบอนได้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยในหลายรูปแบบ รวมถึงมิติวัฒนธรรมด้านอาหารที่เป็นจุดเด่นของชาวจีนฮกจิวด้วยเช่นกัน โครงการวัฒนธรรมด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์จีนฮกจิว (Hockchiu) เป็นการจัดการข้อมูลชุมชนโดยมุ่งเน้นในมิติด้านอาหารเป็นสำคัญ โดยมุ่งหวังว่าการดำเนินงานครั้งนี้จะมีส่วนส่งเสริมให้ชาวจีนฮกจิวในชุมชนนาบอนเกิดความรักและหวงแหนในอัตลักษณ์และวัฒนธรรมด้านอาหารของตนเอง และนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารของคนจีนฮกจิวเผยแพร่ออกสู่วงกว้างมากขึ้นต่อไป

8. ขนบธรรมเนียมประเพณี (ศิลปะการแสดง/ประเพณีท้องถิ่น)

ด้านการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่มีมาแต่โบราณ เช่น

ด้านวัฒนธรรม

  • โครงการวัฒนธรรมด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์จีนฮกจิว ชุมชนนาบอน ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชุมชนชาวจีนฮกจิวนาบอนอาศัยกันอยู่ในหมู่ที่ 11 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนแห่งนี้มีลักษณะเป็นห้องแถวเก่าแก่ที่เรียงรายเป็นแนวยาว มีลักษณะเป็นทั้งอาคารไม้ห้องแถวแบบดั้งเดิมและอาคารปูน 2 ชั้น ตลอดทั้งชุมชนห้องแถวนี้แบ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัย ร้านขายอาหารจีนฮกจิว ร้านทำขนมจีนฮกจิว ร้านน้ำชา ร้านค้าทั่วไป ร้านขายของชำ ตลาด ศาลเจ้า สมาคมจีน และสำนักงานของบริษัทยางพารา ทั้งหมดล้อมรอบไปด้วยสวนยางพาราที่เป็นอาชีพสำคัญของคนในชุมชนแห่งนี้มาอย่างยาวนาน หลายปีที่ผ่านมาชุมชนชาวจีนฮกจิวในตำบลนาบอนได้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยในหลายรูปแบบ รวมถึงมิติวัฒนธรรมด้านอาหารที่เป็นจุดเด่นของชาวจีนฮกจิวด้วยเช่นกัน โครงการวัฒนธรรมด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์จีนฮกจิว (Hockchiu) เป็นการจัดการข้อมูลชุมชนโดยมุ่งเน้นในมิติด้านอาหารเป็นสำคัญ โดยมุ่งหวังว่าการดำเนินงานครั้งนี้จะมีส่วนส่งเสริมให้ชาวจีนฮกจิวในชุมชนนาบอนเกิดความรักและหวงแหนในอัตลักษณ์และวัฒนธรรมด้านอาหารของตนเอง และนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารของคนจีนฮกจิวเผยแพร่ออกสู่วงกว้างมากขึ้นต่อไป

9. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ (อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/กลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรเป็นหลัก คือ การทำสวนยาง สวนกาแฟ สวนโกโก้ และการทำนา เนื่องจาการปลูก ยางพารามาก ดังนั้นจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแปรรูปยางดิบต่าง ๆ เช่น โรงรมยาง โรงงานผลิต แอร์รายซีส เพื่อรับรองผลผลิต อำเภอนาบอนยังเป็นที่ตั้ง ขององค์การสวนยางนาบอนที่สำคัญของการยาง ในเขตนครศรีธรรมราช สามารถผลิตยางออกไปจำหน่ายในต่างประเทศปีละมากกว่า 250,000 ตัน ทำรายได้แก่ประเทศปีละประมาณ 9,000 ล้านบาท

  เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ

  1. การเกษตร

      พื้นที่การเกษตรของอำเภอนาบอน มีประมาณ 166,726 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรดังนี้คือ ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ สวนกาแฟ แต่การทำนาเป็นการทำเพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น สำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และทำรายได้หลักให้แก่ประชากร คือ ยางพารา ปาล์ม ผลไม้ชนิดต่าง ๆ

      2. การปศุสัตว์

ปะชากรในพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายบ้าง เช่น โค เป็ด ไก่ และสุกร

    3. การอุตสาหกรรม

ประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพารา มีโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา และมีกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพารา และมีแรงงานในโรงงานประกอบด้วยคนในพื้นที่และแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนด้วย

    4. การพาณิชย์

    ประกอบด้วย ปั๊มน้ำมัน ตลาดสดเอกชน ธนาคาร 

10. ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ดิน

  • นพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากตะกอนที่มาจากแม่น้ำลำคลอง ค่อย ๆ สูงขึ้น เหมาะแก่การทำเกษตร  
  • และดินบริเวณที่ราบสูงเชิงเขา ในอำเภอนาบอน สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และทำนา

น้ำ

อำเภอนาบอน มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คือ ลำคลอง จำนวน 6 สาย มีห้วย หนองบึง ประมาณ 18 แห่ง มีน้ำเฉพาะฤดูฝน สระน้ำ จำนวน 9 แห่ง มีน้ำเก็บกักใช้ได้ตลอดปี ส่วนแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีน้ำใช้ตลอดปีมีจำนวน 3 สาย คือ

  • คลองจัง มีน้ำตลอดปี การทำเกษตรค่อนข้างได้ผลดี โดยน้ำไหลผ่านท้องที่ หมู่ที่ 4,5,6,7 ตำบล นาบอน
  • คลองมิน เป็นสายน้ำสำคัญต่อการทำเกษตรของอำเภอนาบอน ไหลผ่านท้องที่หมู่ที่ 3,4,5,7 ตำบลแก้วแสน และหมู่ที่ 2 ตำบลนาบอน ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำตาปี อำเภอฉวาง
  • คลองลำปะ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาคลองวังหีบซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกับเขาเหมนน้ำไหลผ่านท้องที่หมู่ที่ 1,4 ตำบลนาบอน

ป่าไม้

อำเภอนาบอนมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 16,867 ไร่ ในพื้นที่บางส่วนเป็นป่าสงวน มีการบุกรุกเพื่อทำสวนการเกษตร และเป็นป่าโบราณในส่วนที่เป็นเทือกเขาพระสุเมรุ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด

11. สถานที่สำคัญและการท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

น้ำตกคลองจัง และ เดินป่าเขาหมน

          เป็นน้ำตกขนาด 7 ชั้น ที่สวยมากแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใต้เกิดจากเทือกเขาเหมน เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับรองจากเขาหลวงและเขานัน (เทือกเขานครศรีธรรมราช) บริเวณน้ำตกยังเป็นป่าสมบูรณ์ สำหรับการเดินป่าเขาเหมน มีลักษณะเป็นรูปทรงปิรามิด ลาดชัน สูง 1,235 เมตร มีเมฆมหอก ให้สัมผัสอากาศเย็นสบายตอลอดปี มีพันธุ์ไม้ป่าที่สวยงามและมากกว่า 300 ชนิด

การเดินทาง

จากตัวเมือง ใช้เส้นทางนครศรีธรรมราช-ทุ่งสง ถึงสามแยกควนไม้แดง เลียวเข้านาบอน ถนนหมายเลข นศ 2001 ระยะทาง 11 กม. ถึงน้ำตกคลองจัง

การเดินป่าเขาเหมน

ใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน 1 คืน และช่วงเดินป่าคือเดือนธันวาคม – เมษายน

สอบถามรายละเอียด

          กองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอนาบอน ที่ 17 โทร. (075) 491244

น้ำตกคลองจัง และ เดินป่าเขาเหมน

          เป็นน้ำตกขนาด 7 ชั้น ที่สวยมากแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใต้เกิดจากเทือกเขาเหมน เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับรองจากเขาหลวงและเขานัน (เทือกเขานครศรีธรรมราช) บริเวณน้ำตกยังเป็นป่าสมบูรณ์ สำหรับการเดินป่าเขาเหมน มีลักษณะเป็นรูปทรงปิรามิด ลาดชัน สูง 1,235 เมตร มีเมฆมหอก ให้สัมผัสอากาศเย็นสบายตอลอดปี มีพันธุ์ไม้ป่าที่สวยงามและมากกว่า 300 ชนิด

สอบถามรายละเอียด กองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอนาบอนที่ 17 โทร. (075) 491244

นาบอน

การเดินทาง

จากตัวเมือง ใช้เส้นทางนครศรีธรรมราช-ทุ่งสง ถึงสามแยกควนไม้แดง เลี้ยวเข้านาบอน ถนนหมายเลข นศ 2001 ระยะทาง 11 กม. ถึงน้ำตกคลองจัง

การเดินป่าเขาเหมน

การเดินป่าเขาเหมน ใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน 1 คืน และช่วงเดินป่าคือเดือนธันวาคม – เมษายน

นาบอน

จุดชมวิวเขาเหมน

เขาเหมนตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง หมู่ที่ 4 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช การเดินทางจากอำเภอทุ่งสงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ขาขึ้นกรุงเทพ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร แยกเข้าอำเภอนาบอนระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงบ้านคลองจัง จะพบทางแยกเข้าไปน้ำตก ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตย.1 (คลองจัง) ตั้งอยู่ เป็นที่ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขออนุญาตขึ้นเขาเหมน ยอดเขาเหมนสูงประมาณ 1,307 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อากาศหนาวเย็น ลมพัดแรงและมีเมฆปกคลุมเกือบทั้งปี จุดชมทิวทัศน์บนยอดเขาเหมนจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้โดยรอบ สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก จะมองเห็นที่ตั้งของชุมชน อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งสง อำเภอช้างกลาง และอำเภอลานสกาได้อย่างชัดเจน สภาพป่าโดยทั่วไป เป็นป่าดงดิบเขา ต้นไม้ในป่ามีลักษณะเตี้ย ชั้นเรือนยอดส่วนใหญ่ค่อนข้างอยู่ในระดับเดียวกัน ความสูงประมาณ 3 -5 เมตร บริเวณกิ่งก้านและลำต้นมี มอส เฟิร์น รวมทั้งพืชอิงอาศัยหลายชนิดขึ้นอย่างหนาแน่นส่วนใหญ่เป็นพืชวงศ์ก่อ แดงเขา ทะโล้ โกงกางเขา โคลงเคลง บิโกเนีย และที่สำคัญคือ บัวแฉกใหญ่ และพืชในตระกูล ขิง – ข่า นอกจากนี้ยังมีกล้วยไม้ป่าชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์คางกบใต้ ซึ่งเป็นกล้วยไม้ประจำถิ่นด้วย

ข้อมูลอ้างอิง

กศน.นาบอน.  (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปอำเภอนาบอน. 
https://sites.google.com/site/nfenabon/home/history?pli=1

พี่กับน้อง. (7 กุมภาพันธ์ 2558).“เขาเหมน” (นครศรีธรรมราช) ชมป่าโบราณในม่านเมฆ สวรรค์บนดินถิ่นใต้. https://pantip.com/topic/33209273

ระบบ 3 หมอรู้จักคุณ. ( 8 ม.ค. 2566). รายงานข้อมูลอำเภอนาบอนhttps://shorturl.asia/miLjq

วิกิพีเดีย. (12 มีนาคม 2565). อำเภอนาบอน.  https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอนาบอนศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). โครงการวัฒนธรรมด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์จีนฮกจิว. https://www.sac.or.th/exhibition/24communities/nabon/

สาธารณสุขอำเภอนาบอน. (2562). รายงานการดำเนินงานประจำปี 2562 สสอ. อำเภอนาบอนhttps://www.phonabon.go.th/product_images/207-Report-62.pdf

Thai-Tour.com. (ม.ป.ป.). น้ำตกคลองจัง และ เดินป่าเขาเหมนhttps://www.thai-tour.com/place/2658

ชื่อผู้บันทึก นางสาวรัตนา วรรณทอง (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)

Visits: 1643

No tags for this post.