วัดหน้าพระลาน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

สถานที่ตั้ง

วัดหน้าพระลาน ตั้งอยู่ทางมุมด้านทิศใต้จดถนนพระลานหลังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช โดยมีถนนเล็กๆ กั้นอยู่

ระหว่างกัน สามารถเดินผ่านจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ออกไปทางประตูด้านข้างบริเวณจุดจำหน่ายสินค้า เลี้ยวขวาก็จะเห็น

วัดหน้าพระลานอยู่ตรงข้ามกัน

ที่อยู่ของวัด      วัดหน้าพระลาน ตั้งอยู่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

นิกาย             สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประเภทวัด       วัดราษฎร์

ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด : เมื่อปีพุทธศักราช 1800

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา : เมื่อปี พ.ศ. 2493

(วันพระ สืบสกุลจินดา, 2567)

เจ้าอาวาส        พระ​สมุห์​รุ่งธรรม​ อติภทฺโทรักษาการเจ้าอาวาสคนปัจจุบัน เมื่อปี 2567

(พระ​คณาจาร​ย์จังหวัด​นครศรี​ธรรมราช​, 2567)

ประวัติวัด

ชื่อวัดมาจากคำว่า “พระลาน” ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีด้านทิศเหนือ วัดแห่งนี้คาดว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.

1800 สำหรับพระราชาคณะที่ “พระสังฆราชาลังการาม” มีหน้าที่ดูแลรักษาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ทางทิศใต้

แต่เดิมเนื่องจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นเขตพุทธาวาสไม่มีพระสงฆ์ เพิ่งเริ่มมีการปลูกกุฎีในสมัยพระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เมื่อทรงนิมนต์พระครูวินัยธร (นุ่น) จากวัดเพชรจริกมาปกครองวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดหน้าพระลานจึงเป็นวัดสำหรับคณะสงฆ์จะได้พำนักเพื่อรักษาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ทำให้เป็นเสมือนเป็นแหล่งตักศิลาเพราะเป็นที่

อันรวมพระภิกษุสงฆ์ผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงช่างต่าง ๆ อาทิ ช่างหล่อ, ช่างปั้น, ช่างเขียน, ช่างไม้ แม้กระทั้งช่างทำเรือ

จำพรรษาอยู่เป็นอันมาก (วันพระ สืบสกุลจินดา, 2564)

ย้อนไปในอดีตของเมืองนครศรีธรรมราช หากไม่นับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารซึ่งไม่มีพระภิกษุสงฆ์จำวัดรักษาอยู่

วัดหน้าพระลานนับเป็นเบอร์หนึ่งในใต้หล้า ชื่อวัดนี้ได้เพราะตั้งอยู่หน้าพระลานใหญ่ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่โล่งกว้างสำคัญของเมืองนครที่

ปัจจุบันกลายเป็นสังฆาวาสคณะใต้ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดนี้เป็นศูนย์กลางคณะสงฆ์ของเมืองที่มีความสำคัญต่อเนื่องยาวนานมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์หลายร้อยปี สมมติหลับตาจิ้มลงไป

บนสมุดข่อย บนเอกสารโบราณซัก 10 ครั้ง จะจิ้มถูกชื่อวัดหน้าพระลานซัก 7 ครั้ง


ในโลกยุคโบราณที่การเรียนการศึกษายังอยู่กับวัด ผู้คนต้องมาเรียนหรือเรียนหนังสือที่วัด วัดหน้าพระลานซึ่งเป็นวัดเบอร์หนึ่ง

จึงย่อมเป็นที่ชุมนุมชาวยุทธจากทั่วยุทธภพ ทั้งพระเถระที่ทรงปัญญา ทั้งลูกศิษย์ลูกหาหัวกะทิที่เมื่อจบไปจากวัดก็กลายไปเป็นเสา

หลักของเมืองนคร (อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช, 2567)

ซึ่งในสมัยรัชกาลที่  5 นั้น พระสงฆ์วัดนี้มีบทบาทมาก พระองค์ทรงให้มีพระราชพิธี 12 เดือน เกี่ยวกับการสวดภาณวาร

(วาระแห่งการสวด) และภาณยักษ์ (จขัดสิ่งชั่วร้าย) ทั้งนี้ รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จมาตักน้ำจาก “บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” ด้วยภาชนะ

“หมาจาก”  เพื่อเสวยเมื่อ พ.ศ. 2432 ซึ่งในสมัยโบราณ “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” ก็ทรงให้นำน้ำจากบ่อน้ำนี้ใช้ประกอบพิธี

เกี่ยวกับการโปรย “เงินเล็กปิดตรานะโม” และพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบขอบเขตพระนครด้วยเช่นกัน บ่อน้ำแห่งนี้ถูกนำไปใช้ใน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี แม้แต่งานพระราชพิธีทวีธาภิเษก พ.ศ. 2447 (รัชกาลที่ 5)

ด้วย (แผ่นป้ายให้ข้อมูลของวัดหน้าพระลาน, 2566)

พื้นที่ต่างๆ ภายในวัดหน้าพระลาน

“รูปหล่อหลวงพ่อพระครูการาม (ดี สุวณโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระลาน”  –  ลักษณะรูปปั้นของหลวงพ่อจะเป็นสีเหลืองทอง

อร่าม ตั้งอยู่บริเวณกุฏิเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน  ใกล้กับประตูทางเข้าฝั่งถนนพระลาน เป็นจุดที่ผู้คนจะมาสักการะเพื่อขอพร

หลวงพ่อพระครูการาม อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระลาน ที่มีคุณูปการมากมายกับวัดหน้าพระลาน

“รูปหล่อสมเด็จองค์พระปฐมพระพุทธเมตตานาคาธิบดีศรีธรรมโศกราช” (หลวงพ่อพระนาค) – สร้างขึ้นเพื่อน้อมถวายเป็น

พระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ตั้งอยู่บริเวณใกล้กันกับกุฏิพระครูกาแก้ว อดีตเจ้าอาวาส

วัดหน้าพระลาน

“กุฎิพระครูกาแก้ว อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระลาน” – ตั้งอยู่ใกล้กับ รูปหล่อสมเด็จองค์กระปฐมพระพุทธเมตตานาคาธิบดี

ศรีธรรมโศกราช” (หลวงพ่อพระนาค)

“ศาลาอนุสรณ์จำปีศรีวิชัย” – จัดสร้างโดย พระครูกาแก้ว ชนติโก (จรัส ละอองพิมล)  พระ​สมุห์​รุ่งธรรม​ อติภทฺโท(ทับเที่ยง)  และ

คณะสงฆ์วัดหน้าพระลาน พร้อมด้วยพุทธบริษัท  ตั้งอยู่บริเวณหน้า “บ่อน้ำพระพุทธมนต์” ของวัดหน้าพระลาน เป็นอาคารที่ใช้ปฏิบัติ

ศาสนกิจต่างๆ ของวัด

“หอระฆัง” – อยู่บริเวณด้านหลังติดกับ “บ่อน้ำพระพุทธมนต์”

“อุโบสถ” – ด้านหน้าของอุโบสถจะหันหน้าไปทางถนนที่ติดกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นอุโบสถที่มีความสวยงามวิจิตรมาก

มองเห็นได้ถึงการเป็นอุโบสถที่มีอายุยาวนานมากแล้ว

“ศาลาอเนกประสงค์” – ตั้งอยู่ใกล้กับประตูทางเข้าฝั่งถนนพระลาน ตรงกันข้ามกับรูปหล่อหลวงพ่อพระครูการาม (ดี สุวณโณ)

อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระลาน ซึ่งอาคารนี้ยังเป็นศูนย์การเรียนชุมชนวัดหน้าพระลานด้วย

ลักษณะเด่น

ภายในวัดมีบ่อน้ำสำคัญ ชื่อว่า “บ่อน้ำพระพุทธมนต์” บ่อน้ำแห่งนี้ถือเป็น 1 ใน 6 บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของเมืองนครศรีธรรมราช

ที่ถูกนำไปประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าบ่ออื่นใดในเมือง

นครศรีธรรมราช ผู้ใดได้ดื่มกินน้ำในบ่อนี้จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีวาสนาสูง โดยมีเคล็ดว่าหากจะตักน้ำขึ้นมาดื่มนั้นต้องตักเอา

น้ำทางทิศอีสานของบ่อขึ้นมาจึงจะบังเกิดผลดี (สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2562)

โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ

เป็นบ่อน้ำซึ่งตั้งอยู่ในวัดหน้าพระลาน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารซึ่งเป็นพระอารามหลวงและเป็นวัดมหาธาตุ

ประจำเมือง บริเวณด้านทิศใต้มีลักษณะเป็นลานทรายมีการขุดบ่อนำน้ำมาใช้ ต่อมาภายหลังมีการสร้างวัดขึ้น บริเวณที่เป็นลาน

ทราย อาณาเขตของวัดจึงครอบคลุมบ่อน้ำดังกล่าวด้วย จึงมีการตั้งชื่อว่าวัดหน้าพระลาน ในครั้งโบราณชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำ

ศักดิ์สิทธิ์ น้ำใสสะอาด มีความหนาแน่นของน้ำมากกว่าบ่ออื่น ๆ หากใครได้ดื่มน้ำในบ่อนี้จะมีสติปัญญาดี มีบุญวาสนา จะได้เป็น

ขุนนางผู้ใหญ่ นอกจากนั้นชาวบ้านยังเชื่อว่าน้ำในบ่อนี้ สามารถใช้ผสมยารักษาโรคและใช้ประพรมขับภูตผีปีศาจได้ด้วย จึงนิยม

ตักน้ำในบ่อนี้ไปใช้ดื่มกินตามความเชื่อของตน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ในปีพุทธศักราช 2433 และได้เสด็จประพาสประทับแรม

จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) เป็นเจ้าเมืองทรงทราบ เรื่องราวบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดนี้ จึงได้เสด็จ

มายังวัดหน้าพระลาน ทรงตักน้ำในบ่อนี้ด้วยภาชนะซึ่งทำด้วยใบจาก (หมาจาก) ด้วยพระองค์เอง และเสวยทรงรับสั่งถาม

พระครูรอง (พระครูศรีจันทร์) เจ้าอาวาส เขาลือว่าถ้าใครได้ดื่มน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ แห่งนี้แล้ว จะได้เป็นใหญ่เป็นโต เฉลียวฉลาด

กันจริงหรือประการใด เจ้าอาวาสได้ทูลว่าขอถวายพระพรมหาบพิตร ลูกศิษย์วัดหน้าพระลานถ้าได้ดื่มน้ำในบ่อนี้แล้ว อย่างเลวก็

สามารถที่จะคาดว่าวขึ้น

เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเคยอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบ่อแห่งนี้เพื่อเข้าสู่พิธีและพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

ของเมืองนครศรีธรรมราช และอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบ่อแห่งนี้เข้าสู่งานพระราชพิธีทวีธาภิเษก เมื่อพุทธศักราช 2547

พิธีอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบ่อแห่งนี้ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร

เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ (พ.ศ. 2530) พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

5 รอบ (พ.ศ. 2542) พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา เมื่อวันพุธที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550

รวมถึงได้อัญเชิญน้ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ เมื่อวันจันทร์ที่

5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 (ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, 2554) 

กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 106 ตอนที่ 16 หน้า 729 วันที่ 31 มกราคม 2532 บริเวณ

ขอบฐานพระพุทธรูปเป็นฐานแปดเหลี่ยมมีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ด้านละ 2 บรรทัด เว้นด้านที่ 7 และ 8 ซึ่งมีเพีงด้านละ 1 บรรทัด

การอ่านจารึกจะต้องอ่านบรรทัดบนต่อเนื่องกันไปทุกด้านก่อนแล้วจึงอ่านบรรทัดล่างต่อเนื่องไปจนครบ โดยบรรทัดบนจะมีอักษร

จารึกอยู่ 6 ด้าน บรรทัดล่างมีอักษรจารึก 8 ด้าน มีการจารึกอักษรเรียงตามลักษณะการอ่านดังนี้

ด้านที่ 1 บรรทัดบน พุทศกราชใด 2240 พระพรณสา

ด้านที่ 2 บรรทัดบน เสคสังขยา 3 เดือน 5 วัน ณ วัน 4+9

ด้านที่ 3 บรรทัดบน คำ ฉลู นพศก ออกขุนทิพภักดีศีรสำพุด

ด้านที่ 4 บรรทัดบน มีไจโสมมนัด……………………………………

ด้านที่ 5 บรรทัดบน …………….พระพุทธเจ้าไวไนสาศนาจวน

ด้านที่ 6 บรรทัดบน 5000 พระพรณสา เปน 500 ชั่ง ทั้งถาน

ด้านที่ 1 บรรทัดล่าง นางคงจันเปนช่าง แลพระพุทธรูปอ่ง

ด้านที่ 2 บรรทัดล่าง นิง สูง 5 ศอกมีเสด เปนดีบุก 280 ชั่ง พระ

ด้านที่ 3 บรรทัดล่าง อรหัน 2 รูป เปนดีบุก 160 ชั่ง เทกบเปน

ด้านที่ 4 บรรทัดล่าง ดีบุก 440 ชั่ง……………………………………..

ด้านที่ 5 บรรทัดล่าง ……………………………….ไว้ด้วยกันเปนดุจนี้

ด้านที่ 6 บรรทัดล่าง ไสชร ไวตราบเทานิภภาร แลแผ่บุนนี้ไปแดมา

ด้านที่ 7 บรรทัดล่าง ดาบิดาลูกหลานภรรญายาดิทั้งหลายให้

ด้านที่ 8 บรรทัดล่าง พ้นทุกเถิด

(สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2562)

ข้อมูลอ้างอิง

แผ่นป้ายให้ข้อมูลของวัดหน้าพระลาน. (2566). ประวัติวัดหน้าพระลาน. ค้นหาข้อมูลเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2568.

พระคณาจารย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2567.) พระ​สมุห์​รุ่งธรรม​ อติภทฺโท รักษาการเจ้าอาวาสวัดหน้าพระลาน. สืบค้นเมื่อวันที่

9 มีนาคม 2568. จาก https://www.facebook.com/groups/142332054644389/posts/กลุ่มพระคณาจารย์จังหวัด

นครศรีธรรมราช-ขอน้อมถวายมุทิตาจิตแด่พระสมุห์รุ่งธรรม-อติภ/839506094926978/?_rdr

วันพระ สืบสกุลจินดา. (2564). ประวัติวัดหน้าพระลาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2568. จากhttps://nakhonsistation.com/วัด

หน้าพระลาน/

สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช. (2562).  วัดหน้าพระลาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568. จาก

https://www.facebook.com/nakonsrifad14

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (2554). วัดหน้าพระลาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568.     

จาก m-culture.in.th/album/195483/บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์วัดหน้าพระลาน

อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช. (2567). Learning Fest เทศกาลการเรียนรู้ : บ่อน้ำแห่งปัญญาวัดหน้าพระลาน.

สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2568. จาก https://www.facebook.com/photo?fbid=122114224256463547

Views: 245

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

You are currently viewing วัดหน้าพระลาน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช