วัดสำโรง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

สถานที่ตั้ง

ที่อยู่ของวัด      บ้านนาหลวงเสน หมู่ที่ 6 ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110

นิกาย             สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประเภทวัด       วัดราษฎร์

ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด : เมื่อปีพุทธศักราช 2470

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา : เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2518

(พระสังฆาธิการ), ม.ป.ป.)

เจ้าอาวาส        พระบุญส่ง กต ปุญโญ (รักษาการเจ้าอาวาส)

(สุวิทย์ คงหอม, 2568)

ประวัติวัด

1.วัดสำโรงสร้างขึ้นหลังจากสร้างวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราชไม่นาน ถ้าเป็นการสร้างในยุคนี้ก็จะมีอายุราว

800-1,000 ปี

2.วัดสำโรงสร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์

แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งถ้ามีการสร้างสมัยนี้ก็น่าจะมีอายุราว 250 ปี

3.วัดสำโรงอาจจะสร้างหลังการสร้างวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราชไม่นาน ต่อมาอาจจะมีการปล่อยทิ้งร้างทำให้

สภาพวัดเสื่อมโทรม จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในคราวการเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติของรัชกาลที่ 1 ซึ่งถ้าเป็นไปได้ดังที่กล่าวมา

วัดสำโรงอาจสร้างมานานประมาณ 800-1,000 ปี

(กิตติศักดิ์ และคณะ, 2563, น. 22)

การสร้างวัดสำโรงมีจุดประสงค์สำคัญประการหนึ่ง ก็เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอารยธรรมของชุมชน ซึ่งใน

พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาที่สันนิษฐานว่าเข้ามาพร้อมกับการเดินทางติดต่อค้าขายของ

พ่อค้าชาวอินเดีย นับตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ลังกาสุกะ และ ตามพรลิงก์ มาจนกระทั่งปัจจุบัน อิทธิพลความคิดความเชื่อพระพุทธศาสนา

ในภาคใต้ มีลักษณะความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ กลายเป็นรากฐานในวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในพื้นที่ภาคใต้ ปรากฎสิ่งที่

แสดงออกถึงความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีการสร้างวัดเป็นจำนวนมาก วัดที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของผู้คน

ในภาคใต้ นับแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน เช่น วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งถ้าหากวัดสำโรง ตำบลนาหลวง

เสน อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีการก่อสร้างคราวเดียวกันกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ก็จะเป็นสถานที่ทรงคุณค่าทั้งทาง

ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และ โบราณคดี เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนยึดวัดสำโรงเป็นที่พึ่งทางใจ มีหลักยึดเหนี่ยว จนเห็น

ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่าง วัดกับชุมชน ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวตั้งอยู่บนรากฐานแห่งวัฒนธรรม ประเพณี และ

พิธีกรรมทางศาสนา ที่มีรากฐานมาจากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาและยังคงรักษาความเชื่อมั่นอยู่ได้ไม่เปลี่ยนแปลง

(กิตติศักดิ์ และคณะ, 2563, น. 21-22)

พื้นที่ต่างๆ ภายในวัดสำโรง

“ภูเขาหินปูน”  ที่ภายในมีถ้ำและโบราณวัตถุหลายอย่างตั้งแต่ครั้งในอดีตกาล โดยมีการสร้างบันไดจากพื้นดินสำหรับขึ้นไปจำนวน

47 ขั้น เพื่อขึ้นไปถึงบริเวณดังกล่าว

“อุโบสถ” ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของวัดมีความสวยงามวิจิตรด้วยศิลปะการตกแต่งที่ดูเด่นเป็นสง่า เมื่อมองจากถนนจะมีทิวทัศน์ของ

ภูเขาด้านบนที่ส่งให้อุโบสถสวยมากยิ่งขึ้นอีก

“ศาลาพระครูรัตนพิศาล หลวงปู่แก้ว พ่อท่านแก้ว วัดสำโรง”  เป็นศาลาที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระครูรัตนพิศาล อดีตเจ้าอาวาส

วัดสำโรงไว้เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา  ตั้งอยู่บริเวณกลางวัด ด้านหลังเป็นหนองน้ำของวัดสำโรง

“ศาลาพ่อท่านคล้าย หลวงปู่ทวด” เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาเช่นกัน ตั้งอยู่บริเวณหน้าภูเขาที่จะขึ้น

ไปยังถ้ำ ตัวศาลานั้นจะปลูกไว้บนผืนน้ำ ซึ่งเป็นน้ำที่ต่อจากหนองน้ำภายในวัด

“หนองน้ำวัดสำโรง” เป็นโครงการชลประทานที่ไหลผ่านวัดสำโรง จึงทำให้วัดสำโรงมีพื้นที่ของหนองน้ำเล็กๆ บริเวณหน้าถ้ำ ที่ช่วย

เพิ่มความสวยงามและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น

ลักษณะเด่น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของทางวัด ที่อยู่บริเวณของภูเขาหินปูน คือ

ดังนี้ คือ

  • เศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ มีทั้งแบบผิวเรียบ แบบลายเชือกทาบ และ ลายกดประทับ

  • เศษภาชนะดินเผาเคลือบเขียวไข่กา

  • พระพุทธรูปศิลปพม่าสมัยหลัง ทำด้วยหินขาว (alabaster) ประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญในปัจจุบัน

สิ่งสำคัญที่ค้นภายในถ้ำโดนคาดการณ์ว่าก่อนประวัติศาสตร์, อยุธยา, รัตนโกสินทร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ มีทั้งแบบผิวเรียบ แบบลายเชือกทาบ และลายกดประทับ

2. ชิ้นส่วนขาหม้อสามขา

3. เศษภาชนะดินเผาเคลือบเขียวไข่กา

4. กระดูกและฟันสัตว์

5. พระพุทธรูปศิลปพม่าสมัยหลัง ทำด้วยหินขาว (alabaster) ประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญในปัจจุบัน

6. พระไสยาสน์ ปูนปั้น ทาสีทอง ยาว 9.70 เมตร สูง 2.40 เมตร หนา 1.50 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานบริเวณเพิงผาใกล้ถ้ำช้าง

ประวัติการอนุรักษ์

พ.ศ. 2529 โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคใต้) สำรวจ

พ.ศ. 2552 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบขุดดินและหินในถ้ำใกล้ถ้ำช้างเพื่อ

พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว 

(ชุมทางประวัติศาสตร์ทุ่งสง, ม.ป.ป.)

โบราณวัตถุที่สำคัญ

1.รูปปั้นยักษ์ สันนิษฐานว่าสร้างมานานแล้ว มีลักษณะรูปร่างสีเขียว ประดิษฐานบริเวณเพิงผา ประวัติการสร้างไม่ทราบแน่ชัด

แต่ชาวบ้านที่นับถือมีความเชื่อว่ายักษ์จะปกปักรักษาพระบรรทม

2.พระบรรทมหรือพระไสยาสน์ ปูนปั้น ทาสีทอง ยาว 9.70 เมตร สูง 2.40 เมตร หนา 1.50 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก

เฉียงใต้  ผินพระพักตร์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานบริเวณเพิงผา

3.พระปัญญา มีรูปร่างลักษณะปูนปั้นสีทอง ยาว 1.50 เมตร สูง 1 เมตร หนา 50 เซนติเมตร ผินพระพักตร์ไปทางหน้าพระบรรทม

ประดิษฐานบริเวณเพิงผา ประวัติการสร้างไม่มีการระบุที่ชัดเจนว่าสร้างในสมัยใดแต่สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับพระบรรทม

4.พระพุทธรูปปางต่างๆ มีลักษณะรูปร่างสีทอง ประดิษฐานบริเวณเพิงผา เพื่อให้ชาวบ้านได้สักการบูชา

5.ปูนปั้นพระทรงม้า ปูนปั้นมีรูปร่างแบบเดียวกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จึงสันนิษฐานว่า ช่างได้ไปเห็นที่วัดพระธาตุเลยนำ

แบบมาสร้างที่วัดสำโรงด้วย

6.รอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นรอยพระพุทธบาทที่จำลองขึ้น มีเสาและมีหลังคาครอบคลุมอยู่รอบรอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่ใกล้กับ

“รูปปั้นของปู่เจ้าสมิงพราย”

7.ปู่เจ้าสมิงพราย มีลักษณะรูปร่างปูนปั้นสีขาว ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร หนา 50 เซนติเมตร ประวัติการสร้างได้มีชาวบ้านที่นับถือ

เขาสำโรง ได้สร้างปู่เจ้าให้มาปกปักรักษาชาวบ้านและภูเขาสำโรง

8.ของใช้โบราณ ที่สร้างขึ้นมาจากดินเผา ขัดด้วยหินทรายอ่อน สันนิษฐานว่า ได้มีการนำมาไว้ที่วัดสำโรงพร้อมกับการสร้างวัด

 (กิตติศักดิ์ และคณะ, 2563, น. 19)

ข้อมูลอ้างอิง

กิตติศักดิ์ แสงทอง, พุธวิมล คชรัตน์, ทัศนีย์ ศรีราม, ณัฏฐิกา สาทิพจันทร์ และ สุธารินี บุญกิจ. (2563). ประวัติศาสตร์ชุมชน: วัด

สำโรงจากการบอกเล่า = A CommunityHistory: Oral History of Wat Samrong. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568.

file:///D:/Users/Admin/Downloads/warapornnoosong,+%7B$userGroup%7D,+4-54-77%20(1).pdf

ชุมทางประวัติศาสตร์ทุ่งสง. (ม.ป.ป.). ประวัติวัดสำโรง. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์

2568.https://www.tungsong.com/museum/2_3.htm

พระสังฆาธิการ. (ม.ป.ป.). วัดสำโรงได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์

2568. จาก https://www.sangkhatikan.com/wat_view.php?ID=วัดสำโรง%20(นศ.)

สุวิทย์ คงหอม. (2568). ข้อมูลเจ้าอาวาสวัดสำโรง. ผู้ให้ข้อมูล

Views: 368

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

You are currently viewing วัดสำโรง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช