ปลากัด : สันทนาการยามว่างของทางใต้

ปลากัดเป็นปลาที่มีความผูกพันกับสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ตามห้วย หนอง คลองบึงทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย การเลี้ยงปลากัดเพื่อสันทนาการก็เป็นวิถีชุมชนของทางภาคใต้อีกอย่างหนึ่ง โดยคนที่ชอบเลี้ยงปลากัดจะไปช้อนปลาหรือตักปลามาจากแหล่งน้ำในสถานที่ต่าง ๆ แล้วนำมาเลี้ยงตามวิธีการของตนเองรวมทั้งฝึกฝนให้ปลามีความแข็งแรง เมื่อครบตามกำหนดระยะที่เลี้ยงก็จะนำปลามากัดเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราชก็มีบ่อนปลากัดปลาหลายแห่งมีเงินเดิมพันกันตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น

สายพันธ์ุปลากัดเพื่อการแข่งขัน

จังหวัดนครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงทางด้านการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากัดเป็นที่เลื่องชื่ออีกจังหวัดหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันจะมีการเพาะพันธ์ุข้ามสายพันธุ์กับปลากัดกับประเทศเพื่อนบ้านหรือปลากกัดจากจังหวัดอื่น ๆ ที่มีข้อเด่นในเรื่องต่างๆ ทำให้เกิดลูกปลากัดที่เกิดใหม่หลากหลายชนิด รวมทั้งมีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดเพื่อความสวยงามด้วยแล้วทำให้สายพันธุ์ปลากัดมีมากมาย แต่สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงเพื่อการแข่งขันก็มีด้วยกันสามารถจำแนกได้คือ
ปลากัดป่า : หรือปลากัดทุ่งสายพันธุ์ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง พบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลากัดป่าชนิดนี้จะมีขนาดเล็ก สีพื้นฐาน คือ สีเทาหม่น สีเขียว สีน้ำตาล ปลากัดป่าเป็นปลาที่ว่องไว อึดทน กัดเก่ง ซึ่งสายพันธุ์ปลากัดป่าในแต่ละถิ่นก็จะมีความเก่งหรืออดทนไม่เหมือนกันแต่ที่นิยมนำมาเลี้ยงกัดกันเพื่อการกีฬาก็จะแยกย่อยออกไปอีกสำหรับสายพันธุ์ที่เก่งและเป็นที่ยอมรับกันก็จะมี ปลากัดป่าทางใต้ ปลากัดป่าทางอีสาน และปลากัดป่ามหาชัย (จังหวัดสมุทรสงคราม) ปลากันภาคตะวันออก และปลากัดป่าภาคกลางซึ่งปลากัดแต่ละพื้นที่จะมีสีสันแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิอากาศและสภาพของน้ำที่ปลาอาศัย

ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง

ปลากัดหม้อ หรือปลาลูกหม้อ : เป็นสายพันธุ์ปลากัดลูกผสมที่ถูกพัฒนามาจากปลากัดป่า โดยการนำพ่อพันธุ์ปลากัดป่าที่กัดเก่ง รูปร่างดี ไปผสมกับปลากัดป่าตัวเมีย ลูกปลากัดชุดแรกเรียกว่า “ปลาสังกะสี” เมื่อนำปลาสังกะสีไปเพาะเลี้ยงอีกหนึ่งรุ่น ลูกที่ออกมาจึงเรียกว่า “ปลาลูกหม้อ” เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่ตัวใหญ่ และสวยกว่าสายพันธุ์ปลากัดป่า และปลากัดสังกะสี สีของปลาลูกหม้อส่วนใหญ่ คือ สีน้ำเงิน สีแดง คราม เขียวคราม ปลากัดยักษ์: เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทย ปลากัดยักษ์ (Giant Betta) มีขนาดใหญ่กว่าปลากัดสายพันธุ์อื่นถึง 2 เท่า ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 2.5 นิ้วขึ้นไป สามารถแบ่งปลากัดยักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ ปลากัดยักษ์คีบสั้น ปลากัดยักษ์ครีบยาว ปลากัดยักษ์ป่าหรือปลากัดหม้อยักษ์

 

ปลากัดหม้อ (หรือภาษาใต้เรียกว่าลูกหม้อ)

ปลากัดมาเลย์ : มาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับไทยมีชายแดนที่ติดกันวัฒนธรรมใกล้เคียงกันกับพี่น้องชาวใต้การกัดปลาก็นิยมไม่แพ้ฝั่งไทยจึงมีการน้ำปลาเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ปลากัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความหนังเหนียว เกร็ดแน่น และดุดัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ปลาลูกนอก เพราะนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย จะมีสีน้ำเงินเข้มออกดำและลักษณะท่าทางน่าเกรงขาม

ปลากัด
ภาพจาก :

 

ปลากัดมาเลย์หรือปลากัดลูกผสม

ปลากัดแฟนซี : เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ปลากัดสวยงามที่นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เป็นการพัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดหม้อ นำมาเพาะพันธุ์ให้มีสีสันหลากหลาย เรียกสีที่ได้ตามที่ต้องการแตกต่างออกไป เช่น ปลากัดหางยาวฮาร์ฟมูนหรือปลากัดพระจันทร์ครึ่งซีก ปลากัดคราวน์เทลหรือปลากัดหางมงกุฎ ปลากัดดับเบิลเทล ปลากัดจีน ปลากัดหูช้าง ราคาของปลาก็จะขึ้นอยู่กับสีสันของปลาที่เกิดจากการผสมที่มีราคาสูงส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีสร้อยสวยงามและมีตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป
ปลากัดแฟนซีที่นิยมเลี้ยงมีทั้งหมด 7 ชนิด
ปลากัดหางเดี่ยว (PK : Plakad)
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งดวง (HMPK : Halfmoon Plakad)
ปลากัดหางพระอาทิตย์ครึ่งดวง (HSPK : Halfsun Plakad)
ปลากัดหางมงกุฏ (CTPK : Crowtail Plakad)
ปลากัดสองหาง (DTPK : Doubletail Plakad)
ปลากัดหูช้าง (Big Ear Plakad)

ขั้นตอนการเลี้ยงปลากัด

การเลี้ยงปลากัดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เลี้ยงเพื่อความสวยงาม และเลี้ยงเพื่อการแข่งขัน สำหรับปลากัดที่เลี้ยงเพื่อความสวยงามก็ไม่ได้มีขั้นตอนและวิธีการยุ่งยากมากเพราะปลากัดเป็นปลาที่เลี้ยงแล้วโตไว เลี้ยงง่าย มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมอยู่แล้ว ไม่ยุ่งยากใช้พื้นที่น้อย และไม่ต้องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ แต่ถ้าเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขันก็ต้องมีวิธีการเลี้ยงตามกระบวนการขั้นตอนซึ่งจะมีความซับซ้อนเป็นวิธีการเลี้ยงแบบสูตรใครสูตรมันที่ไม่สามารถเปิดเผยเทคนิคหรือรายละเอียดกันได้ทั้งหมด

อุปกรณ์ในการเลี้ยงปลากัด

1. โหลแก้วเมื่อเราเลือกปลากัดตัวที่ต้องตาต้องใจได้แล้ว สิ่งต่อมาที่เราต้องมีคือ โหลแก้ว รูปแบบใดก็ได้ ร้านขายปลากัดมีให้ลูกค้าเลือกแทบทุกร้าน หรือจะหาซื้อโหลแก้วแจกันรูปทรงกระบอกจากแถวๆ ปากคลองตลาดมาเลี้ยงปลากัดก็สวยงามดี หรือระหว่างเดินห้างโซนเครื่องครัว หากเจอโหลแก้วสวยๆ ที่ถูกใจก็ได้
2. สิ่งที่ห้ามขาดคือใบหูกวางหรือน้ำหมักใบหูกวาง เพราะมีสารแทนนิน ทำให้สภาพของน้ำดี ปลาไม่เป็นโรค ไม่ว่าจะเป็นปลากัดสวยงามหรือปลากัดเก่ง ควรต้องมีใบหูกวาง และช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับปลากัดได้ดีด้วย
3. สายยาง หรือตัวดูดขี้ปลาก้นโหล เป็นอุปกรณ์ช่วยให้เราทำความสะอาดโหลปลากัดได้ง่ายๆ
4. กระบวยช้อนปลากัด
5. ไม้น้ำต้องมีให้ปลากัดได้พักพิง อย่างน้อยควรจะมีไม้น้ำสักหนึ่งต้น ให้ปลากัดได้เอาตัวไปพาดพิงอยู่ ตามนิสัยที่ชอบซุ่มในต้นไม้น้ำตามธรรมชาติ ช่วยลดความเครียดต่อปลา จะเป็นไม้น้ำชนิดใดก็ได้ที่ไม่จำเป็นต้องถูกแดด เพราะไม้บางอย่างถ้าไม่ถูกแดดก็เหี่ยวเน่าเร็ว ส่วนใหญ่นิยมใช้สาหร่ายหางกระรอก สามารถสั่งออนไลน์มาก็ได้หรือซื้อจากร้านขายสัตว์น้ำก็ได้ ราคาไม่กี่สิบบาทเท่านั้น
6. เกลือและยารักษาโรค เหลือช่วยแก้อาการเวลาปลากัดช็อกน้ำ ควรใส่เพียงนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนยารักษาโรคต่างๆ มีให้เลือกมากมาย ขึ้นอยู่กับสรรพคุณยานั้นๆ แต่ใช้น้ำใบหูกวางก็เพียงพอ ช่วยปลากัดได้ทุกโรคเช่นกัน ใบหูกวางหรือน้ำใบหูกวางจะดีที่สุดปากกาหัวสเตนเลส ไว้เล่นกับปลากัด นำปากกาไปแหย่ไว้สักด้านหนึ่งของโหลแก้ว ให้ปลากัดได้ฝึกซุ่มโจมตี ปลากัดจะแผ่ครีบและแผ่นหุ้มเหงือกใส่ปากกาของเรา ผู้เลี้ยงต้องเล่นกับปลากัดบ่อยๆ ระหว่างเลี้ยง เราพูดคุยกับเขาได้ หรือหากเลี้ยงมากกว่าหนึ่งตัว ก็เอาปลากัดจากสองโหลมาวางไว้ใกล้ๆ กัน เพื่อให้ปลาฝึกแผ่ ฝึกโจมตี ซึ่งเป็นสิ่งที่ปลากัดชอบ ทำให้ปลาไม่เครียดหรือจะเปิดเพลงให้ปลาฟังด้วยก็ได้

 

อุปกรณ์ในการเลี้ยงปลากัด

ข้อห้ามในการเลี้ยงปลากัด

 

    • ห้ามใช้น้ำดื่ม น้ำกรองในการเลี่ยงปลากัด น้ำที่เหมาะที่สุดคือน้ำประปากักทิ้งไว้ 2 คืน

    • ห้ามวางโหลปลากัดไว้ในที่แดดส่องโดยตรง เพราะจะทำให้ปลาตายได้

    • ห้ามวางโหลปลากัดไว้ชิดผนัง ป้องกันจิ้งจกมากิน หรือบ้านไหนมีแมว หากเลี้ยงปลากัดในโหลปากกว้าง ควรหาที่ปิด ไม่งั้นแมวจะมากินปลากัดได้ห้ามเลี้ยงปลากัดกับปลาชนิดอื่น เพราะปลากัดมีความดุ ปลาสวยงามตัวอื่น ๆ
      จะทยอยตายในที่สุด ควรเลี้ยงปลากัดแยกโหล โหลละ 1 ตัว อย่างน้อย 2 โหล เพื่อให้ปลากัดไม่เครียดเกินไป

    • ห้ามใส่เกลือที่มีสารไอโอดีน เพราะสารไอโอดีนจะทำให้ปลากัดเกิดการระคายเคืองห้ามใส่ใบหูกวางสด เพราะใบหูกวางสดจะมียาง และเป็นอันตรายต่อปลากัดของเราได้ ห้ามใส่น้ำจนเต็มโหล เพราะจะทำให้ปลากัดกระโดดออกมาตาย แนะนำให้เลือกพืชน้ำจริงมาใส่สักต้น เพื่อลดความเครียดให้ปลา

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวิธีเลี้ยงปลากัด

การหายใจของปลากัด ปลากัดเป็นปลาที่ไม่จำเป็นต้องมีปั้มออกซิเจนในตู้ เนื่องจากปลากัดสามารถว่ายขึ้นมาด้านบนเพื่อฮุบอากาศได้เอง แต่หากเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงในโหลแคบ ๆ มืด ๆ เสมอไปน้ำในการเลี้ยงปลากัด ควรเป็นน้ำสะอาด และมีคลอรีนให้น้อยที่สุด เปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ ไม่ควรปล่อยให้ปลากัดปล่อยเมือกจนน้ำขุ่นปลากัดมองตาก็ท้องไม่เป็นความจริง แต่การนำโหลปลากัดมาเทียบกัน ให้ปลากัดได้มองหน้ากันเป็นการลดความก้าวร้าวของทั้งคู่
ขั้นตอนที่ 1 : วิธีเลี้ยงปลากัดที่สำคัญ เริ่มที่การเตรียมตู้ปลากัดและอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลากัดให้พร้อม โดยการทำความสะอาดโหลปลากัดให้สะอาด หลังจากนั้นให้เติมน้ำสะอาดปราศจากคลอรีนลงไป
ขั้นตอนที่ 2 : หลังจากใส่น้ำแล้วก็นำเกลือเม็ด หรือเกลือทะเลที่ได้จากธรรมชาติ ใส่ลงไปในตู้ปลา (ไม่ใช่เกลือที่ใช้ทำอาหาร) เกลือจะช่วยในการกำจัดปรสิตในน้ำ ช่วยกระตุ้นให้ปลากัดคึกและคลายเครียด รวมถึงเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้ปลา แต่ถ้าต้องใส่ยารักษาโรค ไม่ควรใส่เกลือลงไป เพราะเกลืออาจทำให้ประสิทธิภาพยาลดลง
ขั้นตอนที่ 3 : เติมน้ำใบหูกวางแห้งลงไปเล็กน้อย เนื่องจากในน้ำใบหูกวางแห้งจะมีสารแทนนิน ช่วยเร่งให้ปลามีสีสันสวยงาม และเป็นยาธรรมชาติที่ช่วยสมานแผลให้ปลากัด ใครที่ใส่ใบหูกวางลงไปในตู้ ให้สังเกตหากน้ำเริ่มเป็นเมือกขุ่น ให้รีบเปลี่ยนน้ำและเปลี่ยนใบหูกวาง
ขั้นตอนที่ 4 : นำถุงปลากัดมาแช่ไว้ในโหลก่อนเพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิ เมื่อผ่านไปซักพักค่อยปล่อยปลากัดลงไปในโหล ทั้งหมดนี้เป็นวิธีเลี้ยงปลากัดฉบับเริ่มต้นนั่นเอง

เทคนิคการเลี้ยงปลาเพื่อกัดแข่งขัน

วิธีการเลี้ยงปลากัดเพื่อแข่งขันในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคนก็จะมีเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ที่เลี้ยงหลักเหมือนกันโดยปกติทั่วไป คือ (หยก พาน ไล่) หยกปลา หมายถึง การนำปลากัดขนาดเล็ก ใส่ไปในโหลปลากัดเก่ง เพื่อให้ปลาเก่งนั้นไล่กัด พาน หมายถึงพานตัวเมีย หมายถึง การนำปลาตัวเมียใส่ไปในโหลปลาเก่งที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ปลากัดตัวผู้ได้ออกกำลังกาย การไล่ คือนำปลากัดตัวที่เล็กกว่าหรือเรียกว่าลูกไล่ใส่ในโหลเพื่อให้ปลาเลี้ยงกัดได้ไล่กัดเพื่อเอากำลังและปลาจะมีความคึกคะนอง ซึ่งจะเลี้ยงออกกำลังปลา 5 วันแรก ไล่ลูกไล่เป็นหลัก วันละ 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นตามสมควร ถัดมาอีก 2 วัน ก็จะพานตัวเมีย กับหยกเป็นหลัก อีกวัน คือวันพักผ่อน พักสองวันก็จะดี การพักก็พักในขวดโหล วันกัดตอนเช้าก็หยก ให้กัดหยกเต็ม ๆ แรง ทีเดียวพอแล้วนำปลา
ที่เลี้ยงไปกัดในบ่อนปลากัด

กติกาการกัดปลา

การเทียบปลา (หรือการเคียงปลาก่อนการกัด)
ในสมัยก่อนจะนำปลากัดใส่ขวดเปรียบเทียบด้วยตาเปล่า แต่ภายหลังเกิดปัญหาการเอาเปรียบ เช่น ใช้ขวดเจียรให้ปลาดูเล็กลง หรือใช้คำพูดกล่อม คนรู้ไม่เท่าทันคิดว่าปลาตัวเท่ากัน พอเทลงไปกัด ปรากฏว่าตัวต่างกันเยอะเลย ปลากัดตัวโตกว่าจะได้เปรียบและมีสิทธิชนะมากกว่า ในทุกวันนี้จึงมีระบบ ชั่งน้ำหนักเกิดขึ้น

 

ตาชั่งน้ำหนักปลาก่อนการกัด

เมื่อได้คู่น้ำหนักเท่ากันหรือพอกัน เจ้าของตกลงปลงใจกัด ตกลงเดิมพันเรียบร้อย จะนำปลาลงกัดในโหลกัดปลา
ที่สนามเตรียมไว้ ผลแพ้ชนะ คือ ปลาวิ่งหนีจนสุดตัว โดนจับแพ้ อาการหนีจนสุดตัว คือ หนีโดยไม่หันมาสู้อีก หากปลากัดเสมอ คือ หยุดทำกัน จะมีปลากรรมการ เรียกว่า ปลากลาง กรรมการจะตักปลากลางใส่โหลพร้อมกับตักปลาที่ลงแข่งใส่โหลใหม่ แยกเดี่ยวๆ ตัวไหนแถกเหงือกใส่ปลากลาง ตัวนั้นถือว่าชนะ ถ้าแถกทั้งคู่ ให้ลงกัดกันใหม่ในน้ำใหม่ ทำแบบนี้ 2 ครั้ง ถ้าทำทั้ง 2 ครั้งแล้วยังเสมอ สนามปิด ถือว่าเสมอกัน ไม่มีผลได้เสีย

 

ปลากัดหม้อที่นิยมกัดเพื่อการแข่งขันในปัจจุบัน

การเลี้ยงปลากัดไม่จำเป็นต้องเลี้ยงเพื่อนำไปกัดกันเท่านั้น เพราะปลากัดเป็นปลาสวยงามที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง มือใหม่ที่เลี้ยงปลากัดมักประสบปัญหาการเลี้ยงปลากัดแล้วตาย ดังนั้นควรศึกษาวิธีเลี้ยงปลากัดเสียก่อน โดยเฉพาะการเตรียมน้ำและเรื่องของอาหาร หากชื่นชอบก็สามารถเพาะเลี้ยงปลากัดเป็นอาชีพเสริมได้ในอนาคต หรือใครสนใจเพาะพันธุ์ปลากัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://shopee.co.th/blog/betta-fish-care-guide/
https://www.palangkaset.com/ปลากัดนักสู้/การกัดปลา-กติกา
https://readthecloud.co/siamese-fighting-fish-betta-splendens/
กลุ่มอนุรักษ์ และพัฒนาปลากัดเก่ง

Views: 15760

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

You are currently viewing ปลากัด : สันทนาการยามว่างของทางใต้