อำเภอ ฉวาง

ฉวาง
ฉวาง

1. ชื่ออำเภอ

อำเภอ ฉวาง


2. ข้อมูลทั่วไป/ประวัติความเป็นมา

      ฉวาง คำว่า “ฉวาง” ตามพจนานุกรมมี 2 ความหมาย ความหมายหนึ่งเป็นนาม หมายถึง วิธีคิดเลขชั้นสูงของโบราณหนึ่งอย่าง อีกความหมายหนึ่งเป็นกริยาแปลว่า ขวาง โดยแยกตัวอย่างคำในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มัทรีว่า “อันว่าพยัคฆราชอันฉวางมรรคาพระมัทรี” เมืองฉวางเป็นเมืองเก่าขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราชมาแต่โบราณ ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งรัชกาลที่ 2 ใช้ร่วมกับคำว่า ฉวาง-ท่าชี-พุดชมโร ฉวางคือ ฉวางปัจจุบัน ท่าชีอยู่ท้องที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนพุดชมโร คือ ทุ่งสง และเจ้าเมืองหรือนายที่มีบรรดาศักดิ์ เป็นหมื่น ได้แก่ หมื่นเพชรธานี ศักดินา 600 ซึ่งถือเป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของนครศรีธรรมราช

      เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองของประเทศใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2439 เมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้สถาปนาเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง และหลังจากที่ได้ใช้กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2441) แล้วก็เริ่มมีการจัดการปกครองในรูปของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ขึ้น เมืองฉวางก็ได้สถาปนาเป็นอำเภอขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยมีหลวงปรามประทุษราษฎร์ (เอียด ณ นคร) เป็นนายอำเภอคนแรก การตั้งที่ว่าการอำเภอฉวาง ได้มีการย้ายที่ตั้งหลายครั้งส่วนมากจะอยู่ตามริมแม่น้ำซึ่งอาศัยเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เช่น คนตั้งอยู่บ้านในไร่ ตำบลนาแว ริมแม่น้ำตาปี เคยตั้งที่วังอ้ายล้อน ริมคลองคุดด้วน เคยตั้งที่ปากคลองลุง และได้ย้ายมาที่ตั้งปัจจุบันเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 เหตุผลที่ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอหลายครั้งก็เนื่องจากปัญหาถูกน้ำท่วมบ่อย

3. ที่ตั้งและอาณาเขต

        อำเภอ ฉวาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดติดกับอำเภอนาบอน ลานสกา และอำเภออื่น ๆ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังต่อไปนี้ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเวียงสระ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และอำเภอพิปูน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพิปูนและอำเภอลานสกา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอช้างกลาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งใหญ่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอถ้ำพรรณรา 
ฉวาง
ภาพจาก วิกิพีเดีย

4. ข้อมูลด้านสังคม

     4.1 เขตการปกครอง (หมู่บ้าน/ตำบล) ข้อมูลประชากร

อำเภอ ฉวาง  แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 84 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่

อักษรไทย

อักษรโรมัน

จำนวนหมู่บ้าน

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

1

ฉวาง

Chawang

9

เทศบาลตำบลฉวาง

เทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง

2

ละอาย

La-ai

17

องค์การบริหารส่วนตำบลละอาย

3

นาแว

Na Wae

12

องค์การบริหารส่วนตำบลนาแว

4

ไม้เรียง

Mai Riang

10

เทศบาลตำบลไม้เรียง

องค์การบริหารส่วนตำบลไม้เรียง

5

กะเปียด

Kapiat

5

องค์การบริหารส่วนตำบลกะเปียด

6

นากะชะ

Na Kacha

7

องค์การบริหารส่วนตำบลนากะชะ

7

ห้วยปริก

Huai Prik

7

องค์การบริหานส่วนตำบลห้วยปริก

8

ไสหร้า

Saira

10

องค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า

9

นาเขลียง

Na Khliang

6

องค์การบริหารส่วนตำบลนาเขลียง

10

จันดี

Chan Di

5

เทศบาลตำบลจันดี

ฉวาง
ภาพจาก วิกิพีเดีย

     4.2 ข้อมูลประชากร

จำนวนประชากรของอำเภอ ฉวาง ดังนี้

ชาย 31,622 คน    หญิง 33,495 คน   รวม 65,117 คน

*หมายเหตุ* ข้อมูลสถิติประชากรรายอำเภอ ประจำเดือนตุลาคม 2565

ที่มา : https://www.pokkrongnakhon.com/datacenter/doc_download/a_141122_092455.pdf

5. คำขวัญอำเภอ

ฉวางเมืองคนดี ตาปีไหลผ่านมา

แข่งเรือวันออกพรรษา ศูนย์การค้าตลาดจันดี

บารมีพ่อท่านคล้าย สินแร่มากมาย

ผลไม้มากมี สนุกดีงานปีใหม่

สุขใจกันถ้วนหน้า วันแห่ผ้าขึ้นธาตุน้อย

6. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ

     6.1 ที่ตั้งและขนาด

       ฉวางเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดนครศรีฯพื้นที่ 528 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภออยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 32 กิโลเมตร

     6.2 อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีฯ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับกิ่งอำเภอช้างกลาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีฯ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับกิ่งอำเภอช้างกลาง อำเภอลานสกา อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีฯทิศตะวันตก ติดต่อกับถ้ำพรรณรา และอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีฯ

     6.3 ภูมิประเทศ

ฉวางเป็นอำเภอที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทางทิศตะวันออกมีที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา ทางด้านตะวันตกเป็นเนินสูงเป็นลุ่มเป็นดอนสลับกันไป เหมาะแก่การทำสวน

     6.4 ภูมิอากาศ

      ฤดูกาล 2 ฤดู คือฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนธันวาคม และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านทำให้ฝนตกชุก และฝนจะตกชุกมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

      อำเภอฉวางมีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือแม่น้ำตาปี ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาภูเขาหลวง ไหล ผ่านตำบลนาแว ตำบลไม้เรียง ตำบลนากะชะ และอำเภอถ้ำพรรณรา มีน้ำไหลตลอดปี  มีลำน้ำคลองจันดีไหลผ่านกิ่งอำเภอช้างกลาง ตำบลฉวางไหลลงสู่แม่น้ำตาปีที่ตำบลฉวาง

     6.5 การคมนาคม

  สามารถเดินทางได้ทั้งทางรถไฟและรถยนต์

7. การนับถือศาสนาและวัฒนธรรม

ด้านศาสนา

ประชากรนับถือศาสนาพุทธ = 27,202 คน ร้อยละ 99.41

  • ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม = 161 คน ร้อยละ 0.59
  • ประชากรนับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ = – คน ร้อยละ –

9. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ (อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/กลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรเป็นหลัก คือ การทำสวนยาง สวนกาแฟ สวนโกโก้ และการทำนา เนื่องจาการปลูก ยางพารามาก ดังนั้นจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแปรรูปยางดิบต่าง ๆ เช่น โรงรมยาง โรงงานผลิต แอร์รายซีส เพื่อรับรองผลผลิต อำเภอนาบอนยังเป็นที่ตั้ง ขององค์การสวนยางนาบอนที่สำคัญของการยาง ในเขตนครศรีธรรมราช สามารถผลิตยางออกไปจำหน่ายในต่างประเทศปีละมากกว่า 250,000 ตัน ทำรายได้แก่ประเทศปีละประมาณ 9,000 ล้านบาท

  เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ

  1. การเกษตร

      พื้นที่การเกษตรของอำเภอนาบอน มีประมาณ 166,726 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรดังนี้คือ ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ สวนกาแฟ แต่การทำนาเป็นการทำเพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น สำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และทำรายได้หลักให้แก่ประชากร คือ ยางพารา ปาล์ม ผลไม้ชนิดต่าง ๆ

      2. การปศุสัตว์

ปะชากรในพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายบ้าง เช่น โค เป็ด ไก่ และสุกร

    3. การอุตสาหกรรม

ประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพารา มีโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา และมีกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพารา และมีแรงงานในโรงงานประกอบด้วยคนในพื้นที่และแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนด้วย

    4. การพาณิชย์

    ประกอบด้วย ปั๊มน้ำมัน ตลาดสดเอกชน ธนาคาร 

10. ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรดิน

อำเภอฉวางมีทรัพยากรดินที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งส่วนที่เป็นที่สูง ที่ราบ ที่ราบลุ่ม จึงทำให้เหมาะแก่การทำเกษตร ทั้งการทำสวนยางพารา การทำสวนผลไม้ แและทำนา

ทรัพยากรน้ำ

อำเภอฉวางมีแม่น้ำตาปี ซึ่งมีต้นกำเนิดจาก๓ูเขาหลวงไหลผ่านท้องที่อำเภอ อีกทั้งยังมีลำคลองสายเล็ก ๆ อีกหลายสาย เช่น คลองคุดด้วน คลองมีน คลองจันดี ทำให้อำเภอฉวางเป็นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร เนื่องจากมีน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่ในฤดูแล้งอำเภอยังประสบกับปัญหาน้ำดื่ม น้ำที่ใช้ยังขาดแคลนอยู่

ทรัพยากรป่าไม้

อำเภอมีพื้นที่ป่าไม่ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าวังอีคุย ป่าปลายกะเปียด ป่าเขาหลวง และป่าคลองเพลง เป็นต้น

11. สถานที่สำคัญและการท่องเที่ยว

        เขาศูนย์ เป็นภูเขาที่อยู่ใน หมู่ที่ 9 ต.ไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากภูเขาหลวงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 15 กิโลเมตร ทิศเหนือตั้งอยู่ในเขตตำบลกระเปียด ทิศใต้ และตะวันออกตั้งอยู่ในเขตตำบลไม้เรียง ทิศตะวันตกตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองเส

     ภูมิประเทศของเขาศูนย์ เป็นพื้นที่ป่าที่มีการปลูกต้นยางพาราแทรกอยู่โดยทั่วไปจนถึงยอดเขา บางส่วนเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ลักษณะพื้นที่เป็นแนวเขาสูงสลับกับร่องเขา ร่องน้ำทางทิศเหนือจะไหลสู่คลองชัยต่อกับแม่น้ำตาปี ร่องน้ำทางทิศตะวันตกของพื้นที่จะไหลสู่คลองขันต่อกับแม่น้ำตาปี ร่องน้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของพื้นที่จะไหลลงสู่คลองเสต่อกับแม่น้ำตาปี เขาศูนย์มีเขาบริวารอีกสามลูก คือ เนินลูกกรอก ควนไฟไหม้ และเขาขวาง

     ยอดเขาศูนย์ มีความสูง 510 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรคมนาคม มีการตัดถนนลาดยาง ขึ้นไปบนเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ระยะทาง 7 กิโลเมตร ในช่วงตอนเช้า หรือหลังฝนตกจะมีทะเลหมอกปกคลุมโดยรอบ ปัจจุบันเขาศูนย์ กลายเป็นแหล่งทองเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ หลังจากการปิดเหมืองไปเมื่อปี 2524 และมีทะเลหมอกแดนใต้ สามารถมองเห็นวิวและหมอกได้ 360 องศา และมีอากาศดีตลอดปี เขาศูนย์เป็นพื้นที่สีแดงในยุค คอมมิวนิสต์รุ่งเรือง และกลายเป็นชนวนทำให้มีการ แย่งชิงหลุ่มแร่และการฆ่ากันรายวัน จนได้รับว่า ดินแดน มิคสัญญี ในขณะนั้น

เขาศูนย์

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ   

เขาศูนย์ เป็นภูเขาที่อยู่ในหมู่ที่ 9 ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากภูเขาหลวงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 15 กิโลเมตร ทิศเหนือตั้งอยู่ในเขตตำบลกระเปียด ทิศใต้ และตะวันออกตั้งอยู่ในเขตตำบลไม้เรียง ทิศตะวันตกตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองเส ภูมิประเทศของเขาศูนย์ เป็นพื้นที่ป่าที่มีการปลูกต้นยางพาราแทรกอยู่โดยทั่วไปจนถึงยอดเขา บางส่วนเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ลักษณะพื้นที่เป็นแนวเขาสูงสลับกับร่องเขา ร่องน้ำทางทิศเหนือจะไหลสู่คลองชัยต่อกับแม่น้ำตาปี ร่องน้ำทางทิศตะวันตกของพื้นที่จะไหลสู่คลองขันต่อกับแม่น้ำตาปี ร่องน้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของพื้นที่จะไหลลงสู่คลองเสต่อกับแม่น้ำตาปี เขาศูนย์มีเขาบริวารอีกสามลูก คือ เนินลูกกรอก ควนไฟไหม้ และเขาขวาง ยอดเขาศูนย์ มีความสูง 510 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรคมนาคม มีการตัดถนนลาดยาง ขึ้นไปบนเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ระยะทาง 7 กิโลเมตร ในช่วงตอนเช้า หรือหลังฝนตกจะมีทะเลหมอกปกคลุมโดยรอบ ปัจจุบันเขาศูนย์ กลายเป็นแหล่งทองเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ หลังจากการปิดเหมืองไปเมื่อปี 2524 และมีทะเลหมอกแดนใต้ สามารถมองเห็นวิวและหมอกได้ 360 องศา และมีอากาศดีตลอดปี เขาศูนย์เป็นพื้นที่สีแดงในยุคคอมมิวนิสต์รุ่งเรือง และกลายเป็นชนวนทำให้มีการแย่งชิงหลุ่มแร่และการฆ่ากันรายวัน จนได้รับว่าดินแดนมิคสัญญี ในขณะนั้น

     วัดธาตุน้อย หรือ วัดพระธาตุน้อย ตั้งอยู่ในเขตตำบลหลักช้าง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งขึ้นโดยความประสงค์ ของพ่อท่านคล้าย (พระครูพิศิษฐ์อรรถการ) พระเกจิอาจารย์ที่ชาวใต้เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงยิ่งรูปหนึ่ง ซึ่งศิษย์ยานุศิษย์และประชาชน ที่เคารพนับถือ ศรัทธา พ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านมักจะให้พรกับทุกคน ขอให้ เป็นสุข เป็นสุข พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ได้ชื่อว่าเป็นเทวดาเมืองคอน เทพเจ้า แห่งแดนใต้ ชาวเมืองคอนเสื่อมใส ศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง  โดยประดิษฐานพระเจดีย์พระสารีริกธาตุและสรีระสังขารพ่อท่านคล้าย ในโลงแก้วประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ปัจจุบันสรีระ พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ ประดิษฐ์ฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ ณ สถานที่นี้ จึงเป็นเจดีย์อนุสรณ์สถานพ่อท่านคล้ายอีกด้วย สังขาร พ่อท่านคล้ายซึ่งว่ากันว่าแข็งเป็นหิน ที่ชาวบ้านนับถือและศรัทธาด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้ผู้คนหลั่งไหล เข้ามาสักการบูชากันมากยิ่งขึ้น

     พ่อท่านคล้าย เป็นนักก่อสร้าง นักประพันธ์ นักปฏิบัติทางวิปัสสนาฯลฯพ่อท่านคล้ายเคยแต่งบทกลอนกำดัดนาคไว้ว่า “ศีลสิบโดยตั้ง รักษาโดยหวัง องค์ศีลทั่วผอง สองร้อยยี่สิบเจ็ดสิ้นเสร็จควรตรอง ศีลสิบหม่นหมองสองร้อยมรณา “พ่อท่านคล้ายมรณภาพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา 23.05 น. รวมอายุ ได้ 96 ปี วัดธาตุน้อยมีเนื้อที่ 46 ไร่ สร้างขึ้นบนที่ดินซึ่งนายกลับ งามพร้อม ถวายแด่ พ่อท่านคล้าย ท่านจึงได้สร้างพระธาตุน้อยขึ้นใน ปี 2504 ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาคุไว้ด้วย และสรีระพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ใน วัดพระธาตุน้อย จึงถือได้ว่าเป็นเจดียอนุสรณ์สถานของพ่อท่านคล้าย ว่ากันว่าสังขารพ่อท่านคล้ายแข็งเป็นหิน ทำให้เป็นที่เสื่อมใส ศรัทธาเป็นอย่างมาก

 อ่างเก็บนำกระทูน

        เขื่อนกะทูน หรืออ่างเก็บน้ำกะทูน ตั้งอยู่ที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน มีพื้นที่กว่า 12,500 ไร่ บริเวณสันอ่างเก็บนํ้าจะมีขนาดกว้าง สร้างเป็นถนนให้สามารถขับรถชมวิวได้ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแนวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์

        เขื่อนกะทูน เป็นโครงการอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยต่อปัญหาและความเสียหายอันเนื่องมาจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม ทำให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก เสียหายทั้งนาข้าว สวนยางพารา และมีชาวบ้านเสียชีวิตกว่า 200 คน จึงได้มอบหมายให้กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสภาพพื้นที่บริเวณบ้านกะทูนเหนือและกะทูนใต้ และพื้นที่เพาะปลูกจำนวนหลายพันไร่สองฝั่งคลองกะทูนที่ได้รับความเสียหาย เพราะทราย กรวด และก้อนหินที่ทับถมมีความหนามาก ยากที่จะฟื้นฟูพื้นที่กลับสู่สภาพที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม หรือตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างปลอดภัยต่อไปได้ มาสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ สำหรับบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำตาปีตอนล่าง ในเขตอำเภอพิปูน และอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประโยชน์ของเขื่อนกะทูน

  • ช่วยบรรเทาอุทกภัยพื้นที่เพาะปลูกและบ้านเรือนราษฎรสองฝั่งแม่น้ำตาปีด้านท้ายอ่างน้ำ ร่วมกับอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง ในเขตหลายอำเภอได้อย่างสมบูรณ์
  • น้ำในอ่างเก็บน้ำสามารถนำไปใช้เพื่อการเพาะปลูกสำหรับพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำตาปีได้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 12,500 ไร่
  • เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่
  • บริเวณอ่างเก็บน้ำจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนอีกทางหนึ่ง

เวลาเปิด-ปิดของเขื่อนกะทูน

          เปิดให้เข้าเที่ยวชมทุกวัน ไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. และไม่มีค่าเข้

น้ำตกหนานโจน

           น้ำตกหนานโจน (กลุ่มน้ำตกสวนชัน) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลละอาย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณคลองคุดด้วน เป็นน้ำตกขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10 เมตร มีทั้งหมด 5 ชั้น คือ หนานโจน หนานเตย หนานไทร ห้วยยูง และห้วยปลา ลักษณะเป็นลำธารหินแกรนิตไหลผ่านชะง่อนผาหินสวยงาม

ฉวาง

เขาศูนย์

การเดินทาง สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว รถเก๋ง ก็สามารถขึ้นไปได้ เส้นทางสะดวกสบาย สำหรับท่านที่ไม่มีรถส่วนตัว เดินทางโดยรถไฟ ลงที่สถานีตลาดทานพอ เดินทางโดยเครื่องบิน สามารถเช่ารถที่สนามบิน หรือต่อรถไฟที่สถานีนครศรีธรรมราช ไปยังสถานีตลาดทานพอ

ฉวาง

วัดธาตุน้อน

การเดินทาง การเดินทางไปยังวัดธาตุน้อย จากอำเภอเมือง ให้วิ่งไปมาทาง อ.ลานสกา พอเจอแยกลานสกาเลี้ยวซ้าย วิ่งตรงไปเรื่อย ๆ อีกราว 50 กม. จนพบ สะพานพ่อท่านคล้าย ก็ให้เตรียมตัว ได้เลย จากนั้นลงสะพานก็เลี้ยวซ้ายเข้าวัด โดยรถไฟ ขบวนรถเร็วลงสถานีจันดี กรุงเทพ-นคร-ตรัง -ยะลา ทางรถยนต์ สายเอเซีย จากสุราษฎร์ ประมาณ 70 กม แยกซ้ายมือจันดี ประมาณ 10กม.ถึงวัด เครื่องบินจากสนามบินนคร มาในเมืองต่อแท็กซี่ นคร-จันดี

ฉวาง

อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน

โดยรถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทางประมาณ 780 กิโลเมตร โดยเครื่องบิน สามารถเลือกปลายทางได้ทั้งที่สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ดังนี้  ปลายทาง ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี ให้เดินทางด้วยรถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 41 จากนั้นให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4009 และ 4015 รวมระยะทางประมาณ 101 กิโลเมตร  ปลายทาง ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ให้เดินทางด้วยรถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4103 จากนั้นให้เลี้ยวเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 4015 รวมระยะทางประมาณ 97 กิโลเมตร

ข้อมูลอ้างอิง

ที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช. (ม.ป.ป.). https://www.pokkrongnakhon.com/datacenter/doc_download/a_141122_092455.pdf
วิกิพีเดีย. (7 มีนาคม 2565). เขาศูนย์. https://th.wikipedia.org/wiki/เขาศูนย์. https://www.m-culture.go.th/nakhonsrithammarat/ewt_news.php?nid=260&filename=index

Kapook Travel. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวเขื่อนกะทูน แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ชมชิลไปกับวิวอ่างเก็บน้ำ. https://travel.kapook.com/view255246.html
Love Thailand.org. (ม.ป.ป.). น้ำตกหนานโจน.
https://www.lovethailand.org/travel/th/65-นครศรีธรรมราช/7465-น้ำตกหนานโจน.html

ชื่อผู้บันทึก นางสาวรัตนา วรรณทอง (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)

Visits: 1220

No tags for this post.