Skip to content

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน

ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐลำดับที่สอง ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ การก่อเกิดซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้น เป็นการตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลที่ต้องการกระจายและขยายโอกาสทางด้านการอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชนบท ซึ่งนโยบายการจัดตั้งมหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นการขยายโอกาสแล้วถือได้ว่าเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา คือ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล มีสถานภาพพิเศษที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University และเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน โดยมีภารกิจ ๔ ด้าน คือ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และเพื่อสังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงถือได้ว่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ มหาวิยาลัยที่พัฒนามาสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ต่อจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และหลังจากนั้นได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สามต่อจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เพลงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เพลงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เพลงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพลงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือเพลงประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นอารยะของสังคมทุกยุคทุกสมัย มีวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและตลอดไป สถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันด้านไหน หรือวงการไหนที่เกิดขึ้นมาและดำรงอยู่ในสังคม ต่างก็จัดให้มีดนตรีและบทเพลงประจำสถาบันของตน เพื่อให้บุคคลนั้นๆ ได้ภาคภูมิใจถึงความเป็นอารยะของสถาบันของตน รวมทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีเพลงประจำสถาบันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายเพลง

จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ปักหมุด 10 จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่พลาดไม่ได้

ปักหมุด 10 จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สวย สบาย ไร้มลพิษ จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราช (เขาหลวง) ทางด้านทิศตะวันตกของมหาวิทยาลัย และพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่ขนาบทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอท่าศาลา ภายในเนื้อที่ 9,000 กว่าไร่ของมหาวิทยาลัย รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสงบ มีความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีธรรมชาติบริสุทธิ์ ไม่มีควันพิษ

ายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผู้ร่วมสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผู้ร่วมสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในช่วง 10 ปีแรก มีมุมมองและข้อคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยในรอบ30 ปีอย่างไร

scopus

30 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : 25 ปีในฐานข้อมูล Scopus

ผลงานในฐานข้อมูล Scopus ช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ของอาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอะไรบ้าง อาจารย์ ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุลรวบรวมและัวิเคราะห์ให้

30 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

30 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : Then and Now

30 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : Then and Now ครบวันสถาปนาในวันที่ 29 มีนาคม 2565 นี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

แหล่งชิมแหล่งช้อป ในรั้วมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แหล่ งชิมแหล่งช้อป ในรั้วมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นการแนะนำร้านเครื่องดื่ม รวมถึงแหล่งซื้อของร้านค้าต่าง ๆ ภายในรั้วมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ห้องประชุม

ห้องประชุมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ห้องประชุมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ห้องประชุมเขาหลวงห้องโมคลาน อาคารบริหารห้องประชุมศรีธรรมราช อาคารสถาปัตยกรรมฯห้องประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรีห้องประชุม 4 อาคารนวัตกรรมฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอายุครบ 30 ปี ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 นี้

สวนวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับการแต่งเติมสีสัน : การเปลี่ยนแปลง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับการแต่งเติมสีสัน การเปล่ี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เกิดขึ้นหลายด้าน จากมหาวิทยาลัยเล็ก ๆ แต่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่มากกว่า 9,000 ไร่ และในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนาปีที่ 29