95 อาชีพในยุคดิจิทัล :  ติดเทรนด์แม้โลกเปลี่ยน การใช้ชีวิตเปลี่ยน
95 อาชีพในยุคดิจิทัล : ติดเทรนด์แม้โลกเปลี่ยน การใช้ชีวิตเปลี่ยน

95 อาชีพในยุคดิจิทัล : ติดเทรนด์แม้โลกเปลี่ยน การใช้ชีวิตเปลี่ยน

95 อาชีพในยุคดิจิทัล : ติดเทรนด์แม้โลกเปลี่ยน การใช้ชีวิตเปลี่ยน

อาชีพในยุคดิจิทัล ที่ยังคงอยู่ แม้โลกเปลี่ยน การใช้ชีวิตเปลี่ยน 

ดังนั้นอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน  จึงเป็นอาชีพที่ต้องการคนที่มีทักษะเฉพาะ  โดยเฉพาะทักษะดิจิทัล

เพราะจะช่วยเสริมการดำเนินธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น  แต่เราจะต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

อาชีพในยุคดิจิทัล เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลายด้าน และส่งผลต่ออาชีพของคนในยุคนี้ เพราะหากเราปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงนี้ ปัญหาที่ตามมาคือ เราไม่สามารถรับมือกับงานที่เปิดรับได้ เพราะเกือบทุกอาชีพต่อไปนี้จะต้องพัฒนาทักษะให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจมากขึ้น  หากวัยแรงงานสามารถปรับตัว ปรับทักษะด้านดิจิทัล พร้อมใช้  จะเป็นที่ต้องการของนายจ้างแล้ว นอกจากจะมีอาชีพที่มั่นคง มีค่าตอบแทนสูงแล้ว เรายังสามารถใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลได้อย่างมีความสุขด้วย  

งั้นเราลองมาสำรวจว่า ทั้ง 95 อาชีพที่รวบรวมมานี้ ว่าอาชีพไหนบ้างที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อคุณจะได้วางอนาคตให้กับลูกหลานในการศึกษาต่อ หรือตัวเราสามารถปรับทักษะใหม่ ๆ ให้สามารถทำงานและใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น บทความนี้ได้รวบรวม อาชีพในยุคดิจิทัล ที่เป็นที่ต้องการ และมีค่าตอบแทนสูงอีกด้วย

การแพทย์/สาธารณสุข

อาชีพยอดฮิตโควิด-19
ภาพจาก freepix
อาชีพยอดฮิตโควิด-19
ภาพจาก freepix
ภาพจาก Lindenberg Cancer & Hematology Center

1. แพทย์
ยุคนี้ แพทย์ถือเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมาก เป็นผู้ที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีจำนวนมากมาย ทั้งในสถานการ์ปกติ สถานการณ์โควิด-19 หรือหลังจากนี้   ดังนั้นอาชีพนี้ขาดแคลนมาก ๆ และขณะนี้ต้องทำงานหนักมากเช่นเดียวกัน

2. วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) 

ก่อนผ่าตัดบางเคสก็ต้องดมยาสลบ บางเคสก็ไม่ต้อง ใครกันที่ทำหน้าที่ดูว่าต้องใช้ยาสลบหรือไม่ ปริมาณเท่าไร คนที่ทำหน้าที่นี้ก็คือวิสัญญีแพทย์หรือหมอดมยานั่นเอง มีหน้าที่ให้การระงับความเจ็บปวด และดูแลผู้ป่วยในระหว่างการผ่าตัดให้ได้รับความปลอดภัย ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทั้งทางกายวิภาค เภสัชวิทยา สรีรวิทยา ฟิสิกส์ และพยาธิวิทยาของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งยังต้องทราบจุดประสงค์และการรักษาของศัลยแพทย์ทุกสาขาที่ผ่าตัดผู้ป่วยด้วย 

3. แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency Medicine) 
หนึ่งวิชาชีพที่ต้องต่อสู้กับเวลาและความกดดันเพราะมีเวลาจำกัด เวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือแพทย์ฉุกเฉิน มีหน้าที่ช่วยเหลือดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ต้องการการรักษาทันที ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างการนำส่งสถานพยาบาลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ต้องทำงานภายใต้ความกดดัน และทำงานในหลายพื้นที่ ตั้งแต่รถฉุกเฉิน เฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น โดยโรงพยาบาลจะมีแผนกฉุกเฉินดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน เน้นการรักษาเริ่มต้นที่ถูกต้อง ทันท่วงที เพื่อประสานกับแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นในการรักษาเฉพาะเจาะจงต่อไป

4. ผู้ช่วยแพทย์ 

ไม่ว่าอาชีพไหนของหน้าที่เป็นผู้ช่วยถือว่าสำคัญก่อนที่จะถึงมือชองวิชาชีพนั้น  ดังนั้นผู้ช่วยแพทย์จึงเป็นวิชาชีพที่ต้องต่อสู้กับเวลาและความกดดันเพราะมีเวลาจำกัด เวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือแพทย์ฉุกเฉิน มีหน้าที่ช่วยเหลือดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ต้องการการรักษาทันที ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างการนำส่งสถานพยาบาลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ต้องทำงานภายใต้ความกดดัน และทำงานในหลายพื้นที่ ตั้งแต่รถฉุกเฉิน เฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น โดยโรงพยาบาลจะมีแผนกฉุกเฉินดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน เน้นการรักษาเริ่มต้นที่ถูกต้อง ทันท่วงที เพื่อประสานกับแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นในการรักษาเฉพาะเจาะจงต่อไป

5. พยาบาลวิชาชีพ
บุคลากรทางการแพทย์ถือว่ามีความสำคัญในฐานะผู้ที่ให้การรักษา และดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งพยาบาลก็นับว่าเป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะในขณะนี้โรงพยาบาลหลายๆ แห่งทั่วประเทศ กำลังประสบกับภาวะบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ พยาบาลหลายคนต้องเข้าเวรเกินเวลาที่กำหนด เพราะมีจำนวนคนไข้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงเวลานี้

6. เลขานุการทางการแพทย์ (Medical Secretary) 

หมอก็ต้องมีเลขาฯ เหมือนผู้บริหารทั่วไป แล้วทางการแพทย์เลขาฯ ต้องทำอะไรบ้าง เลขานุการทางการแพทย์ มีหน้าที่คล้ายกับงานเลขานุการทั่วไป โดยเป็นผู้ประสานงานด้านการแพทย์ แต่จะต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดของวิธีการทางการแพทย์เช่นเดียวกับผู้บริหารระดับสูง เพราะจะต้องเข้าใจศัพท์วิชาการ ศัพท์เฉพาะทางด้านการแพทย์ และทำหน้าที่เก็บเอกสารประวัติการรักษาคนไข้ รวมถึงทำหน้าที่นัดหมาย เมื่อมีการตรวจรักษาสำหรับโรคที่จะต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยแพทย์จะระบุกำหนดเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือน รายละเอียดตรงนี้พยาบาลก็จะต้องตรวจเช็คให้ละเอียดเพื่อจะได้กำหนดวันเวลาได้ถูกต้อง

7. ผู้ช่วยอาชีวบำบัด
เช่นเดียวกันอาชีพผู้ช่วยกิจกรรมบำบัดทำงานภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัด โดยให้การสนับสนุนผู้ป่วยในการรักษาอาการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย หรือความทุพพลภาพ หน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ การจัดเตรียมอุปกรณ์การรักษา การเตรียมพื้นที่การรักษา การขนส่งผู้ป่วย และการนัดหมาย

8. นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)

กิจกรรมบำบัดคืออะไร ฟังดูไม่คุ้นหูเท่าไร เหมือนนักกายภาพบำบัดหรือเปล่า คำตอบคือนักกิจกรรมบำบัดเป็นอาชีพที่ใช้กิจกรรมในการช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับความเจ็บป่วย ทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ ผู้มีอาการทางจิต เด็ก ผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยทำหน้าที่ประเมิน ส่งเสริม บำบัด ป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้คำแนะนำหลังการรักษาแก่คนไข้ที่เพิ่งหายจากการเจ็บป่วย แนะนำการฝึกใช้อุปกรณ์ การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ใช้ทั้งเทคนิค จิตวิทยา และอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต รวมถึงฟื้นฟูทักษะการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมือนคนปกติ

9. นักพยาธิวิทยาด้านการพูดและภาษา (Speech-Language Pathologist)

น้อยคนจะรู้จักอาชีพ นักพยาธิวิทยาด้านการพูดและภาษาหรือนักแก้ไขการพูด ซึ่งมีหน้าที่วินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทางภาษาและการพูด ตรวจคัดกรองหาข้อบ่งชี้ ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน แยกประเภทความผิดปกติต่าง ๆ บำบัดรักษา แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพได้ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติ เช่น การพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ ประสาทหูพิการ ออทิสติก สติปัญญาอ่อน กลืนลำบาก กลืนผิดวิธี ผู้ป่วยที่ตัดกล่องเสียง ผู้ป่วยสมองพิการ เป็นต้น รวมถึงการปรับพฤติกรรม การเรียนรู้ อารมณ์ และการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง

10. นักโลหิตวิทยา

นักโลหิตวิทยาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่เจาะเลือดเพื่อวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัย การวิจัย และการถ่ายเลือด ความรับผิดชอบการติดฉลากและจัดระเบียบตัวอย่างเลือดอย่างเหมาะสม บำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ และฆ่าเชื้อในพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

การดูแลสุขภาพ/สุขภาพจิต

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก ALLWELL
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก Youalign
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก freepix

11. นักทัศนมาตร  (Optometry) 

เมื่อดวงตามีปัญหาเรามักนึกถึงจักษุแพทย์ แต่ยังมีอีกวิชาชีพหนึ่งที่มีหน้าที่คล้ายกันแต่ก็ไม่ได้เหมือนซะทีเดียวอย่าง นักทัศนมาตร มีหน้าที่ในการตรวจ วินิจฉัย แก้ไข ป้องกันความผิดปกติทางด้านสายตา และดูแลสุขภาพสายตา โดยวิธีการทางทัศนมาตร เช่น เลนส์สายตา คอนแทคเลนส์ เครื่องมือในการฝึก การฟื้นฟูกล้ามเนื้อตา รวมถึงการปรับแต่งกล้ามเนื้อตา ยกเว้นการผ่าตัดตา โดยนักทัศนมาตรจะต้องทำงานร่วมกับจักษุแพทย์ เพื่อติดตาม ป้องกันหรือร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการมองเห็นของผู้ป่วย 

12. นักนวดบำบัด (หมอนวด)
นักนวด หรือหมอนวดบำบัดทำงานร่วมกับผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการปวด สนับสนุนการฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ หรือลดความเครียดโดยใช้เทคนิคการนวด รวมถึงการพูดคุยถึงอาการและประวัติการรักษากับคนไข้ การระบุอวัยวะส่วนที่มีปัญหา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับท่าทาง การผ่อนคลาย และการยืดกล้ามเนื้อ

13. นักเทคโนโลยีชีวภาพ
สามารถตอบโจทย์พลังงานลดโลกร้อนหลักสูตรเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคงไม่มีใครปฏิเสธว่าประเทศไทยคือประเทศแห่งเกษตรกรรมแต่นอกจากการผลผลิตด้านการเกษตรที่สามารถนำมาบริโภคแล้วนั้นยังมีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนอุตสากรรมการเกษตรนั่นคือกากเหลือทางการเกษตรแต่แท้จริง แล้วสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานชีวภาพซึ่งสามารถใช้ทดแทนพลังงานดังนั้นอาชีพนักเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อภาคอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมของโลก

14. นักบริบาล (Care giver)

การที่สังคมในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรโดยรวมมากขึ้น ซึ่งเรียกว่า Aging Society งานด้านการดูแลผู้สูงอายุจะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น และด้วยการที่ลูกหลานถูกรุมเร้าและบีบคั้นจากหน้าที่การงานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่มีเวลามาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวด้วยตนเอง  หรือผู้สูงอายุจำนวนมากเองก็ไม่มีลูกหลาน ทำให้ความต้องการในการใช้บริการจากผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

15. ที่ปรึกษาสุขภาพจิต (Mental health counselor)

โลกการทำงานและโลกธุรกิจในอนาคตจะมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้น และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่เข้ามารุมเร้าชีวิตผู้คนในยุคดิจิทัลที่มีอัตราเร่งของชีวิตสูงเช่นนี้ จะทำให้ผู้คนมีอาการป่วยทางจิตมากยิ่งขึ้น และด้วยความรู้และการเปิดรับโรคทางจิตมากขึ้น ทำให้อาชีพที่ปรึกษาสุขภาพจิตจึงเป็นอีกอาชีพที่น่าจับตามองมาก ๆ

16. ที่ปรึกษาการใช้สารเสพติด
คือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ทำงานร่วมกับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาการติดแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือความผิดปกติในการรับประทานอาหาร ความรับผิดชอบของพวกเขารวมถึงการประเมินสุขภาพจิตและร่างกายของผู้ป่วย การสร้างเป้าหมายการรักษา และช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะหรือพฤติกรรมที่สนับสนุนการฟื้นตัว

17. นักบำบัดโรคทางเดินหายใจ
โรคที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคย แต่ถือเป็นอีกอาชีพที่ถือว่าเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมมาแรง และได้รับเงินเดือนสูงไม่แพ้อาชีพอื่นเลยก็คือ อาชีพนักบำบัดโรคทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดภาวะโควิด 19 และถืงแม้การระบาดจะลดลงแล้วก็ตาม ยังทำให้อาชีพนี้ยังเป็นที่ต้องการอยู่ในทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ โดยจะได้รับค่าตอบแทนมากถึงปีละ 2 ล้านบาทเลยทีเดียว

18. นักกำหนดอาหาร (Dietitian)

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล อาจจะมีอาการเบื่อหน่ายอาหารที่ทางโรงพยาบาลจัดให้บ้างแหละ แต่อาหารเหล่านั้นถูกทำมาเพื่อให้เหมาะกับอาการป่วยของแต่ละคน ซึ่งนอกจากนักโภชนาการก็ยังมีนักกำหนดอาหารที่มีความรู้เฉพาะทางด้านอาหาร เป็นผู้กำหนดปริมาณพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารบำบัดโรคที่เรียกว่า โภชนบำบัด และยังมีหน้าที่ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วย บุคคลทั่วไป ในการป้องกันและบำบัดโรคที่เกิดจาก
ภาวะทุพโภชนาการ (ภาวะที่ร่างกายมีความไม่สมดุลด้านโภชนาการ) ในโรงพยาบาลต่าง ๆ จะมีนักกำหนดอาหารประจำอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

19. ผู้ดูแลระบบบริการสุขภาพ
มีหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของสถานบริการต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ระบบการดูแลสุขภาพ หรือสำนักงานแพทย์ พวกเขาจัดการงบประมาณและการใช้จ่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ และพัฒนาเป้าหมายของแผนกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของบริการ

20. ผู้ช่วยด้านสุขภาพที่บ้าน

ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือมีความทุพพลภาพกับความต้องการด้านการรักษาพยาบาล ให้ยา ตรวจร่างกาย และช่วยงานประจำวันอื่นๆ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว หรือพาไปพบแพทย์

21. นักบำบัดโซเชียลมีเดีย Digital detox therapist/นักบำบัดการติดดิจิทัล

เรามักจะได้ยินการทำ ‘social detox’ จากอาการเสพติดโทรศัพท์มือถือ และสื่อโซเชียลมีเดีย อาการเหล่านี้จะแพร่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นในอนาคต ทำให้อาชีพเกิดใหม่อย่าง ‘digital detox therapist’ เป็นที่ต้องการเพื่อการปรับสมดุลในชีวิตประจำวันของผู้คนให้มีความบาลานซ์ เพราะการใช้แอพพลิเคชั่นหรือการวางโปรแกรมด้วยตัวเองอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป และต้องมีอาชีพนี้เกิดขึ้นมารองรับต่อไปด้วย  และคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ที่จะคอยแนะนำในการปรับสมดุลการใช้ชีวิต

ตลาดออนไลน์/โลจิสติกส์

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก OfficeMate
อาชีพ
ภาพจาก freepix
ภาพจาก freepix

22. ไลฟ์ขายของ 
ในปัจจุบันโลกออนไลน์มีผลต่อการค้าขายเป็นอย่างมาก และการไลฟ์ขายของหรือการถ่ายทอดสดในโซเชียลมีเดียก็เป็นอาชีพที่น่าสนใจ และเป็นช่องทางที่สามารถกระตุ้นความอยากซื้อของกลุ่มเป้าหมายได้ดี ซึ่งการที่จะไลฟ์ขายของให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างเลยทีเดียว ทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแบบเรียลไทม์ หรือการปรับตัวตามเทรนด์ การตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงช่องทางโซเซียลมีเดียที่จะไลฟ์ แต่อาชีพนี้ก็ยังทำได้ไปอีกไกล

23. Influencer
เทรนด์อาชีพที่มาแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้น เพราะในปัจจุบันคือยุค User-Generated Content ที่ผู้บริโภคกลายมาเป็นบุคคลสร้างคอนเทนต์เองโดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องจ้าง Influencer ส่วนมากนั้นจะรีวิวสินค้าต่างๆ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อคนอื่นต่อแบรนด์สินค้านั้นๆ นอกจากนี้กลุ่ม influencer นั้นมีหลากหลายตั้งแต่ Macro influencer ไปจนถึง Nano influencer

24. ตรวจนับสินค้า/แพ็คสินค้า
แม้ว่าอาชีพนี้จะคุ้นหูมานาน  จนตอนนี้อาชีพนี้ก็ยังคงไปได้ดี ในการทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนการขายของออนไลน์ เมื่อมียอดสั่งมาจากหน้าร้านอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการตรวจนับสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้า จัดเรียงทั้งเข้าและออก เพื่อให้ทันกับยอดการสั่งซื้อของลูกค้า และแพ็คตามออเดอร์ของลูกค้า ช่วยลดเวลา ต้นทุน และความยุ่งยากของผู้ขายได้

25. ตัวแทนบริการขนส่ง/รับ-ส่งสินค้า
ตัวแทนบริการขนส่ง หรือรับ-ส่งสินค้า ยังคงถือเป็นอีกอาชีพมาแรงพอกับการขายของออนไลน์ เป็นอาชีพที่สนับสนุนการขายของออนไลน์ได้เป็นอย่างดี การเป็นตัวแทนบริการขนส่ง  หากทำเลดี คู่แข่งไม่เยอะ อาชีพนี้จะอยู่ไปได้อีกนาน บางบริษัทขอเพียงเรามียานพาหนะ เราก็สามารถทำอาชีพนี้ได้เลย

มืออาชีพด้านการพัฒนาธุรกิจ

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก CNBC
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก PTC
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก Patriot Software

26. นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี   
คำว่า นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี เป็นหนึ่งในอาชีพที่มีแนวโน้มจะมาแรงในอนาคต คริปโทเคอร์เรนซีคือสินทรัพย์ดิจิทัลหรือค่าเงินดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยนในอนาคต ในช่วง 2-3 ปีก่อนอาชีพนักขุดบิทคอยน์เป็นทางเลือกที่นิยมมาก ทว่าภายหลังการเติบโตของกองทุนบิทคอยน์มีความผันผวนสูง พร้อมทั้งการทุ่มเงินซื้อบิทคอยน์กว่าหมื่นล้านบาทของอีลอน มัสก์ ทำให้นักลงทุนทั่วไป หันมาสนใจลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีต่าง ๆ และภายในอนาคตอันใกล้นี้คงมีนักลงทุน คริปโทเคอร์เรนซีเป็นอาชีพมาแรงในอนาคตแน่นอน

27. นักวางแผนสกุลเงินดิจิทัล Digital currency planner
ความสนใจในการใช้สกุลเงินคริปโตฯ หรือ cryptocurrencies ที่เพิ่มขึ้นจากกระแส bitcoin litecoin และ ether ทำให้นักลงทุนและผู้ที่เริ่มศึกษาการเกิดขึ้นของสกุลเงินพวกนี้อาจได้รับประโยชน์ในอนาคต เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญในสกลุเงิน สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการ ความมั่นคงในการใช้สกุลเงินเหล่านี้ ด้วยระบบที่สมดุล รวมถึงความปลอดภัยและการจัดการบัญชีด้วย

28. ผู้จัดการบัญชี
ทุกวันนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ  รวมไปถึง AI ถูกพูดถึงในวงกว้าง กระทั่งอาจจะมีหลายคนอาจจะกังวลว่าอาชีพนักบัญชีจะถูกหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ และทำให้บทบาทของนักบัญชีเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด แต่ในมุมมองของนักบัญชีบริหาร บทบาทของนักบัญชีก็ยังคงมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้ธุรกิจ เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะเข้ามามีส่วนช่วยให้นักบัญชีสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดเวลาทำงานแบบซ้ำ ๆ ในส่วนที่หุ่นยนต์ทำได้แล้ว ยังนำเสนอข้อมูลได้รวดเร็วและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย นักบัญชียุคดิจิทัลสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้ตนเองสามารถเป็น Business Partner หรือคู่คิดธุรกิจได้อย่างเต็มตัว 

29. ซีเอฟโอ

บทบาทของ CFO ในโลกยุคดิจิทัล เป็นผู้นำองค์กรในการขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์และเป็นผู้นำและบริหารการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงาน  จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลนอกเหนือจากการเงินได้ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้บริโภค และคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทักษะการสื่อสารความร่วมมือระหว่างสายงาน ทักษะด้านอารมณ์และสังคมให้ทุกฝ่ายเข้าใจกันได้ ทักษะด้านบรรษัทภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม ทักษะการทำความเข้าใจภาพใหญ่องค์กร  รวมถึงทักษะความเข้าใจในเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคต

30. นักตรวจสอบบัญชี

ทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาให้มีความชาญฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ นั้นอาจถูกนำเข้ามาแทนที่วิชาชีพตรวจสอบบัญชีก็เป็นได้ ซึ่งอนาคตวิชาชีพสอบบัญชีอาจมีความจำเป็นแค่เพียงผู้สอบบัญชีคนเดียวเท่านั้นที่ทำหน้าที่แสดงความเห็นหน้ารายงานที่มีต่องบการเงิน ซึ่งการตรวจสอบอาจถูกนำ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญในการตรวจสอบบัญชีของกิจการ ซึ่งอาจมีความแม่นยำและมีความรอบคอบมากกว่า แต่สิ่งที่ยังคงมีความจำเป็นคือการใช้วิจารณญาณเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในการตัดสินใจ และใช้ประสบการณ์จากที่เคยตรวจสอบมาเข้ามามีส่วนร่วม การปรับตัวและเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ด้วยการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งนักตรวจสอบบัญชี  ผู้ทำบัญชี นักบัญชีบริหาร นักบัญชีต้นทุน หรือนักบัญชีภาษีอากร เพราะการทำงานจะต้องเชื่อมโยงกันทุกฝ่ายเพื่อให้รายงานทางการเงินนั้นออกมาอย่างมีประสิทธิภาพและคงความน่าเชื่อถือ

31. เจ้าหน้าที่บัญชี
งานบัญชี ถือว่าเป็นงานที่ยากและจะต้องมีความเป๊ะอย่างที่สุด ทั้งยังเป็นสายงานที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะด้านในการจัดการ เพราะต้องคอยตรวจสอบสินทรัพย์ และหนี้ รวมไปถึงบัญชีลูกหนี้-เจ้าหนี้ รวมถึงปิดสรุปงบ เพื่อให้องค์กรนำตัวเลขนี้ไปพัฒนาธุรกิจต่อไปที่สำคัญ ดังนั้นหากต้องการอยู่รอดในยุคนี้ต้องการเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ ๆ เพื่อให้งานที่ทำอยู่แตกต่างไปจากเดิม เช่น เจ้าหน้าที่บัญชีเรียนรู้วิธีการนำกระบวนการ Robotics Process Automation เพื่อจัดเตรียมข้อมูลทางการเงินลักษณะ Real-time ที่ใช้ทั้งภายในและนอกองค์กรได้อย่างทั่วถึง เป็นต้น

32. เจ้าหน้าที่การเงิน
จะทำธุรกิจอะไรก็ตาม การบริหารจัดการเงิน และสินทรัพย์ต่าง ๆ ของบริษัทถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยผู้ที่ทำหน้าที่ในส่วนนี้ ก็คือ คนที่ทำงานการเงินนั่นเอง โดยหน้าที่รับผิดชอบของสายอาชีพนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการดูแลเรื่องการวางบิล ซื้อขาย ทวงหนี้ วางแผนการชำระหนี้ จัดการหนี้สินของบริษัท และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารรายรับรายจ่าย งานด้านนี้จึงต้องการคนที่นอกจากจะมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีและตัวเลขแล้ว ยังต้องเป็นคนที่มีความละเอียดรอบคอบอีกด้วย

33. เทรดเดอร์ (Trader)
เทรดเดอร์ กลายเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจ จากคนรุ่นใหม่และคนทั่วไปเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากถูกมองว่าเป็นอาชีพอิสระที่มีความสบาย ทำงานง่าย รายได้สูง นิยามคำว่าเทรดเดอร์ คือผู้แลกเปลี่ยน พ่อค้า นักเก็งกำไร ที่ใช้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะลักษณะในลักษณะของการซื้อมาขายไป แล้วหาผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคา  โดยสิ่งที่คนจะเป็นเทรดเดอร์ต้องมี ก็คือความพร้อมของตัวเรา ครอบครัว และคนรอบข้าง รวมถึงแผนธุรกิจ แผนการเทรด แผนสำรอง สำคัญที่สุดก็คือเงินทุน ดั้งนั้นการเริ่มต้นลงทุนหรือเก็งกำไร ไม่ใช่อะไรที่คุณคาดหวังผลตอบแทนได้อย่างตรงไปตรงมาตามตำราทางการเงิน และการประสบความสำเร็จทางการเงิน จากการเป็นเทรดเดอร์ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่สามารถทำกันได้ชั่วข้ามคืน

34. วิศวกรการเงิน 
ใหม่มาแรงในประเทศไทยที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก สำหรับอาชีพวิศวกรการเงิน และมีการเปิดเป็นหลักสูตรที่อยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เน้นเรียนทักษะด้านการวิเคราะห์การเงิน การลงทุนและการจัดการความเสี่ยง รวมถึงมีความสามารถในการใช้เครื่องคำนวณ และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างชำนาญ

35. เจ้าของธุรกิจ Start-up

หลายคนคงเขียนดูซีรีส์เกาหลี Start-Up ที่เป็นเรื่องราวของวัยรุ่นที่ทำธุรกิจแพลตฟอร์มบริการออนไลน์ที่เกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการช่วยเหลือผ่านการใช้เทคโนโลยี ซึ่งแหล่งเงินทุนที่สำคัญในการก่อตั้งธุรกิจอาจมาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุน ในปัจจุบันนี้มีบริษัทสตาร์ทอัพมากขึ้น ที่ผ่านมาทาง LINE ก็เคยมีกิจกรรม LINE Scale Up เพื่อผลักดันบริษัทสตาร์ทอัพไปสู่สตาร์ทอัพยูนิคอร์นแห่งแรกในประเทศไทย

การตลาด/การตลาดดิจิทัล

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก Hollywood Insider
blogger
ภาพจาก www.dooreview.com
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก Campus Stars

36. นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)
คลิปดัง คอนเทนต์เด่น บทความที่ถูกแชร์หลายหมื่นแชร์บางครั้งก็ไม่ได้ได้มาเพราะโชคช่วย เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการคิด การวางแผนของ Digital Marketing หรือนักการตลาดออนไลน์มาช่วยดันอีกแรง แม้เราจะมั่นใจมากว่าคอนเทนต์ของเราดีและมีคุณภาพ แต่ถ้าไม่ได้นักการตลาดออนไลน์มาช่วยผลักดันให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมาย คอนเทนต์ที่ดีนั้นก็จะไม่ได้ทำหน้าที่ของมันเลย 

37. นักสร้างสรรค์บทความ (Content creator)

เดี๋ยวนี้เราแทบจะไม่เปิดทีวี ฟังวิทยุ หรืออ่านหนังสือพิมพ์เพื่ออัปเดตข่าวสารกันแล้ว แต่เลือกที่จะเช็คทุกอย่างผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ระบุไว้ว่า ผู้คนกว่า 94% ติดตามข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์เป็นหลัก เพราะเป็นช่องทางที่รวดเร็ว เข้าถึงง่าย และได้สาระ มีให้เลือกอ่านทั้งบทความ ข่าวทั่วไป ข่าวบันเทิง บทความเชิงลึก รวมถึงคลิปวิดีโอด้วย โดยข้อมูลข่าวสารจะอัปเดตชั่วโมงต่อชั่วโมงแบบรวดเร็วทันใจ แถมอาชีพนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นนักข่าวหรือคนในวงการสื่อเท่านั้น แต่เป็นใครก็ได้ที่มีความถนัดในเรื่องที่เขียน และสามารถนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ๆ ใครที่มีทักษะในการค้นข้อมูลและเขียนได้ดี ถึงแม้ว่าอาจจะไมได้สร้างรายได้ให้ขนาดนั้น ก็ได้ฝึกการเขียน การเรียบเรียงได้ 

38. ผู้สร้างสรรค์งานด้าน VFX (VFX/CGI) 

VFX  เป้นคำที่หลายคนคงพอผ่านตาหรือคุ้นเคยกันมาบ้าง ความหมายของ VFX หรือ Visual Effects อธิบายเป็นภาษาไทยก็คือกระบวนการที่สร้างภาพด้วย CGI อาจเป็นที่ถ่ายทำจริง (Live Action) ผสมกับภาพจาก CGI หรืออาจจะเกิดจากภาพที่สร้างขึ้น CGI ทั้งหมดก็ได้ มีทั้งทำให้สมจริง (Realistic) และแบบเหนือจริง (Surrealistic) นั่นเอง หากเรามีทักษะในการผลิตงานด้าน Visual Effects (VFX) จะเป็นที่ต้องการมากขึ้นในแวดวงการสื่อสาร โดยเฉพาะในวงการโฆษณา ละคร และภาพยนตร์ โดยมีแรงหนุนมาจากการแข่งขันด้านการตลาดที่ต้องพึ่งพาการโฆษณาที่ดึงดูดผู้ชมมากขึ้น และความนิยมชมภาพยนตร์ที่มี VFX อลังการมากขึ้นของผู้ชม

39. บล็อกเกอร์ บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ ติ๊กต็อกเกอร์ หรือสตรีมเมอร์ 

นักสร้างความบันเทิง  อาชีพนี้แทบไม่ต้องยืนยันความฮิตของอาชีพยูทูบเบอร์ หลายคนก็รู้ดีว่าทำไมเราถึงมียูทูบเบอร์เกิดขึ้นมากมาย ผลวิจัยจาก Google ประเทศไทยและ TNS ระบุว่า คนไทยกว่า 83% ใช้บริการยูทูบทุกวัน ดังนั้นเมื่อมีคนเสพมาก คนผลิตก็ต้องมากตาม ทำให้มียูทูบเบอร์เกิดใหม่มากมาย แถมการทำคลิปลงยูทูบเดี๋ยวนี้ก็เปิดกว้างและหลากหลายมากขึ้น ถ้าสร้างความบันเทิง ไม่อนาจารและสร้างสรรค์ รายรับเดือนละหมื่นถึงแสนบาทก็ไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งรายได้หลักจะมาจาก Google Ads โฆษณาก่อนคลิปเล่นประมาณ 5 วินาทีที่เราชอบกดข้ามกัน และสปอนเซอร์ที่ติดต่อเข้ามาลงโฆษณาหรือให้เราโฆษณาสินค้าแบบเนียน ๆ ให้

40. นักกำกับและตัดต่อวิดีโอ (Online Video Producer)
 เว็บไซต์ social paragon ได้เปิดเผยข้อมูลเทรนด์คอนเทนต์วิดีโอที่มาแรงในปี 2017 ว่า ในทุก ๆ 1 นาทีบนเฟซบุ๊กจะมีการเปิดดูคลิปวิดีโอมากถึง 5.5 ล้านคลิป ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตก็หนีไม่พ้นการดูคลิปวิดีโอเป็นประจำ แถมคลิปวิดีโอยังมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์มากถึง 64% ด้วย นั่นหมายความได้ว่า การทำคลิปวิดีโอจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นคลิปสอนแต่งหน้า ชวนไปเที่ยว แคสต์เกม ฯลฯ โดยทุกคลิปล้วนต้องการคนตัดต่อวิดีโอเก่ง ๆ มาช่วยสร้างสรรค์ให้คนดูชอบแล้วแชร์ต่อ

41. ตัวแทนบริการลูกค้า (Customer serviceative represent)

เพียงแค่โทรศัพท์สั่งของจากแคตตาล็อก คนที่อยู่อีกฝั่งนึงของสายอาจจะเป็นคนที่นั่งทำงานแบบ Work from Home  อาชีพรับจัดกับการโทรเข้ามาร้องเรียนปัญหา การสั่งสินค้า และตอบคำถามของลูกค้าเป็นตลาดที่ใหญ่และกำลังโตมาก และเป็นที่ต้องการของเกือบทุกธุรกิจ

42. ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (Creative director)

1 ในปัจจัยชี้ขาดว่าโครงการใด (ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาหรือแคมเปญการตลาด) จะปังหรือไม่ปังคือความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ที่ดีไม่ใช่แค่ต้องมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะในการคัดกรองความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ จากลูกทีม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการของทีมได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพงานด้าน creative ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย อาชีพนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจหรือโครงการที่ต้องเน้นงานด้าน creative 

43. นักบิดแสงและสีหรือคัลเลอร์ลิสต์ (Colorist)

ผู้ปรับแต่งสี (Color Grading) และแก้สีภาพ (Color Correction) ในงานสื่อต่าง ๆ อาทิ งานวิดีโอ MV ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา เพื่อให้ตรงตามคอนเซ็ปต์ที่ได้วางไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ เพราะการบิด ปรับสีถือเป็นภาษาหนึ่งในการเล่าเรื่อง เพราะสามารถสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดดำเนินเรื่องได้ ช่วยให้ผู้เสพผลงานเข้าถึงอรรถรสและเต็มอิ่มกับ สี แสง เงา ที่เข้ากับเนื้อเรื่องตอนนั้นๆ ได้อย่างกลมกลืน

อาชีพ Colorist เป็นอาชีพที่กำลังมาแรงและเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ๆ แถมมีค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง เป็นอีกอาชีพที่ได้เดินทางบ่อย เพราะการใช้สีในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจของคน อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้ ความสามารถในการใช้สี เพื่อกระตุ้นให้คนอยากซื้อผลิตภัณฑ์ หลงรัก จดจำทั้งในรูปแบบของภาพนิ่งและวิดีโอ เช่น สีฟ้าทิฟฟานี สีเหลืองมินเนี่ยน ไปจนถึงสีแสนสวยในเอ็มวีของ Phum Viphurit ที่เปลี่ยนพัทยาให้กลายเป็นหาดไมอามี่ใน MV เพลง Lover Boy เป็นต้น ความรู้พื้นฐานของ Colorist สามารถนำไปต่อยอดเป็นงานอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เช่น CG, AR, VR และการสร้างเกมแบบสามมิติ

ธุรกิจท่องเที่ยว

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก ROAR for good
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก การบินไทย

44. อาชีพบริการลูกค้า/งานต้อนรับ

ถึงเทรนด์ธุรกิจจะเปลี่ยนไป แต่องค์กรก็ยังจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เกี่ยวกับบริการหลังการขาย รวมถึงงาน Call Center เพราะนี่คือ งานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าอยู่กับเราไปนาน ๆ และเลือกที่จะใช้บริการกับเราต่อไป

45. ธุรกิจที่พัก ทัวร์ และการท่องเที่ยว
ตอนนี้ได้ผ่านช่วงการระบาดของโควิด-19 มาแบ้ว คนก็จะแห่กันไปเที่ยวให้สมกับที่อัดอั้นมานานหลายเดือน ซึ่งการท่องเที่ยวและที่พักจะกลับมาคึกคัก ต้อนรับผู้คนที่อยากเที่ยว ให้ธุรกิจทัวร์ได้เก็บเงินกันแบบรัว ๆ แน่นอน ธุรกิจนี้จะต้องเตรียมตัวรับมือกับการกลับมาของการท่องเที่ยวบ้านเราอีกครั้ง

46. พนักงานทำงานบนเครื่องบิน
นักบิน  แอร์โฮสเตส สจ๊วต ซึ่งทำงานในสายการบินต่างๆ พนักงานโรงแรม มัคคุเทศก์ ตลอดจนภาคการขนส่งเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก และอาจถึงขั้นขาดแคลน ยิ่งถ้านักท่องเที่ยวจีนกลับมา เชื่อว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2566 จะกลับมาอย่างมหาศาล จึงถือว่าในปีหน้าอาชีพด้านการท่องเที่ยวจะกลับมารุ่งอย่างแน่นอน

47. พนักงานโรงแรม
ตำแหน่งเหล่านี้  เป็นอาชีพด้านการท่องเที่ยว จะต้องรวมถึงที่พักด้วย และตำแหน่งการบริการแบบดั้งเดิมเปลี่ยนไปเป็นการบริการเฉพาะบุคคลมากขึ้น บุคลากรของโรงแรมจำเป็นต้องเพิ่มทักษะใหม่ ๆ เพื่อความเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงนั้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการคนที่มีทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้คนได้ ต้องสามารถทำงานได้หลากหลาย และเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ

48. งานสตาฟอีเวนต์ และสตาฟคอนเสิร์ต
ในปีนี้หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เป็นปีที่จะมีการจัดงานอีเวนต์ และคอนเสิร์ตกันอย่างคึกคัก และคอนเสิร์ตที่อั้นมานานจึงพาเหรดกันจัดงานแบบติดๆ ซึ่งนอกจากครีเอทีฟและโปรดิวเซอร์ที่สร้างสรรค์งานอีเวนต์ และคอนเสิร์ตแล้ว ตำแหน่งงานซึ่งเป็นที่ต้องการจำนวนมากคือทีมสตาฟ ซึ่งงานสตาฟนั้นแม้จะเป็นงานพาร์ตไทม์ที่จ้างกันเป็นจ๊อบ จ่ายค่าจ้างเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ แต่ก็จัดว่าเป็นอาชีพที่รายได้ดีทีเดียว

49. ผู้จัดการศิลปิน (Artist Relation)

หนักเอาการเหมือนกันสำหรับอาชีพที่ต้องใช้สกิลหลายอย่าง เช่น เช็กคิวงานของศิลปินแต่ละวงในค่ายเพื่อลงงานให้กับศิลปิน ประสานงานระหว่างลูกค้าหรือทางสถานที่ในเรื่องเวลา Sound Check และ Show ดูแลศิลปินเวลาออกงาน Event หรือ Concert ต่าง ๆ และต้องคอยจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับศิลปินหน้างานในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงดูแลเรื่องการทำสัญญาระหว่างลูกค้ากับศิลปินในการว่าจ้าง ทำลิขสิทธิ์ในการขอใช้เพลง ควบคุมดูแลศิลปิน ตลอดจนสร้างศิลปินให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศิลปินต้องมีความอดทนสูงและมีความละเอียดรอบคอบ 

สัตวแพทย์หรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง

ภาพจาก AXIOMQ
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก kingkongpetshop
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก INN News

50. สัตวแพทย์
สัตวแพทย์เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่ให้บริการด้านสุขภาพแก่สัตว์ รวมถึงการทำการทดสอบวินิจฉัย การให้ยาหรือวัคซีน การรักษาบาดแผลหรือการบาดเจ็บ และการทำศัลยกรรมสัตว์

51. เจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์
เจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์ เป็นอาชีพที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะการดูแลสัตว์จะต้องมีความอดทน มีจิตใจที่รักสัตว์ สามารถดูแลสัตว์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

52. ร้านดูแล/ขายของและตัดขนสัตว์เลี้ยงกลุ่มธุรกิจสัตว์เลี้ยง
เนื่องจากผู้คนในปัจจุบันมีพฤติกรรมมีลูกน้อยลง และหันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงประเภทต่างๆ ขึ้น เลยทำให้กลุ่มธุรกิจสัตว์เลี้ยงนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นและมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง รวมถึง ร้านตัดขนสัตว์เลี้ยง ร้านขายของสัตว์เลี้ยงทั้งแบบหน้าร้านหรือร้านขายของออนไลน์ คลินิกสัตว์เลี้ยงต่างๆ ตลอดจนโรงแรมสัตว์เลี้ยง ฯลฯ เป็นที่นิยมและเป็นกลุ่มอาชีพมาแรงในอนาคตอย่างแน่นอน

สาย AI and Software Development

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก 10 อาชีพสุดรุ่งต่อเนื่องในศตวรรษที่ 21-22
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก Akibatan
ภาพจาก Case Western Reserve University

53. AI and Machine Learning Engineer (AI and ML)

AI and ML  เป็นอาชีพที่มีความต้องกสนสูงในอนาคต เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการเรียนรู้ของเครื่องจักร ในปัจจุบันที่ AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์ ทั้งการฝังชิปใน Smart Phone และ หุ่นยนต์ที่เราเห็นล้วนเกิดจากการวิเคราะห์ของคนทำงานสายนี้ ซึ่งจะยิ่งเป็นที่ต้องการตัวมากขึ้นเมื่อระบบ Automation ถูกนำมาใช้ในการทำงาน

54. Software and Applications Developers and Analysts

เป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญมากในหลายๆ ธุรกิจ เมื่อปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานในบริษัทมากขึ้น อาชีพ Software and Application Developers จึงเป็นกำลังสำคัญ โดยคนทำอาชีพนี้จะต้องมีความเข้าใจและเชี่ยวชาญตั้งแต่การระบุความต้องการของผู้ใช้งาน พัฒนาระบบ Information Technology (IT) ของบริษัทอย่าง Hardware, Software และ Applications ที่กำลังเป็นที่นิยมให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ และในอนาคตอาชีพนี้จะรวมเข้ากับ Software Analyst ที่มีหน้าที่ออกแบบโปรแกรมเพิ่มเติมด้วย

55. นักพัฒนา AR (Augmented Reality Developers)
อุตสาหกรรมเกมออนไลน์ที่ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องนำมาสู่อาชีพนักพัฒนาและออกแบบ AR (Augmented Reality) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเติมเต็มประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้มีความรู้สึกเสมือนจริงสุดๆ ในอนาคตเทคโนโลยี VR อาจจะเข้าไปช่วยให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกับความทรงจำในอดีต หรือการเที่ยวพักผ่อนเสมือนจริงสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีเวลามาก

56. วิศวกรด้าน AI  
ยุคที่ทุกอุตสาหกรรมต้องการประยุกต์ใช้ AI และ Machine Learning จนทำให้แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวัน ทำให้ความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะหลายองค์กรต่างพยายามหาวิธีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจและการปฏิบัติงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้แบบอัตโนมัติและทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ต่างมองหาพนักงานสายอาชีพนี้เป็นอย่างมาก

57. วิศวกรหุ่นยนต์ (robotics engineer) 
วิศวกรหุ่นยนต์ะยังเป็นอาชีพที่ไม่ตกเทรนด์ แต่วิศวกรหุ่นยนต์เป็นสาขาหนึ่งที่มีทิศทางสดใสมาก ๆ ในอนาคต เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ละภาคส่วนตั้งแต่ระบบคลังสินค้า โลจิสติกส์ เกษตรอัจฉริยะ (smart farming) หรือภาคการผลิต (manufacturing) ฯลฯ ต่างก็มีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติด้วยกันทั้งสิ้น

58. ผู้จัดการและบริหารความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์-หุ่นยนต์ (Man-Machine Teaming Manager) 

Man-Machine Teaming Manager หรือผู้จัดการและบริหารความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์-หุ่นยนต์ในที่นี้หมายถึงหัวหน้าในแผนกการบริหารจัดการความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในบริษัทและหุ่นยนต์ หรือเหล่าเครื่องมืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีหรือดิจิทัลนั่นเองค่ะ

สำหรับ CFoW สาเหตุที่ตำแหน่งหรืออาชีพนี้มีโอกาสที่จะบูมหรือเป็นที่ต้องการในอนาคตก็เพราะยิ่งภาคธุรกิจพัฒนาไปและหยิบจับนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ พวกเขาก็จะยิ่งต้องการผู้เชี่ยวชาญที่สามารถเข้ามาช่วยวิเคราะห์ ช่วยปรับ และสร้างระบบการทำงานที่พนักงาน (มนุษย์) และเครื่องมือทางเทคโนโลยี (หุ่ยนต์) สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่นยิ่งขึ้น

59. วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ 
กล่าวได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราจะได้เห็นการมีบทบาทของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้องการสร้างปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์จึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจอย่างมากในระยะยาว

เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก skygrid
ภาพจาก AHT Tech
ภาพจาก Grip Design

60. ผู้สร้างอวัยวะจากสเตมเซลล์ Organ Creator
จากบทความ crimson education ระบุว่า จากสถานการณ์การขาดแคลนอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งผลให้สถาบันวิจัยต่าง ๆ พยายามเฟ้นหานักชีววิทยาที่มีความสามารถและมีความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยาโมเลกุล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความถนัดด้านโมเลกุลวิศวกรรมเนื้อเยื่อ และวิศวกรรมชีวการแพทย์ อาชีพปลูกถ่ายและสร้างอวัยวะจากสเตมเซลล์จะกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น

61. ผู้ดูแลควบคุมโดรนรับส่งข้อมูล Drone traffic optimizer
ส่วนมากเราจะคุ้นเคยกับการใช้โดรนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือในเชิงโปรดัคชั่น แต่ในอนาคตการใช้โดรนจะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันเราเกือบทั้งหมด ไปจนถึงการถูกใช้เป็นอาวุธสงครามซึ่งที่ผ่านมาเราก็คงจะพอเห็นกันอยู่บ้างถึงอันตรายในแง่นี้ การมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเส้นทางบินของโดรนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่โดรนเหล่านี้จะไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับภาคส่วนอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในอีก 10 ปีข้างหน้าอาจจะมีการจัดตั้งตำแหน่งดูแลควบคุมโดรนกันตั้งแต่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเล็กๆ กันเลย

62. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล Data Scientist

นับเป็นอีกอาชีพที่มาแรงแห่งยุคที่ตลาดทั่วโลกต้องการ มีหน้าที่ทำงานวิเคราะห์ Big Data หรือข้อมูลจำนวนมหาศาลในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ สร้างสรรค์โปรโมชัน พัฒนาผลิตภัณฑ์ และยังช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น แต่ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้ ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน ทดลอง และหาผลลัพธ์ ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมที่ซับซ้อน การหาแนวโน้ม และการอนุมาน การค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่ซ่อนอยู่ ซึ่งจะตัวช่วยสำคัญให้บริษัทตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด

63. นักพัฒนาแอปพลิเคชัน
แนวโน้มของอาชีพนี้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มาแรงไม่แพ้ใคร เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้คนส่วนมากใช้งานสมาร์ทโฟนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆ ทั้งช้อปปิ้งออนไลน์ ฟังเพลง ดูหนัง พูดคุยกับคนทั่วไป เรียกรถกลับบ้าน หรือสั่งอาหารดิลิเวอร์รี่ ดังนั้นอาชีพนักเขียนแอปพลิเคชัน ตลอดจนนักพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นอาชีพที่มาแรงเพื่อตอบสนองกับกลุ่มลูกค้าและพฤติกรรมนั้น ๆ

64. โปรแกรมเมอร์ หรือ Programmer
ทุกองค์กรต้องปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในรูปแบบการทำงานที่บ้าน (Work from home) เพื่อให้สามารถทำงานที่ไหนก็ได้องค์กรต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องลงทุนในอุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับรองรับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สามารถทำงานได้ความพร้อมเสมือนนั่งทำงานในออฟฟิส อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก 

65. บุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity) 
ด้วยการที่กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ยุคปัจจุบันต้องทำผ่านระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมการเงิน การซื้อขายสินค้า การติดต่อสื่อสาร และเก็บบันทึกข้อมูลด้านต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้นการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลดิจิทัลลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทั้งในระดับปัจเจกและองค์กร หากเรามีความรู้ด้านนี้ เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก

66. นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)
สร้างและออกแบบเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับส่วนตัวหรือทางการค้า นอกจากนี้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ยังสามารถใช้พื้นฐานความรู้ในการประกอบอาชีพด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ด้านการตีพิมพ์ ด้านการโฆษณา การให้คำปรึกษา เป็นต้น 

67. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
Software developer เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและแข็งขันได้งานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นที่ต้องการในตลาด และด้วยแนวโน้มการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง โอกาสของอาชีพนี้จึงค่อนข้างสดใสและเป็นที่ต้องการมาก

68. ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต
จะช่วยทำหน้าที่ในการตรวจสอบเครือข่ายเพื่อหาภัยคุกคามความปลอดภัย และใช้มาตรฐานความปลอดภัย บุคลากรด้านนี้จึงคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีถัดไป

69. กราฟิกดีไซเนอร์ (Graphic designer)
กราฟิกดีไซน์ เป็นการออกแบบโลโก้และลายเสื้อยืด หรือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทำโบรชัวร์หรือโฆษณา หากมีความสามารถและประสบการณ์ สามารถสร้างเงินได้เป็นกอบเป็นกำจากการทำงาน Work from Home

70. Animator
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างแอนิเมชั่นและเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ สำหรับการทำประกอบในโทรทัศน์ภาพยนตร์ เกม และสื่อประเภทอื่นๆ สามารถทำงานจากที่บ้านในฐานะนักทำการ์ตูนอิสระ สามารถทำงานนี้ได้อย่างสบาย

71. Coder นักเขียนโค้ด
ยุคนี้ กระบวนการต่าง ๆ ในการทำงานและการดำเนินชีวิต หากอาศัยเพียงแรงมนุษย์คงไม่เพียงพอและเครื่องจักรโดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ มีความสำคัญมาก และอาชีพด้านการเขียนโค้ดก็มาแรง เพราะ Coder จะเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวก และทำให้เกิดความเป็นไปได้ในสิ่งที่มนุษย์อยากที่จะทำ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเติบโตได้มากขึ้น จึงเป็นตำแหน่งอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญและต้องการอย่างมาก

72. วิศวกรออกแบบโครงสร้างสามมิติ

วิศวกรที่มีพื้นฐานด้านการออกแบบเชิงอุตสาหกรรมและวิศวกรโครงสร้าง จะสามารถต่อยอดทักษะของตัวเองไปสู่การออกแบบโครงสร้างสามมิติหรือ 3D ได้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการออกแบบที่พำนักชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ การพิมพ์ออกแบบสามมิติสามารถพิมพ์ชิ้นส่วนที่จำเป็นในการสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก ด้วยเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน และประกอบร่างได้ด้วยเวลารวดเร็ว

73. วิศวกรบริหารจัดการขยะ

คงมีหลายคนที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน กับอาชีพวิศวกรนักออกแบบจัดการขยะจะทำหน้าที่เปลี่ยนขยะมูลฝอยจำนวนมากให้กลายเป็นของใช้ เสื้อผ้า ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์กันเลย ซึ่งต้องมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์วัสดุและการออกแบบเชิงอุตสาหกรรม เพื่อนำขยะเหล่านี้กลับมาใช้ซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยสหประชาชาติ (UN) วิเคราะห์ว่าในอนาคตมนุษย์จะผลิตขยะออกมามากถึง 2 พันล้านตันต่อปี การจัดการขยะที่เป็นปัญหามีผลพวงมาจากพื้นที่ในการฝังกลบที่จำกัดมากขึ้น บวกกับการกำจัดด้วยการเผาขยะก็ดูจะไม่ใช่วิธีการที่เป็นมิตรกับโลกตอนนี้เท่าไหร่ อาชีพวิศวกรจัดการขยะจึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับปริมาณขยะที่ล้นโลกมาก ๆ ในอนาคต และช่วยชลอการเกิดภาวะโลกเดือดให้น้อยลง

74. นักวิเคราะห์ความปลอดภัยข้อมูล (information Security Analyst) 
เนื่องจากธุรกรรมการเงินออนไลน์กลายเป็นเรื่องปรกติในชีวิตประจำวัน อาชีพนี้จึงน่าจะเกิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการเก็บรักษาข้อมูลสำคัญของผู้ใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

75. พนักงานติดตั้งโซล่าเซลล์
ปัจจุบัน พลังงานทางเลือกอย่างการใช้โซล่าเซลล์ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เนื่องจากเป็นทางเลือกที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี อาชีพพนักงานติดตั้งโซล่าเซลล์ จึงกลายเป็นที่ต้องการ และกำลังได้รับความนิยมจากหลายๆองค์กรอยู่ในขณะนี้ ใครที่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า หรือมีความสามารถในด้านการช่าง และกำลังมองหางานในกรุงเทพ หรือกำลังมองหางานเชียงใหม่ ก็สามารถลองหางานพนักงานติดตั้งโซล่าเซลล์เอาไว้ ก็อาจมีโอกาสได้งานมากขึ้น

ด้านการออกแบบและวางแผน

อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก Photography Course
อาชีพในยุคดิจิทัล
ภาพจาก https://horizonstomorrow
ภาพจาก Edukyanche

76. นักออกแบบคอนเซ็ปต์ (Concept Design)

อีเว้นต์หรืองานแฟร์แต่ละงานยังจำเป็นต้องใช้อาชีพที่ต้องเดินทางศึกษา ออกงานแฟร์ทั่วโลกรายปี โดยหน้าที่หลักคือช่วยลูกค้าคิดคอนเซ็ปต์เพราะลูกค้ามีภาพในใจอยู่หลายภาพ นักออกแบบคอนเซ็ปต์จึงเป็นคนที่จะช่วยวาดภาพในใจของลูกค้าให้ออกมาเป็นรูปธรรมจับต้องได้ เสร็จแล้วจึงจะส่งต่อให้ดีไซน์เนอร์เป็นคนออกแบบ เช่น หากจะทำกีฬาสีภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘วัฒนธรรมไทย’ เราจะเห็นว่าคอนเซ็ปต์ ‘วัฒนธรรมไทย’ คอนเซ็ปต์เดียวสามารถนำไปออกแบบได้เป็นหลายร้อยแบบเลย

77. นักออกแบบอาหาร หรือ Food Stylist
ออกแบบอาหาร ถือเป็นอาชีพที่มาแรงเป็นอาชีพใหม่เลยทีเดียว ทำหน้าที่ในการทำให้อาหารดูสวยงาม น่าทานมากที่สุด โดยผ่านภาพถ่ายหรือวิดีโอ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องออกแบบ ก็ต้องรู้เรื่องวัตถุดิบอาหาร อะไรทานคู่กับอะไร ต้องเอาวัตถุดิบอันไหนวางด้วยกัน เรียกว่ามีความรู้เรื่องอาหาร แต่ถ้าทำอาหารไม่เป็นก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร เพราะเน้นใช้ทักษะด้านการออกแบบ การจับคู่สี การนวางองค์ประกอบภาพ เรียกว่าเน้นความสวยงามเป็นหลั

78. นักออกแบบกลิ่น (Scent Designer)

คนไหนที่จมูกดี ดมอะไรก็แยกได้หมดว่าทำมาจากอะไร อย่าได้คิดว่านั่นเป็นเพียงความสามารถที่ไม่น่าสนใจเพราะเดี๋ยวนี้มีอาชีพที่มาแรงมาก ๆ อย่างนักออกแบบกลิ่น ผู้ที่อยู่เบื้องหลังกลิ่นหอม ๆ (หรือจะเหม็น ๆ ก็ได้) ของสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอม แชมพู สบู่ น้ำยาทำความสะอาด เทียนหอม ไปจนถึงกลิ่นของโรงแรมและห้างสรรพสินค้าที่ต้องการสร้างกลิ่นเฉพาะเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ที่เข้าพักจดจำตัวแบรนด์จากกลิ่น รวมถึงการออกแบบกลิ่นในงานแต่งงานที่เงินดีมาก ๆ  อาชีพนักออกแบบกลิ่นนับเป็นอาชีพนักสื่อสารอีกด้วย เช่น ต้องออกแบบกลิ่นควันไฟจากไฟไหม้ เพื่อนำไปให้ผู้พิการทางสายตาดมแล้วรู้ว่าถ้าได้กลิ่นนี้เมื่อไหร่คือต้องหนี นับว่าเป็นอีกอาชีพที่เจ๋งมาก ๆ 

79. นักวางแผนการใช้ชีวิตดิจิทัล (Digital Disciplinarians)

ใครหลายคนเชื่อว่าชีวิตดิจิทัล ไม่ได้ง่ายเหมือนการใช้ชีวิต Routine ในแบบเดิม เพราะอะไร ๆ ก็ดูจะดำเนินไปแบบรวดเร็วไปหมด ทำให้เราไม่สามารถโฟกัสกับการทำสิ่งที่ตั้งใจจะทำได้นาน ดังนั้น ถ้ามีการวางแผน หรือการได้รับแรงผลักดันวันละนิดก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่ทำให้เราไปสู่จุดหมายที่เราวางไว้ได้  และความต้องการตรงนี้นี่เอง ที่ทำให้เกิดช่องทางของอาชีพใหม่ นักวางแผนการใช้ชีวิตดิจิทัล

80. แพลนเนอร์ช่วงสุดท้ายของชีวิต (End-of-life planner)
บทสนทนาว่าด้วยเรื่องของความตาย หรือการจัดการกับความตายไม่ใช่เรื่องต้องห้ามอีกต่อไป คนรุ่นใหม่เริ่มมองหาวิธีการจัดการกับช่วงสุดท้ายของชีวิตมากขึ้น จนทำให้เกิดบริษัทแพลนเนอร์ที่จะเข้ามาช่วยวางแผนออกแบบช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตกันได้ ตั้งแต่ผู้ป่วยหนักที่ต้องการที่ปรึกษาว่า พวกเขาจะทำอย่างไรกับช่วงสุดท้ายของชีวิตกันดี รวมไปถึงการจัดการกับศพ และออแกไนซ์ที่จะเข้ามาช่วยจัดการงานให้เป็นไปอย่างที่พวกเขาต้องการได้

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
ภาพจาก LINE Today
ภาพจาก freepix
นักนิติวิทยาศาสตร์
ภาพจาก JobsDB

81. นักสังคมสงเคราะห์

นักสังคมสงเคราะห์มีหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลในการรับมือกับความยากลำบาก เช่น การล่วงละเมิดในครอบครัว หรือปัญหาสุขภาพจิต มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา ตลอดจนรักษาไฟล์บันทึกของคดีความ

82. นักวิเคราะห์ (Analyst)

ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ ตีความ และนำผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่คนเดียวกับนักวิจัยแต่เป็นนักวิเคราะห์ ขณะเดียวกัน แม้ว่าหุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์ขั้นสูงจะสามารถประมวลผลข้อมูลดิบบางด้านได้เก่งกว่ามนุษย์แล้ว โดยเฉพาะข้อมูลด้านการคำนวณตัวเลข แต่ทักษะในการตีความ วิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายกรณี (scenario analysis) และการสื่อสารผลวิเคราะห์ยังเป็นงานที่มนุษย์ทำได้ดี และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคที่มีข้อมูลมากมาย 

83. สถาปนิก 
แค่เก่งไม่พอแต่ต้องหมั่นพัฒนาฝีมือตลอดเวลา เพราะนอกจากความคิดสร้างสรรค์ที่จะช่วยผลักดันให้สร้างงานดีๆ ออกมาได้แล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านคณิตและวิทย์ควบคู่ไปกับทัศนศิลป์ ซึ่งจะเน้นเรียนวิชาประยุกต์ ใครที่สนใจด้านนี้ต้องสอบวิชาความถนัดด้านการออกแบบหรือความถนัดทางสถาปัตยกรรมด้วย

84. งานด้านภาษา เช่น ล่าม หรือผู้แปล 
ล่าม หรือผู้แปลภาษาต่าง ๆ เป็นงานที่เกี่ยวช้องกับภาษา นับเป็นสิ่งที่หลายหน่วยงาน องค์กรต้องการมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักแปล เนื่องจากหลายองค์กรทำการฝึกอบรม การประชุมระหว่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ อาชีพนี้จึงมีความต้องการสูงสำหรับการแปลเป็นภาษาต่างๆ  และการสอนภาษาผ่านออนไลน์ เป็นต้น และอาชีพล่ามเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในการพูดหรือทักษะในการใช้ภาษามือ ส่วนอาชีพนักแปลจะต้องใช้ทักษะในการเขียนเป็นหลัก อาชีพล่ามและนักแปลเป็นอาชีพที่สามารถทำงานได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ โดยอัตราการจ้างงานอาชีพนี้มีแนวโน้มที่จะสูงมาก

85. นักคณิตศาสตร์

โดยเฉพาะงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่เน้นการวิเคราะห์ความเสี่ยง กำหนดเบี้ยประกันภัย สำหรับเรายังมองว่าน่าจะเป็นอาชีพที่ยังรุ่งได้อีกในอนาคต เพราะคนที่สนใจเรียนด้านนี้ยังน้อยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ๆ

86. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

บางคนอาจจะคิดว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีอาชีพนี้  นักคณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นอาชีพที่ต้องการความสามารถในด้านคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ในการคำนวณความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้น โดยเป็นอาชีพที่คนทำงานหลายๆคนอาจยังไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยต้องวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยง และคาดการณ์ความเสี่ยงต่างๆ โดยเงินเดือนของคนที่ทำอาชีพนี้สูงถึงเดือนละ 50,000 – 90,000 บาทเลยทีเดียว

87. นักเดิน/นักสนทนาเป็นเพื่อน (Walker/Talker)

อนาคตของโลกเรานี้ โดยเฉพาะวัยรุ่นและผู้สูงอายุ จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว เงียบเหงา และเปล่าเปลี่ยวยิ่งขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่เครื่องมืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยี ไม่ใช่ Facebook, Twitter, หรือ IG แต่คือเพื่อนมนุษย์ดี ๆ สักคนที่จะมาเดินเป็นเพื่อนในตอนเช้าสักวันหรือมารับฟังขณะเดินเล่นไปด้วยกัน ซึ่งนักเดินหรือนักสนทนาเป็นเพื่อนกับบรรดาผู้คนต่าง ๆ ที่ตัดสินใจใช้บริการ นั้น จะต้องมีคุณสมบัติหลักๆ จะต้องมีทักษะการฟังที่ดีและเข้าใจถึงหัวใจและสภาวะจิตใจของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาจะได้รับอบรมฝึกฝนจากองค์กรผู้ให้บริการ

88. นักให้คำปรึกษาด้านการจัดระเบียบสิ่งของ (Joy Adjutant)

รายการสารคดี “Sparking Joy with Marie Kondo” ซีรี่ส์ของมาริเอะ คนโด ใครหลายคนที่เคยดู ก็จะต้องคุ้นเคยและเข้าใจคอนเซปต์ของอาชีพในอนาคตที่ CFoW ได้คาดการณ์แน่ ๆ ซึ่งก็คือนักให้คำปรึกษาด้านการจัดระเบียบสิ่งของหรือที่อาจจะเรียกตามคอนเซปต์ของมาริเอะก็คือ “ผู้จุดประกายความสุข” ให้กับผู้คนผ่านการจัดระเบียบชีวิตสิ่งของให้เข้าที่เข้าทาง อะไรที่ไม่จำเป็นให้กล้าที่จะตัดออกและทิ้ง เป็นอีกหนึ่งอาชีพแห่งอนาคตที่คาดการณ์ว่าจะมีความสำคัญ เป็นที่ต้องการ และสร้างผลกระทบในวงกว้างที่ดีต่อสังคม

89. นักนิติวิทยาศาสตร์

มิติของการค้นหาความจริงในคดี อาชีพนิติวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ในการนำเอาวิชาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปช่วยไขคดี โดยการเก็บหลักฐาน พิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ เช่น ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เลือด ฉี่ เส้นผม อสุจิ เส้นใยต่าง ๆ หรือเหงื่อ ! โดยนักนิติวิทยาศาสตร์จะทำงานร่วมกับทีมตำรวจและแพทย์ ตรวจหาหลักฐานทุกอย่างในที่เกิดเหตุแล้วเอาไปทดลอง เพื่อชี้ตัวคนร้ายตัวจริงในกรณีที่คนร้ายปฏิเสธว่าไม่ได้ทำหรือหลบหนี เพราะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จะมัดตัวคนร้ายได้แน่นหนาที่สุดจนปฏิเสธไม่ได้ นอกจากนี้ศาลจะเชื่อข้อมูลที่พิสูจน์ได้จากนักนิติวิทยาศาสตร์ เพราะหลักฐานทางนิติ วิทยาศาสตร์ เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือและเป็นสากลที่สุดนั่นเอง  

90. นักสเก็ตช์ภาพคนร้าย (Forensic Artist)

มีด้วยเหรอ  อาจจะมีหลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะเป็นอาชีพทีไม่ค่อยมีใครพูดถึงแถมยังเป็นอาชีพที่ค่อนข้างขาดแคลน ทั้งที่เป็นหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจและน่าจะถูกใจคนรุ่นใหม่ เพราะแสดงให้เห็นอีกมุมหนึ่งของศิลปะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเพอร์เฟค  แต่การจะเป็นนักสเก็ตช์ภาพคนร้ายที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้ใช้แค่ความสามารถด้านการวาดรูปเท่านั้น ส่วนที่ยากที่สุดกลับเป็นการสัมภาษณ์พยาน พูดคุย ซักถามเพื่อเรียกความทรงจำจากพยานเกี่ยวกับรายละเอียดของคนร้ายให้ได้มากที่สุด เช่น รอยตำหนิ คนร้ายมีตำหนิตรงไหนที่เห็นได้ชัด มีสัดส่วนยังไง หรือแม้กระทั่งรถที่คนร้ายใช้ เครื่องประดับที่คนร้ายใส่ ซึ่งจะไม่ง่ายเลยเพราะพยานเพิ่งจะผ่านเหตุการณ์เลวร้ายที่กระทบจิตใจมา บางคนจำได้นิดหน่อย บางคนจำไม่ได้ทั้งหมด จึงทำให้นักสเก็ตช์ภาพคนร้ายต้องรู้จักใช้จิตวิทยาในการทำงานสูง และไม่ใช่อาชีพที่วาดแค่หน้าคนอย่างเดียว ทำให้เงินเดือนสูงตาม  นักสเก็ตช์ภาพคนร้ายจะแฮปปี้ที่สุดเมื่อสเก็ตช์ภาพออกมาแล้ว พยานพูดออกมาว่า เดี๋ยวก่อน ! นั่นแหละคนร้าย”

91. นักฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว Rewilder
โลกที่เต็มไปด้วยตึกสูงทั่วทั้งเมือง อาชีพนักฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่สีเขียวหรือ ‘rewilder’ จะเข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนให้ป่าคอนกรีตในเมืองมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น นักฟื้นฟูฯ จะมุ่งเน้นไปที่อาคารโรงงานเก่าที่ถูกทิ้งร้าง รวมถึงตึกอาคารที่อยู่ไม่ได้อยู่ในเขตเมืองและติดถนนมากเท่าไหร่ ด้วยการจัดสรรนักฟื้นฟูฯ ที่มีความรู้ด้านการเกษตร การจัดการสัตว์ป่า และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเข้าไปดูแลในเบื้องต้น

92. พนักงานซ่อมบำรุงภาคพื้นดิน

ตำแหน่งบำรุงรักษาพื้นที่  รับผิดชอบดูแลสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารในสวนสาธารณะ บ้าน และสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ กำจัดพืชที่ตายแล้วหรือเสียหาย รดน้ำและตัดหญ้าและปลูกพืช และตรวจสอบสุขภาพของดอกไม้ ต้นไม้ และพุ่มไม้ เป็นต้น

93. ผู้ฝึกสอนกีฬา e-sports
เรียกได้ว่าอาชีพ ฝึกสอนกีฬา e-sport เป็นอีกอาชีพที่มาแรง ที่ในหลาย ๆ ประเทศกำลังต้องการ ใครที่เป็นคนหางาน ที่มีความสามารถทางด้านกีฬา และมีความสามารถในการฝึกสอน อย่าลืมลองไปสมัครงานในตำแหน่งนี้

94. นักวิจัยประสบการณ์ลูกค้า (user experience (UX) researcher) 
ช่วงเวลาที่ลูกค้ามีกิจกรรมการตลาด แอปพลิเคชัน คอนเทนต์ และประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโปรเจกต์ แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามใจหรือเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ก็ต้องพึ่งพาข้อมูลด้านลูกค้าทั้งในเชิงคุณภาพ (qualitative) และปริมาณ (quantitative) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนักวิจัยด้านประสบการณ์ลูกค้าที่มีความสามารถในการค้นคว้าข้อมูล ประมวลผลข้อมูลดิบ และสามารถสื่อสารผลการศึกษาที่ได้มาอย่างเป็นระบบและเข้าใจง่ายจะเข้ามาเติมเต็มจิ๊กซอว์แห่งความสำเร็จนี้ได้

95. นักสถิติ  
นักสถิติมีหน้าที่วิเคราะห์และตีความข้อมูล โดยใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ กำหนดวิธีที่ดีที่สุดในการรวบรวมข้อมูลและใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจขององค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงภาคการดูแลสุขภาพและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

ด้านที่ต้องอาศัยความสามารถพิเศษส่วนตัว

“และทั้ง 95 อาชีพในยุคดิจทัล ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชีพที่ยังคงรับมือกับยุคดิจัลได้อย่างน่าสนใจ  แต่การจะอยู่ได้ของแต่ละอาชีพก็ต้องใช้การปรับตัวในด้านทักษะให้มีความเชี่ยวชาญและทักษะในการทำงานสูง และก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง  ถึงแม้โลกจะเปลี่ยน การใช้ชีวิตของคนเราเปลี่ยนไป แต่หากเราปรับตัว และรู้ทันกับความเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างรวดเร็ว เราจะสามารถปรับตัวเราเองได้อย่างดี และมีความสุขกับการใช้ชีวิตในโลกใบนี้ “

ที่มา :
Kusalin Lohapiratana. (13 มกราคม 2023). เจาะลึก 10 อาชีพในอนาคต เงินเดือนสูง [สายดิจิทัล] การันตี 10 ปีก็ไม่ตกงาน. ContentShifu.com. https://contentshifu.com/blog/10-future-of-jobs

Hits: 1233

แบ่งปันกัน

Facebook Comments

facebook comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

I agree to these terms.