25 ปีในฐานข้อมูล Scopus : ผลงานการวิจัยระดับนานาชาติ
ฐานข้อมูล SCOPUS เป็นฐานข้อมูลดรรชนีและสาระสังเขป ครอบคลุมเอกสารวิชาการสหสาขาวิชา มีข้อมูลวารสารกว่า 15,000 ชื่อเรื่อง ใช้ข้อมูลได้ตั้งแต่ปี 1960 – ปีปัจจุบัน แต่หากต้องการทราบว่าวารสารที่อยู่ใน ฐานข้อมูล Scopus มีค่า Q (Quartier) เท่าไหร่ ให้ตรวจสอบจากเว็บไซต์ SCIMAGO
อาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีผลงานที่ตีพิมพ์ใน ฐานข้อมูล SCOPUS โดยมีจำนวนบทความที่ได้รับการ indexใน Scopus รวม 25 ปี (1997 จนถึงปี 2021) จำนวน 2,338 บทความ SCOPUS เป็นฐานข้อมูลดรรชนีและสาระสังเขป ครอบคลุมเอกสารวิชาการสหสาขาวิชา มีข้อมูลวารสารกว่า 15,000 ชื่อเรื่อง ใช้ข้อมูลได้ตั้งแต่ปี 1960 – ปีปัจจุบัน แต่หากต้องการทราบว่าวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus มีค่า Q (Quartier) เท่าไหร่ ให้ตรวจสอบจากเว็บไซต์ SCIMAGO หรือ SCImago Journal & Country Rank (SJR)
แนะนำ ข้อมูลการตีพิมพ์ผลงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใน ฐานข้อมูล Scopus
1 |
บทความแรกของมหาวิทยาลัย ใน Scopus เป็นผลงานของ (รศ.) ดร. มนตรี อิสรไกรศีล สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และคณะ ตีพิมพ์ใน Acta Horticulturae ปี 1997

Issarakraisila, M., Considine, J. A., & Turner, D. W. (1997). Vegetative and reproductive growth aspects of mango growing in a mediterranean climate in western australia. doi:10.17660/ActaHortic.1997.455.8 Retrieved from www.scopus.com
2 |
บทความแรกของนักศึกษามหาวิทยาลัย ใน Scopus เป็นผลงานของ (ผศ. ดร.) ปรินุช ชุมแก้ว สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร. ก้าน จันทร์พรหมมา จากการตีพิมพ์ใน Journal of Natural Products ปี 2003

Chumkaew, P., Karalai, C., Ponglimanont, C., & Chantrapromma, K. (2003). Antimycobacterial activity of phorbol esters from the fruits of sapium indicum. Journal of Natural Products, 66(4), 540-543. doi:10.1021/np0204489
Fulltext : https://pubs.acs.org/doi/10.1021/np0204489
3 |
จำนวนบทความที่ได้รับการ indexใน Scopus รวม 25 ปี (1997 จนถึงปี 2021) จำนวน 2,338 บทความ
4 |
จำนวนผลงานสูงสุดต่อปี คือ 579 บทความ ในปี 2021 (เพิ่มขึ้น 1.6 เท่าจากปีก่อนหน้า)
5 |
Subject area (classified by Scopus) ที่มีการตีพิมพ์สูงสุด คือ Medicine 438 บทความ
6 |
เรื่องที่มหาวิทยาลัยตีพิมพ์เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย เช่น Spin Crossover เรื่องที่มหาวิทยาลัยตีพิมพ์เป็นอันดับต้นของโลก คือ จาก (nipa palm/Nypa fruticans Wurmb.) Nypa fruticans Wurmb
7 |
สถาบันที่ร่วมตีพิมพ์งานกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 318 บทความ และนักวิชาการที่ตีพิมพ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยสูงสุด ศ. ดร. วันชัย มาลีวงษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 31 บทความ
8 |
ประเทศที่ตีพิมพ์งานร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มากที่สุด คือ คือ สหรัฐอเมริกา จำนวน 127 บทความ สถาบันต่างประเทศที่ร่วมตีพิมพ์สูงสุด คือ Massey University และ The University of Sheffield (มหาวิทยาลัยละ 31 เรื่อง)
9 |
หน่วยงานผู้ให้ทุนวิจัยภายนอกที่ระบุในกิตติกรรมประกาศสูงสุด คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รวม 290 บทความ
10 |
วารสาร Scopus ที่ index บทความจากมหาวิทยาลัยมากที่สุด คือ Walailak Journal of Science and Technology (ปัจจุบันคือ Trends in Sciences) รวม 114 บทความ
11 |
การอ้างถึงโดยบทความในฐานข้อมูล Scopus มีจำนวนสูงสุดในปี 2021 คือ 4,200 citations
12 |
h-index ของมหาวิทยาลัย อยู่ที่ 53 (มี 53 บทความที่ถูกอ้างถึงจากวารสารในฐาน Scopus ตั้งแต่ 53 ครั้งขึ้นไป)
13 |
อาจารย์ที่ตีพิมพ์ครอบคลุมเวลามากที่สุด คือ รศ. ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์) โดยมีบทความแรกในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปี 1999 ในนาม ดร. มัลลิกา จิโรจน์กุล และมีบทความจนถึงปี 2021 (เว้นปี 2008-2010)

14 |
อาจารย์ที่ตีพิมพ์แบบ co-authors มากที่สุด คือ รศ. ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์) รวม 110 บทความ ตั้งแต่ปี 2003 ถึง 2021 ต่อเนื่องไม่เว้น เป็นสถิติยาวนานที่สุด รวม 19 ปี

15 |
อาจารย์ที่มีผลงานมากที่สุดในรอบปี หลายปีที่สุด คือ รศ. ดร. ก้าน จันทร์พรหมมา ตีพิมพ์สูงสุดปี 2003-2007, สูงสุดร่วมปี 2008 และ 2010 รวม 7 ปี

16 |
อาจารย์ที่มีผลงานมากที่สุด ในรอบ 1 ปี คือ รศ. ดร. มนัส ชัยจันทร์ (สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร) ทำสถิติ 24 บทความ ในปี 2021

17 |
อาจารย์ที่ตีพิมพ์แบบ single author มากที่สุด คือ รศ.ดร. วัฒนพงศ์ เกิดทองมี (สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี) 15 บทความ

18 |
อาจารย์ที่ตีพิมพ์บทความแบบ Review Article มากที่สุด คือ รศ. ดร. มนัส โคตรพุ้ย และ รศ. พญ. วีระนุช นิสภาธร (สำนักวิชาสหเวชศาสตร์) ท่านละ 10 บทความ

19 |
นักศึกษา/นักวิจัย/บุคลากร ที่ตีพิมพ์แบบ co-authors มากที่สุด คือ (ดร.) Fahmida Wazed Tina (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์/ศูนย์ความเป็นเลิศนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ) จำนวน 22 บทความ

20 |
อาจารย์ที่ตีพิมพ์ในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เกินกว่า 30 บทความ รวม 20 คน สังกัดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์มากที่สุด คือ 7 คน

21 |
อาจารย์ที่ใช้เวลาสั้นที่สุดในการตีพิมพ์บทความจำนวนเกิน 30 บทความคือ ผศ. ดร. กรวิทย์ อยู่สกุล (สำนักวิชาเภสัชศาสตร์) ใช้เวลา 5 ปี

22 |
อาจารย์ที่ตีพิมพ์บทความที่ถูกอ้างถึงสูงสุด คือ รศ. ดร. ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (สำนักวิชาการจัดการ) ตีพิมพ์ใน Marketing Theory ปี 2011 ได้รับ 204 citations

23 |
อาจารย์ที่ตีพิมพ์บทความในวารสารเปอร์เซ็นไทล์สูงสุดและถูกอ้างถึงสูงสุด คือ รศ. ดร. เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง และ รศ. ดร. พิมผกา ฮาร์ดิง (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์) ตีพิมพ์ใน Coordination Chemistry Reviews (CiteScore Percentile 99th) ปี 2016 ได้รับ 158 citations

24 |
อาจารย์ที่มี h-index สูงสุด คือ รศ. ดร. เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง และ รศ. ดร. มนัส ชัยจันทร์ อยู่ที่ 18 (มี 18 บทความในนามมหาวิทยาลัยที่ถูกอ้างถึงจากวารสารในฐาน Scopus ตั้งแต่ 18 ครั้ง ขึ้นไป)
