และคุณแน่ใจมั๊ยว่า ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า เราหาแบบทดสอบของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มาให้ได้ทดสอบกันค่ะ และหากทดสอบแล้วว่าไม่ได้เป็น ลองมาทำความเข้าใจกับการเป็นโรคซึมเศร้ากันเพื่อให้เข้าใจผู้อื่น
โรคซึมเศร้า
ซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า ถ้าเราเข้าใจก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการใช้ใจรักษาใจ ซึ่งจากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบว่าโรคซึมเศร้าส่งผลต่อความสูญเสียมาก และพบว่าคนในโลก 1 ใน 20 กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่นพบโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 5 ซึ่งลำดับแรกต้องมาทำความรู้จักกับอารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้ากันก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดและติดว่าสภาวะเศร้าที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นจัดการได้ แต่โรคซึมเศร้านั้น รุนแรงมากกว่านั้น
เราควรให้ความสำคัญและทำความเข้าใจ จะได้สังเกตและช่วยเหลือคนที่เศร้าได้
อารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้า เป็นสิ่งที่หลายคนสับสน และแนะนำผู้ป่วยซึมเศร้าจนทำให้รู้สึกว่า ไม่เข้าใจฉันบ้างเลยที่ฉันเป็นโรคซึมเศร้า โดยอารมรณ์เศร้านั้น เป็นภาวะปกติของมนุษย์เกิดขึ้นได้และจัดการได้ เมื่อตัวกระตุ้นการเปลี่ยนไป เช่น การสูญเสีย ตกงาน สอบตก เป็นต้น ก็ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าได้
เรามารู้ ทำความเข้าใจ เพื่อให้เราเข้าใจตัวเราเองและเข้าใจคนที่เรารัก คนรอบข้างเรามากขึ้นจากหนังสือเหล่านี้กันค่ะ
มาอ่านหนังสือเหล่านี้กัน เพื่อให้เข้าใจและดูแลผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้ามากขึ้น

ซึม แต่ไม่เศร้า

ชื่อเรื่อง : ซึมแต่ไม่เศร้า ผู้เขียน : แพทย์หญิงอรญา อุกประโคน (หมอเตย) ปีพิมพ์ : 2564 เก็บความโดย : Mi_I Made


เป็นคนธรรมดา แต่ว่า---ซึมเศร้านิดหน่อย


มนุษย์ซึมเศร้ากับนักเล่าเรื่องสีขาวดำ


โรคซึมเศร้า
ชื่อเรื่อง : โรคซึมเศร้า ผู้เขียน : นายแพทย์ประเสริฐ ปีพิมพ์ : 2562 เก็บความโดย : Mi_I Made


ซึมเศร้า ... เล่าได้


ชื่อเรื่อง:ซึมเศร้า...เล่าได้ ผู้เขียน:หลินอวี๋เหิง และ ไป๋หลิง ผู้แปล:อังค์วรา กุลวรรณวิจิต สำนักพิมพ์:อินสปายร์ ครั้งที่พิมพ์:พิมพ์ครั้งที่ 1/ 2562เก็บความโดย :Mi_I Made


เรื่องเล่าจากภูเขาน้ำแข็ง


ชื่อเรื่อง: เรื่องเล่าจากภูเขาน้ำแข็ง ผู้เขียน: เดียวดาย ครั้งที่พิมพ์:พิมพ์ครั้งที่ 1/ 2562 เก็บความโดย :Mi_I Made


Anti-depress guides ป้องกันซึมเศร้าวัยเก๋า อารมณ์ดี 24 ชั่วโมง


ชื่อเรื่อง: นิตยสารชีวจิต ปีที่ 21 ฉบับที่ 496 มิถุนายน 2562 หน้า 30-31 เก็บความโดย Jaya.Rtp
และจากสถิติ กรมสุขภาพจิต เผยคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน เน้นย้ำให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าทุกคนให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยยาและกระบวนการแพทย์ที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มเป็นใหม่ ๆ โอกาสหายมีสูง เมื่ออาการดีขึ้นเป็นปกติ สามารถดูแลตัวเองต่อได้เช่นปฏิบัติธรรม ควบคู่กินยาต่อเนื่อง พร้อมแนะหลักปฏิบัติตัว 8 ประการ อาทิ อย่าพยายามบังคับตัวเอง หรือตั้งเป้าหมายสูงเกินไป อย่าตัดสินใจในเรื่องสำคัญในชีวิตมากๆขณะมีอาการ ไม่ควรตำหนิตัวเอง
อย่าลืมดูแลตัวเอง ดูแลคนรอบข้าง
Facebook Comments
No related posts found