หัวไม่ดีก็เรียนดีได้ : 11 เคล็ดลับการเรียนดี ช่วยเราได้หากเรามีปัญหา–สอบได้คะแนนน้อย เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ยิ่งเรียนยิ่งไม่เข้าใจ ตั้งใจเรียนแล้วแต่คะแนนก็ไม่ดีขึ้น สงสัยตัวเองจะเป็นคนหัวไม่ดีแน่ๆ อย่าเพิ่งคิดแบบนั้นถ้ายังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ สำหรับการเรียนแล้วไม่มีใครหรอกที่หัวไม่ดี แต่เป็นเพราะยังไม่รู้วิธีจัดการกับตัวเองต่างหาก การเรียนเก่งเป็นผลมาจากการสร้างนิสัย การฝึกให้ตัวเองเรียน อ่าน ทบทวนหนังสือโดยอัตโนมัติ ทำจนเป็นนิสัยจะได้ไม่เหนื่อย ไม่ต้องคอยเคี่ยวเข็ญตัวเอง11


ถ้าลองมาหลายวิธีแล้วยังรู้สึกว่าตัวเองยังหัวไม่ดี ลองมาเปลี่ยนวิธีตามหนังสือเล่มนี้กัน แล้วคุณจะเป็นคนใหม่ที่ยิ่งเรียนยิ่งเก่ง ยิ่งฝึกจนกลายเป็นนิสัยก็จะยิ่งย่นเวลาการทำความเข้าใจบทเรียนให้สั้นลงแต่มีประสิทธิภาพการเรียนรู้มากขึ้น ถ้าพร้อมที่จะลองเปลี่ยนตัวเองแล้ว เรามาดูกันว่าหนังสือเล่มนี้ได้บอกอะไรไว้บ้าง ขอบอกไว้นิดนึงว่าวิธีการนี้ใช้ได้ทั้งนักเรียนและวัยนักศึกษาเลยนะคะ ลองมาดูค่ะว่า หัวไม่ดีก็เรียนดีได้ เรียนอย่างไร……
11 เคล็ดลับการเรียนดี ถึงแม่้จะเป็นคนหัวไม่ดี เรียนอย่างไร……
- สร้างทัศนคติที่ดี การที่เราจะทำอะไรให้มีความสุข สิ่งนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เรารักและต้องการจะทำ ก่อนอื่นเราจะต้องค้นหาความต้องการที่ชัดเจนของตัวเอง สร้างทัศนคติที่ดีต่อตัวเองและการเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเดินไปสู่จัดมุ่งหมายที่หวังไว้
- เตรียมตัวให้พร้อม การเตรียมตัวที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จทั้งปวงดังคำกล่าวที่ว่า “การเตรียมตัวที่ดี เท่ากับสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว” การเรียนเช่นกัน ช่วงแรกของการเปิดเทอมเป้นช่วงที่วุ่นวายที่สุดสำหรับนักศึกษาใหม่ เป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ การเรียนยังไม่หนัก เราควรใช้เวลานี้ในการหาข้อมูลและทำความคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ
- รู้จักวางแผน อนคตของเราจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง เราจึงควรวางแผนชีวิต พึ่งพาตนเองและลงมือทำจนสุดความสามารถก่อนที่จะขอรับความช่วยหลือจากใคร เพราะไม่มีใครจะรู้จักตัวเราดีเท่ากับเราเอง
- เข้าเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องศึกษาและรู้จักรูปแบบการสอนของอาจารย์ แต่ละวิชาจะมีเทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของวิชานั้นๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบไหนถ้าเรามีการเตรยมตัวที่ดี นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา และรู้จักสไตล์ของผู้สอน อาจารยืแต่ละคนจะมีสไตล์เป็นของตัวเอง รูปแบบการสอนที่แตกต่างกันออกไป เราอาจจะถามจากรุ่นพี่หรือสังเกตด้วยตัวเองว่าอุปนิสัยและสไตล์ของอาจารย์แต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร เพื่อการเตรียมใจขณะเข้าเรียรน
- บันทึกการบรรยายให้เป็น บันทึกการเรียนที่เป็นระเบียบเรียบร้อยย่อมน่าอ่าน ดูสบายตาเมื่อเวลานำกลับมาอ่านทบทวน แล้นน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหาเพื่อประหยัดเวลา
- อ่านอย่างฉลาด การอ่านทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจความคิดค้นหาความหมายหรือใจความสำคัญ เพื่อพัฒนาตนเองด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และสามารถนำใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนและชีวิตประจำวัน โดยทั่วการอ่านที่ใช้ในการเรียนมี 2 ประเภท คือ การอ่านเพื่อสะสมความรู้ เป็นการอ่านผ่านๆเพื่อเพิ่มพูดความรู้ให้มากขึ้น และการอ่านเพื่อเข้าใจแบบวิเคราะ คือการอ่านที่ทำความเข้าใจโดยละเอียด
- เพิ่มศักยภาพความจำ ถ้าเราเข้าใจก่อนแล้วจึงจำ ความรู้นั้นก็จัติดตัวเราตลอดเวลา ถึงแม้บางครั้งเราอาจจะลืมไปบ้างก็ตาม แต่ด้ทบทวนเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำกลัยมาใช้ประโยชน์ได้
- ทำข้อสอบให้ผ่านฉลุย อ่านข้อสอบอย่างระมัดระวัง และแบ่งเวลาในการทำข้อสอบ ตอบให้ตรงคำถาม อ่านคำถามให้เข้าใจถายังไม่เข้าให้อ่านซ้ำๆจนกว่าจะเข้าใจคำถาม ถ้ายังไม่มั่นใจให้ข้ามไปทำข้อที่ตอบได้และได้คะแนนมากก่อน และเขียนให้น่าอ่าน สังเกตอาจารย์ผู้สอนว่าต้องการคำตอบอไร ละเอียดมากน้อยแค่ไหน
- หมั่นเพิ่มพูนความรู้ นอกจากความรู้ที่ได้จากสาขาที่เรียนแล้วเราควรพัฒนาตัวเองเพื่อให้แตกต่างจากเพื่อนคนอื่นที่จบสามาเดียวกัน สิ่งที่จะทำให้เราแตกต่างคือความชำนาญพิเศษนอกเหนือจากที่เรียน สิ่งนี้คือจุดเด่นที่ทำให้เราดูน่าสนใจและแตกต่าง
- สู่ก้าวที่ต้องตัดสินใจ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและคิดไตร่ตรอง สิ่งที่เราหวังและคิดว่าจะทำ ถ้ายังไม่ทำไม่ได้แปบว่าเราไม่สำเร็จ เพียงแค่สำเร็จช้าลงไปแค่นั้นเอง เวลาที่เราช้าลงไปนั้นเราจะได้ประสบการณ์เป้นสิ่งตอบแทน จะเรียนหรือทำงานก็ดีทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงจังหวะของชีวิตของเราว่าช่วงนั้นสามารถทำอะไรได้
- ธรรมะทอชีวิต ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน เราสามารถนำธรรมมะซึ่งเป็นสัจธรรม เป็นกระบวนการอันมีหตุผลที่สามารถพิสูจน์และนำมาปฏิบัติได้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันรของเรา
หัว หรือ สมอง ของคนเรานั้นบรรพบุรุษ พ่อ แม่ สร้างให้จะไปขอเปลี่ยนกับใครหรือว่ามีเงินก็จะไปซื้อของใครมาใส่แทนไม่ได้ พ่อแม่และบุคคลแวดล้อมมีหน้าที่ ขอย้ำว่าเป็นหน้าที่ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ ต้องทำหน้าที่ปลูกความรู้ให้เกิดเป็นสติปัญญาฝังอยู่ในสมอง ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้ทำอะไรต่ออะไรเป็น จนถึงขั้นมีความสามารถ และที่สำคัญคือมีคุณธรรมตามวัยของตน ๆ ในช่วงเวลาทั้งหมดนี้ ตัวตนที่เป็นตัวเอกก็คือตัวของเรา เราต้องดูแลตนเองไปตลอดชีวิต เราจะอมทุกข์ไปตลอดชีวิตถ้าคิดว่าหัวไม่ดี..ตลอดชาตินี้เอาดีไม่ได้ ขอให้คิดใหม่ว่า ในชาตินี้ ตอนนี้ เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้ เราจะทำตามหนังสือดูที จะได้ผลประการใด ความคิด และคำแนะนำดีๆ ของผู้เขียนทั้งสองคน มีคุณค่าจริง แก่ผู้ลงมือทำจริงอย่างแน่นอน อย่าสักแต่ว่าอ่าน ควรอ่านระหว่างบรรทัดด้วย จะได้เข้าใจความพยายามของคนรักเรียนที่เชื่อมั่นว่า หัวไม่ดีก็เรียนดีได้ ขอให้เรียนเป็น เชื่อเถิดว่า หัวดีสร้างได้ (อ.ดร. ถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล) และถึงแม้ หัวไม่ดีก็เรียนดีได้ 11 เคล็ดลับการเรียนดี มีอะไรบ้าง ทำอย่างไรจึงจะเก่ง ให้เก่ง และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขนั้น


อ่านเพิ่มเติมได้ ทีนี่