ชวนอ่าน เพราะความรู้เกิดขึ้นง่ายจากการอ่าน
Content for Longlife Learning

กฎของสมองที่เรียนรู้เร็ว เป็นหนังสือที่จะมาไขข้อสงสัยว่าทำไมนักดนตรีถึงไม่ควรเข้านอนเร็วและตื่นแต่เช้าในวันแสดง ทำไมเจ้านายควรอนุญาตให้พนักงานเล่นเฟสบุ๊คระหว่างทำงาน ทำไมการอ่านหนังสือในห้องสมุดถึงจำได้น้อยกว่าการอ่านในผับบาร์ ทำไมการหลงลืมถึงมีประโยชน์มหาศาลต่อการเรียนรู้ ทำไมการฝึกซ้อมซ้ำแล้วซ้ำเล่าอาจไม่ช่วยให้นักกีฬาเก่งขึ้น…

หนังสือ “กฎของสมองที่เรียนรู้เร็ว How We Learn” เล่มนี้ จะพาพวกเราไปค้นพบความลับที่คาดไม่ถึงเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสมอง ผ่านมุมมองทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อช่วยให้เราจดจำ เรียนรู้ และพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้ไวขึ้น เพราะสิ่งที่เราคิดว่าดีอาจทำให้สมองเรียนรู้ช้า สิ่งที่เราคิดว่าไม่เข้าท่าอาจสมองอาจเรียนรู้เร็ว ชวนอ่าน  เคล็ดลับการอ่าน ให้เรียนรู้เร็วกันค่ะ

กฎของสมอง ที่เรียนรู้เร็ว

เปิดหูเปิดตาของคุณให้กว้างขึ้น สมบัติล้ำค่าที่สุดอาจไม่ใช่ความ ฉลาดเสมอไป ความฉลาดคือสิ่งที่เราปรารถนาและเป็นโชคลาภสำหรับคนที่มีพันธุกรรมแรงผลักดัน และสนับสนุนที่ช่วยให้ชนะการเสี่ยงโชคแบบนั้น แต่การเล็งไปที่เป้าหมายที่คลุมเครืออย่างมากย่อมทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะบูชาอุดมคติและพลาดเป้าหมายนั้นไป หนังสือเล่มนี้เล็งไปยังเป้าหมายที่เล็กกว่าแต่ในขณะเดียวกันก็ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือวิธีทำให้การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันในแบบที่ทำให้เรื่องนั้นฝังแน่นติดตัวเรา วิธีทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตมากขึ้นและทำให้ภาระหน้าที่น้อยลง เราจะไปขุดค้นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดเพื่อหาเครื่องมือที่จำเป็นต่อการทำสิ่งเหล่านี้ให้สำเร็จ โดยไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกหนักหน่วงหรือถูกบีบคั้น และเราจะแสดงให้เห็นว่าบางสิ่งที่เราถูกพร่ำสอนให้มองว่าเป็นศัตรูตัวร้ายที่สุดของเรามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นความเกียจคร้าน ความไม่รู้ หรือสิ่งรบกวน ก็อาจให้ประโยชน์กับเรามากเช่นกัน

กฎของสมองที่ต้องจำ

ส่วนที่ 1 ทฤษฎีเบื้องต้น

บทที่ 1 สมองนักแต่งเรื่อง

โดยพื้นฐานแล้วการเรียนรู้ก็คือการศึกษาสมอง ว่ามันบริหารจัดการภาพ เสียง และกลิ่นที่หลั่งไหลเข้ามาในแต่ละวันได้อย่างไร การที่สมองทำอย่างนั้นนับว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์มากพอแล้ว แต่การที่มันามารถทำแบบนั้นได้เป็นประจำยิ่งเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อ ลองคิดถึงข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในแลวันดูสิ ไม่ว่าจะเป็นเสียงน้ำ แสงที่วูบวาบในห้อง อาการปวดเมื่อยหลัง หรือกลิ่นควัน รวมถึงสิ่งที่เราต้องทำไปพร้อมๆกัน เช่นการทำอาหารและตอบแชทเพื่อนไปด้วย เหลือเชื่อไปเลยว่าเราสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกันได้

บทที่ 2 พลังแห่งการลืม

เราเกิดอาการลืมแบบนี้อยู่ประจำโดยไม่รู้ตัวตัวอย่างเช่นเวลาใส่รหัสผ่านใหม่ในคอมพิวเตอร์สมองก็จะกีดกันไม่ให้รหัสผ่านเก่าโพสต์เข้ามาในความคิดเวลาเรียนรู้ภาษาใหม่สมองก็จะกีดกันไม่ให้คำศัพท์ความหมายเดียวกันในภาษาแม่ของเราปวดขึ้นมาหรือเวลาที่เราจดจ่ออยู่กับหัวข้อนิยายหรือการคำนวณอะไรซักอย่างเป็นธรรมดาที่เราจะนึกคำธรรมดาที่สุดไม่ออก 

ส่วนที่ 2 การจำ

บทที่ 3 จงทำลายนิสัยที่ดี

อย่าลืมวิตามินบำรุงสมองนะคะ นี่ถือเป็นคำแนะนำในการเตรียมตัวสอบในมหาวิทยาลัยอย่างน้อยก็สำหรับนักศึกษาอย่างพวกเราที่เป็นลูกค้าประจำของร้านขาย ยาบนชั้นวางสินค้าหลังเคาน์เตอร์ของร้านมีขวดยาที่เรียกกันว่า ยาช่วยเรียน การใช้ยานี้จะช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจและมีแรงกระตุ้นทั้งนี้ยังช่วยให้เรามีสมาธิในการท่องหนังสือ นั่นเป็นข้อดีค่ะ แต่หลังจากใช้ยานี้ติดต่อกันการหยุดยาจะส่งผลให้มีอาการวูบซึ่งไม่ดีเลยหากคุณต้องทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างการบังคับรถก่อสร้างหรือหากคุณต้องทำข้อสอบเป็นเวลานานเพราะแค่หลับตาวินาทีเดียวคุณก็จะสรุปได้แล้ว จุดประสงค์หลักของการกินวิตามินคือทำให้เราตื่นตัวค่ะ แต่นั่นเป็นความจริงหรือเปล่า เพราะเราไม่เคยจะสอบกันเรื่องนี้ต่อให้อยากทดสอบก็คงไม่รู้จะทดสอบอย่างไรแต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามยาดังกล่าวก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนมีเครื่องรางนำโชคทำให้รู้สึกดีขึ้นเท่านั้นเองค่ะ และแน่นอนว่ายังไม่มีใครรู้ 

บทที่ 4 เว้นระยะ 

การทบทวนแบบหักโหมใช้ได้ผลดีในระยะเวลาที่กระชั้นชิดแต่ไม่ยั่งยืน การเว้นระยะต่างหากที่ยังยืน จริงอยู่การเว้นระยะอาจจะทำให้เราเสียเวลาแต่ไม่มีอะไรได้มาฟรีทั้งหมด การทบทวนแบบเว้นระยะ  ก็ถือว่าใกล้เคียงกับของฟรีมากที่สุดแล้วในวิทยาศาสตร์การเรียนรู้และควรค่าแก่การทดลองเป็นอย่างยิ่งลองเลือกเรื่องที่เหมาะสมแก่การทบทวนดูค่ะ จำไว้นะคะว่าการเว้นระยะเหมาะกับการใช้เป็นเทคนิคการจำเป็นหลักเช่น การจำภาษาต่างประเทศ จำวิทยาศาสตร์ ชื่อคน สถานที่ วันที่ ภูมิศาสตร์ หรือสุนทรพจน์ 

บทที่ 5 คุณค่าซ่อนเร้นของความไม่รู้

ความพยายามที่ดูเรียบง่ายในการสื่อสารสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ให้กับตัวเองหรือคนอื่นไม่ใช่แค่การทดสอบตัวเองรูปแบบหนึ่งในมุมมองแบบเดิมเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่เข้มข้นและทรงพลังมากกว่าถึง 20 – 30% เมื่อเทียบกับการนั่งดูเฉยๆและจ้องมองบนบทสรุปเนื้อหาและที่ยิ่งดีกว่าก็คือการฝึกฝน การฝึกฝนเหล่านั้นจะช่วยให้เค้าจัดภาพลวงตาของความเชี่ยวชาญมันจะช่วยเปิดเผยสิ่งที่คุณไม่รู้. ที่สับสนและสิ่งที่คุณหลงลืมได้อย่างรวดเร็วนั่นคือความไม่รู้ในรูปแบบที่ดีที่สุด

ส่วนที่ 3 การแก้ปัญหา

บทที่ 6 ข้อดีของสิ่งรบกวน

โรงเรียนมีบททดสอบทางจิตวิทยาที่เราต้องประเชิญมากกว่าพอกับการทำข้อสอบทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการไม่มีเพื่อนคบ การทะเลาะกันในสนามเด็กเล่น ถูกนินทาอย่างเจ็บแสบ การได้เกรดไม่ดี หรือการต้องกล้ำกลืนอาหารห่วยห่วยที่โรงเรียน แต่บททดสอบที่สร้างความโชคช้ำมากที่สุดให้กับนักเรียนจำนวนมากก็คือการต้องนำเสนองานคนเดียวหรือยืนต่อหน้าคนทั้งฉันเพื่อนำเสนอสิ่งที่ท่องจำเราเชื่อว่าทุกคนก็เคยเป็นแบบนั้นแต่สิ่งนี้แหล่ะที่เรามองว่าเป็นสิ่งรบกวนแต่สิ่งนี้จะทำให้เราคุ้นชินกับปัญหาต่างๆ

บทที่ 7 ข้อดีของการหยุดทำงานกลางคัน 

วิธีใช้การผัดวันประกันพรุ่งเป็นประโยชน์ต่อพวกเราเมื่อเราจดจ่ออยู่กับงานที่ยากและซับซ้อนเราจะพยามทำงานทีละนิดและมีความก้าวหน้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการทำงานแต่ละครั้งเราควรใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้านั้นไปซักระยะหนึ่งแล้วหยุดกลางคันเมื่อติดขัดจากนั้นก็กลับมาทำงานให้เสร็จในวันถัดไป

บทที่ 8 ผสมผสานการเรียนรู้ 

ความเชื่อเรื่องการทำเรื่องซ้ำๆ ไม่เคยห่างไปจากเราเลย บางครั้งก็คิดว่าถ้าตอนนี้เราสามารถทุ่มเททำสิ่งหนึ่งได้เหมือนตอนสมัยยังเด็ก  เราก็คงจะทุ่มเทความความพยายามไปกับทักษะการเล่นเปียโน ความรู้ด้านพันธุศาสตร์ หรือความรู้ด้านกลศาสตร์เราจะฝึกฝนกีฬาทักษะราวกับเครื่องจักรจนกระทั่งเข้าใจลึกถึงแก่นและสามารถทำมันได้โดยอัตโนมัติ นักจิตวิทยาและนักเขียนบางคนถึงขั้นพยายามระบุระยะเวลานั้นออกมาเป็นตัวเลข พวกเขาบอกว่าเส้นทางสู่การมีทักษะที่ยอดเยี่ยมต้องผ่านการฝึกฝนเป็นเวลา 10,000 ชั่วโมง  หัวใจสำคัญของกฎเกณฑ์นี้เป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ต่อให้ตัวเลขนี้ถูกตั้งขึ้นมาแบบอำเภอใจก็ตาม เพราะเรามองตัวเลขดังกล่าวในแง่ของการทำซ้ำเช่นเดียวกับในแง่ของปริมาณ เห็นได้จากคำแนะนำซึ่งเป็นที่แพร่หลายอย่างเช่นคำว่า อย่าพึ่งฝึกจนกว่าคุณจะทำถูกต้องจงฝึกจนกว่าคุณจะทำได้ไม่ผิดพลาด 

ส่วนที่ 4 จงใช้จิตใต้สำนึก

บทที่ 9 เรียนรู้โดยไม่ต้องใช้ความคิด 

ที่ว่าสายตาเฉียบคมหมายถึงอะไร คุณคงรู้จักใครสักคนที่มีสายตาเฉียบคมไม่ว่าจะเป็นในเรื่องแฟชั่น การถ่ายรูป หรือการมองเห็นลูกเบสบอล ทักษะทั้งหมดที่มีอยู่จริงและสิ่งที่พิเศษมันคืออะไรกันแน่สายตาของคนเรากำลังทำไรอยู่ถึงถูกเรียกว่าเป็นสายตาที่เฉียบคมดวงตากำลังอ่านอะไรอยู่กันแน่ วันนี้เราจะมาใช้ประโยชน์จากการรับรู้ความแตกต่างโดยอัตโนมัติกัน

บทที่ 10 ยิ่งเลื่อนนาฬิกาปลุกเท่าไหร่ก็ยิ่งดี 

การนอนหลับเป็นปริศนาอย่างแท้จริงสำหรับคนส่วนใหญ่มันคือวงกระต่ายขนาดยักษ์หรืออาณาจักรอันมืดมิดที่เราทุกคนแวะเวียนเข้าไปเป็นประจำเราจำเป็นต้องนอนหลับ เราอยากหลับมากกว่าที่จะทำอยู่และอยากให้การนอนหลับของเราลึกขึ้นและมีคุณภาพขึ้นในแง่หนึ่ง เรารู้ว่าการนอนหลับอาจจะทรยศเราในบางคำคืนแต่ในแง่หนึ่งเราก็รู้ว่ามีเวทมนต์บางอย่างเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เรามันไม่รู้สึกตัวและล่องลอยอยู่ในความฝันที่เป็นส่วนผสมระหว่างข้อเท็จจริงจินตนาการและอารมณ์ความรู้สึกซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงความยากลำบากของเราในการฝึกฝนทักษะใหม่ใหม่ในช่วงตื่นให้กาดเป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดเล่นตัวความเข้าใจ

กฎของสมอง ที่เรียนรู้เร็ว

ถึงแม้หนังสือ เรื่อง กฎของสมองที่เรียนรู้เร็ว เล่มนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำให้อนาคตสดใสนะคะ แต่ช่วงเวลาปัจจุบันที่น่ารำคาญ น่าขบขัน และน่าสับสนคือช่วงเวลาที่เราจะควบคุมให้ได้เครื่องมือในหนังสือเล่มนี้มีความน่าเชื่อถือ พวกมันใช้ได้จริงในชีวิตจริงและการใช้เครื่องมือเหล่านั้นก็ทำให้พวกเราเข้าใจเครื่องจักรแห่งการเรียนรู้อนุสงามและพิลึกพิลั่นในสมองของพวกเรามากที่สุด จงปล่อยวางในสิ่งที่รู้สึกว่าควรทำเลิกทำกิจวัตรที่ซ้ำซากหักโหมและเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นจดจ่อเรานั้นให้หมดจงปล่อยวางและคอยดูว่าสิ่งที่เหลือเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของการเรียนรู้ อย่างความไม่รู้ การถูกรบกวน การขัดจังหวะ ความวอกแวก หรือแม้แต่การลืม อาจให้ประโยชน์กับคุณได้อย่างไร  เพราะถึงอย่างไรการเรียนรู้ก็คือสิ่งที่พวกเราทุกคนทำอยู่แล้ว

Visits: 132

Facebook Comments

facebook comments