ซึมเศร้า

และคุณแน่ใจมั๊ยว่า ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า เราหาแบบทดสอบของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มาให้ได้ทดสอบกันค่ะ และหากทดสอบแล้วว่าไม่ได้เป็น ลองมาทำความเข้าใจกับการเป็นโรคซึมเศร้ากันเพื่อให้เข้าใจผู้อื่น    ซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า ถ้าเราเข้าใจก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการใช้ใจรักษาใจ ซึ่งจากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบว่าโรคซึมเศร้าส่งผลต่อความสูญเสียมาก และพบว่าคนในโลก 1 ใน 20 กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่นพบโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 5 ซึ่งลำดับแรกต้องมาทำความรู้จักกับอารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้ากันก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดและติดว่าสภาวะเศร้าที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นจัดการได้ แต่โรคซึมเศร้านั้น รุนแรงมากกว่านั้น
เราควรให้ความสำคัญและทำความเข้าใจ จะได้สังเกตและช่วยเหลือคนที่เศร้าได้
อารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้า เป็นสิ่งที่หลายคนสับสน และแนะนำผู้ป่วยซึมเศร้าจนทำให้รู้สึกว่า ไม่เข้าใจฉันบ้างเลยที่ฉันเป็นโรคซึมเศร้า โดยอารมรณ์เศร้านั้น เป็นภาวะปกติของมนุษย์เกิดขึ้นได้และจัดการได้ เมื่อตัวกระตุ้นการเปลี่ยนไป เช่น การสูญเสีย ตกงาน สอบตก เป็นต้น ก็ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าได้
เรามารู้ ทำความเข้าใจ เพื่อให้เราเข้าใจตัวเราเองและเข้าใจคนที่เรารัก คนรอบข้างเรามากขึ้นจากหนังสือเหล่านี้กันค่ะ

มาอ่านหนังสือเหล่านี้กัน เพื่อให้เข้าใจและดูแลผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้ามากขึ้น

ซึมเศร้า

ซึม แต่ไม่เศร้า

ผู้เขียน: แพทย์หญิงอรญา อุกประโคน (หมอเตย) โรคซึมเศร้า กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตที่เร่งรีบ การแข่งขัน การดิ้นรนเพื่อการดำรงชีวิต ทำให้ในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น ข่าวการฆ่าตัวตายเพราะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเริ่มมีให้เห็นมากขึ้น หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อทุกๆ คน เพราะเราไม่รู้เลยว่าคนรอบข้างเรากำลังป่วยด้วยโรคนี้อยู่หรือไม่ การได้ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า วิธีการดูแล การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะทำให้เรารับมือกับโรคซึมเศร้าได้ดีขึ้น
หมอเตยได้ถ่ายทอดประสบการณ์จากเรื่องราวของตัวเองที่สามีเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อคนที่รักป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ครอบครัวและคนรอบข้างจะต้องรับมือ และเตรียมพร้อมอย่างไร เพราะผลกระทบจากโรคซึมเศร้าไม่เพียงแต่ส่งผลกับตัวผู้ป่วย แต่ผู้ที่อยู่รอบข้างก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เพราะผู้ป่วยมีภาวะที่สารเคมีในสมองผิดปกติ ทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ครอบครัวหรือคนที่อยู่รอบข้างต้องทำความเข้าใจและหาวิธีรับมือกับภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ จนถึงปัจจุบันที่สามีหายจากโรคนี้และกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้
หมอเตยได้เรียบเรียงให้เห็นตั้งแต่สัญญาณเตือนของโรค อาการของโรค ภาวะทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย กว่าที่จะรับมือได้ หมอเตยก็สับสนต้องพึ่งหลักธรรมเข้ามาช่วยเยียวยาจิตใจ การรับมือกับผู้ป่วย การรับมือกับครอบครัวและบุคคลที่อยู่รอบข้าง การใช้ยารักษาทางร่างกาย และการเยียวยาทางด้านจิตใจ การทำใจยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น มีสติอยู่กับปัจจุบัน จากปัญหาภายนอก ทำให้ต้องหยุดและหันกลับเข้ามาภายในจิตใจของตัวเอง เมื่อจิตใจมั่นคงก็สามารถแก้ไขปัญหาภายนอกได้
หมอเตยได้ชี้ให้เห็นว่าสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้สามารถใช้ประโยชน์ได้เสมอ ทุกอย่างมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ความทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และต้องดับไปในวันหนึ่งเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นใครก็มีความทุกข์เหมือนกัน เมื่อเข้าใจสัจธรรมและปรับใช้ในชีวิตได้ ก็สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้
สาเหตุของโรคมีทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างมีผลกับการเกิดโรคซึมเศร้า เมื่อทราบว่าเป็นโรคซึมเศร้า ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา ทั้งการใช้ยา และการทำกิจกรรมบำบัด แต่ละคนก็ใช้เวลาในการรักษาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขของแต่ละคน การดูแล เยียวยาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คนใกล้ชิดมีความสำคัญมาก ต้องทำใจยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่โทษ ไม่โวยวาย เพื่อมีสติทำในสิ่งที่ควรจะทำ รับฟังปัญหาของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยไม่ได้ต้องการการแนะนำ แต่ต้องการคนที่ฟังและเข้าใจ สังเกตเพื่อป้องกันอันตราย ป้องกันการทำร้ายตนเองของผู้ป่วย ป้องกันการฆ่าตัวตาย และเคียงข้างเพื่อคอยเยียวยาผู้ป่วย ให้กำลังใจ ให้ความหวัง เป็นการเติมพลังชีวิตให้ผู้ป่วย ให้สามารถกลับมามีชีวิตปกติได้เร็วขึ้น หายจากโรคซึมเศร้าได้เร็วขึ้น โรคซึมเศร้ากลายเป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เด็ก ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ไม่ต่างกัน เด็กก็มีความเครียด ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ การทำความเข้าใจกับโรคจะทำให้เราหาวิธีรับมือ และแก้ไขได้ดีขึ้น และช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากขึ้น นอกจากนั้นก็สามารถป้องกันตัวเองจากโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
โรคต่าง ๆ ทางอารมณ์ จิตใจ เป็นเพียงสภาวะ ที่บอกาเราว่ามีบางมิติในตัวเราที่ไม่สมดุล อาจจะเป็นทางกาย อารมณ์ ความคิด จิตวิญญาณ เช่นนั้นแล้ว คนเดียวเท่านั้น ที่จะพาเรากลับเข้าสู่สมดุลอันเป็นปกติได้ คือ ตัวเราเอง
ซึมเศร้า
หมอเตย
หมออายุรแพทย์

ชื่อเรื่อง : ซึมแต่ไม่เศร้า ผู้เขียน : แพทย์หญิงอรญา อุกประโคน (หมอเตย) ปีพิมพ์ : 2564 เก็บความโดย : Mi_I Made

ซึมเศร้า
ซึมเศร้า

เป็นคนธรรมดา แต่ว่า---ซึมเศร้านิดหน่อย

ไดอารี่ของนักดนตรีสาวที่เผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้ามานับสิบปี เธอตัดสินใจเขารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช และเขียนเล่าประสบการณ์ทั้งหมดผ่านตัวอักษรทั้งการใช้ชีวิต การรักษากับจิตแพทย์ จนกระทั่งการตัดสินใจฆ่าตัวตาย แม้จะอยู่ท่ามกลางชีวิตที่แทบมองไม่เห็นวันพรุ่งนี้ เธอยังคงหวังว่าสักวันจะหายจากโรคที่กัดกินจิตใจนี้เสียที
หนังสือเล่มนี้เปิดเปลือยความรู้สึกของอีซูย็อน ระหว่างรักษาเธอได้หันมาเขียนบันทึกประจำวัน อธิบายความคิด ความรู้สึก และอาการต่าง ๆ ลงไป ซึ่งช่วยให้เธอได้สังเกตและเรียนรู้ภาวะซึมเศร้าของตัวเอง และเมื่อแม่ของเธอไม่สามารถเข้าใจโรคที่เธอเป็น เธอจึงตัดสินใจรวบรวมบันทึก และเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ซึ่งอาจเป็นประโยชน์และช่วยปลอบโยนคนอื่น ที่ป่วยเหมือนกับเธอด้ว
ฉันในวันนี้ยังมีวันพรุ่งนี้อยู่ แล้วฉันในวันพรุ่งนี้จะมีวันมะรืนมั้ยนะ ถึงอย่างนั้นฉันก็อยากรักตัวเองจนกว่าลมหายใจสุดท้ายมาถึง อยากมอบความรักให้แก่ทุกสิ่ง ให้อภัยทุกอย่าง และได้รับการอภัยจากทุกคนเช่นกัน ที่จริงฉันยังคงป่วยอยู่ ขอโทษที่ไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าฉันหายดี และเป็นแรงบันดาลใจให้คุณได้ เพราะฉันยังคงใช้ชีวิตแต่ละวันอย่างเจ็บปวด แต่ฉันเชื่อว่าคงมีใครสักคนที่อ่านแล้วจะรู้สึกเหมือนกับฉัน ฉันจึงอยากส่งต่อคำพูดถึงพวกคุณว่าฉันขอโทษ ... ขอโทษที่ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ขอโทษที่ไม่อาจอยู่เคียงข้าง ถึงแม้ไม่มีความสุข เราก็ยังมีค่าพอที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะช่วยแบ่งเบาความเจ็บปวดของพวกเราทุกคน
ซึมเศร้า
ซึมเศร้า

มนุษย์ซึมเศร้ากับนักเล่าเรื่องสีขาวดำ

เช้าวันนี้ผมสะดุ้งตื่นขึ้นในความมืดห้องนอนสี่เหลี่ยมคับแคบ ผมแยกไม่ได้ว่านี่จริงหรือฝัน เหงื่อชุ่มโชกเปียกแฉะอยู่กลางแผ่นหลัง ผมรู้สึกเหมือนกำลังติดอยู่ในห้องขังที่ไม่มีทางออก ดินแดนคุมขังอันเปรียบเสมือนโลกทั้งใบกุญแจเพื่อหนีหายสิ้นสลายไปหมดแล้ว ผมจ้องมองเข้าไปในความลึกซึ้งที่ดำมืดเปล่า มีแรงดึงดูดขนาดมหาศาลกำลังกวักมือเรียกผมจากปลายทางอาจจะยังพอเยียวยาให้หายได้ นั่นคือคำรำพึงรำพันสุดท้ายที่ผมพร่ำพรายบอกกับตัวเอง
โรคซึมเศร้านั้นเป็นความผิดของระบบสารสื่อประสาท ระยะสั้นมันทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง ระยะยาวมันทำให้สุขภาพสมองเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะส่วนเกี่ยวกับความจำ ถ้ารู้สึกไม่สบาย จึงควรรีบไปหาหมอ ไม่ต้องไปสนว่าคนอื่นจะมองว่าบ้า หรืออ่อนแอ มันเป็นเรืองของเรา เป็นร่างกายของเรา อย่าให้ใครมาลดคุณค่า ถ้าปล่อยไว้นานมันยิ่งทำให้เราแย่ สมองยิ่งเสื่อมลง ยาเป็นทางเลือกที่ดีในระยะแรก เพราะถึงคุยกับจิตแพทย์ดีแค่ไหน ออกมาเดี๋ยวอารมณ์ก็กลับไปเหมือนเดิม โลกยังคงหม่นเศร้า ยากินผ่านไปสองอาทิตย์ จะรู้สึกว่าโลกมีสีสันมากขึ้น ระยะยาวนั้นการปรับพฤติกรรมสำคัญมาก พยายามเข้าใจและเรียนรู้โลกด้วยมุมมองแบบใหม่ ปัญหาของใครก็ใหญ่ทั้งนั้น ปัญหาของใครของมัน ไม่ต้องไปคิดแทน ไม่ควรไปคิดว่า เครียดทำไมมีคนลำบากกว่าตั้งเยอะ สุดท้ายกระบวนการบำบัดจิตกับนักจิตก็ช่วยได้มากในตอนท้าย ไม่สำคัญว่าคุณจะประสบความสำเร็จ มีชีวิตที่พร้อมด้านวัตถุมากแค่ไหน ใครๆก็เป็นโรคซึมเศร้าได้ อย่าคิดแทนคนอื่น
ซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

หนังสือเล่มนี้ควรอ่านเพราะช่วยให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ และอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีให้เห็นเพิ่มมากขึ้นในสังคม หากเป็นบุคคลใกล้ชิด ผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับทราบสัญญาณของอาการโรคนี้เร็วขึ้น เพื่อช่วยยับยั้ง ช่วยรักษาคนใกล้ชิดเอาไว้ ไม่ให้เลวร้ายถึงขาดฆ่าตัวตายจบชีวิตของตัวเอง
โรคซึมเศร้า ถือเป็นโรค ไม่ใช่อาการที่คิดไปเอง ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนมุมมองและความคิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอย่างจริงๆ จังๆ ในอดีต คนที่เป็นโรคซึมเศร้าถูกตัดสินว่า เรียกร้องความสนใจ ผู้ป่วยจึงถูกละเลย ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เป็นจิตแพทย์ที่ได้รับการยอมรับทั้งจากผู้ป่วยและแฟนเพจ ได้ให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า ตั้งแต่การตรวจเช็คตัวเองเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ของโรคซึมเศร้า การวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า บทบาทของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า การทำความเข้าใจผู้ป่วย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า สัญญาณของโรคซึมเศร้า การตรวจสอบพฤติกรรม สภาพทางจิต การปฏิสัมพันธ์ อาการที่ชัดเจนของผู้ป่วย ซึ่งจะนำไปสู่การพยายามฆ่าตัวตาย ความรุนแรงในวิธีการฆ่าตัวตาย จนนำไปสู่การบำบัดรักษา การใช้วิธีจิตบำบัด การจัดการบรรเทาความเศร้า สาเหตุของโรค สาเหตุทางจิตวิทยา สาเหตุทางสังคม สาเหตุทางจิตวิเคราะห์ ภาวะของโรคซึมเศร้ามีได้หลายสาเหตุ ทั้งความกดดันทางด้านสังคม ครอบครัว การเลี้ยงดู นอกจากนี้ยังมีอาการโรคซึมเศร้าหลังคลอด การนำยาต้านอารมณ์เศร้ามาใช้ในผู้ป่วย การให้ความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษา จนกระทั่งรักษาหาย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย แพทย์ และผู้ใกล้ชิดคอยประคับประคอง
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในสังคม มีทั่วไปและมากขึ้นเรื่อย ๆ สังคมเริ่มหันมาให้ความสนใจกับโรคนี้อย่างจริงจัง เพราะมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหนีจากความทุกข์ทรมานของโรคนี้ แนวคิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเริ่มเปลี่ยนไป ส่งผลดีให้ผู้ป่วยได้รับความสนใจและเข้าสู่การรักษาที่ถูกต้องมากขึ้น

ชื่อเรื่อง : โรคซึมเศร้า ผู้เขียน : นายแพทย์ประเสริฐ ปีพิมพ์ : 2562 เก็บความโดย : Mi_I Made ​

ซึมเศร้า
ซึมเศร้า
หนังสือเล่มนี้ควรอ่าน เพราะเป็นข้อมูลวิชาการที่ถูกย่อยมาให้อ่านง่าย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ได้ง่ายขึ้น ทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งการตรวจสอบประเมินตัวเองในเบื้องต้น การเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา เพื่อแก้ไขรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ การให้ความร่วมมือทั้งจากผู้ป่วย ผู้บำบัด และผู้ใกล้ชิด โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคไกลตัวอีกต่อไป เป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

ซึมเศร้า ... เล่าได้

หนังสือเน้นเขียนให้เข้าใจง่าย สื่อสารโรคซึมเศร้า ผ่านตัวเศร้าซึม ทำให้เป็นรูปธรรมเห็นภาพชัดเจน เป็นการ์ตูนแทรกในเนื้อหา ทำให้เข้าใจโรคซึมเศร้า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เป็นโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้คนรอบข้างไม่เข้าใจ โรคซึมเศร้าที่พบได้ในคนทุกประเภท ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ
ผู้เขียนและแม่เคยมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ทำให้เข้าใจได้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้
ตัวเศร้าซึมในจินตนาการของผู้เขียน มีหางสีดำขดเป็นวงกลม มีหูขนาดมหึมา ขนสีดำขลับ กรงเล็บอันแหลมคน ลักษณะที่ปรากฎสามารถทำร้ายมนุษย์ได้ คนที่เป็นโรคซึมเศร้า กลายเป็นภาระของสังครอบครัวและสังคม ส่งผลเสียหายเป็นวงกว้าง เพราะไม่สามารถดูแลและใช้ชีวิตอย่างปกติได้ ภาวะซึมเศร้ามีมาตั้งแต่สมัย 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่ในอดีตมักเข้าใจว่าเป็นเพราะถูกวิญญาณร้ายครอบงำ อาการของโรคซึมเศร้า คือ เกิดความรู้สึกเศร้าหมองตลอดทั้งวัน ขาดความสนใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอนไม่หลับ รู้สึกตื่นเต้นหรือเอื่อยเฉื่อยมากเกินไป รู้สึกเหนื่อยล้าหรือไม่มีแรง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินไป ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการจดจ่อลดน้อยลงหรือเกิดความลังเลใจได้ง่าย คิดถึงความตายซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตายจนถึงขั้นวางแผนฆ่าตัวตาย
ชื่อเรื่อง:ซึมเศร้า...เล่าได้ ผู้เขียน:หลินอวี๋เหิง และ ไป๋หลิง ผู้แปล:อังค์วรา กุลวรรณวิจิต สำนักพิมพ์:อินสปายร์ ครั้งที่พิมพ์:พิมพ์ครั้งที่ 1/ 2562เก็บความโดย :Mi_I Made
ซึมเศร้า

เรื่องเล่าจากภูเขาน้ำแข็ง

หนังสือเล่มนี้ควรอ่าน ที่ผู้เขียนได้แบ่งปันประสบการณ์โรคซึมเศร้า ที่เธอต่อสู้ เหมือนให้ได้มองเห็นการถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งที่ถือว่าเก่ง แกร่ง และกล้าหาญมากๆ ซึ่งจะทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจคนที่เป็นโรคนี้มากขึ้น
เป็นหนังสือรางวัลยอดเยี่ยมนายอินทร์ อะวอร์ด ประจำปีพุทธศักราช 2557 เป็นเรื่องเล่าของผู้หญิงคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เป็นเรื่องในช่วงวัยกำลังใช้ชีวิต บรรยายได้ถึงอารมณ์ ความรู้สึก ตั้งแต่มีอาการจนถึงขั้นตอนการรักษา
ผู้เขียน "ดาวเดียวดาย" ได้เขียนที่มาจากประสบการณ์ตรงของการเป็นผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ทำให้เข้าใจได้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ ผู้เขียนได้มาเล่าแบ่งปันเรื่องราวที่เธอต่อสู้ เหมือนให้ได้มองเห็นการถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งที่ถือว่าเก่ง แกร่ง และกล้าหาญมากๆ
ผู้เขียนยังรังสรรค์งานได้อย่างมีวรรณศิลป์ ภาษาและการการดำเนินเรื่องมีเสน่ห์ มีสีสัน ชวนติดตาม และยังสอดแทรกเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องซึมเศร้า โดยไม่เป็นวิชาการจำทำให้ชวนเบื่อ และนี่คือความกล้าหาญ ความเปิดเผย ความน่าชื่นชม และหัวใจที่เปิดกว้างของผู้เขียนที่ถ่ายทอดความจริงใจในซอกหลืบของคนกลุ่มหนึ่งได้อย่างงดงาม ด้วยการมอบเรื่องราวชีวิตของผู้เขียนเพื่อเป็นการเรียนรู้ให้ผู้คนในสังคมได้เข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และมองชีวิตอย่างเปี่ยมความหวัง ทั้งยังเป็นพลังใจให้กับเพื่อนร่วมโรคเดียวกันได้อย่างวิเศษ
ชื่อเรื่อง: เรื่องเล่าจากภูเขาน้ำแข็ง ผู้เขียน: เดียวดาย ครั้งที่พิมพ์:พิมพ์ครั้งที่ 1/ 2562 เก็บความโดย :Mi_I Made
ซึมเศร้า
บทความนี้ควรอ่าน เพื่อเราจะได้ดูแล คุณพ่อ คุณแม่ คุณลุง คุณป้า เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งกายและใจไปอีกนานแสนนานค่ะ

Anti-depress guides ป้องกันซึมเศร้าวัยเก๋า อารมณ์ดี 24 ชั่วโมง

ภาวะซึมเศร้า อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุที่ลูกหลานอาจจะมองข้ามไป ซึ่งไม่ใช่แค่สุขภาพทางกายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงสุขภาพทางจิตใจด้วย หากปล่อยให้ภาวะเช่นนี้กัดกร่อนจิตใจมากขึ้นทุกวัน อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุเองและคนรอบข้างได้ จึงขอแนะนำบทความดีดีที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้นำไปปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตมีสุข อารมณ์ดี 24 ชั่วโมง
สำหรับผู้สูงวัยมีคีย์หลัก 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้สึกซึมเศร้า เบื่อหน่ายต่อการใช้ชีวิต คือ ฮอร์โมนในร่างกายลดลง, ความเสื่อมของร่างกายทำให้เคลื่อนไหวช้าลง และ ภาวะการเคี้ยวอาหารไม่ไหว ย่อยยาก เราไม่สามารถหยุดปัจจัยทั้ง 3 นี้ได้ แต่อย่างน้อยเราสามารถชะลออาการที่เกิดขึ้นได้โดย
1) วัยฮอร์โมนลดทำอย่างไรดี - เมื่ออายุ 45-50 ปี ผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนจากรังไข่จะลดลงทันที ส่วนผู้ชายจะยังไม่ลดลงทันที แต่ะจะลดลงอย่างช้าๆ แต่จะทันกันภายใน 5-7 ปี ฉะนั้นจึงต้องเตรียมตัว ปรับพฤติกรรม พยายามหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อดึงตัวเองออกจากความเครียด 2) วัยความเสื่อม เคลื่อนไหวช้า ทำอย่างไรดี – แนะนำว่า ควรเดินจงกรมหรือออกกำลังกายช้าๆ เช่น รำมวยจีน ซึ่งจะช่วยดึงจิตมาอยู่ที่การเคลื่อนไหวมือและเท้า การออกกำลังกายจะเป็นการซ่อมแซมร่างกายที่พร่องลงไป เพื่อจะได้ส่งสัญญาณไปยังสมองให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน และปล่อยวางเรื่องเครียด 3) วัยระบบย่อยทำงานช้า ทำอย่างไรดี – เรื่องโภชนาการหรืออาหารนั้น ผู้สูงอายุไม่ควรกินอาหารภายใน 3 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนหลับไม่ดี ส่วนการกินอาหารนั้นควรกินอาหารขนาดมื้อปานกลางแต่กินบ่อยขึ้น และหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ตรวจฟัน ทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟัน และพบแพทย์อยู่เสมอ
1) วัยฮอร์โมนลดทำอย่างไรดี - เมื่ออายุ 45-50 ปี ผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนจากรังไข่จะลดลงทันที ส่วนผู้ชายจะยังไม่ลดลงทันที แต่ะจะลดลงอย่างช้าๆ แต่จะทันกันภายใน 5-7 ปี ฉะนั้นจึงต้องเตรียมตัว ปรับพฤติกรรม พยายามหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อดึงตัวเองออกจากความเครียด 2) วัยความเสื่อม เคลื่อนไหวช้า ทำอย่างไรดี – แนะนำว่า ควรเดินจงกรมหรือออกกำลังกายช้าๆ เช่น รำมวยจีน ซึ่งจะช่วยดึงจิตมาอยู่ที่การเคลื่อนไหวมือและเท้า การออกกำลังกายจะเป็นการซ่อมแซมร่างกายที่พร่องลงไป เพื่อจะได้ส่งสัญญาณไปยังสมองให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน และปล่อยวางเรื่องเครียด 3) วัยระบบย่อยทำงานช้า ทำอย่างไรดี – เรื่องโภชนาการหรืออาหารนั้น ผู้สูงอายุไม่ควรกินอาหารภายใน 3 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนหลับไม่ดี ส่วนการกินอาหารนั้นควรกินอาหารขนาดมื้อปานกลางแต่กินบ่อยขึ้น และหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ตรวจฟัน ทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟัน และพบแพทย์อยู่เสมอ
ชื่อเรื่อง: นิตยสารชีวจิต ปีที่ 21 ฉบับที่ 496 มิถุนายน 2562 หน้า 30-31 เก็บความโดย Jaya.Rtp

และจากสถิติ กรมสุขภาพจิต เผยคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน เน้นย้ำให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าทุกคนให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยยาและกระบวนการแพทย์ที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มเป็นใหม่ ๆ โอกาสหายมีสูง เมื่ออาการดีขึ้นเป็นปกติ สามารถดูแลตัวเองต่อได้เช่นปฏิบัติธรรม ควบคู่กินยาต่อเนื่อง พร้อมแนะหลักปฏิบัติตัว 8 ประการ อาทิ อย่าพยายามบังคับตัวเอง หรือตั้งเป้าหมายสูงเกินไป อย่าตัดสินใจในเรื่องสำคัญในชีวิตมากๆขณะมีอาการ ไม่ควรตำหนิตัวเอง

อย่าลืมดูแลตัวเอง ดูแลคนรอบข้าง

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top