สำหรับนักวิจัยน้องใหม่ หลาย ๆ ท่าน ที่คิดไม่ออกว่าเราจะคัดเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิจัยอย่างไรดี วันนี้ ระเบียงบรรณปันสาระ มี Tricks ในการคัดเลือกวารสารมาฝาก ดังนี้ต่อไปนี้ :
- ทบทวนการใช้วารสารทีใช้ในการอ้างอิง (Reference)
- พิจารณาขอบเขตเนื้อหาของวารสาร
- การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking
- สถานะการมีอยู่ของวารสาร (Indexing) ในฐานข้อมูลประเภท Citation Databases
- ข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร
- Acceptance / Rejection Rate
- สถานะวารสารประเภท Peer Review
- ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณาของวารสาร (speed of review process)
- ชื่อเสียงของสำนักพิมพ์, วารสาร, บรรณาธิการ และ บอร์ดบรรณาธิการ
- ประเภทของต้นฉบับ (Manuscript)
- ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการตีพิมพ์ผลงาน
- สิทธิในบทความ (Rights for author
1. ทบทวนวารสารจากทีใช้ในการอ้างอิง (Reference)
- เริ่มจากวารสารที่เราใช้ในการอ้างอิงในงานวิจัย หรือ ติดตามผลงาน ความก้าวหน้าวิทยาการในสาขาที่เราถนัด
- เลือกจากวารสารที่นักวิจัย หรือ ผู้แต่งที่มีชื่อเสียง ใช้ในการอ้างอิง หรือ ตีพิมพ์ผลงานในสาขาของเรา
- เลือกจากวารสารที่บุคลากรในหน่วยงานที่เราทำอยู่ เคยตีพิมพ์ผลงาน
2. พิจารณาขอบเขตเนื้อหาของวารสาร
- พิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการจัดพิมพ์วารสาร
- พิจารณาจากขอบเขตเนื้อหาของวารสาร
3. การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking
ตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยในการประเมิน เช่น
- Scopus Journal Analyzer
- SCImago
- Web Of Science เป็นต้น
4. สถานะการมีอยู่ของวารสาร (Indexing) ในฐานข้อมูลประเภท Citation Databases
เป็นประเมินคุณภาพวารสารด้วยการตรวจสอบสถานะ Index และระยะเวลาที่ index ในฐานข้อวารสารอ้างอิงที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาวิจัย เช่น
- Web of science
- Scopus
- Google Scholar เป็นต้น
5. ข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร
เช่น
- จำนวนปีที่วารสารตีพิมพ์
- ความถี่ในการตีพิมพ์วารสาร เช่น รายเดือน รายสองเดือน รายสามเดือน เป็นต้น
- รูปแบบในการตีพิมพ์วารสาร ว่าเป็น แบบฉบับพิมพ์ หรือ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์
- ภาษาต้นฉบับของวารสาร
- สถิติการดาวน์โหลดบทความวิจัย หรือ การอ้างอิง
6. Acceptance / Rejection Rate
- ใช้เป็นตัววัดถึงโอกาสที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารนั้น
- Acceptance Rate อาจจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความที่ส่งไปตีพิมพ์ หรือ จำนวนบทความที่อยู่ในระบบ
7. สถานะวารสารประเภท Peer Review
วารสารประเภท Peer Review จะเป็นวารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ จะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี
8. ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณาของวารสาร (speed of review process)
- ระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งบทความตีพิมพ์ (submit) โดยตรวจสอบะยะเวลาตั้งแต่ส่งบทความถึงการปฎิเสธการตีพิมพ์
- ระยะเวลาการแจ้งกลับถึงผู้เขียนว่าบทความได้รับการยอมรับและเมื่อยอมรับแล้วใช้เวลานานเท่าไหร่บทความดังกล่าวถึงได้ตีพิมพ์
9. ชื่อเสียงของสำนักพิมพ์, วารสาร, บรรณาธิการ และ บอร์ดบรรณาธิการ
- เพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาคุณภาพของวารสาร และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกวารสาร
- เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกวารสาร
- สามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้จากเว็บไซด์ของวารสาร หรืออาจจะสอบสอบถามจากผู้เชียวชาญ อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ เพื่อนนักวิจัยด้วยกัน
10. ประเภทของต้นฉบับ (Manuscript)
- Research paper ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซด์ของวารสารนั้น ๆ
- Review article ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซด์ของวารสารนั้น ๆ
11. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการตีพิมพ์ผลงาน
- ค่าดำเนินการในการตีพิมพ์
- ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์วารสารประเภท Open access เป็นต้น
12. สิทธิในบทความ (Rights for author)
สิทธิในบทความ (Rights for author) ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการให้สิทธิแก่ผู้เขียนบทความ สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของวารสารนั้น ๆ เช่น
- บางวารสารให้สิทธิผู้เขียนบทความในการเผยแพร่หรือนำาไปใช้ใหม่ หลังจากได้รับการตีพิมพ์แล้ว
- อนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะบางเวอร์ชั่นของบทความ เช่น เวอร์ชั่นที่ผ่านขั้นตอน peer review หรือเวอร์ชั่นสมบูรณ์ ท้ายสุด (final version) ในเว็ปไซต์ของสถาบัน
- อนุญาตให้ใช้รูปภาพ กราฟ หรือตารางในบทความไปใช้ในหนังสือ เป็นต้น
เรียบเรียงข้อมูลจาก
การฝึกอบรมเรื่องกลยุทธ์การเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์ วิทยากรโดย คุณจิรวัฒน์ พรหมพร (Head of Academic e-resources support) Book Promotion & Service Co., Ltd.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคัดเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์
การเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์บทความวิชาการ
เครื่องมือเพื่อช่วยเลือกวารสารตีพิมพ์บทความ
ข้อควรระวัง หากคิดจะส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสารประเภท Open Access
Views: 692