ชวนอ่าน เพราะความรู้เกิดขึ้นง่ายจากการอ่าน
Content for Longlife Learning
อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป เป็นการสื่อถึงความเป็น Minimalist หรือ มินิมัลลิสต์ ซึ่งเป็นคนที่มีความสุขในชีวิต จากความเรียบง่าย มีข้าวของที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ หากต้องการความสุขจากการละ วาง ลดข้าวของที่ไม่จำเป็นในการดำเนินชีวิต
เล่มนี้ผู้เขียนได้แนะนำว่าทำอย่างไรเราจะเป็นคนที่มีความสุขกับการใช้ของเพียงน้อยชิ้น คำตอบคือ เพียงแค่...อะไรที่ไม่จำเป็นก็ทิ้งไป เราจะพบกับความสุขได้ไม่ยาก

มินิมัลลิสต์คืออะไร

  • คนที่รู้ว่าอะไรสำคัญกับตัวเองจริงๆ
  • คนที่ลดปริมาณข้างของลงเพื่อรักษาสิ่งสำคัญเอาไว้
  • คนที่รู้ว่าสิ่งไหนสำคัญสำหรับตัวเองจริง ๆ ไม่ใช่คนอยากได้ของต่าง ๆ และเอาแต่สนใจสายตาคนรอบข้าง
  • คนที่พยายามลดข้าวของไม่จำเป็นให้น้อยลง
  • อะไรที่ไม่จำเป็นให้ลดลง เพื่อที่จะได้ใส่ใจกับข้าวของชิ้นที่สำคัญมากขึ้น  เพราะของเหล่านี้จะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาได้ในภายหลัง

ทำไมถึงเป็นมินิมัลลิสต์ไม่ได้

ด้วยเหตุผลหลายอย่าง  ที่ว่า

  • มีทุกอย่างที่อยากได้
  • “ความเคยชิน” คือยาพิษ เพราะไปสักพัก จะเปลี่ยนเป็น “ความเบื่อหน่าย” 
  • ทำไมคนเราถึงอยากได้ชิ้นใหม่อยู่เรื่อย 
  • ข้าวของแทนตัวเรา
  • บอกเล่าตัวตนทีแท้จริงผ่านสิ่งของต่าง ๆ 
  • สิ่งของทำร้ายตัวเราเอง
อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

มาดูกัน 55 ข้อปฏิบัติในการทิ้งข้าวของ ... คุณจะทำได้มั๊ย

Rule 01 :

“ทิ้ง” ในสิ่งที่คิดเอาเองว่า “ทิ้งข้าวของพวกนั้นไปไม่ได้” แต่จริง ๆ แล้วเรา “ไม่ทิ้่ง” เองแหละ

Rule 02 :

การทิ้ง คือ “ศิลปะ” แต่จริง ๆ เราอาจจะเอาไปขาย ขายต่อ หรือทิ้งไปเลย

Rule 03 :

การทิ้งข้าวของไม่ใช่การ”สูญเสีย”  แต่คือการ “ได้รับ”

Rule 04 :

ต้องแน่ใจในเหตุผลที่ไม่สามารถทิ้งได้

Rule 05 :

ไม่ใช่ “ทิ้งไม่ได้”  แต่แค่”รู้สีกเกลียด”

Rule 06 :

เมโมรี่ในสมอง พลังงาน และเวลามีขีดจำกัด

Rule 07 :

ให้การทิ้งข้างของคือจุดเริ่มต้นของการบอกลา “ปัจจุบัน”

Rule 08 :

ไม่เสียใจภายหลังกับคำว่า “ทิ้งไปเถอะ”

Rule 09 :

เริ่มจากสิ่งที่เป็น “ขยะ” อย่างเห็นได้ชัด

Rule 10 :

ข้าวของที่มีอยู่หลายชื้นให้ทิ้งไป

Rule 11 :

ทิ้งข้าวของที่ไม่ได้ใช้มานาน 1 ปี

Rule 12 :

ทิ้งข้าวของที่มีไว้เพื่อคนอื่น

Rule 13 :

แยกของที่ “อยากได้” ออกจากของที่ “จำเป็น”

Rule 14 :

ถ่ายรูปของที่ทำใจทิ้งไม่ได้ เก็บเอาไว้

Rule 15 :

ย้อนดูความทรงจำด้วยไฟล์ดิจิทัล

Rule 16 :

ไม่ต้องใส่ใจค่าเช่าบ้านของรูมเมทที่ชื่อว่า “ข้าวของ”

Rule 17 :

ทิ้งความคิดเรื่อง “เก็บกวาด” และ “จัดเก็บ” ออกไป

Rule 18 :

ก่อนอื่นจัดการกับ “แหล่งซ่องสุมสัมภาระ”

Rule 19 :

ทิ้งคำว่า “สักวันหนึ่ง” ที่ไม่มีวันมาถึง

Rule 20 :

ทิ้งคำว่า “สักวันหนึ่ง”  ที่ไม่มีวันมาถึง

Rule 21 :

ทิ้งความลุ่มหลงใน “อดีต”

Rule 22 :

ทิ้งข้าวของที่ “ลืมไปแล้ว”

Rule 23 :

เมื่อคิดจะทิ้งข้าวของไปแล้วก็ห้ามเป็นคน “ครีเอทีฟ”

Rule 24 :

ทิ้งความคิดที่ “อยากจะได้กำไรคืน”

Rule 25 :

จัดการกับ “โกดัง”

Rule 26:

รู้สึกถึง “ความเปล่งประกายในหัวใจ”

Rule 27 :

ปล่อยมือจากข้าวของโดยใช้บริการตัวแทนประมูลสินค้า

Rule 28 :

หันมาเผชิญหน้ากับข้าวของอีกครั้งด้วยการประมูล

Rule 29 :

ใช้บริการรับซื้อถึงหน้าบ้าน

Rule 30 :

อย่าคิดถึง “ราคาตอนที่ซื้อมา”

Rule 31 :

“โกดัง” ของคุณคือร้านค้า

Rule 32 :

เมืองที่เราอยู่คือส่วนหนึ่งของบ้าน

Rule 33 :

เก็บข้าวของที่ปลุกเร้าความทรงจำเอาไว้

Rule 34 :

ทิ้งของที่คิดว่าไม่อยากจะซื้อกลับมาอีกแล้ว

Rule 35 :

คุณยังจำของขวัญที่เคยให้คนอื่นได้มั๊ย

Rule 36 :

ลองนึกถึงความรู้สึกของคนที่ตายไปแล้ว

Rule 37 :

ของที่เหลือเอาไว้จากการทิ้งนั่นแหละคือสิ่งที่สำคัญ

Rule 38 :

บอกลาความสัมพันธ์ของลูกโซ่ของข้าวของ

Rule 39 :

ทิ้ง “คอลเลคชั่น” ที่ไม่มีแผนจะสร้างพิพิธภัณฑ์

Rule 40 :

ยืมของที่คนอื่นก็มี

Rule 41 :

ข้าวของชื้นไหนหาเช่าได้ก็ให้เช่าแทน

Rule 42 :

โชว์ของที่ทิ้งและห้องของตัวเองดูผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์ค

Rule 43 :

จะต้องทำอย่างไรถ้าเริ่มต้นจากศูนย์

Rule 44 :

ลองทิ้ง “แบบหลอกๆ

Rule 45 :

ทิ้งของที่เกะกะสายตา

Rule 46 :

ซื้อ 1 ชิ้น ต้องทิ้ง 1 ชิ้น

Rule 47 :

รู้จักกับ “Concorde Effect” หรือ “ความเสียดายต้นทุนจม”

Rule 48 :

ยอมรับความผิดพลาดและยอมรับว่าเป็นบทเรียน

Rule 49 :

คิดว่าของที่ซ์ื้อมาคือของที่ “ไปยืมเขามา”

Rule 50 :

อย่าซื้อมาเพราะเห็นว่าถูก  และอย่ารับมาเพราะเห็นว่าฟรี

Rule 51 :

ทิ้งเมื่อ “รู้สีกกลุ้มใจ” ว่าจะทิ้งได้หรือไม่

Rule 52 :

ของที่สำคัญกับเราจริง ๆ จะกลับมาหาเราอย่างแน่นอน

Rule 53 :

ทิ้งด้วยความรู้สึกขอบคุณ และเก็บความรู้สึกขอบคุณนั้นไว้

Rule 54 :

สิ่งที่น่าเสียดายมากที่สุดก็คือ “ความรู้สึกของตัวเอง”

Rule 55 :

เพราะว่าทิ้งไปแล้วก็เลยไม่ลืม

และอีก 15 ข้อปฏิบัติเพิ่มเติมสำหรับคนที่อยากซื้อข้าวของให้มากขึ้น และใบยาสั่งสำหรับคนเป็น "โรคอยากทิ้ง"

Rule 1 :

ความพอใจไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “จำนวน” ของข้าวของ

Rule 2 :

เปลี่ยนเสื้อผ้าลำลองให้เป็นยูนิฟอร์ม

Rule 3 :

มีข้าวของน้อยชิ้นไม่เหมือนใคร

Rule 4 :

ถ้าคิดจะทิ้งตั้ง 5 ครั้งแล้วก็ทิ้งไปเลย

Rule 5 :

ลองทิ้งดูด้วย “การทดสอบ” ว่าสำคัญจริงหรือไม่

Rule 6 :

ความลำบากเล็กๆ น้อยๆ เป็นเรื่องสนุก

Rule 7 :

ข้าวของที่คอยปลุกเร้าความสุขในหัวใจ ก็ทิ้งมันไปด้วย?

Rule 8 :

ลอง “จัดระเบียบชีวิต” แม้ว่าตอนนี้ยังแข็งแรงดีอยู่

Rule 9 :

แม้ข้าวของจะน้อยลง แต่ “ตัวเอง” ก็ไม่ได้หายไป

Rule 10 :

ตั้งคำถามกับวิธีใช้ทั่วไป

Rule 11 :

ทิ้งไปเลย  อย่าคิดมาก

Rule 12 :

ไม่ต้องทนทรมานกับการ “เผชิญกับข้าวของที่มีอยู่น้อยชิ้น” และไม่ต้อว่าคนอื่นที่มีของอยู่มากมาย

Rule 13 :

โรคอยากทิ้งและโรคอยากมีคือโรคเดียวกัน

Rule 14 :

มินิลมัลลิสต์คือ “วิธีการ” และ “บทนำ”

Rule 15 :

นิยามความหมายของมินิมัลลิสต์ด้วยตัวเอง

ความมหัศจรรย์ของการมีข้าวของเพียงไมกี่ชิ้น  คุณสัมผัสได้ หาอ่านเพิ่มเติมได้

รายละเอียดเพิ่มเติม :

สนใจการเป็น Minimalist อีกประเด็น ชวนอ่าน  Death Cleaning สุดท้ายก็ต้องทิ้ง ของ สองป้าชวนอ่าน เป็นแนวคิดที่จัดการภาระของตัวเองก่อนตาย เพื่อลดภาระของคนที่อยู่ข้างหลัง ได้เป็นอย่างดี  

Death Cleaning สุดท้ายก็ต้องทิ้ง
สองป้าชวนอ่าน📖 Death Cleaning สุดท้ายก็ต้องทิ้ง ในสวีเดนมีแนวคิด Death Cleaning คือการเก็บกวาด กำจัดข้าวของที่ไม่จำเป็น และใช้ชีวิตให้เล็กลง เพราะใครจะรู้ว่าข้าวของที่เราอยากเก็บ อยากซ่อน อยากให้ หรือ อยากทิ้ง วันหนึ่งถ้าเราไม่อยู่แล้วจะกลายเป็นภาระของใคร Death Cleaning เป็นหนังสือขายดีที่ตีพิมพ์ทั่วโลกของมาร์การีตา แมกนัสสัน ศิลปินนักวาดภาพชาวสวีเดน วัย 80 กว่า ผู้ผ่านประสบการณ์ย้ายบ้านมาแล้ว 17 ครั้งทั้งในและนอกประเทศ และเก็บกวาด Death Cleaning ของคนใกล้ชิดอีกหลายครั้ง ครั้งแรกคือเมื่อต้องไปเก็บกวาดอพาร์ตเมนท์ของพ่อกับแม่หลังจากที่แม่ของเธอเสียชีวิต ระหว่างทำเธอก็พบว่าแม่ได้วางแผนสำหรับสิ่งต่างๆ จะเกิดขึ้นแล้วหลังจากที่แม่จากไป มีทั้งข้อความเขียนแปะบอกบนสิ่งของต่างๆ ว่าจะทำอย่างไร ของบางอย่างยกให้การกุศล หนังสือบางเล่มส่งคืนเจ้าของ ฯลฯ แม่ของเธอเก็บกวาดเดธคลีนนิ่งเองบางส่วน “เราควรจะรับผิดชอบสิ่งของของตัวเองอย่างไร คนที่เรารักถึงจะไม่ลำบากเมื่อเราจากไป” และนี่เป็นบางส่วนคำแนะนำเของคุณยายมาร์การีตา แมกนัสสัน ผู้เตรียมการและจัดการ Death Cleaning ของตัวเองแล้ว 🖊เริ่มจากบอกคนที่คุณรักและเพื่อนๆให้รู้ว่า กำลังทำ Death Cleaning อยู่ ซึ่งพวกเขาอาจอยากช่วยเราและรับของที่เราไม่ได้ใช้ ไม่ต้องการไปด้วย •อย่าเริ่มต้นการเก็บกวาดที่ภาพถ่าย หรือจดหมายส่วนตัว เพราะถ้าเริ่มต้นด้วยของพวกนี้ เราจะติดอยู่กับความทรงจำและไม่มีทางหลุดมาเก็บกวาดสิ่งของอื่นๆ ได้ง่ายๆ •ให้เริ่มต้นจากของชิ้นใหญ่ๆ ในบ้านก่อน และปิดท้ายด้วยของชิ้นเล็ก •จัดกลุ่มและแยกทิ้ง ให้เลือกสิ่งของที่คิดว่าจัดการได้ง่ายก่อน ประเภทง่ายคือของที่มีเยอะและไม่ได้มีความผูกพันทางอารมณ์ความรู้สึกมากมาย อย่างคุณยายมาร์การีตา แมกนัสสัน เลือกเริ่มต้นจากเสื้อผ้าก่อน โดยแบ่งเสื้อผ้าเป็น 2 กอง กองที่ 1 เสื้อผ้าที่อยากเก็บไว้ คือเป็นเสื้อผ้าที่รู้สึกอยากจะใส่จริงๆ หรือเป็นชิ้นที่เรามีความผูกพันทางอารมณ์อย่างแนบแน่น เลือกเก็บชิ้นที่สามารถเอามาใส่แบบมิกซ์แอนด์แมทช์ได้ง่าย กองที่ 2 เสื้อผ้าที่อยากกำจัด และนำไปส่งต่อให้คนอื่น หรือบริจาค •สำหรับคนที่ชอบอ่านและสะสมหนังสือ คุณยายแนะนำให้เราชวนคนในครอบครัวและเพื่อนๆ มาเลือกดูหนังสือ และให้พวกเขาเอากลับบ้านไปได้ตามใจ ให้เลือกแต่เล่มที่เรายังไม่ได้อ่านหรือเล่มที่ชอบหยิบมาอ่านบ่อยๆ เก็บไว้ก็พอ และถ้าแถวบ้านมีตลาดนัดขายหนังสือก็เอาหนังสือเราเอาไปวางขายที่นั่นแหละ •เมื่ออยากจะกำจัดของสะสมที่มีอยู่และดูเหมือนว่าคนในครอบครัวจะไม่ต้องการมันแล้ว คำแนะนำคือให้ติอต่อโรงประมูล ถ้าพวกเขาไม่สนใจ ค่อยลองหาคนซื้อทางอินเตอร์เนต •ว่าด้วยภาพถ่าย คุณยายมาร์การีตา แมกนัสสัน มีภาพเป็นฟิล์มสไลด์จำนวนมาก เธอจัดการซื้อเครื่องสแกนฟิล์มมาสแกนภาพ แล้วจัดการให้เป็นหมวดหมู่ และย้ายรูปถ่ายที่ต้องการจะแบ่งปันกับคนอื่นๆมาใส่ในคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ใส่ไฟล์ภาพลงใน USB เก็บความทรงจำเป็นของขวัญให้คนในครอบครัว •สำหรับของสำคัญที่ทำให้เรานึกถึงเหตุการณ์ยากลืมเลือน เช่นจดหมายรักเก่าๆ บันทึกการท่องเที่ยว ดอกไม้แห้ง เปลือกหอยสวยๆ ให้หากล่องเล็กๆขนาดเท่ากล่องรองเท้ามาใส่ของพวกนี้ไว้ ของที่ไม่มีคุณค่าสำหรับคนอื่นเลย แต่มีค่ามหาศาลสำหรับเรา เป็นกล่องส่วนตัวที่ถ้าวันใดวันหนึ่งเราจากไปแล้ว คนที่เหลืออยู่จะสามารถนำมันไปทิ้งได้ อ่านเล่มนี้จบ ป้าก็เริ่มตระหนักถึงข้าวของสมบัติบ้าที่เก็บไว้เต็มบ้าน ถึงแม้ป้าอายุยังไม่ใกล้ถึงวัย 80 เหมือนคุณคุณยายมาร์การีตา แมกนัสสัน แต่ก็คิดถึงสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกคนอย่างแน่นอน นั่นคือความตาย ซึ่งหนังสือเล่มนี้บอกเราว่า ยิ่งเรากล้าคิดถึงมัน เราจะยิ่งอยากทำสิ่งที่จะยกระดับความสุขและคุณภาพชีวิตของเราในทุกๆวันที่มีชีวิตอยู่ อยากยกระดับความสุข มาทำชีวิตให้เล็กลงกันดีกว่า
Death Cleaning

Visits: 747

Facebook Comments

facebook comments