แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

“แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้” จริงหรือเปล่าว่าหากเราอ่านหนังสือให้ถูกวิธี เราจะเป็นคนหัวดีได้ 

หากมีใครเคยรู้สึกว่า เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ยิ่งเรียนยิ่งไม่เข้าใจ ตั้งใจเรียนแล้วแต่คะแนนก็ไม่ดีขึ้น สงสัยตัวเองจะเป็นคนหัวไม่ดี อย่าเพิ่งคิดแบบนั้นเลยนะคะ 

ถ้ายังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ !!!

สำหรับการเรียนแล้วไม่มีใครหัวไม่ดีหรอกค่ะ แต่เป็นเพราะเรียนผิดวิธีหรือไม่รู้หลักการเรียนหนังสือต่างหาก การเรียนเก่งเป็นผลมาจากการสร้างนิสัยพูดง่ายๆคือฝึกให้ตัวเองเรียน อ่าน ทบทวนหนังสือโดยอัตโนมัติและเมื่อทำจนเป็นนิสัยแล้วเราก็จะไม่เหนื่อยไม่กลุ้มใจด้วยว่าจะถึงเวลาต้องอ่านหนังสือเรียนหรือยัง
ไม่ต้องพะวงตอนไปเที่ยวและไม่ต้องเคี่ยวเข็ญให้ตัวเองมานั่งอ่านหนังสือด้วย เพราะการเรียนกลายเป็นสิ่งที่เราทำมาอยู่ตลอดแล้วเราจะทำเช่นที่เคยทำ  

PART I : ภาคเตรียมใจ : หลัก 5 ประการเพื่อสร้างนิสัยใน 66 วัน

ถ้าลองมาหลายวิธีแล้วยังได้คะแนนไม่ดี ลองมาเปลี่ยนวิธีตามหนังสือ “แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนดีได้” กัน ใช้เวลาแค่ 66 วันเท่านั้น สำหรับการฝึกฝนให้เป็นนิสัย แล้วคุณจะเป็นคนใหม่ที่ยิ่งเรียนยิ่งเก่ง ยิ่งฝึกจนกลายเป็นนิสัยก็จะยิ่งย่นเวลาการทำความเข้าใจบทเรียนให้สั้นลงแต่มีประสิทธิภาพการเรียนรู้มากขึ้น มาดู เคล็ดลับการอ่าน ในเล่มนี้กัน

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

หลักการที่ 01 : เพิ่มลงในกิจวัตรประจำวันเดิมที่เราทำเป็นปกติ โดยทำต่อเนื่องสำคัญกว่าทำเฉย ๆ  เช่น ตอนเย็นกลับจากเรียนหรือทำงาน อาบน้ำ กินข้าว ทำการบ้าน เข้านอน ให้เพิ่มช่วงเวลาการทบทวนบทเรียนในวันนั้นเข้าไปในกิจวัตรประจำวัน คือ กลับจากโรงเรียน ทบทวนบทเรียน อาบน้ำ กินข้าว ทำการบ้าน เข้านอน ทำแบบนี้ทุกๆ วัน คุณจะไม่รู้สึกเหมือนโดนบังคับให้ต้องอ่านหนังสืออีก เพราะพฤติกรรมนี้กลายเป็นนิสัยของคุณไปแล้วค่ะ

ารทบทวนบทเรียนด้วยการจดลงกระดาษเปล่าเป็นกลยุทธ์ที่เทพเรียนเก่งทั้งหลายนิยมใช้ แม้จะง่ายดายและแสนธรรมดา แต่ผลลัพธ์ของมันยอดเยี่ยมผิดจากความง่ายของมันลิบลับ แค่จดก็เท่ากับได้ทบทวนบทเรียนและพิมพ์ข้อมูลที่เรียนซ้ำในสมองเรา นี่เป็นวิธีเดียวกันกับการดึงข้อมูลในสมองมาใช้ตอนสอบ จึงเท่ากับว่าเราได้ทบทวนบทเรียนและซ้อมสอบไปพร้อมกัน

กลยุทธ์การท่องจำสารบัญของหนังสือเรียนจะช่วยให้เราจับเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนได้อย่างมีระบบ ลดการท่องจำสะเปะสะปะ และช่วยให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้รวดเร็ว

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

หลักการที่ 02 : ฝึกนิสัยจากเล็กไปใหญ่ การเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเดิมทำให้คุณรู้สึกต่อต้าน เป็นปฎิกิริยาทางธรรมชาติเพื่อรักษาชีวิตรอดค่ะ ดังนั้นให้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากเล็กๆ ไปก่อนเพื่อให้สมองคุ้นเคย ไม่ต่อต้าน แล้วค่อยเพิ่มไปใหญ่ขึ้น แต่มีเงื่อนไขว่าต้องทำให้สม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน เช่น หากเราตั้งใจวิ่ง แต่พอจะเริ่มกับรู้สึกขี้เกียจ แทนที่จะหยุดวิ่งให้ลองต่อรองกับตัวเองว่า วิ่งสัก 5 นาทีแล้วกัน และเมื่อเราเริ่มได้ เราจะรู้สึกว่า ยังวิ่งต่อไปก็ได้นะ จงใช้ประโยชน์จากกฎความเฉื่อย  เมื่อเริ่มต้นลงมือแล้วก็มีแนวโน้มว่ามนุษย์เราจะทำสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่อง  ถึงแม้การเริ่มต้นจะยาก หากทำแล้วเราจะรู้สึกภูมิใจกับตัวเราเอง

          เราเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยได้จริง แต่มีเงื่อนไขว่า “จะต้องทำทุกวัน”  ถ้าอยากฝึกสร้างนิสัย จะเริ่มจากเล็กน้อย พลางลิ่มรสอารมณ์ความสำเร็จอันอิ่มเอมจากกระบวนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ แม้จะแค่เล็กน้อยแต่เราไมได้ทำแค่วันเดียว เมื่อลงมือทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ทำจะเพิ่มพูนขยายเป็นยิ่งใหญ่

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

หลักการที่ 03 : ทำเรื่องสำคัญตอนเช้า ในตอนเช้าจะเป็นช่วงเวลาที่เรามีสมาธิมากที่สุด หลังจากการนอนหลับมาอย่างเต็มที่ สมองปลอดโปร่ง ยังไม่มีสิ่งใดรบกวนสมาธิของเรา และเราควรจะเข้านอนเร็วๆ จะได้ตื่นเช้าเพื่อทำสิ่งที่สำคัญก่อน  และอย่าเปลืองพลังงานกับเรื่องอื่นเมื่อจะเรียนหนังสือ เพระมีแต่จะบั่นทอนพลังความตั้งใจของเรา ถ้าเป็นไปได้จึงควรเรียนหนังสือก่อนทำกิจกรรมอื่น หากเราทำอย่างอื่นก่อนพลังงานจะร่อยหรอไปได้ และให้ทำเรื่องสำคัญในตอนเช้า

           อย่าทำ “หามรุ่งหามค่ำ” ทางออกทางเดียว นั่นคือเรียนหนังสือตอนเช้า อย่าเสียแรงวางฟอรฺ์มอ่านหนังสือจนดึกดื้่นหลังเลิกงานเลย รีบนอนแต่หัวค่ำแล้วทดแทนด้วยการตื่นให้เช้าขึ้น 1-2 ชั่วโมงดีกว่า ตอนเช้าตรู่เป็นช่วงเวลาที่จิตใจเราปลอดโปร่งที่สุด  การเริ่มทำจากสิ่งไม่สำคัญก่อนนั้นจะแปรเปลี่ยนเวลาหนึ่งวันของเราให้มีแต่เรื่องไม่เป็นประโยชน์      

ระดับ
สำคัญมาก
สำคัญน้อย
เร่งด่วนมาก
1. เรื่องสำคัญและเร่งด่วน
2. สำคัญน้อยแต่เร่งด่วน
เร่งด่วนน้อย
3. เรื่องสำคัญและไม่เร่งด่วน
4. เรื่องไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน

คำแนะนำคือ ให้ทำข้อ 2 กับข้อ 3 อย่างสมดุล และพิจารณาให้เหมาะสมตามสถานการณ์ไป

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

หลักการที่ 04 : วาดภาพหนึ่งวันอันสมบูรณ์แบบในสมอง การวาดภาพในสมองต้องลึกถึงรายละเอียด เริ่มจากกำหนดกิจวัตรประจำวันตามอุดมคติ วาดภาพว่าเราอ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ จินตนาการว่าจะรับมืออย่างไรหากมีเพื่อนรบกวน วาดภาพเราตั้งสมาธิต่อเนื่อง ไม่ไขว้เขวเพราะสิ่งเร้าอื่น 

          คนเก่งส่วนใหญ่ที่ทุกคนรู้จักล้วนใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบสม่ำเสมอ ราวกับใช้แม่พิมพ์ซ้ำ ๆ แบบนี้ล่ะ  แต่สมองเราจดจำอะไรยาว ๆ ไม่ค่อยได้ในคราวเดียวกัน ซ้ำร้ายหากจิตใจตื่นเต้นกังวล พื้นที่ใช้งานได้จริงในสมองเราจะยิ่งลดฮวบเนื่องจากถูกอารมณ์วิตกกังวลยึดครองไปหมด แต่การทำกิจกรรมแต่ละวันซ้ำเดิมจนเป็นนิสัยนี่ล่ะช่วยให้เรามีพลังความคิดมากขึ้น  เราจะแก้ไขอย่างไรกัน  แผนการฝึกนิสัยรายวัน คือการเพิ่มพฤติกรรมใหม่ลงในกิจวัตรประจำวันเดิม การเริ่มต้นจากเล็กไปใหญ่ และการสร้างนิสัยจำเป็นต้องมีแผนการ แค่วางแผนถึงหนึ่งวันในอุดมคติในกิจวัตรประจำวัน ฝึกให้นิสัยใหม่นี้กลมกลืนเป็นกิจวัตรประจำวันด้วยการปฏิบัติมันซ้ำ ๆ โดยทำตามวิธีใช้แผนการฝึกนิสัยรายวัน

24.00
แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

หลักการที่ 05 : จงทำต่อเนื่อง 66 วัน แล้วจะติดเป็นนิสัย 
       การฝึกนิสัย (สิ่งที่เรากระทำโดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องอาศัยความตั้งใจ) เราควรฝึกต่อเนื่อง 66 วัน เราอาจจะทำได้ก่อน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของโจทย์ที่เราตั้งไว้ โดยสิ่งแรกที่เราต้องทำคือ มีความเชื่อก่อนว่าเราจะทำได้ภายใน 66 วัน ถ้าเราไม่เชื่อว่าเราทำได้ เราก็จะไม่สามารถทำได้ 

        ผู้ที่ลงมือปฏิบัติได้จริงเพราะเขาศรัทธาว่าตนสามารถเปลี่ยนได้ ลำพังแค่เริ่มทำก็มีความหมายมากแล้ว ผิดกับคนที่ไม่อาจแม้แต่เริ่มเพราะมัวสงสัยว่าตนจะทำได้ไหม 

        เริ่มลงมือทำวันนี้เลย ไม่ต้องคิดเยอะ จงเริ่มสิ่งที่ควรทำจากเล็กน้อยก่อน แล้วค่อย ๆ ฝึกฝนให้ทำได้ใหญ่ขึ้นเป็นพอ

PART II : ภาคปฏิบัติ : นิสัยเรียนเก่งปั้นคุณเป็นเทพเรียนเก่งใน 66 วัน

CHAPTER 1  ฝึกนิสัยเรียนเก่ง ใน 66 วัน   

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

ลองมาพลิกข้างใน แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้ ว่าเขาได้สอนให้ฝีกนิสัยอะไรก้นอีกบ้าง

  • นิสัย 1 อย่ามัวแค่ขยันอ่าน จนขยันทดสอบด้วย การทดสอบเท่ากับเป็นการดึงความรู้มาแก้โจทย์ ทำให้ทำข้อสอบจริงได้คล่อง นอกจากนี้ยังบอกได้ว่าเรายังไม่แม่นตรงไหน   แะหากร่างกายและจิตใจของเราอยู่ในสภาพเหมาะสมที่เรียนที่สุดแล้ว ร่างกายเราเต็มเรื่องพลังงานด้านบวกขึ้นสมองเปลี่ยนเป็นคลื่นอัลฟาที่เหมาะสมต่อการเรียนหนังสือจิตใจก็จะเบาสบายปลอดโปร่ง เราเพิ่มการลดคลื่นสมองนี้เข้าไปในกิจวัตรประจำวัน ก่อนเริ่มเรียนจนติดเป็นนิสัยมันกลายเป็นพิธีกรรมสำคัญของเราที่ต้องทำก่อนจะเรียนหนังสือ วิธีนี้ช่วยให้สามารถตั้งสมาธิได้ง่ายขึ้นเมื่อเรียนหนังสือและเมื่อมีสมาธิแล้วก็คงอยู่ได้นาน ไม่เฉพาะก่อนการเรียนหนังสือเท่านั้น การใช้วิธีนี้ก่อนการสอบยังทำให้เราสงบจิตใจลดการทำข้อสอบผิดพลาดสภาพจิตใจก็ผ่อนคลายและสดชื่น
  • นิสัย 2 ทำให้การเรียนอยู่คู่กับการตั้งคำถาม การเรียนคือกระบวนการที่เราอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หากไม่เข้าใจบทแรกเสียแล้วก็ยากจะเรียนบทต่อไปได้แตกฉาน  จึงมี 5 วิธีตั้งคำถามให้ชัดเจน 
    1.  ถามให้ “ตรง” ประเด็น
    2.  ขอ “ตัวอย่าง”
    3. ลอง “อธิบายเอง” ตรงนั้นเลย
    4. ถาม “ระดับความสำคัญ”
    5. ถาม “กระบวนการ (วิธีคิด)”
  • นิสัย 3 เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เก่า
  • นิสัย 4 จงจับปากกาเขียนหนังสือเดี๋ยวนี้
  • นิสัย 5 เขาจดโน๊ตกันแบบนี้
  • นิสัย 6 แค่เลือกสีปากกาเป็นก็ช่วยให้เรียนเก่งแล้ว
    การใช้ปากกาสามสีช่วยให้เราประเมินตนเองได้ชัดเจนว่าเข้าใจและไม่เข้าใจบทเรียนตรงไหนบ้าง
  • นิสัย 7 วิเคราะห์เนื้อหาโดยรวมจากย่อหน้าแรก
  • นิสัย 8 เป้าหมายเล็ก ๆ คือวิธีเดียวที่จะพิชิตความคิดฟุ้งซ่าน
  • นิสัย 9 เกมพลังสมาธิ ฝึกนิสัยสร้างสมาธิที่ดี  เราสามารถทำการเรียนให้เป็นสมาธิเป็นนิสัยของเราได้ ตามขั้นตอน ใช้นาฬิกาจับเวลาที่ตั้งสมาธิอ่านหนังสือเรียนได้ ทำลายสถิติก่อหน้าให้ได้ไปเรื่อย ๆ และ ทำกระบวนซ้ำ ๆ และฝึกให้เป็นนิสัย
  • นิสัย 10 เพิ่มพลังสมาธิด้วยการลดคลื่นสมอง ซึ่งก็คือการทำสมาธินั่นเอง 

CHAPTER 2  ฝึกนิสัยทบทวนบทเรียน

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

ใช้หลักการ ไม่เข้าใจให้ถาม และฝึกตั้งคำถามขณะอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียนนาน 5 นาทีทันทีหลังเลิกคาบ  ถือเป็นการฝึกนิสัยทบทวนบทเรียน  วิธีการทบทวนบทเรียน จะทำให้ทบทวนบทเรียนได้หลายครั้งถ้าคำนวณคร่าวๆ โดยไม่นับการทบทวนระหว่างสอบก็จะประมาณ 7 คร้้งต่อเนื้อหาคือการทบทวนในคาบพัก ช่วงพัก  ชั่วโมงอิสระ  ก่อนนอน  เช้าวันรุ่งขึ้น เสาร์-อาทิตย์ และก่อนใกล้สอบ แล้วคะแนนเต็มจะไปไหนล่ะคะ  เรียน 45 นาที พัก 10 นาที ทบทวน 5 นาที ถ้าสมาธิดีมากอาจกำหนดช่วงเวลาเรียนนานขึ้นแล้วปรับเวลาพักกับเวลาทบทวนให้สอดคล้องกันการหมั่นทบทวนบทเรียนไม่เพียงดีต่อผลคะแนนในใบเกรด แต่เป็นรากฐานการเรียนหนังสือที่จำเป็นยิ่งต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหากเพิ่มด้วยทักษะแก่โจทก์และกระบวนการคิดที่ต้องใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเราก็จะเพิ่มคะแนนระดับก้าวกระโดดได้ในระยะสั้น โดยฝึกนิสัย

  • นิสัย 11 อานุภาพของนิสัยทบทวนบทเรียน 5 นาที  สำคัญคือกำหนดเวลาที่จะทบทวนบทเรียนตั้งแต่แรก
  • นิสัย 12 เรียน 45 นาที พัก 20 นาที ทบทวน 5 นาที วิธีนี้จะช่วยให้เราไม่ต้องเพิ่มเวลาเรียน เรียนเท่าเดิมแต่เลิกเรียนเร็วขึ้น 5 นาที พัก 10 นาที และใช้เวลาที่เลิกเร็วมาทบทวนบทเรียน 
  • นิสัย 13 ฝึกระยะเวลาสำหรับการทบทวนบทเรียนที่เหมาะที่สุด โดยยึดสารบัญของเนื้อหา เป็นการวิเคราะห์ทิศทางโดยรวมของแต่ละวิชา 

CHAPTER 3  ฝึกนิสัยท่องจำ

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

       เราไม่ได้จำแค่คำศัพท์ สมองเราจดจำทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะท่องศัพท์ด้วย ให้อ่านและขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ อธิบายให้คนอื่นฟัง และเขียนลงกระดาษแบบไม่ดู ถ้ายังจำไม่ได้ก็ทำซ้ำแบบเดิม

  • นี่เป็นเหตุผลที่คนเราจะสอบได้คะแนนดีที่สุดหากทบทวนบทเรียนในสภาพแวดล้อมที่จำลองให้เป็นแบบเดียวกันกับสนามสอบจริง เราต้องทำให้คำศัพท์ที่ท่องไม่จำกัดอยู่ในแค่ในสมุดคำศัพท์เมื่อท่องจำได้ระดับหนึ่งแล้วอยากท่องแค่สมุดศัพท์เดิมให้เขียนมันลงบนสมุดเล่มอื่นติดกับผนังห้อง ทำบัตรคำศัพท์ หรือท่องจำโดยเปลี่ยนสถานที่และสถานการณ์ให้หลากหลาย เพราะสมองไม่ได้จำแค่เนื้อหาที่เรียน แต่จำสภาพแวดล้อมขณะเรียนไปด้วย พอท่องจำในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายไปนานๆ สมองจะจดจำจุดเหมือนเดียวที่ยังอยู่ นั่นคือเนื้อหาที่จำต้องไปเขียนไปขณะอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่เพื่อนเพลินพอท่องในสถานที่และสถานการณ์ที่หลากหลายไปนาน ๆ สมองจะเริ่มไม่จดจำสภาพแวดล้อมอื่นที่ซับซ้อนและไม่ซับซ้อนขณะท่องศัพท์แล้วจดจำซึมซับ เหมือนเดียวกันที่ยังคงอยู่หรือก็คือศัพท์ที่เราท่องวิธีนี้จะช่วยเราจำคำศัพท์นั้นได้ที่ตัวศัพท์เองไม่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมอื่น
                  เลิกคิดว่าตัวเองหัวทิพย์เสียทีพยายามท่องจำโดยเปลี่ยนสถานที่และสถานการณ์ให้หลากหลายบ่อยๆ เข้าไว้
  • นิสัย 14 วิธีท่องจำสามเด้ง จงอ่าน พูด เขียน เริ่มจาก
    1. อ่านตำราเรียนอย่างตั้งใจ ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ
    2. อธิบายปากเปล่าถึงสิ่งที่อ่านให้คนอื่นฟัง ห้ามดูตำรา
    3. เขียนเนื้อหานั้นลงกระดาษ ห้ามดูตำรา
    4. ถ้ายังจำไม่ได้ ให้ย้อนกลับไปทำขั้นที่ 1-3 ใหม่อีกรอบ
  • นิสัย 15 ท่องจำได้ทันใจ  เช่นให้ท่องสัญลักษณ์ก่อน (หากมี) 
  • นิสัย 16 วิธีท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ 100 คำได้เร็วทันใจ ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มท่อง จะช่วยให้จำได้ดีขึ้น
  • นิสัย 17 จงท่องให้บ่อย ท่องในหลาย ๆ สถานที่ และเปลี่ยนสถานการณ์ที่ท่อง เพราะการเรียนหนังสือ สิ่งที่เราจดจำได้ไม่ใช่เฉพาะเนื้อหาที่เรียนเท่านั้น สมองจะจดจำไปถึงสภาพแวดล้อมขณะที่เราเรียนหนังสือด้วย

CHAPTER 4  ฝึกวิธีสอบให้ได้คะแนนดี

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเวลาตกแต่ง ติดภาพประกอบและคัดลอกคำตอบที่ยาวเหยียดมันทำสมุดโน๊ต เราจะได้เอาเวลาไปทบทวนมันเพิ่มแทน มีนักเรียนหลายคนเลยทีเดียวที่ใช้เวลามากมายไปกับการทำสมุดโน๊ตรวมข้อตอบผิดเห็นแล้วสับสนเห็นว่าตกลงจะทบทวนบทเรียนหรือจะเรียนศิลปะกันแน่ สมุดโน๊ตที่ตอบผิดเป็นเพียงวิธีหนึ่งเท่านั้นเราไม่ควรบิดเบือนเป้าหมายที่แท้จริงของมัน ไม่ว่าเราจะใช้วิธีรวบรวมโจทย์ที่เคยตอบผิดในรูปแบบไหน  เป้าหมายที่แท้จริงของมันก็คือการรวบรวมและเรียบเรียงสิ่งที่เคยทำพาสไม่ให้ทำพลาดซ้ำแล้วนึกถึงเป้าหมายจริงไว้ให้ได้

  • นิสัย 18 กำหนดเวลาแก้โจทย์เป็นหน่วยวินาที  ให้ใช้การจับเวลาให้เป็นนิสัย 
  • นิสัย 19 ที่อ่านหนังสือเตรียมสอบที่ดีคือที่เดียวกับที่ใช้สอบ เพราะไม่ว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนเหมาะกับการอ่านหนังสือเตรียมสอบที่สุด ตอบได้ว่าก็ต้องสภาพแวดล้อมที่เสมือนสนามสอบจริงไง  ถ้าเป็นนักเรียนมัธยมก็ต้องเป็นห้องเรียน ถ้าเป็นไปได้ให้อ่านหนับสือเตรียมสอบที่โรงเรียนจะดีที่สุด แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็หมั่นทบทวนบทเรียนในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงสนามสอบจริงของคุณครูแล้วกัน
  • นิสัย 20 ตรวจทานความผิดพลาดและความบังเอิญ  หากอยากสอบได้คะแนนดี อันดับแรกต้องแยกระหว่างสิ่งที่รู้กับสิ่งที่ไม่รู้ให้ชัดเจนก่อน  โดยแยกให้ได้ว่าเรารู้และไม่รู้อะไรจะทำให้เราทำได้ดียิ่งขึ้น
  • นิสัย 21 แยกข้อที่เคยตอบผิด อาจแบ่งเป็นบท เป็นกรอบความคิด หรือเป็นหมวดหมู่ และเรายังใช้วิธีการคัดแยกโจทย์ที่ตอบพลาดได้ด้วย การตอบโจทย์พลาดมีหลายสาเหตุ อาจเพราะอ่านโจทย์ผิด เพราะมองตัวเลขผิด เพราะคิดลึกมากเกินไป เมื่อแยกสาเหตุที่พลาดด้วยเราก็จะเข้าใจปัญหาของตัวเองได้กระจ่างขึ้น

CHAPTER 5  ฝึกนิสัยวางแผนการเรียนใน 66 วัน 

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

หากไม่รู้ว่าควรเรียนหนังสือนานแค่ไหน เรามีวิธีดี ๆ อยู่ก็คือ ให้เรียนอีก 50 นาทีแล้วพักประมาณ 10 นาทีอย่างน้อยเราก็จะรู้ว่าเด็กนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายของเกาหลีใต้ใช้วิธีนี้ในการเรียนหนังสือ ในปัจจุบันมันมีเหตุผลอยู่ว่าหากเวลาเรียนน้อยเกินจากนี้ความรู้ที่ได้ก็จะไม่ปะติดปะต่อไม่เกิดความเข้าใจ แต่ถ้าหากเรียนเกินจะขาดสมาธิระยะเวลาเรียน 50 นาทีพัก 10 นาทีเป็นช่วงที่เหมาะกับการศึกษากับนักจิตวิทยามากมายสนับสนุนและขอให้เชื่อและทำตามก็พอค่ะ เอาเป็นว่าต่อไปนี้อย่าวางแผนใหญ่โตในช่วงปิดเทอมแค่เรียนให้เหมือนกับช่วงเปิดเทอมก็พอแล้ว

  • นิสัย 22 อย่าวางแผนเกินตัว  เพราะแผนการที่เกินตัวอาจกลายเป็นยาพิษที่บั่นทอนแรงใจของเราเอง  
  • นิสัย 23 จงวัดอัตราความเร็วในการเรียนของตน  คนเราไม่ใช่คอมพิวเตอร์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้เวลาเท่ากันเป๊ะหรือตอบได้ชั่วโมงละ 10 ข้อเท่ากันทุกครั้ง บางวันเนื้อหาง่ายหน่อยก็ใช้เวลาแค่ 40 นาที บางวันยากก็ใช้ 80 นาที การใช้เวลาไม่เท่ากันเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไปเครียดกับมันมาก
  • นิสัย 24 วิธีจัดตารางแผนการรายสัปดาห์ที่ปฏิบัติจริงได้ยั่งยืน  จงระลึกไว้ว่าการปฏิบัติงานตามแผยการที่สุดยอดที่สุดก็คือการผนึกมันให้กลายเป็นนิสัย นั่นเอง
  • นิสัย 25 จงทำให้ต้องรักษา มากกว่าแค่ตั้งใจจะรักษา การตั้งใจทำอะไรคนเดียวย่อไม่มีใครร่วมรับรู้ด้วยและมาคอยตักเตือนหรือสังเกต แต่เมื่อเราประกาศต่อหน้าคนอื่นว่าเราทำแน่  หากเราไม่ทำก็ไม่ได้แล้ว  ให้คนอื่นได้เห็นและร่วมรับรู้ไปด้วย 
  • นิสัย 26 ช่วงปิดเทอมให้อ่านหนังสือเรียนแบบนี้   เราควรใช้เวลาปิดเทอมอย่างมีคุณภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเราเราจะตั้งสติจัดสรรเวลาหลังสอบปลายภาคได้ช้าเร็วแค่ไหน แต่ขอให้เรียนช่างปิดเทอมให้เหมือนเปิดเทอมก็พอ

CHAPTER 6  ฝึกนิสัยปฏิบัติตัวที่ดีต่อการเรียนใน 66 วัน 

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้

การเรียนหนังสือนั่นเย็นชา มันมีลักษณะเหมือน คนจนยิ่งจนคนรวยยิ่งรวย นั่นแหละค่ะ มีลักษณะดังกล่าวจะโหดร้ายจนเราไม่อยากยอมรับก็ตามทีนักเรียนที่เรียนรู้มาเยอะจะเข้าใจความรู้สึกใหม่ได้ว่องไวท่องจำเก่ง ผลการเรียนของพวกเขาจะยอดเยี่ยม เมื่อเก่งสนุกกับการเรียนและได้รับคำชื่นชมก็ยิ่งสนุกและตั้งใจเรียนมากกว่าเก่า ผลก็คือพวกเขาทิ้งห่างจากคนที่อยู่เรื่อยๆ ถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนความคิดมาเป็น คนเรียนเก่งก็ไม่เท่าไหร่หรอก พวกเขาแค่เริ่มเร็วกว่าฉันนิดหน่อยขอเพียงฉันตั้งไจเรียนสดๆบ้างเดี๋ยวก็เลยตามพวกเขาทัน

  • นิสัย 27 แยกย่อยเป้าหมายก่อนฝึกให้เป็นนิสัย  เริ่มจาการหาประเด็นใจความในโจทย์ อาจใช้โจทย์จากตำรารวมข้อสอบก็ได้ ปกติในข้อสอบการอ่านแต่ละย่อหน้าจะมีใจความสำคัญอยู่ ฝึกอ่านดูว่าเราจับประเด็นจริง ๆ ได้หรือไม่
  • นิสัย 28 ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือสอบได้ไหม  ให้เลือกฟังเพลงที่ไม่ค่อยมีเนื้อเพลงหรือเลือกฟังเพลงคลาสสิก
  • นิสัย 29 นอนวันนี้ ตื่นพรุ่งนี้   การจัดเวลาหลับยังเป็นการบริหารเวลา การดูแลตัวเองและเป็นกลยุทธ์แรกสุดที่นำไปสู่ความสำเร็จในทุกด้าน  ระหว่างนอนหลับสมองไม่ได้อยู่นิ่งเฉย มันจะสร้างกระบวนการเชื่อมโยงความรู้เดิมต่าง ๆ เข้ากับความรู้ใหม่  หากเราอดนอนสะสม สภาพสมองเราจะมีไอคิวลดลง  ดังนั้น “นอนวันนี้ ตื่นพรุ่งนี้” หมายถึง การนอนก่อนเที่ยงคืนที่ถือเป็นวันพรุ่งนี้
  • นิสัย 30 จงเรียนหนังสือตอนกลางวัน จงตั้งใจเต็มที่ขณะที่คุณตื่น เมื่อกลับบ้านก็เข้านอนซะ ทำแบบนี้จะมีผลดีต่อตัวเรามากกว่า
  • นิสัย 31 ความคิดบวกเป็นนิสัย ความคิดบวกกับความร่าเริงสดใสส่งอิทธิพลต่อความสามารถด้านการเรียนมาก 
  • นิสัย 32 ยิ่งเรียนยิ่งเก่ง  ถึงเวลาที่เราต้องเปลี่่ยนความคิดมาเป็น “คนเรียนเก่งก็ไม่เท่าไรหรอก พวกเขาแค่เริ่มเร็วกว่าฉันนิดหน่อย ขอเพียงฉันตั้งใจสุด ๆ บ้าง เดี๋ยวก็ไล่ตามพวกเขาทัน”

คำที่ว่า “แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้”  จริงหรือไม่ เราคงต้องพิสูจน์กัน  แต่ไม่มีหรอกค่ะ คำว่าสายไปที่จะฝึกนิสัย สายไปหรือเปล่าหากจะฝึกนิสัย เพราะนิสัยเป็นสิ่งที่ฝึกเฉพาะตอนเด็กไม่ใช่หรือ ขอตอบตรงนี้เลยนะคะว่าไม่ใช่ไ ม่มีคำว่าสายไปสำหรับการฝึกสร้างนิสัยเรียนเก่ง เทียบกับเวลาทั้งชีวิตเวลา 66 วันนั้นสั้นและเล็กจ้อยดังฝุ่นธุ แล้วเราจะไม่ลองลงทุนเวลานิดเดียวเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ผลการเรียนและชีวิตของเราดูหน่อยหรอคะ หากเริ่มฝึกนิสัยนะตอนนี้เราจะพบตัวเราในอีกหนึ่งปีที่เปลี่ยนไปและเมื่อผ่านไป 10 ปีทีนี้เราจะเป็นคนใหม่อย่างสมบูรณ์ได้แน่นอน จงเริ่มเสียตอนนี้แม้จะเป็นเพียงเวลาสั้นๆ แค่นี้การเปลี่ยนแปลงก็เริ่มต้นแล้วและมีโอกาสว่าเราจะทำสำเร็จสูงขึ้น จึงกำหนดการฝึกนิสัยสักประการหนึ่งเริ่มแต่น้อยและใช้ตารางแผนการฝึกควบคู่กันไปคนที่ผัดวันประกันพรุ่งมีแนวโน้มว่า เค้าจะผัดไปเรื่อยเรื่อยเขินคิดแต่ว่าค่อยทำพรุ่งนี้โอกาสเปลี่ยนแปลงลอยหายกันพอดี 

แค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้  หนังสือที่ผู้เขียน Kang Sung Tae เมนเทอร์ด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโซล เกาหลี ได้แนะนำวิธีเรียนเก่งได้ด้วยตนเองแบบไม่กดดัน ด้วยการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้สำเร็จได้อย่างไร พร้อมโปรแกรมฝึกนิสัยให้เป็นคนหัวดีภายใน 66 วัน  

Kang Sung Tae เขียน ; ตรองสิริ ทองคำใส แปล.
Authorคัง, ซองแท
Publishedกรุงเทพฯ : อมรินท์ฮาวทู, 2561
Editionพิมพ์ครั้งที่ 1
Detail183 หน้า ; 21 ซม
Subject
Call No.LB1049 ค6ค 2561

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top