อ่านไวใน 7 วัน เป็นเทคนิคฝึกฝนทักษะการอ่านเร็ว ฉบับรวบรัดใน 1 สัปดาห์

อ่านไวใน 7 วัน
จะช่วยคุณได้ หากคุณต้องอ่านตำราเรียนเล่มหนาเตอะ และเวลาก็มีเพียงน้อยนิด หากคุณมีเวลาเพียงแค่ 7 วัน เทคนิคในหนังสือเล่มนี้ ช่วยคุณได้นะ
และช่วยให้ทันวันสอบด้วยนะ
- แนะนำเคล็ดลับสำหรับการอ่านอย่างรวดเร็ว
- เป็นเรื่องที่ง่ายมากโดยมีส่วนที่คุณต้องฝึกหัดเพิ่มเติม
- เพียงแค่หนึ่งในห้าข้อกลยุทธ์ในหนังสือเล่มนี้เท่านั้นและ
- ส่วนที่เหลือก็ง่ายมากเพราะคุณเคยใช้มันอยู่แล้วค่ะ
มาดูกันว่า เทคนิคการอ่าน ให้เร็วภายใน 7 วันช่วยคุณให้รอดจากการอ่านหนังสือเล่มหนาภายในเวลาที่ไม่เหลือเฟือ

การอ่านให้ไวใน 1 สัปดาห์ เราทำได้อย่างไร
วันอาทิตย์ วันแรกเราจะมาเรียนรู้เทคนิคการอ่านทั้งห้าขั้นตอนค่ะ โดยเทคนิคนี้มีแนวคิดมาจากกระบวนการของการเน้นสิ่งสำคัญและการกำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญออกไป เมื่อเราใช้ระบบการอ่านแบบวิธีนี้ หมายถึงว่าเราจะเน้นไปที่สิ่งสำคัญเพื่อใช้ในการศึกษาและทำจากสิ่งที่ไม่สำคัญออกไป ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการจากหนังสือเล่มนี้หลังจากที่เราได้ทำคำเข้าใจในขั้นตอนที่ 1-5 เรียบร้อยแล้วให้ทดลองเลือกหนังสือที่เราชอบและสนใจมาหนึ่งเล่มและฝึกฝนอ่านโดยใช้เทคนิคอ่านตั้งห้าขั้นตอนโดยอย่าพึ่งไปกังวลถึงเรื่องความเร็วในการอ่านเพราะว่าเรื่องนี้จะอยู่ในหัวข้อต่อไปค่ะ
Prepare : เตรียมความพร้อม คือ ถามตัวเอง 3 คำถามว่า ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ อ่านเล่มนั้นเพื่ออะไร (ตั้งเป้าหมาย) เราต้องการอะไรจากหนังสือเล่มนี้่
Preview : ดูโครงร่างหนังสือ ปก คำนำ สารบัญ บรรณานุกรม ภาพรวมของหนังสือและเนื้อหาน่าสนใจไหม ตรงตามเป้าหมายที่เราต้องการอ่านไหม ตัดเนื้อหาที่มั่นใจว่าไม่ต้องอ่านออกไป เนื้อหาที่ต้องการ และถามย้ำสิ่งที่ต้องการจากหนังสือ
Passive Reading : อ่านแบบผ่าน ๆ เน้นคำสำคัญ อ่านเน้นให้เร็วเข้าไว้และทำความเข้าใจเนื้อหาโดยรวม คือ อ่านแบบ scan ให้จบรวดเดียวให้จบภายใน 30 วินาที หาคำศัพท์โดดเด่นแล้วขีดเส้นใต้ และทำความเข้าใจศัพท์ก่อนอ่านทั้งเล่ม
Active Reading : อ่านสรุปใจความ ด้วย 2 เทคนิค คือ อ่านย่อหน้าแรกของแต่ละบท และอ่านประโยคแรกของทุกย่อหน้าทำ Mind Map
Selective Reading : เลือกอ่านส่วนที่เราสนใจเป็นพิเศษ และถามตัวเองว่าได้ข้อมูลครบตามที่อยากได้หรือยัง ถ้ายังไม่ครบให้กลับไปค้นหา ถ้าครบแล้วให้หยุดอ่านได้

เรียนรู้เทคนิค 5 ขั้น ตอน ได้แก่
- เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเริ่มอ่าน โดยการตั้งคำถาม 3 ข้อ
- ดูเนื้อหาของหนังสือคร่าว ๆ
- อ่านแบบสแกนให้จบภายใน 30 วิ เน้นคำสำคัญ
- สรุปใจความสำคัญ
- เลือกอ่านส่วนที่สนใจเป็นพิเศษ


เรียนรู้วิธีพัฒนาการอ่านเร็วที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
ลดการอ่านออกเสียงในใจโดยการฝึกอ่านโดยใช้นิ้ว ปากกา หรือดินสอจิ้มตัวอักษรและอ่านไปตามตัวอักษรที่ต้องการ
จะช่วยให้เราควบคุมจังหวัะการอ่านให้เร็วขึ้น เพราะมีการนำของสายตาไปยังจุดที่ต้องการ
วันอังคาร เป็นการฝึกเทคนิคการจำสิ่งที่อ่าน ถึอเป็นวันที่สำคัญมากเพราะในวันนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการรวมเทคนิคอันเดียวเข้ากับเทคนิคการเพิ่มความจำค่ะ เมื่อเราอ่านจนถึงตอนท้ายของหน้าหรือของบทหรือของหนังสือของเล่นนั้นเคยไหมที่ควรจะต้องย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่ต้นอีกครั้ง เพราะว่าเราไม่สามารถจำสิ่งที่เราอ่านไปได้ไม่ว่าจะสามารถอ่านได้เร็วแค่ไหนเธอจำมันไม่ได้ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย แล้วมันยังทำให้เสียเวลาอีกด้วยในการจดจำข้อมูลให้ได้เป็นระยะเวลายาวนานจะต้องมีการทบทวนโดยการทบทวนจะต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะมันจะทำให้เรารู้สึกหมดกำลังใจได้ถ้าใช้เวลานานเกินไป ในวันนี้นะคะเราจะเน้นไปที่กระบวนการทำงานของความจำว่ามีการทำงานอย่างไรและมีวิธีการหรือเทคนิคใดที่จะช่วยให้เราสามารถจำสิ่งที่เราอ่านได้อย่างขึ้นใจ
การจำมี 3 ระบบ ( รับ – เก็บ – ค้นหา )
รับ : คือการป้อนข้อมูลเข้าสมอง โดยการอ่านอย่างมีเป้าหมาย วางแผนการอ่าน ตั้งใจอ่านอย่างมีสมาธิ คิดตามสิ่งที่อ่าน ทำความเข้าใจ เชื่อมโยงความจำเก่าและใหม่
เก็บ : สรุปจัดเรียงความสัมพันธ์เก่าและใหม่เข้าด้วยกันเพื่อประทับความจำลงสมอง การจำเป็นภาพ Mind Map ,Short Note , Key word , Highlight เป็นต้น
ค้นหา : คือการใช้ประสาทสัมผัส การใช้จินตภาพเพื่อดึงความจำออกมาใช้

เรียนรู้เทคนิคการจดจำในสิ่งที่คุณได้อ่าน ได้แก่
การจดบันทึกเฉพาะคำสำคัญ (keyword)
จดบันทึกบนที่ว่างในหน้าหนังสือ
จดบันทึกโดยใช้ปากกาสี โดยแทน สีของปากกา 1 สี เท่ากับบันทึก 1 เรื่อง
วันพุธ ฝึกการใช้สายตาเพิ่มความเร็ว ดวงตาของเราเนี่ยทำงานอย่างไรในขณะที่เรากำลังอ่านหนังสือ แม้ความเหนื่อยล้าจะทำให้ความสามารถในการอ่านของเราลดลงก็ตามแต่ถ้าเราพักสายตาอย่างถูกวิธีก็จะทำให้เรามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อ่าน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือพวกเราจะสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้เป็นอย่างดีค่ะ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการอ่านของเราก็คือดวงตาค่ะ สิ่งรบกวนต่างๆจะทำให้เราอ่านได้ไม่สะดวกสบายและจะส่งผลกระทบต่อสมาธิเมื่อเหนื่อยหรือแสงที่ใช้ในการอ่านมีเพียงพอสายตาก็จะล้า ดวงตาของเราปวดมันก็จะส่งผลให้เกิดปวดหัวตามไปด้วย ต่อมาเราก็จะสูญเสียสมาธิและอ่านมากขึ้น เราสามารถอ่านได้ง่ายขึ้นเมื่อเราพักสายตาจากการอ่านมาเป็นเวลานานและแก้ไขนิสัยที่ใช้สายตาที่ผิดวิธีค่ะ


- เรียนรู้เทคนิคการใช้สายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการอ่าน
ด้วยการฝึกอ่านโดยใช้สายตา อ่านจากตรงกลางของกระดาษ แล้วค่อยชำเลืองไปซ้าย – ขวา

- กำหนดเวลาอ่านให้แน่นอน และเหมาะสม โดยประเมินเวลาที่เหลือทั้งหมดว่ามีเท่าไหร่
- เลือกสิ่งที่จำเป็นต้องอ่าน สภาพแวดล้อมการอ่านที่ดี หากข้อมูลไม่พอต้องตั้งคำถามว่าไปหาข้อมูลจากไหน
วันพฤหัสบดี เป็นวันที่ฝึกอ่านภายใต้ความกดดัน
จะเป็นการพิจารณาสิ่งรบกวนการอ่านของคุณค่ะ เช่นเสียงรบกวนจากภายในหรือภายนอก แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ หรือระยะเวลาที่จำกัด ในความคิดของเราเราอยากจะอ่านเฉพาะสิ่งที่เราสนใจและในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด โดยมีระยะเวลาในการอ่านมากเท่าที่เราต้องการและอยากอ่านรเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ในโลกของความจริงชีวิตไม่ง่ายขนาดนั้นบางครั้งเราก็ต้องทนอ่านหนังสือในที่ที่เราไม่ชอบในเวลาและสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับการอ่านและอยู่ภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด รวมทั้งเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นมากมายรอบรอบตัวของเรา เช่นเสียงโทรศัพท์ซึ่งรบกวนประสิทธิผลในการอ่านและทำให้ไม่อยากจดจำเนื้อหาที่อ่านได้ ยิ่งคุณสามารถลดสิ่งรบกวนได้มากเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งมีโอกาสจะประสบความสำเร็จในการอ่านภายใต้ระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดได้มากขึ้นเท่านั้นค่ะ

เรียนรู้เทคนิคกำจัดสิ่งรบกวนในการอ่านเพื่อรักษาสมาธิ ด้วยการ
กำหนดเวลาอ่านให้แน่นอน และเหมาะสม
- เลือกสิ่งที่จำเป็นต้องอ่าน
วันศุกร์ ฝึกตัดสิ่งที่รบกวนในการอ่านออกไป
เราได้อ่านเทคนิคการอ่านเดียวต่างๆ เช่นเทคนิคการอ่าน 5 ขั้นตอน
– เทคนิคการอ่านเร็ว
– เทคนิคการจำในสิ่งที่อ่าน
– เทคนิคการใช้สายตาเพิ่มประสิทธิผลในการอ่าน
– เทคนิคกำจัดเสียงรบกวนในการอ่าน
และในตอนนี้ก็ได้เวลาแล้วที่เราจะต้องประยุกต์เทคนิคเหล่านี้เข้ากับหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อที่เราจะเข้าใจเทคนิคขนาดเดียวได้ดียิ่งขึ้นค่ะ และเราจะทดสอบเทคนิคนี้ในโลกความจริงเราจะได้ทราบว่าเวลาที่เราอ่านจริงเป็นอย่างไรและเราจะเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านของเราได้อย่างไรในชีวิตจริงบางครั้งเราก็มีเวลาน้อยมากในการศึกษาข้อมูลจำนวนมากก่อนที่จะเข้าประชุมหรือการนำเสนอความคิดใดใดซึ่งเราก็จะใช้เทคนิคนี้เพื่อช่วยให้สามารถศึกษาข้อมูลทั้งหมดเท่าที่เป็นไปได้ภายในเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด


เรียนรู้เทคนิคการอ่านหนังสือแต่ละประเภท
- ตัดสิ่งที่รบกวนออกไป
- ฝึกอ่านในที่เงียบ ๆ
- ตั้งรางวัลให้กับตัวเองหากอ่านได้เร็วขึ้น

วันเสาร์ สร้างพรสวรรค์ในการอ่านไว เป็นวันสุดท้ายที่เราจะเรียนรู้การพัฒนาวิธีใหม่ใหม่และนำไปใช้ให้ติดจนเป็นนิสัย เมื่อไรก็ตามที่เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆมันก็จะมีเวลาสำหรับสิ่งที่เราเรียนรู้ว่าเราควรจะไปปฏิบัติอย่างไรกับมัน แต่ถ้าเราไม่ได้ทดลองปฏิบัติเวลาในการเรียนรู้ของเราก็จะไม่ได้ต่อเนื่อง การรับข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากเพียงแต่เราอ่านหนังสือ เข้าเรียนหรือฟังจากเทป แต่เมื่อเราได้เรียนรู้แล้วตอนนี้มันขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะใช้สิ่งที่เราเรียนรู้ได้มากหรือน้อย เราอาจจะเก็บหนังสือเข้าชั้นจนมันสายเกินไป เราจะทำตามหนังสือได้แนะนำไว้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ซึ่งผลก็อาจจะลืมมันหรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับการทำงานหรือการเรียนก็ได้มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการกระทำโดยมันเป็นการตัดสินใจเพียงเสี้ยววินาทีว่า คุณอยากพัฒนาตัวเองให้ดีกว่าเดิมหรือไม่


เรียนรู้ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการอ่านของคุณ
นำเทคนิคนี้ไปใช้กับการอ่านทุกประเภท
ทำติดต่อกัน 21 วัน แล้วเราจะอ่านไวไปตลอดชีวิต
แบ่งเวลาวันละ 20 นาทีฝึกเทคนิคการอ่านที่กล่าวมาทั้งหมด
อ่านต่ออีกมุมมอง ได้ที่นี่
อ่านไวใน 7 วัน = Speed reading in a week / Tina Konstant ; โอฬาร สุนทรภูษิต, ผู้แปล ; ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์, ผู้เรียบเรียง.เลขหมู่ LB1050.54ก51อ 2549 | |
Author | กอนสแตนท์, ตีนา |
Published | กรุงเทพฯ : บิสคิต, 2549 |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 1 |
Detail | 162 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม |
Subject | |
Added Author | Konstant, Tina |
ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์ | |
โอฬาร สุนทรภูษิต |