ห้องประชุมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ห้องประชุมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอายุครบ 30 ปี ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 นี้ จึงขอนำเสนอชื่อ รูปแบบของ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ห้องประชุมนับเป็นส่วนประกอบสำคัญขององค์กรอีกประการ เนื่องจากในการดำเนินกิจกรรมภายในองค์กร ห้องประชุมถือเป็นพื้นที่สำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนให้กิจกรรมเหล่านั้นดำเนินไปได้ ซึ่งในแต่ละองค์กรมีพันธกิจและรูปแบบการดำเนินงานที่ต่างกัน ดังนั้นรูปแบบห้องประชุมจึงต่างกันเพื่อตอบสนองต่อการดำเนินงานแต่ละประเภท เช่นเดียวกัน ห้องประชุมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีหลากหลายรูปแบบ  ทั่วไปแล้วรูปแบบการจัดห้องประชุมมีด้วยกันประมาณ 7 ประเภท คือ 1. ห้องประชุมผู้บริหาร (Board Room)  เป็นห้องประชุมสำหรับการตัดสินใจและแลกเปลี่ยนความเห็นของผู้บริหาร โดยผู้ใช้งานภายในห้องส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับสูงขององค์กร  2. ห้องประชุมแบบปฏิบัติการ (War Room) เป็นห้องประชุมที่ใช้ในการวางแผนและตัดสินใจในการบริหารงานหรือสถานการณ์พิเศษ ภายในห้องมีระบบการเชื่อมต่อข้อมูลหลากหลายช่องทาง และสามารถแสดงผลของข้อมูลต่าง ๆ ได้พร้อม ๆ กัน 3. ห้องประชุมอเนกประสงค์  (Multipurpose Meeting Room) ห้องประชุมอเนกประสงค์เป็นห้องประชุมที่ออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนการจัดห้องตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานแต่ละครั้ง 4. ห้องประชุมแบบคอมมานด์คอนโทรลรูม (Command Room) เป็นห้องติดต่อ ควบคุม และ สั่งการ (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห้องประชุมแบบปฏิบัติการ (War Room) 5. ห้องประชุมแบบสัมมนา (Seminar Room) เป็นห้องที่ใช้สำหรับการอบรมและบรรยาย ห้องประชุมประเภทนี้จะออกแบบเพื่อให้ความสนใจอยู่ที่บริเวณเวทีหรือด้านหน้าห้องประชุมเพื่อตอบสนองการดำเนินกิจกรรมขณะบรรยาย  6. ห้องประชุมออดิทอเรี่ยม (Auditorium) เป็นห้องประชุมยกระดับขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับผู้เข้าประชุมจำนวนมาก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีจำนวนพนักงานจำนวนมาก และ 7. ห้องประชุมอัจฉริยะ (Smart Conference Room) เป็นห้องประชุมที่นำเทคโนโลยีมาออกแบบ เพื่อปรับเข้ากับพฤติกรรมการประชุมที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การใช้ Cloud ในการเก็บข้อมูล หรือ การเชื่อมต่อระบบการนำเสนอข้อมูลผ่าน ระบบ Beacon ขนาดของห้องควรสมดุลกับเทคโนโลยีและรูปแบบการประชุม เช่น การใช้เทคโนโลยี interactive whiteboard อาจไม่เหมาะกับห้องประชุมขนาดใหญ่ แต่เหมาะสำหรับการประชุมทีมขนาดเล็ก เป็นต้น

ส่วนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีห้องประชุมหลากหลายรูปแบบ เพื่อสนับสนุนการประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมที่หลากรูปแบบ  มาทำความรู้จัก ห้องประชุมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีชื่อห้องอะไรบ้าง ตั้งอยู่ในอาคารหรือบริบทใดภายในเขตมหาวิทยาลัย 

อาคารไทยบุรี

อาคารไทยบุรี หรืออาคาร 1,500 เป็นอาคารสำคัญและใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัย เป็นที่สถานที่สำหรับจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร สถานที่รับนักศึกษาหรือนักศึกษามาติดต่อกับศูนย์บริการการศึกษา มีห้องประชุมใหญ่ ขนาดความจุ 1,500 ที่นั่ง 

ห้องประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี หรือห้อง 1,500 ที่นั่ง เป็นห้องประชุมขนาด 50 ที่นั่ง เป็นห้องประชุมใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัย ใช้รองรับการประชุม สัมมนาที่มีคนจำนวนมาก และใช้สำหรับการจัดสอบ หรือกิจกรรมอื่น ๆ รวมถึงพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วย ตั้งอยู่ในไทยบุรี ชื่อมาจากชื่อตำบลที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และเป็นชื่อเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งมีที่ตั้ง ณ บริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย 

อาคารบริหาร

อาคารบริหาร  เป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยอีกหลัง เป็นที่ทำการของสภามหาวิทยาลัยและสำนักงานอธิการบดี มี 3 ชั้น และมีห้องประชุมสำคัญ 2 ห้องคือ ห้องประชุมโมคลานและห้องประชุมตุมปัง

ห้องประชุมโมคลาน เป็นห้องประชุมขนาด 50 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในอาคารบริหาร ชั้น 2  ถือเป็นห้องประชุมหลักของมหาวิทยาลัยใช้สำหรับการประชุม อบรม สัมมนาและกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

ห้องประชุมตุมปัง เป็นห้องประชุมขนาด 72 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในอาคารบริหาร ชั้น 3  ถือเป็นห้องสำหรับจัดกิจกรรมทั้งการประชุม สัมมนา หรืออบรมต่าง ๆ ที่มีคน ไม่เกิน 70 คน 

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นอาคารให้บริการห้องสมุด แต่ภายในยังมีห้องประชุมสำหรับเป็นห้องประชุม สัมมนาและจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัย มีห้องประชุม 4 ห้อง เรียกห้องประชุมว่า ห้องประชุมระเบียงบรรณ 1-4 ดังนี้

ห้องประชุมระเบียงบรรณ 1 เป็นห้องประชุมขนาด 48 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1  ถือเป็นห้องประชุมหลักของอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา นอกจากเป็นห้องประชุมแล้ว ยังสามารถใช้งานการประชุมแบบ Conference หรือการประชุมทางไกล และสำหรับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

ห้องประชุมระเบียงบรรณ 2 เป็นห้องประชุมขนาด 25 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ถัดจากระเบียงบรรณ 1 โต๊ะประชุมเป็นรูปตัว U และไม่สามารถปรับเป็นแบบอื่นได้เนื่องจากสถานที่คับแคบ  บางครั้งยังใช้สำหรับการเรียนการสอนด้วย ภายในห้องประชุมจะมีจอรับภาพทั้ง 3 ด้าน เพื่อความสะดวกของผู้เข้าประชุมที่นั่งแต่ละด้าน

ห้องประชุมระเบียงบรรณ 3 เป็นห้องประชุมขนาด 12 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ถัดจากระเบียงบรรณ 2 ใช้สำหรับการประชุม ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่เกิน 12 คน มีเครื่องคอมพิวเตอร์และจอรับภาพสำหรับรองรับการประชุม จำนวน 1 ชุด

ห้องประชุมระเบียงบรรณ 4 เป็นห้องประชุมขนาดประมาณ 10 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 2 โซนปฏิบัติงานของพนักงาน เน้นใช้รองรับการประชุมภายในหน่วยงานมากกว่าภายนอก  และบางครั้งใช้สำหรับการอบรมและการประชุมออนไลน์ได้ด้วย 

ห้องประชุม อาคารวิชาการ

อาคารวิชาการมีห้องประชุมหลายขนาดแตกต่างกัน และจะอยู่ในอาคารต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เป็นห้องประชุมที่เน้นใช้งานสำหรับการจัดประชุมสัมมนา การเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน เน้นกิจกรรมของสำนักวิชาเป็นหลัก  มีห้องประชุมดังนี้

1. อาคารวิชาการ 1 มีห้องประชุม 2 ห้องคือ ห้องประชุม 1 [40 ที่นั่ง] | ห้องประชุม 2 [20 ที่นั่ง]   

2. อาคารวิชาการ 5 มีห้องประชุม 4 ห้องคือ ห้องประชุม 1 (60 คน) | ห้องประชุม 2 (20 ที่นั่ง) | ห้องประชุมภาษาพาสาร (30 ที่นั่ง) | ห้องศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (17 ที่นั่ง) 

3. อาคารวิชาการ 7 มีห้องประชุมเพียงห้องเดียว คือ  ห้องประชุมบานบุรี 

4. อาคารวิชาการ 8 มีห้องประชุม 3 ห้อง คือ ท่าศาลาภิรมย์ [60 ที่นั่ง] | ลานสกาเกษม (ชั้น 2) [20 ที่นั่ง] | สิชลสำราญ (ชั้น 1) [20 ที่นั่ง]

5. อาคารวิชาการ 9 มีห้องประชุม 3 ห้องคือห้องประชุม 101 [40 ที่นั่ง] | ห้องประชุม 201 [20 ที่นั่ง]

ห้องประชุม อาคารวิชาการ 7 เรียกว่าห้องประชุมบานบุรี จำนวน 20 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในาคารวิชาการ 8 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์  ใช้รองรับการประชุม และกิจกรรมของหน่วยงาน

ห้องประชุมท่าศาลาภิรมย์ เป็นห้องประชุมขนาดประมาณ 60 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในอาคารวิชาการ 8 สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์  ใช้รองรับการประชุม และกิจกรรมของหน่วยงาน

ห้องประชุมอาคารสหกิจศึกษา

ห้องประชุมศูนย์สหกิจศึกษา (ชั้น 1) จำนวน 10  ที่นั่ง  เป็นห้องประชุมที่เน้นใช้งานสำหรับการประชุมนักศึกษา การเสนอผลงาของนักศึกษา และจัดประชุม สัมมนา และกิจกรรมต่าง ๆ 

ห้องประชุมเขาหลวง (ชั้น 2) จำนวน 75 ที่นั่ง | ห้องประชุมศูนย์กิจการนานาชาติ (ชั้น 2) จำนวน 25 ที่นั่ง | ห้องประชุมสหกิจศึกษา (ชั้น 1) จำนวน 10  ที่นั่ง 

ห้องประชุมเขาหลวง  มีขนาดความจุ 75 ที่นั่ง ลักษณะโต๊ะประชุมเป็นรูปตัว U ตั้งอยู่ชั้น 2 ของอาคารสหกิจศึกษา  รองรับการประชุม  การประชุมสื่อสารทางไกล การอบรม สัมมนา

ห้องประชุมศูนย์กิจการนานาชาติ (ชั้น 2) จำนวน 25 ที่นั่ง  ใช้สำหรับการอบรมและการประชุมออนไลน์ได้ด้วย 

ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม

ห้องประชุมของอาคารอาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีห้องประชุมหลายห้องได้แก่ ห้องประชุม Innovation Hub (20 ที่นั่ง) | ห้องประชุม 2 และ 3 (30 ที่นั่ง) | ห้องประชุม 4  (88 ที่นั่ง) 

ห้องประชุมอาคารสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

อาคารสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ห้องส่วนใหญ่เป็นห้องเรียนแบบ Smart Classroom ขนาดต่าง ๆ แต่ห้องที่มีขนาดใหญ่และรองรับการประชุม หรือกิจกรรมของมหาวิทยาลัยนั้น มีเพียงห้องประชุม

ห้องประชุมศรีธรรมราช  ชั้น 3 ขนาด 266 ที่นั่ง มีลักษณะเป็นห้องประชุมแบบออดิทอเรียม (Auditorium) รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ลักษณะห้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเวทีพร้อมเก้าอี้เล็คเชอร์  ที่นั่งสบายพับเก็บได้ ติดกับพื้นยกระดับเป็นขั้นบันได และใช้วัสดุกันเสียงซับเสียงสำหรับผนังและออกแบบฝ้าเพดาน ช่วยกันเสียงรบกวน ลดเสียงสะท้อนได้ดี

เหมาะสำการประชุม การบรรยาย สัมมนา การเรียนการสอน และกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก กันเสียงจากภายในออกสู่ภายนอกได้ดี และด้านหน้าของห้องประชุมยังมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมนอกเหนือจากห้องประชุมกว้างขวาง 

ห้องประชุมอาคารโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์

ห้องประชุมของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยชลักษณ์นั้น มีห้องประชุม อยู่ในอาคาร A จำนวน 2 ห้อง คือ ห้องประชุม ขนาด 72 ที่นั่ง อยู่ชั้น 2  ชื่อว่า ห้องประชุมช่อประดู่ และห้องประชุมขนาด  210 ที่นั่ง ชั้น 3 ชื่อว่า ห้องประชุมหัวตะพาน

ห้องประชุมช่อประดู่  ตั้งอยู่ในอาคาร A ขนาด 72 ที่นั่ง อยู่ชั้น 2  

ห้องประชุมหัวตะพาน เป็นห้องประชุมขนาด  210 ที่นั่ง ชั้น 3

Hits: 380

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกดแชร์ด้วยนะคะ

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top