นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผู้ร่วมสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผู้ร่วมสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเป็นพนักงานคนแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช หรือที่เราเรียกกันว่า คุณหมอ หรืออาจารย์หมอของนักศึกษา เป็นผู้มีส่วนร่วมหลักอีกคนหนึ่งในการก่อร่างสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2535-2544 ในช่วง 10 ปีแรกในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แห่งนี้ เมื่อวันเวลาผ่านไป 30 ปีของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่านมีมุมมอง มีแนวคิด และมีข้อคิดเห็นต่อการเติบโตและการก้าวเดินของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไร

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช หรือที่เราเรียกกันว่า คุณหมอ หรืออาจารย์หมอของนักศึกษาที่มีคุณหมอดูและใกล้ชิดในช่วง 4 ปีแรกของการรับนักศึกษา เป็นผู้มีส่วนในการสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่ปี 2535-2544 ในช่วง 10 ปีแรกในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แห่งนี้ 

  • อดีตรองอธิการบดีฝ่ายปฏิบัติการ  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2535 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
  • อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • เป็นผู้ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานสายวิชาการคนแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ในตำแหน่งอาจารย์ โดยได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นอาจารย์ สังกัดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ปัจจุบันคือสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์) เริ่มปฏิบัติงานวันแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2535 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช

รักวลัยลักษณ์

ฝากรัก รักวลัยลักษณ์คงมั่น ฝากฝัน รักวลัยลักษณ์ไม่เปลี่ยนแปร
ฝากใจ วลัยลักษณ์รักแน่แท้ ติดตรึงทราบซึ้งดวงแด มีแต่ความรักเกลียวกลม
ฝากรัก รักวลัยลักษณ์ไม่รู้สิ้น ฝากดิน รักวลัยลักษณ์รินรื่นรมย์
ฝากใจ วลัยลักษณ์รักชื่นชม ฝากเดือนฝากดาวชั้นพรหม ห่มใจให้อุ่นนิรันดร์
*ร่มเย็นเห็นอยู่ประดู่ร่มใจ ชูช่อดอกใบเพลินใจทุกคืนทุกวัน
สีแสด-ม่วง ฝังใจในห้วงผูกพัน จอภอพระเกียรติคู่กัน ดั่งมิ่งขวัญเพริศพราย
ฝากรัก รักวลัยลักษณ์เลอค่า ฝากฟ้า รักวลัยลักษณ์ไม่กลับกลาย
ฝากใจ วลัยลักษณ์รักไม่คลาย ฝากรอย ประทับในใจ วลัยลักษณ์รักเหลือเกิน

จากใจนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผมรู้สึกว่าด้วยความรู้สึกที่รู้สึกมีและยังคงมีอยู่  ความรักจะอยู่กับความผูกพัน  เมื่อนึกถึงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แล้ว ผมมี 4-5 ประเด็นที่รู้สึกผูกพัน

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช

ประเด็นที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยแห่งนี้เกิดขึ้นจากองค์ประกอบพร้อม 2 – 3 อย่าง คือ รัฐหรือประเทศมีแผน ที่จะกระจายการศึกษาระดับสูงไปสู่ภูมิภาคมากขึ้นจากเดิมที่มีภาคละหนึ่งที่เป็นมหาวิทยาลัยหลัก  และต้องการจะให้มีอีกสักแห่งที่เป็นแบรนด์นิว  คือมหาวิทยาลัยวลัยลัยลักษณ์ ถือว่าเป็นไปตามแผน 

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช

คนนครศรีธรรมราชมีความปรารถนา และต้องการมองว่าองค์กรวิชาการจะเป็นองคาพยพสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา มาหนุนเสริมและการบริหารจัดการการ ความรู้การเกษตร การประกอบอาชีพ ดังนั้นท้องถิ่นต้องการส่วนนี้ด้วย

คณะกรรมการศึกษาพื้นที่
กรรมการสภามหาวิทยาลัย

ประการที่สาม  ในยุคที่เกิดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีมิติของการบริหารจัดการที่ต้องปรับเปลี่ยน  ประเทศไทยเกิดระบบความคิดใหม่ที่เรียกว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่ส่วนราชการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นรูปแบบนั้น  ในวันนี้ที่ผ่านมา 30 ปีเท่าที่ติดตามเท่าที่รับฟัง จนถึง ณ วันนี้มหาวิทยาลัยมีความก้าวหน้า เช่น ข้อมูล Ranking รวมทั้งด้านงานวิจัย  ด้านบริการวิชาการ ด้านสุขภาพ และด้านการเรียนการสอน  ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยได้ก้าวมาสู่อีกจังหวะหนึ่งของการที่จะก้าวต่อไป ความคิดถึงในฐานะที่เคยเรียนและเคยอยู่  และที่สำคัญสำหรับผม คือในช่วง 10 ปีแรกผมเข้าไปร่วมสร้างมหาวิทยาลัยด้วย ท่านอาจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ท่านเดินทางมายังนครศรีธรรมราช และผมได้รับการแต่งตั้งจากท่านนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุนเข้าไปเป็นกรรมการกับท่านอาจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ในเรื่องการพัฒนานักศึกษา ท่านบอกว่ามาช่วยกันมั๊ย ผมก็เลยเข้ามาร่วมด้วย  และในฐานะผู้ร่วมสร้าง ผมมีอีก 2-3 ประเด็น 

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช

10 ปีแรกที่อยู่ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ร่วมกับประชาคมชาวมหาวิทยาลัย  ซึ่ง ณ วันนั้น จะประกอบไปด้วย 4- 5 ส่วน คือ

  1. คณะเจ้าหน้าที่และคณาจารย์
  2. ฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยมหาวิทยาลัย
  3. ผมใช้คำว่าชาวนครศรีธรรมราชทั้งมวลที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งชาวบ้านที่ในถิ่นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช

ในช่วงนั้น  มีการขับเคลื่อนในการร่วมมือที่น่าสนใจ  ช่วงนั้นผมไม่แน่ใจว่าถึงวันนี้คติเหล่านี้  จะยังมีการใช้อยู่หรือไม่ เช่น มหาวิทยาลัยนี้นะครับจะเป็น “ประภาคารแห่งปัญญา”  ผมว่าคำนี้เพราะมากเลย

ประภาคารแห่งปัญญา คือเป็น lighthouse เป็นหอคอยที่จะสาดแสงแห่งความรู้สู่ผู้คน

ที่ใช้คำว่าเป็นหลักในถิ่น แล้วก็เป็นเลิศสู่สากล  คำนี้เป็นคำที่เพราะมาก  แล้วคำนี้มาจากไหน ไม่ใช่มาจากใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้เขียนและเป็นคนกำหนด แต่มาจากการช่วยกัน  ช่วยกันคิด ช่วยกันแต่ง  แล้วก็ช่วยกันปรับ  เรามีผู้รู้เรื่องของภาษามาช่วยเติมให้ไพเราะ  เป็นประภาคารแห่งปัญญา  เป็นหลักในถิ่นแล้วก็เป็นเลิศสู่สากล  การเป็นหลักในถิ่นเป็นได้ในระดับที่ไม่น้อยเลย  เช่น เรื่องธนาคารปูม้า และอื่น ๆ 

อีกคำหนึ่ง  ต้องยกให้ท่านศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นเรียกว่าเป็นผู้ก่อตั้งนะครับ  แล้วผมจะเข้าไปช่วยกัน เข้าใจว่า บัณฑิตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่านใช้คำว่าจะเป็น “ผู้เรืองปัญญา”  คำว่า เรืองปัญญา คือรู้  รู้แล้วก็สามารถเอามาใช้ได้  จะมีชุดคำที่ผมคิดถึงวลัยลักษณ์ คือ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผมครุ่นคิด และระลึกถึงมหาวิทยาลัยที่ตัวเองเคยปลุกปล้ำเมื่อสิบปีแรก

ก่อนที่จะแสดงความยินดีนะครับต่อมหาวิทยาลัย ผมคิดว่าตามที่กล่าวมาแล้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้เกิดขึ้นจากเจตจำนงของรัฐ  ของประชาชน และประชาคมและผู้คนชุมชนท้องถิ่น  รวมทั้งผู้ปกครองที่ส่งลูกส่งหลานมาเรียนด้วยความไว้วางใจ

ความยินดีที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความยินดีด้วย  สำหรับผมขอแสดงความยินดีเมื่อได้ข่าวว่ามีความสำเร็จ  และได้ยินว่าปัญหาอุปสรรคหรือข้อแย้งต่าง ๆ คลี่คลายและผ่านไปด้วยดี สำหรับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ผมยินดีมากนะครับหากว่าพันธกิจทั้ง 4 ประการที่มหาวิทยาลัยได้ย้ำไว้ประสบความสำเร็จครบองค์ 

ความเป็นเลิศ  การสอน  การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  และการเป็นหลักในการช่วยพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมคิดว่ามหาวิทยาลัยมาตั้งอยู่นครศรีธรรมราช  เรียนแล้วว่ามหาวิทยาลัยนี้ไม่ได้เกิดแบบมาจากข้างบน  แต่เกิดจากความต้องการของชาวบ้าน ชาวบ้านได้ร่วมกันไม่เพียงแค่การรณรงค์ในการทำยังไงให้ที่ตั้งของมหาลัยลุล่วงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ  ต้องทราบนะครับว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านท่าศาลาทุ่มเทกันเหลือเกิน ตอนที่เราไปทำงานกันนะครับ  แล้วก็สละยอมย้ายบ้านย้ายเรือนกันเพื่อให้ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น หรือแม้กระทั่งชาวเมืองนครก็เข้ามาช่วยกันอย่างเต็มที่

ผมเองเป็นแค่คนกลางที่เชื่อมโยงทั้งทุกองคาพยพของเมืองนี้ แม้กระทั่งบ้านผมเอง พ่อ แม่ น้า พี่ น้อง ขาดเหลืออะไร เราหาเงินให้มหาวิทยาลัยเพื่อที่จะทำจนสำเร็จ  เพราะฉะนั้นความยินดีที่ผมอยากแสดงก็คือ

ตั้งมั่นในระดับวิชาการที่ดี  ระบบแข็งแรงแล้ว  มาเติมอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องของการเป็นหลักในถิ่น

มีความยินดีที่จะมีกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในฐานะที่ได้ขับเคลื่อนมาถึงระดับนี้ ผมคิดว่าจากนี้ไปนอกเหนือจากเรื่องของชุมชน ท้องถิ่น  แล้วก็นำความรู้ไปให้กับชาวบ้านและจะประสบความสำเร็จในเรื่องของงานวิชาการแล้ว  อีกเรื่องนึงที่ท้าทายมากก็คืออนาคตของการศึกษาไทย  การศึกษาโลกเปลี่ยนใหญ่  มหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไรกับต่อการเปลี่ยนผ่านจังหวะใหญ่ ๆ นี้ รวมทั้งมีโควิดเข้ามาด้วย  นักศึกษาผมเชื่อว่าเปลี่ยนหมด  การเรียนรู้ต้องปรับปรุงกันครั้งใหญ่ แล้วก็ผู้ที่จะเป็นแหล่งการบริหารจัดการและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ชั้นสูง อย่างเช่น วลัยลักษณ์ต้องปรับเยอะมาก  ถามว่าจะปรับยังไง

ผมจะยินดีมากเลยหากมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม มีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่งแล้วในขณะนี้  แล้วก้าวข้ามการเปลี่ยนผ่านรอบนี้ได้  ซึ่งเชื่อว่าทุกท่านรู้อยู่แก่ใจว่าเปลี่ยนใหญ่แน่  

อีก 10 ปีข้างหน้าจะยากยิ่งขึ้นกว่า 30 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน แล้วก็ไม่ใช่เพียงแค่การจัดการศึกษา จริง ๆ แล้วความเชื่อมโยงกับสังคมซึ่งมีทั้ง local มีทั้ง global มีทั้ง virtual  มีทั้งจับต้องได้ มีทั้งจับต้องกับจับต้องไม่ได้  ผมคิดว่าต้องปรับใหญ่ คงจะมีความยินดียิ่งที่จังหวะ 30 ปีนี้ไม่ได้มาแค่ยินดีที่เราสำเร็จ แต่เป็นจังหวะที่เรายินดีแล้วเอาความสำเร็จที่มีอยู่ ณ วันนี้ ก้าวต่อไปสำเร็จยิ่งขึ้น แล้วอาจจะไม่ได้คุยกันแค่ 30 ปีแล้ว แต่ต้องคุยกัน 3 ปี 5 ปี

นี่คือจากใจของนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช อดีตผู้ร่วมสร้าง ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จากใจของผู้ที่มีความรัก ความผูกพันกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมีมุมมอง ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าต่อใจ ต่อการเติบโตก้าวหน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ต่อไปในอนาคตข้างหน้าอย่างมุ่งมั่น

วิดีโอสัมภาษณ์ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช เนื่องในโอกาสครบรอบสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 30

ขอบพระคุณนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ที่อนุญาตให้นำคำสัมภาษณ์มาเป็นร้อยเรียงเป็นข้อความ และขอบคุณส่่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่จัดทำคลิปสัมภาษณ์นี้ เนื่องในโอกาสครบรอบสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 30

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top