- กลาง) ท่าราหูจับจันทร์ หรือท่าเขาควาย
- (ซ้าย-ขวา) ท่ากินนร หรือกินนรรำ (ท่าขี้หนอน) ท่าฉากน้อย
ท่ารำโนรา ศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้
ท่ารำของโนรา ที่เป็นท่าแบบ หรือท่าหลัก สืบได้ไม่ลงรอยกัน เพราะต่าง ครูต่างตำรากันและเนื่องจากสมัยก่อนผู้ประดิษฐ์ ท่าเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ ท่ารำของโนราที่ ต่างสายตระกูลและต่างสมัยกันจึงผิดแปลกแตก ต่างกัน แม้บางท่าที่ชื่ออย่างเดียวกัน บาง ครูบางตำราก็กำหนดท่ารำต่างกันไปท่ารำที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวมได้จากคำชี้แจงของจง ภักดี (ขาว) ผู้เคยเล่นละดรชาตรีอยู่ ที่เมืองตรังในบทพระนิพนธ์ตำนานละครอิเหนา ว่ามี 12 ท่าดังนี้
- ท่าแม่ลาย หรือท่า แม่ลายกนก
- ท่าผาลา (ผา หลา)
- ท่าลงฉาก
- ท่าจับ ระบำ
- ท่ากินนร หรือกินนรรำ (ท่าขี้หนอน)
- ท่าฉากน้อย
- ท่าราหูจับจันทร์ หรือท่าเขาควาย
- ท่า บัวแย้ม
- ท่าบัวบาน
- ท่าบัวคลี่
- ท่าบัวตูม
- ท่าแมงมุมชักใย
เหล่านี้สืบได้ว่าเป็นท่าที่เรียกต่างกันออกไปก็มี แตกต่อเป็นท่าย่อย ๆ ออกไปก็มี เช่น ท่าแม่ลาย บางตำราเรียก ท่าเทพนม (คือ แม่ของลายไทย) แตกต่อเป็นท่าเครือวัลย์ บ้าง เป็นท่าพรหมสี่หน้าบ้าง หรือท่าลงฉาก บางครูแตกย่อยเป็นท่าสอดสร้อย เป็นต้นท่ารำ หลักของโนรายัง ปรากฏในบทครูสอน บทสอน รำ และบทท่าปฐม ซึ่งบทเหล่านี้จะประกอบด้วยท่าต่าง ๆ แตกต่างกันไป และเมื่อต่างครูต่างประดิษฐ์ ท่ารำของชื่อท่านั้น ๆ ก็จะผิดแปลกกัน เช่น ท่าแมงมุมชักใย บางครู ยืนรำ ใช้มือเลียนท่าแมงมุมชักใย บาง ครูรำแบบ ตัวอ่อนแอ่นหลังแล้วม้วนตัวลอด ใต้ขา เป็นต้นครูโนราสมัยต่อ ๆ มาคงคิด ประดิษฐ์ ท่ารำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีจำนวนท่า และชื่อท่าเพิ่มขึ้น และแตกต่างกันเพราะต่าง ครูต่างตำรากัน เช่นท่ารำที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวบรวมได้จากที่ครูโนราห์ชาตรีเมืองนครศรีธรรมราชจำไว้ได้ และทรงรวมไว้ ในตำนานละครอิเหนาอีกสำนวนหนึ่งเป็นดัง นี้
ท่ารำต่าง ๆ ที่คิดประดิษฐ์ ขึ้นจะเห็นว่า เกิดจากสิ่งบันดาลใจต่างกัน ส่วนใหญ่ได้จากการสังเกตธรรมชาติ เช่น ชะนีร่ายไม้ กวางโยน ตัว พระจันทร์ทรงกลด ได้จากจิตรกรรมก็มี เช่น แม่ลายกนก เครือวัลย์ จากดุริยางคศิลป์ก็ มี เช่น สีซอสามสาย จากวรรณคดีก็มี เช่น พระรถโยนสาร รามาน้าวศิลป์ พระลักษมณ์แผลงศรได้จากวิถีการดำเนินชีวิตก็มี เช่น ช้า นางนอน พิสมัยเรียงหมอน ฯลฯ

ภายหลังได้มีการประดิษฐ์ท่ารำโนราที่เป็นหลัก ๆ นั้นเมื่อแกะออกมารวมประมาณ 83 ท่ารำ ดังนี้ (จริยา รัตนพันธุ์ และ ปฏิภาณ แก้วหนู, 2565)
- ตั้งต้นเป็นประถม
- ถัดมาพระพรหมสี่หน้า
- สอดสร้อยห้อยเป็นพวงมาลา
- เวโหนโยนช้า
- ให้น้องนอน
- พิสมัยร่วมเรียง
- เคียงหมอน
- ท่าต่างกัน
- หันเป็นมอน
- มรคาแขกเต้าบินเข้ารัง
- กระต่ายชมจันทร์
- จันทร์ทรงกลด
- พระรถโยนสาส์น
- มารกลับหลัง
- ชูชายนาดกรายเข้าวัง
- กินนรร่อนรำ
- เข้ามาเปรียบท่า
- พระรามาน้าวศิลป์
- มัจฉาล่องวาริน
- หลงใหลไปสิ้นงามโสภา
- โตเล่นหาง
- กวางโยนตัว
- รำยั่วเอแป้งผัดหน้า
- หงส์ทองลอยล่อง
- เหราเล่นน้ำ
- กวางเดินดง
- สุริวงศ์ทรงศักดิ์
- ช้างสารหว้านหญ้า
- ดูสาน่ารัก
- พระลักษณ์แผลงศรจรลี
- ขี้หนอนฟ้อนฝูง
- ยูงฟ้อนหาง
- ขัดจางหยางนางรำทั้งสองศรี
- นั่งลงให้ได้ที่
- ชักสีซอสามสายย้ายเพลงรำ
- กระบี่ตีท่า
- จีนสาวไส้
- ชะนีร่ายไม้
- เมขลาล่อแก้ว
- ชักลำนำ
- เพลงรำแต่ก่อนครูสอนมา
- ท่าสิบสอง
- พนมมือ
- จีบซ้ายตึงเทียมบ่า
- จีบขวาตึงเทียมบ่า
- จับซ้ายเพียงเอว
- จีบขวาเพียงเอว
- จีบซ้ายไว้หลัง
- จีบขวาไว้หลัง
- จีบซ้ายเพียงบ่า
- จีบขวาเพียงบ่า
- จีบซ้ายเสมอหน้า
- จีบขวาเสมอหน้า
- เขาควาย
- บทครูสอน
- ครูเอยครูสอน
- เสดื้องกร
- ต่อง่า
- ผูกผ้า
- ทรงกำไล
- ครอบเทริดน้อย
- จับสร้อยพวงมาลัย
- ทรงกำไลซ้ายขวา
- เสดื้องเยื้องข้างซ้าย
- ตีค่าได้ห้าพารา
- เสดื้องเยื้องข้างขวา
- ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง
- ตีนถับพนัก
- มือชักแสงทอง
- หาไหนจะได้เสมือนน้อง
- ทำนองพระเทวดา
- บทสอนรำ
- สอนเจ้าเอย
- สอนรำ
- รำเทียใบ่า
- ปลดปลงลงมา
- รำเทียมพก
- วาดไว้ฝ่ายอก
- ยกเป็นแพนผาหลา
- ยกสูงเสมอหน้า
- เรียกช่อระย้าพวงดอกไม้
- โคมเวียน
- วาดไว้ให้เสมือนรูปเขียน
- กระเชียนปาดตาล
- พระพุทธเจ้าห้ามมาร
- พระรามจะข้ามสมุทร
อ้างอิง
จริยา รัตนพันธุ์ และ ปฏิภาณ แก้วหนู. ศูนย์บรรณสารเเละสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2565). ท่ารำมโนราห์, 9 กันยายน 2565. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/275644