ชวนอ่าน เพราะความรู้เกิดขึ้นง่ายจากการอ่าน
Content for Longlife Learning

       คลองสุเอซ หรือ Suez Canal กำลังมีการพูดถึงกันอย่างมาก ชวนอ่าน ถึงความเป็นมา ประวัติ และความสำคัญกันค่ะ  คลองสุเอช อยู่ในประเทศอียิปต์ เป็นคลองที่มนุษย์ขุดขึ้นในอียิปต์ แล้วเสร็จตั้งตั้งแต่ 152 ปีก่อน เพื่อหวังย่นระยะทางในการเดินทางทางเรือระหว่างเอเชีย-ยุโรป ปัจจุบัน คลองสุเอซ ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าที่คับคั่งที่สุดในโลก ซึ่ง 10 อันดับ ได้แก่

  1. ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ถือเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในจีน และยังเป็นท่าเรือขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์อัตโนมัติแห่งแรกในประเทศจีน และรัฐบาลจีนมีนโยบายยกระดับให้เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือระดับโลกในปี 2020 นี้อีกด้วย
  2. ท่าเรือสิงคโปร์ รองรับการชิปปิ้งสินค้าได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้
  3. ท่าเรือเซินเจิ้น ประเทศจีน ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งรวมความทันสมัย เทคโนโลยีและวิทยาการขั้นสูงเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคม การขนส่งโลจิสติกส์ทั้งทางทะเลและอากาศทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อเขตชนบทของจีนไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก หรือเรียกได้ว่าเป็น Gateway ไปยัง Pearl River Delta และฮ่องกง
  4. ท่าเรือหนิงโป-โจวชาน ประเทศจีน เป็นเมืองท่าที่สำคัญของจีนมากว่า 2,000 ปี หรือที่ผู้คนนิยมเรียกว่า ‘เส้นทางสายไหม’
  5. ท่าเรือกว่างโจว ประเทศจีน ถือเป็นท่าเรือหลักของภูมิภาค Pearl River Delta โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ดเป็นเขตอุตสาหกรรมและสินค้าทางการเกษตร
  6. ท่าเรือปูซาน เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี เป็นท่าเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศญี่ปุ่น
  7. ท่าเรือฮ่องกง เป็นท่าเรือที่มีการขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก อีกทั้งเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจโลจิสติกส์ในระดับ World Class สามารถเชื่อมโยงกับจุดหมายปลายทางกว่า 470 แห่งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างสะดวกสบาย
  8. ท่าเรือชิงเต่า ประเทศจีน เป็นท่าเรือสำคัญในการขนส่งระหว่างประเทศ และเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศจีน
  9. ท่าเรือเทียนจิน ประเทศจีน เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีน เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียกลางและตะวันตกอีกด้วย
  10. ท่าเรือเจเบล อาล ดูไบ (Jebel Ali Dubai) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นท่าเรือที่หนาแน่นที่สุดในตะวันออกกลาง และเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่มีค่าที่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากท่าเรือ นี้เขตปลอดภาษีหรือที่เรียกว่า Jebel Ali Free Zone หรือ Jafza
ที่ตั้ง : คลองสุเอช อยู่ที่ไหนกัน

      ตั้งอยู่ระหว่าง พอร์ตซาอิด ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และบริเวณคอคอดที่เมืองสุเอซ ประเทศอียิปต์บนฝั่งทะเลแดง ด้วยระยะทาง 193.3 กิโลเมตร แม้จะฟังดูยาวไกล แต่การแล่นเรือผ่านเส้นทางนี้จะย่นระยะทางได้มากถึง 40% เลยทีเดียว ใช้เวลาประมาณ 13 ชั่วโมงก็ข้ามทวีปไปเรียบร้อย แต่ก่อนนั้น การเดินทางค้าขายระหว่างประเทศในฟากเอเชีย และยุโรป จำเป็นจะต้องแล่นอ้อมผ่าน แหลมกู๊ดโฮป ที่ตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทวีปแอฟริกา และเป็นจุดที่แบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งจะต้องใช้เวลาถึง 24 วัน ยิ่งใช้เวลานานก็ยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงได้เกิดแนวคิดที่จะขุดคลองสุเอซขึ้น โดยเกิดจากความร่วมมือของอียิปต์กับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1859 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ของไทย) และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1869 โดยมีการทำข้อตกลงระหว่างประเทศให้เรือของทุกชาติสามารถใช้คลองนี้ได้ ไม่ว่าในยามสงบหรือยามสงคราม

          ด้วยความที่เป็นคลองที่ใคร ๆ ก็ต้องแล่นผ่าน สร้างผลประโยชน์ และรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ผู้ครอบครอง เส้นทางเดินเรือนี้จึงพบกับปัญหาอยู่เรื่อยมา 

          ปัจจุบันคลองสุเอซกลับมาเป็นของประเทศอียิปต์แล้ว ภายใต้ชื่อ Suez Canal Company ซึ่งดำเนินกิจการมายาวนานถึง 160 ปีแล้วในแต่ละปีจะมีเรือผ่านคลองนี้ประมาณ 25,000 ลำ ขนถ่ายสินค้าคิดเป็นจำนวน 14% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมดของโลก โดยคลองสามารถรับเรือที่มีน้ำหนักขนส่งได้มากถึง 150,000 ตัน ความกว้างของเรือที่สามารถผ่านได้คือไม่เกิน 16 เมตร

คลองสุเอซ ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือทางการค้าที่คับคั่งที่สุดในโลก เพราะเป็นเส้นทางลัดในการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียกับยุโรป

           และช่วงปี 2019 และ 2020 มีเรือสินค้าผ่านคลองสุเอซกว่า 1.8 หมื่นลำ สร้างรายได้ปีละกว่า 1.6 แสนล้านบาท และ ‘คลองสุเอซ’ ถูกกล่าวขานในระดับโลกอีกครั้ง หลังเกิดเหตุการณ์ที่กำลังสั่นสะเทือนการค้าโลก เรือคอนเทนเนอร์ขนาดยักษ์ ‘Ever Given’ (เอเวอร์ กิฟเวน) เป็นเรือขนส่งสินค้าติดธงสัญชาติประเทศปานามา บริษัทผู้เป็นเจ้าของเรือคือ “โชเอ ไกเซน” ของญี่ปุ่น แต่มีบริษัทผู้ที่รับผิดชอบบริหารเรือลำนี้คือ เอเวอร์กรีน” (Evergreen Marine Corporation) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือรายใหญ่สัญชาติไต้หวัน ช่วงแรกของการเกิดเหตุ หน่วยงานผู้รับผิดชอบคลองสุเอซประเมินว่าอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วันในการขนย้ายเรือให้พ้นการขวางคลอง

เรือลำนี้มีขนาดยาวเท่า 4 สนามฟุตบอลหรือ 400 เมตร กว้าง 59 เมตร และขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 224,000 ตัน การที่เรือยักษ์ลำนี้ขวางคลองที่กว้างไม่เกิน 200 เมตรมานานหลายวันแล้ว จึงตามมาด้วยปัญหาใหญ่มากมาย เนื่องจากการสัญจรอยู่ทั้งขาขึ้นขาล่องในคลองสุเอซซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือที่พลุกพล่านที่สุดในโลก กลายเป็นอัมพาตในทันที

          และในวันที่ 29 มีนาคม 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า บริษัทบริการขนส่งสินค้าทางเรือ “อินช์เคป ชิปปิ้ง เซอร์วิสเซส” ระบุว่า เรือขนส่งสินค้า “เอเวอร์ กิฟเวน” (Ever Given) ซึ่งได้จอดเกยตื้นในคลองสุเอซกลับมาลอยได้อีกครั้ง

        ปัญหานี้เป็นงานยากกว่าที่คิด และไม่อาจให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่าจะแก้ไขวิกฤตครั้งใหม่นี้ได้เมื่อใด ยิ่งสร้างผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานสินค้า หากยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายเรือออกไปพ้นเส้นทางขวางคลองภายใน 48 ชั่วโมงข้างหน้า บริษัทขนส่งหลายแห่งไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือไปอ้อมแหลมกู๊ดโฮปทางปลายสุดของทวีปแอฟริกา เสียเวลาการเดินทางอีก 10 วัน เพิ่มต้นทุนด้านการขนส่งและระยะเวลาที่มากขึ้น อีกทั้งบริเวณ ‘จะงอยแอฟริกา’ (Horn of Africa) นอกชายฝั่งโซมาเลีย ยังเต็มไปด้วยโจรสลัด เพิ่มความเสี่ยงแก่การขนส่งสินค้า Lloyd’s คาดว่าการปิดกั้นครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับการขนส่งทางเรือมากถึง 9,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 2 แสนล้านบาท (https://voicetv.co.th/read/zrnnhfF47)

          สำหรับผลกระทบในภาพรวมประเมินว่า 

ราคาน้ำมันดิบอาจได้รับผลกระทบโดยราคาปรับเพิ่มขึ้นเพราะการขนส่งที่หยุดชะงักทำให้อุปทานน้ำมันดิบลดลง เช่นเดียวกับการขนส่งอาหารสดที่จะได้รับผลกระทบอย่างมาก รวมถึงสินค้าเกษตรต่างๆ ที่อาจเน่าเสีย

          นอกจากนี้ราคาค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น ซ้ำเติมปัญหาเดิมจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเรือขนส่งที่ทำให้ค่าบริการภายในประเทศ และค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มปรับตัวขึ้นในอัตราสูง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% และสายเดินเรือที่ไปสหรัฐฯ ปรับขึ้นมากกว่า 3 เท่า ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนราคาสินค้าที่สูงขึ้น และความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยโดยเฉพาะเกษตรและอาหาร

– ผลกระทบการส่งสินค้าไทยไปยังแอฟริกา กลุ่มอาหารแปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง ชิ้นส่วนยานยนต์หนัก  การส่งออกไปแอฟริกาโดยเฉพาะอียิปต์ที่เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆ ในแอฟริกาเหนือและเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย เบื้องต้นน่าจะกระทบกับสินค้าที่อยู่ระหว่างการส่งมอบในเดือนมีนาคม 2564 ที่เกิดการติดขัดและล่าช้า โดยสินค้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าอาหารแปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง ชิ้นส่วนยานยนต์ คิดเป็นสัดส่วนราว 30% ของการส่งออกของไทยไปอียิปต์

– ผลกระทบสินค้าไปยังยุโรป สินค้าเกษตรสัดส่วน 13% จ่อเสียหายจากการเน่าเสีย

          ทางด้านการส่งออกไปทวีปยุโรปในปี 2564 ไทยส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรปราว 20.53 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 8.96% ของการส่งออกทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นสินค้าเกษตรราว 13.15% สินค้าอุตสาหกรรม 86.85%

          ส่วนของสินค้าเกษตรที่ส่งออกไป ที่ส่งออกไปมาก เช่น เครื่องในไก่ อาหารสัตว์ ข้าว ซอสปรุงรส เครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ปลาทูน่าชิ้น กุ้งแช่แข็ง ผักและผลไม้ เป็นต้น จึงคาดว่าสินค้าเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงการเน่าเสียได้

          ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องปรับอากาศ รอบส่งเดือนมีนาคมการส่งมอบอาจล่าช้า ส่วนรอบเดือนเมษายน คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการส่งมอบที่ล่าช้าเช่นกัน แต่มีแนวโน้มว่าผู้ส่งสินค้าอาจเปลี่ยนเส้นทางขนส่งโดยอ้อมแหลมกู๊ดโฮป

แหล่งข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม

Visits: 2137

Facebook Comments

facebook comments