หนังสือประกอบการเรียน GEN64-151 กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

รายวิชา GEN64-151 กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Sports Recreation and Exercise for Health)

คำอธิบายรายวิชา

วิชา กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสุขภาพ ด้วยการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย การป้องกันและรักษาการบาดเจ็บทางการกีฬา โภชนาการเพื่อสุขภาพ การเลือกออกกำลังกายด้วยกิจกรรมกีฬาและนันทนาการที่คัดสรร

แล้วเรียนอะไรกันบ้าง  หาเอกสารรการเรียนได้จากไหนบ้าง มาดูกัน
รายละเอียดรายวิชา

มคอ.3gen64-151

กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน  และจุดมุ่งหมายของนันทนาการประการหนึ่งก็เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นไมว่า กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ก็มีความสำคัญเพิ่มขึ้นพร้อมกับความสนใจในสุขภาพของคนในปัจจุบัน กีฬามีหลากหลายประเภท ส่วนนันทนาการเพื่อสุขภาพ เช่น เต้นรำ ร้องเพลง กีฬาชนิดต่างๆ ออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค การฝึกสมาธิ โยคะ ซึ่งได้ความบันเทิงและสุขภาพ   

แล้วความหมายและรายละเอียดมีอะไรบ้าง ชวนน้องอ่าน กันค่ะ เพื่อให้การเรียนรายวิชา GEN64-151 กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ให้มีความสุข และสุขภาพกันค่ะ

กีฬา

คำ “กีฬา” (บาลี) และ “กรีฑา” (สันสกฤต) มีความหมายเหมือนกันคือ “การเล่น การเล่นสนุก เล่น” แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้บทนิยามไว้ว่า

          กีฬา น. กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินเพื่อเป็นการบำรุงแรงหรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต. (ป.). (ดู กรีฑา). (หน้า 101)

          กรีฑา น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นแผนกลู่และแผนกลาน; การเล่นสนุก เช่น …  (หน้า 54)

          จะเห็นได้ว่าคำทั้ง 2 นี้ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงกว่าความหมายในภาษาเดิม

          ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ ได้อธิบายความหมายของ “กีฬา” ไว้ดังนี้

          “ในวงการพลศึกษา ได้นิยมใช้คำทั้งสองนี้ไปในลักษณะที่มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือคำว่า กีฬา นั้น หมายความถึงกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุก เพื่อเป็นการบำรุงแรง เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจ เช่น การเล่นฟุตบอล รักบี้ บาสเกตบอล บิลเลียด เทนนิส กอล์ฟ หมากรุก ไพ่ การล่าสัตว์ ว่ายน้ำ ปีนเขา มอญซ่อนผ้า ตีคลี กรีฑา ฯลฯ แต่ละอย่างนับเป็นกีฬา”

          ส่วนคำ “กรีฑา” ได้มีคำอธิบายไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ ไว้ดังนี้

          “กรีฑา เป็นกิจกรรมทางพลศึกษาประเภทหนึ่ง จัดรวมอยู่ใน “กีฬา” (sports) กล่าวคือ กรีฑาเป็นประเภทหนึ่งของบรรดากีฬาทั้งหลาย เช่นเดียวกับฟุตบอลหรือรักบี้เป็นประเภทหนึ่งของกีฬาเช่นกัน”

          “กรีฑา แบ่งได้เป็น ๒ แผนก แผนกหนึ่งเรียกว่า แผนกลู่ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า track หมายความว่าการแข่งขันในแผนกนี้ต้องมีทางวิ่งหรือแนวทางวิ่ง … กรีฑาแผนกลู่ได้แก่ การวิ่งระยะ ๕๐ เมตร ๑๐๐ เมตร …  อีกแผนกหนึ่งเรียกว่า แผนกลาน ภาษาอังกฤษใช้ว่า field หมายความว่า ในการแข่งขันแผนกนี้ต้องมีสนาม หรือที่ว่าง หรือลาน เป็นที่สำหรับทำการแข่งขัน กรีฑาแผนกลานได้แก่ การขว้างจักร พุ่งแหลน ทุ่มลูกน้ำหนัก กระโดดสูง…”

          การยืมคำในภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งมีอยู่ทุกชาติ และไม่จำเป็นว่าเมื่อยืมมาแล้วจะต้องรักษารูป เสียง และความหมายตามเดิมทุกประการ มิฉะนั้นภาษาก็จะไม่มีการพัฒนาและเจริญเติบโต ซึ่งทำให้ภาษานั้นจะต้องตายไปในที่สุด.(จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน  ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2532)

1. คู่มือออกกำลังกายบำบัดทางการกีฬา

กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ENG-108 ภาษาอังกฤษด้านวิทยาศาสตร์
อ่านแบบ e-book คลิกที่นี่

หนังสือ คู่มือออกกำลังกายบำบัดทางการกีฬา  ได้รวบรวมวิธีการบำบัดรักษาและ ฟื้นฟูภาวะการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่มักเกิดขึ้นได้บ่อย ด้วยตนเองอย่างง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวที่หาได้มาช่วยเสริมการออกกำลังกาย และประยุกต์รูปแบบของการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บอีกด้วย ทั้งนี้ ได้มีการจัดแบ่งเนื้อหาเรียงตามส่วนต่างๆของร่างกาย ได้แก่ คอ ไหล่ หลัง สะโพก เข่า และข้อเท้า ซึ่งทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้จากหนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ขึ้นกับการนำไปปฏิบัติใช้ของท่านผู้อ่าน ตามสถานการณ์และสภาพร่างกายของแต่ละคน

สมรรถภาพทางกายหรือความสมบูรณ์

สมรรถภาพทางกายหรือความสมบูรณ์  หมายถึง  ความพร้อมทางด้านร่างกายของนักกีฬา  ซึ่งสามารถที่จะเล่นกีฬา  หรือออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย : 2536)

     สมรรถภาพทางกายหมายถึง สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถของบุคคลในอันที่จะใช้ระบบต่างๆ กระทำกิจกรรมใดๆ อันเกี่ยวกับการแสดงออก ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือได้หนักหน่วง เป็นเวลาติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ และสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว (พิชิต  ภูติจันทร์:2547)

    อาจสรุปได้ว่า “สมรรถภาพทางกาย”  หมายถึงความสามารถของบุคคล ในอันที่จะใช้ระบบต่างๆของร่างกายประกอบกิจกรรมใดๆอันเกี่ยวกับการแสดงออก ซึ่งความสามารถทางร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ ได้อย่างหนักติดต่อกัน โดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้รากฎและสามารถฟื้นตัวสู่สภาพปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว

2. ตำราการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

ตำราการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายภาพ

         เนื้อหาส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจถึงการพัฒนาของสมรรถภาพทางกายและความสามารถทางกลไกการเคลื่อนไหวร่างกายด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพร่างกายที่ส่งผลให้การปฏิบัติเทคนิค ทักษะของนักกีฬามีคุณภาพ นอกจากนั้นยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกแบบเฉพาะจงลงในแต่ละด้านให้ผู้อ่านศึกษา และนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกนักกีฬา โดยเฉพาะการทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอน หรือนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจหลักและวิธีการฝึกฝนเพื่อเชื่อมโยงต่อการศึกษาเรียนรู้ในขั้นสูงต่อไปด้วย

      ตำราฉบับนี้ได้รับการพัฒนาจากเอกสารประกอบการสอนเพิ่มเติมเนื้อหาทางวิชาการทั้งประสานประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการทำหน้าที่ดูแลการฝึกกับนักกีฬาทีมชาติไทย

วิทยาศาสตร์การกีฬา
วิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport science) เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มุ่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกีฬาและการออกกำลังกายที่มีต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ ร่างกาย หรือว่าสังคม เพื่อนำข้อค้นพบมาสร้างศักยภาพทางร่างกายให้กับมนุษย์ทำให้ศาสตร์นี้เป็นศาสตร์เปิดกว้าง อาศัยหลักการศึกษาทั้งทางด้านสรีรวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือแม้แต่หลักทางการตลาดลารบริการ เกิดเป็นสหวิทยาการที่มีเนื้อหาของกลุ่มรายวิชาหลักๆ คือ -โภชนาการสุขภาพและการกีฬา – จิตวิทยาสุขภาพและการกีฬา -เวชศาสตร์การกีฬา -การฝึกและสอนกีฬา -การบริหารและจัดการการกีฬา -เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการกีฬา  (http://sportscienceforhealth.blogspot.com/2018/02/lesson-1.html)
3. วิทยาศาสตร์การกีฬา
ในเล่มมีอะไร
       เล่มนี้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยละเอียด โดยเริ่มตั้งแต่ความรู้พื้นฐาน ทั้งความหมาย บทบาท ความสำคัญ ประโยชน์ สรีรวิทยาของมนุษย์ การออกกำลังการพื้นฐาน การควบคุมน้ำหนัก สมรรถภาพทางกาย รวมถึงโภชนาการและการบาดเจ็บทางกีฬา ด้วยการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบ มีบทสรุปให้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีแบบทดสอบในส่วนท้ายของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ทดสอบความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น  แบ่งเนื้อหา 10 หน่วยดังนี้ หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬา  — หน่วยที่ 2  กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์  — หน่วยที่ 3 สรีรวิทยาการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน  — หน่วยที่ 4 สัดส่วนของร่างกายและการควบคุมน้ำหนักตัว — หน่วยที่ 5 สมรรถภาพทางกาย — หน่วยที่ 6 การทดสอบสมรรถภาพทางกาย — หน่วยที่ 7 การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย — หน่วยที่ 8 การพิจารณาเลือกกิจกรรมกีฬา — หน่วยที่ 9 โภชนาการกับการกีฬา — หน่วยที่ 10 การบาดเจ็บทางกีฬา
กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
4. วิทยาศาสตร์การกีฬา
ในเล่มมีอะไร

    ในเล่มได้รวบรวมความรู้ หลักการต่างๆ ที่จะช่วยเสริมให้ผู้ออกกำลังกาย ได้เข้าใจวิธีการเลือกกีฬาที่เหมาะสมกับตัวเอง  มีการแบ่งเนื้อหาในตัวเล่มประกอบด้วย บทนำ  — ความรู้เบื้องต้นวิทยาศาสตร์การกีฬา — ความรู้เบื้องต้นกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา — รูปร่างของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย — การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย — อาหารและพลังงาน — การออกกำลังกายและการเล่นกีฬา — การไหลเวียนโลหิตกับการออกกำลังกาย — การบาดเจ็บทางการกีฬาและการปฐมพยาบาล — ผลการฝึกซ้อมที่มีต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และการทดสอบสมรรถภาพ

วิทยาศาสตร์การก๊ฬา
เวชศาสตร์การกีฬา

เวชศาสตร์การกีฬา  ชื่อนี้อาจจะใหม่สำหรับท่านทั้งหลาย เพราะการใช้คำศัพท์ภาษาไทยในเรื่องนี้อาจจะยังไม่แพร่หลาย และบางครั้งอาจมีชื่อคล้ายๆ กัน เช่น ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของการกีฬาแห่งประเทศไทย หลายท่านอาจจะสับสน

เวชศาสตร์การกีฬา หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Sports Medicine เป็นสาขาหนึ่งในทางการแพทย์ ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการนำความรู้ทางการแพทย์มาประยุกต์ใช้ เพื่อทำให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬา ปราศจากซึ่งการบาดเจ็บของร่างกายส่วนต่างๆ ซึ่งถือเป็นการป้องกัน และเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเกิดการบาดเจ็บต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ก็จะต้องมีการรักษาพยาบาลอย่างรีบด่วน ถูกต้องและเห็นผลการรักษาได้อย่างชัดเจน เพราะผู้ที่บาดเจ็บและต้องการกลับเข้าร่วมกิจกรรมทางการกีฬาให้ได้เหมือนเดิมต้องการผลการรักษาที่ 100 หรือเกือบ 100% ผู้ที่บาดเจ็บจึงจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ดังเดิม

เวชศาสตร์การกีฬาไม่ได้มีข้อกำหนดว่าเกี่ยวข้องเฉพาะนักกีฬาเพื่อการแข่งขันเท่านั้น ทุกๆ ท่านที่เล่นกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ก็มีความเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การกีฬาด้วยกันทั้งสิ้น เพราะมีการครอบคลุมทั้งสรีระวิทยาการออกกำลังกาย ชีวกลศาสตร์ทางการกีฬาโภชนาการทางการกีฬา จิตวิทยาการกีฬา และการบาดเจ็บจากกีฬา

หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจความหมายของ เวชศาสตร์การกีฬาได้ดีขึ้นนะคะ 

ที่มา : https://www.bangkokhealth.com/17549

5. กีฬาเวชศาสตร์
ในเล่มมีอะไร

      กีฬาเวชศาสตร์  เป็นวิชาที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มาเพื่อการพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพของผู้ออกกำลังกายทุกระดับ โดยที่วิชาแพทยศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์  กีฬาเวชศาสตร์จึงเป็นวิทยาศาสตร์ทางกีฬา เนื้อหาในเล่มแบ่งออกเป็น 3 ตอนด้วยกันคือ ตอนที่ 1 กีฬาเวชศาสตร์ทั่วไป  ตอนที่ 2 การออกกำลังกายเฉพาะกรณี  และตอนที่ 3 การบาดเจ็บทางกีฬา

กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
6. เวชศาสตร์การกีฬา
ในเล่มมีอะไร

    ได้รวบรวมความรู้ หลักการต่างๆ ที่จะช่วยเสริมให้ผู้ออกกำลังกาย ได้เข้าใจวิธีการเลือกกีฬาที่เหมาะสมกับตัวเอง

      และแบ่งเนื้อหาในตัวเล่มประกอบด้วย บทนำ ความรู้เบื้องต้นวิทยาศาสตร์การกีฬา — ความรู้เบื้องต้นกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา — รูปร่างของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย — การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย — อาหารและพลังงาน — การออกกำลังกายและการเล่นกีฬา — การไหลเวียนโลหิตกับการออกกำลังกาย – การบาดเจ็บทางการกีฬาและการปฐมพยาบาล – ผลการฝึกซ้อมที่มีต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และ การทดสอบสมรรถภาพ

วิทยาศาสตร์การกีฬา
7. ชีวกลศาสตร์การกีฬา
ในเล่มมีอะไร

     ชีวกลศาสตร์การกีฬา  เนื้อหาครอบคลุมความรู้พื้นฐานทางกลศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางกีฬา บทที่ 1 ชีวกลศาสตร์  บทที่ 2 การเคลื่อนไหว  บทที่ 3 คิเนเมติก  บทที่ 4 คิเนเมติกในแนวโค้ง  บทที่ 5 คิเนติก  บทที่ 6 ชีวกลศาสตร์ ของระบบกล้ามเนื้อ-กระดูก  บทที่ 7 การเคลื่อนที่ในอากาศ และน้ำ

กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
8. การจัดการความเครียดและการฝึกทักษะทางจิตวิทยาในการกีฬา
ในเล่มมีอะไร

 การจัดการความเครียดและการฝึกทักษะทางจิตวิทยาในการกีฬา     ความเครียดและการจัดการความเครียด — ความเครียดทางการกีฬา — ทักษะทางจิตวิทยาในการกีฬา — การฝึกการหายใจ — การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ — การรวบรวมสมาธิและความตั้งใจ — การจินตภาพ — การพูดกับตนเอง — การกำหนดเป้าหมายทางการกีฬา — ทักษะทางจิตวิทยาการกีฬากับนักกีฬาคนพิการ — การประยุกต์ใช้การฝึกทักษะทางจิตวิทยาสำหรับนักกีฬา

การจัดการความเครียดและการฝึกทักษะทางจิตวิทยาในการกีฬา
9. หลักวิทยาศาสตร์ในการฝึกกีฬา
ในเล่มมีอะไร

     เน้นเรื่องวิทยาศาสตร์ในการฝึกกีฬา แบ่งเนื้อหาออกเป็น 9 บท ประกอบด้วย

  • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝึก

— การฝึกสมรรถภาพทางแอโรบิก

— การฝึกสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ

— การฝึกด้วยน้ำหนัก

— การฝึกความอ่อนตัว

— การฝึกความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว

— การฝึกทักษะทางจิตใจสำหรับนักกีฬา

— โภชนาการและองค์ประกอบของร่างกายเพื่อสมรรถภาพของนักกีฬา

— ปัจจัยบางประการที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษในการฝึกนักกีฬา

ENG-108 ภาษาอังกฤษด้านวิทยาศาสตร์
อ่านรูปแบบ e-book คลิกเลย
หลักวิทยาศาสตร์ในการฝึกกีฬา

นันทนาการ

           พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552 เก็บคำว่า นันทนาการ ไว้ แต่ไม่เก็บคำว่า สันทนาการ นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด การสราญใจ นันทนาการ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า recreation ในส่วนของคำว่า สันทนาการ นั้น มีผู้ใช้แทนคำว่า recreation เช่นกัน สันทนาการ เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้บัญญัติขึ้นใช้ก่อน คณะกรรมการชุดนี้ มีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ แล้ว แต่ใช้ชื่อว่า คณะกรรมการพิจารณาบัญญัติศัพท์ภาษาไทยที่เกี่ยวกับการศึกษา ต่อมา ได้ระงับการประชุมไป ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษาให้มีหน้าที่พิจารณาเสนอศัพท์วิชาการศึกษาไปยังคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งศัพท์คำหนึ่ง คือ สันทนาการ บัญญัติมาจากคำว่า recreation คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยพิจารณาแล้วเห็นควรให้ใช้ว่า นันทนาการ แทน และกำหนดให้ใช้อีกคำหนึ่งว่า การสราญใจ นันทนาการ ประกอบด้วย นันทน แปลว่า เพลิดเพลินใจ กับ อาการ คำว่า นันทนาการ จึงแปลว่า อาการที่เพลิดเพลินใจ ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า recreation ส่วนคำว่า สันทนะ พจนานุกรมฯ ให้ความหมายว่า รถ หรือ รถศึก

         การที่ยังมีผู้ใช้คำว่า สันทนาการ อยู่ อาจจะเนื่องมาจากไม่ทราบว่ามีการบัญญัติศัพท์ นันทนาการ ใช้แทน สันทนาการ แล้ว ดังนั้น คำที่ถูกต้องคือ กิจกรรมนันทนาการ อาคารนันทนาการ ห้องนันทนาการ http://legacy.orst.go.th/?knowledges=นันทนาการ-๘-มีนาคม-๒๕๕๖

10. นันทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ในเล่มมีอะไร

    นันทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื้อหาประกอบด้วย  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมนันทนาการ
ความหมายและคุณค่าของกิจกรรมนันทนาการ  ขอบข่ายของกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมนันทนาการในหน่วยงาน หลักการและการบริหารนันทนาการ ผู้นำกิจกรรมนันทนาการ
และกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา

นันทนาการ
11. นันทนาการ
ในเล่มมีอะไร

บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของนันทนาการในยุคต่าง ๆ และในประเทศไทย  ปรัชญาและความหมายของนันทนาการ ขอบข่ายของนันทนาการ  รูปแบบของนันทนาการ ผู้นำนันทนาการ
ความหมายและความเป็นมาของเกม ผู้นำเกม  แหล่งของการจัดกิจกรรมนันทนาการ นันทนาการนอกสถานที่ และในบทส่งท้าย
พูดถึงแนวโน้มและปัญหาของนันทนาการในประเทศไทย

นันทนากร
12. นันทนากรและการจัดการ
ในเล่มมีอะไร

บรรจุเนื้อหาไว้ 9 บทด้วยกันคือ ความเป็นมาของนันทนาการ ความหมาย และคุณค่าของนันทนาการ  ความสัมพันธ์ของนันทนาการและประเภทของนันทนาการ ขอบข่ายของนันทนาการ หลักการและการบริหารนันทนาการ ผู้นำนันทนาการ การจัดค่ายพักแรม นันทนาการนอกสถานที่ และองค์กรด้านนันทนาการ

นันทนากร
13. ชีวิตหรรษาด้วยนันทนาการ
ในเล่มมีอะไร

ชีวิตหรรษาด้วยนันทนาการ เนื้อหา บทที่ 1 บทนำ  ปรัชญานันทนาการ คุณค่า ความสำคัญ  และประโยชน์ของนันทนาการ บทที่ 2 การจัดดำเนินการนันทนาการ  การจัดกิจกรรมนันทนาการ ผู้นำกิจกรรมนันทนาการ บทที่ 3 ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ และ บทที่ 4
กิจกรรมนันทนาการเพื่อใช้ในการสัมมนาและฝึกอบรม กิจกรรมละลายพฤติกรรมและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

นันทนาการ
14. กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น
ในเล่มมีอะไร

กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น เล่มนี้กล่าวถึง  พัฒนาการของวัยรุ่น — พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น — พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น — การสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น — คลินิกวัยรุ่น — การสร้างความภาคภูมิใจให้ตนเอง — ทักษะชีวิต — เพศศึกษา — โครงการสายใยเพื่อวัยรุ่น

ออกกำลังกาย
15. การสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
ในเล่มมีอะไร

การสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม
 ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพวัยรุ่น
แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม หลักการและกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  การประยุกต์แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม  การมีส่วนร่วมของครอบครัวโรงเรียนและทีมสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น และการสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นแบบบูรณาการ

ออกกำลังกาย
16. อาหาร & สุขภาพ
ในเล่มมีอะไร

อาหาร & สุขภาพ เนื้อหา หมวดที่ 1. กินเพื่อสุขภาพที่ดี
บทบาทอาหารมังสวิรัติกับสุขภาพ โภชนาการเพื่อผู้บริหาร  บทบาทของอาหารและความจำ  โภชนาการเสริมสร้างสุขภาพผิว
กินล้างพิษ หมวดที่ 2. Functional foods for health  แนวคิดปัจจุบันของอาหารฟังก์ชั่น อาหารฟังก์ชั่นในยุคปัจจุบันกับการส่งเสริมสุขภาพ น้ำมันปลากับสุขภาพ ประโยชน์ของน้ำมันอีฟนิงพริมโรส ซุปไก่สกัด สมุนไพรพริกกับl6ขภาพ ผลไม้บิลเบอร์รี่กับสุขภาพ จมูกถั่วเหลื่องและสุขภาพ ไพรไบโอติกและพรีไบโอติกต่อสุขภาพ เห็ดทางการแพทย์กับสุขภาพ สาหร่ายกับประโยชน์ด้านสุขภาพ จินเซนโนไซด์จากโสมกับสุขภาพ คามู คามู ผลไม้ส่งเสริมสุขภาพ

ออกกำลังกาย
16. อาหาร & สุขภาพ
ในเล่มมีอะไร

อาหาร & สุขภาพ เนื้อหา หมวดที่ 1. กินเพื่อสุขภาพที่ดี
บทบาทอาหารมังสวิรัติกับสุขภาพ โภชนาการเพื่อผู้บริหาร  บทบาทของอาหารและความจำ  โภชนาการเสริมสร้างสุขภาพผิว
กินล้างพิษ หมวดที่ 2. Functional foods for health  แนวคิดปัจจุบันของอาหารฟังก์ชั่น อาหารฟังก์ชั่นในยุคปัจจุบันกับการส่งเสริมสุขภาพ น้ำมันปลากับสุขภาพ ประโยชน์ของน้ำมันอีฟนิงพริมโรส ซุปไก่สกัด สมุนไพรพริกกับl6ขภาพ ผลไม้บิลเบอร์รี่กับสุขภาพ จมูกถั่วเหลื่องและสุขภาพ ไพรไบโอติกและพรีไบโอติกต่อสุขภาพ เห็ดทางการแพทย์กับสุขภาพ สาหร่ายกับประโยชน์ด้านสุขภาพ จินเซนโนไซด์จากโสมกับสุขภาพ คามู คามู ผลไม้ส่งเสริมสุขภาพ

ออกกำลังกาย

10. แหล่งสารสนเทศอื่น

สารสนเทศจากอาจารย์ ประจำรายวิชา GEN64-151 กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Sports Recreation and Exercise for Health)

อาหารและโภชนาการ

อาหารคืออะไร  อาหารคือสิ่งที่บริโภคได้  และมีประโยชน์แก่ร่างกาย  อาหารมีประโยชน์มากมาย เช่น

  1. ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และซ่อมแซม สิ่งที่สึกหรอ
  2. ช่วยให้พลังงานและความอบอุ่น
  3. ช่วยสร้างกำลังเพื่อต้านทานโรค บำรุงสุขภาพ ช่วยให้อายุยืนยาว ผิวพรรณเปล่งปลั่ง  ดวงตาแจ่มใส ฟันดีแข็งแรง ผมดกดำ และไม่แก่ก่อนวัย
  4. ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ

โภชนาการคืออะไร  โภชนาการเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของอาหารต่อสุขภาพของร่างกาย  อาจมีผู้สงสัยว่า  มนุษย์รู้จักกินมาตั้งแต่เกิด และกินกันมาตั้งแต่เมื่อมีมนุษย์อยู่ในโลกแล้ว  ทำไมจะต้องมาเรียนวิชาโภชนาการด้วย ก็อาจกล่าวได้ว่า  การกินโดยไม่มีความรู้ย่อมเป็นเหตุให้ป่วยไข้และสุขภาพทรุดโทรมได้โดยง่าย  เนื่องจากการขาดสารอาหารได้ทั้ง ๆ ที่มีอาหารอยู่เต็มกระเพาะ  เพราะไม่รู้จักกิน  สถิติแสดงว่าในระยะ 50 ปีมานี้  ความรู้ในเรื่องโภชนาการได้ช่วยให้คนอายุยืนยาวเพิ่มจาก 45 ปีเป็น 70 ปี ช่วยให้สูงขึ้น 5 เซนติเมตร และน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 กิโลกรัม ส่วนประเทศที่ด้อยพัฒนายังเป็นโรคขาดอาหารกันมาก อายุเฉลี่ยของคนจะอยู่ระหว่าง 33-50 ปีเท่านั้น  เนื่องจากอัตราตายของทารกและเด็กสูง และสุขภาพก็ไม่ดี

ควรกินมากน้อยแค่ไหน  ก่อนที่จะทราบว่าควรกินมากน้อยแค่ไหน จำต้องทราบถึงรายจ่ายเสียก่อน  สำหรับผู้ชายไทยที่ทำงานออกแรงปานกลางวันหนึ่ง ๆ ร่างกายใช้พลังงานประมาณ 2,000 -2,500  แคลอรี่ ถ้าทำงานหนักหรือออกกำลังกายมาก ๆ ก็จำต้องใช้เพิ่มขึ้นเป็น 3,000-4,000 แคลอรี่  สำหรับผู้หญิงจะใช้น้อยลงประมาณ 15-20℅ ส่วนเด็กเนื่องจากน้ำหนักตัวน้อยจึงต้องการน้อยมากกว่า

อย่างไรก็ดี ส่วนหนึ่งของพลังงานในเด็กต้องเก็บไว้เพื่อการเจริญเติบโตด้วย ฉะนั้น เมื่อคิดเทียบส่วนแล้วจึงต้องการมากกว่าผู้ใหญ่ กล่าวคือ เด็กต้องการธาตุเนื้อถึง ๓ กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม  ส่วนผู้ใหญ่ต้องการเพียง 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่านั้น

สารอาหารที่ให้พลังงานมี ๓ อย่างคือ ธาตุน้ำตาล 1 กรัมให้ 4 แคลอรี่ ธาตุเนื้อ 1 กรัมให้ 4 แคลอรี่ และธาตุไขมัน 1 กรัมให้ 89 แคลอรี่

ถ้าเรากินน้อยกว่าที่ร่างกายใช้ ร่างกายก็จำต้องเอาเลือดเนื้อภายในตัวมาใช้  จึงเป็นเหตุให้ผอม  และน้ำหนักลด ตรงกันข้าม  ถ้ากินมากเกินไปก็จะเกิดเป็นโรคอ้วน  โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคแรงดันเลือดสูง ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงต้องรู้จักกินและพึงระลึกถึงคำสอนของพระบรมศาสดาที่ว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา คือเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค อย่ากินให้น้อยไป หรืออย่ากินให้มากไป พึงกินกันแต่พอดี ๆ  (https://www.healthcarethai.com/อาหารและโภชนาการ/)

เนสท์เล่
goodfoodgoodlife

โภชนาการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต
Logo_DOH

สำนักโภชนาการ
กรมอนามัย

Thai Food Composition Table

การออกกำลังกาย

ความหมายของการออกกำลังกายได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน  ดังนี้

            อนงค์   บุญอดุลยรัตน์ (2542, หน้า 18)  กล่าวถึง  การออกกำลังกายว่า  เป็นกิจกรรมของกล้ามเนื้อที่ทำให้ร่างกายมีสุขภาพและรูปร่างดี เพิ่มทักษะและศักยภาพในกีฬา ฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการบาดเจ็บหรือพิการได้อีกด้วย 

            จรวยพร   ธรณินทร์  (2536, หน้า 17)  ได้ให้ความหมายว่า การออกกำลังกายเป็นการใช้แรงกล้ามเนื้อและร่างกายให้เคลื่อนไหวเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี โดยจะใช้กิจกรรมใดเป็นสื่อก็ได้ 

            พิชิต   ภูติจันทร์  (2535, หน้า  23)  กล่าวถึงการออกกำลังกายว่า หมายถึง  การทำงานของกล้ามเนื้อลายเพื่อให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวตามความมุ่งหมาย โดยมีการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ออกกำลังกายมีประสิทธิภาพและคงอยู่ได้ 

            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของการออกกำลังกาย ว่า หมายถึง การใช้กำลังเบ่งแรงบริหารร่างกายให้แข็งแรง 

            สารานุกรมอเมริกา (1980) กล่าวถึง การออกกำลังกายว่าเป็นการออกแรงทางกายที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงทั้งระบบโครงสร้างและทำให้กล้ามเนื้อรวมกันต่อต้าน  และเอาชนะแรงบังคับได้ และมีผลต่อกิจกรรมทางปัญญา อารมณ์ และความรู้สึกที่ดีขึ้นได้ด้วย 

            จากความหมายของการออกกำลังกายที่มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า   การออกกำลังกาย หมายถึง การใช้แรงของกล้ามเนื้อเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว โดยการหด-ยืด กล้ามเนื้อ ซึ่งผลที่ได้รับจะทำให้ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้อ และกระดูก ถูกกระตุ้นให้ทำกิจกรรมมากขึ่น ทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น (http://fiarch.blogspot.com/2010/10/blog-post_19.html)

เอกสารที่ 1
Introduction to Sports & Exercises

Introduction-of-sportExercise

เอกสารที่ 2
เอกสารประกอบการเรียน โดย อาจารย์ปิยนุช  ขุนสวัสดิ์

เอกสารประกอบการบรรยายกีฬานันทนาการฯ

เอกสารที่ 3
สมรรถภาพทางกาย
เอกสารประกอบการเรียนวิชา GEN64-151 กีฬา นันทนการและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปิยนุช ขุนสวัสดิ์ สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป

สมรรถภาพทางกาย

เอกสารที่ 4
สมรรถภาพทางกาย
เอกสารประกอบการเรียนวิชา GEN64-151 กีฬา นันทนการและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปิยนุช ขุนสวัสดิ์ สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป

สมรรถภาพทางกาย

เอกสารที่ 6

คุณค่าและความจำเป็นของการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา

คุณค่าของSPORTS

สื่อประเภทหนังสือและวารสารออนไลน์
10. Home Workout and Fitness Tips: Exercising without the Gym
กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ENG-108 ภาษาอังกฤษด้านวิทยาศาสตร์
อ่านรูปแบบ e-book คลิกเลย
11. Journal of Physical Education and Sport.
อ่านรูปแบบ e-jouranl คลิกเลย
12. Journal of Physical Education, Recreation & Dance
กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
อ่านรูปแบบ e-jouranl คลิกเลย
13. Journal of Physical Education and Sports Management
กีฬา นันทนาการ และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
อ่านรูปแบบ e-jouranl คลิกเลย
สื่อบน Youtube
What is Fitness
What is Fitness?
10 Benefits Of Exercise On The Brain And Body - Why You Need Exercise
8 Benefits Of Running Every Day For 30 Minutes | Benefits Of Running Daily
Top 6 Tips On How To Run Without Getting Tired!
8 Benefits Of Running Every Day For 30 Minutes | Benefits Of Running Daily
What Happens if You Start Exercising in 2021
How to Improve Physical Fitness | Fundamentals
How To Improve Increase Your Cardiovascular System, Heart Rate, Endurance, Stamina And Fitness
Sports Injuries & Rehabilitation
What I eat to stay fit สื
ง The Best Meal Plan to Lost Fat Faster
5 Healthy Low Calorie Recipe for Weight Loss
Types of Physical Activity
Determinants of Health – A practical approach!
Nike: Find Your Greatness
Introduction to Recreational Activity
RECREATIONAL ACTIVITIES PRESENTATION
ReacreationActivities Presentation
5 Awesome To Make Homemade DUMBBELLS Kettlebells And Barbells Gym At Home
BEST CUSTOMIZED WORKOUT EQUIPMENT For Home
15 Min. Full Body Stretch | Daily Routine for Flexibility, Mobility & Relaxation | DAY 7
10Min.Beginner AB Workout
FULL BODY HOME WORKOUT | BUILD MUSCLE NO EQUIPMENT
30 MINUTE FULL BODY WORKOUT(NO EQUIPMENT)
20 MIN FULL BODY WORKOUT - Beginner Version // No Equipment I Pamela Reif
พี่จูน กนกวัลย์  ไกรนุกูล

พี่จูน กนกวัลย์ ไกรนุกูล

บรรณารักษ์ จัดทำเนื้อหาด้านสังคมศาสตร์ + มนุษยศาสตร์ คนหลักในการทำทรัพยากรสารสนเทศด้านนี้

business

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top