หนังสือประกอบการเรียน GEN64-111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย

คำอธิบายรายวิชา

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและพัฒนาทักษะทางภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร โดยในด้านการรับสารสามารถพัฒนาทักษะการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่า ต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้อย่างมีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ
คำอธิบายรายวิชา

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย

List of Books

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

เขียนโดย ผศ.วิเศษ ชาญประโคน เขียนขึ้นเพื่อใช้สอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี  มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันมากขึ้น  เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วยการสื่อสาร อุปสรรคของการสื่อสารและวิธีแก้ไขประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน สุภาษิต คำพังเพย สำนวน การใช้โวหารในการสื่อสาร การเตรียมการเขียน การเขียนสารคดี และการพูด 

  • บทที่ 1 การสื่อสาร 
  • บทที่ 2 อุปสรรคของการสื่อสารและวิธีแก้ไข
  • บทที่ 3 ประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
  • บทที่ 4 ภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
  • บทที่ 5 สุภาษิต คำพังเพย สำนวน
  • บทที่ 6 การใช้โวหารในการสื่อสาร
  • บทที่ 7 ภาษาภาพพจน์
  • บทที่ 8 การเตรียมการเขียน
  • บทที่ 9 การเขียนเนื้อเรื่อง
  • บทที่ 10 การเขียนสารคดี
  • บทที่ 11 การเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • บทที่ 12 การเขียนคำขวัญและคำอวยพร
  • บทที่ 13 การสื่อสารด้วยการพูด

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น

แบ่งเนื้อหาออกเป็น 8 บท  โดยจัดลำดับบทตามลักษณะการเรียนรู้  

  • บทที่ 1 ภาษากับการสื่อสาร 
  • บทที่ 2 สารสนเทศ การอ้างอิง และการเขียนบรรณานุกรม    
  • บทที่ 3 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการฟัง
  • บทที่ 4 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการอ่าน 
  • บทที่ 5 การตีความ การขยายความ การย่อความและการสรุปความ สำหรับเรื่องการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
  • บทที่ 6 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการพูด 
  • บทที่ 7 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการเขียน
  • บทที่ 8 การเขียนจดหมายและการเขียนรายงานการประชุม

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ

ของ โอภส์ แก้วจำปา ให้เนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ เนื่องจากการสื่อสารในวงการธุรกิจได้พัฒนาไปตามความเจริญของเทคโนโลยี ฉะนั้นการศึกษาทางด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจต้องพัฒนาตามให้ทัน หนังสือเล่มนี้จึงได้พัฒนาให้ตรงกับความเป็นจริงตามยุคสมัย มีเนื้อหาทั้งหมด 8 บท เริ่มตั้งแต่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารธุรกิจ วัฒนธรรมการสื่อสารธุรกิจ การสื่อสารด้วยการเขียนในองค์กรธุรกิจ รายงานธุรกิจ การสื่อสารด้วยการเขียนระหว่างองค์กรธุรกิจ การเขียนจดหมายธุรกิจชนิดต่าง ๆ การเขียนจดหมายไมตรีจิต และการเขียนโครงงานธุรกิจ อธิบายเนื้อหาโดยละเอียด เป็นลำดับขั้นตอน พร้อมตัวอย่างหลากหลายเข้าใจง่าย

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ

โอภส์ แก้วจำปาแต่งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้มีเอกสารประกอบการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้มีความรู้และประสบการณ์เหมาะแก่การเป็นนักปฏิบัติในอาชีพธุรกิจต่อไป เนื้อหาในตัวเล่มประกอบด้วย การสื่อสารธุรกิจ  วัฒนธรรมกับการสื่อสารธุรกิจ  การสื่อสารด้วยการเขียนในทางธุรกิจ รายงานธุรกิจ การสื่อสารธุรกิจด้วยจดหมาย จดหมายใช้ติดต่อเชิงธุรกิจ จดหมายธุรกิจเพื่อไมตรีจิต บันทึก และโครงการนำเสนอ

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น

โดย ผศ.สมพร แพ่งพิพัฒน์  เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 8 บท  โดยจัดลำดับบทตามลักษณะการเรียนรู้  

  • บทที่ 1 ภาษากับการสื่อสาร 
  • บทที่ 2 สารสนเทศ การอ้างอิง และการเขียนบรรณานุกรม    
  • บทที่ 3 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการฟัง
  • บทที่ 4 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการอ่าน 
  • บทที่ 5 การตีความ การขยายความ การย่อความและการสรุปความ สำหรับเรื่องการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
  • บทที่ 6 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการพูด 
  • บทที่ 7 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการเขียน
  • บทที่ 8 การเขียนจดหมายและการเขียนรายงานการประชุม

ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

       ผู้เขียน คือปรัชญา อาภากุล และ การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ หนังสือจะเน้นเนื้อหาสาระเน้นหนักไปที่การพัฒนาทักษะการพูดและทักษะการเขียน เพื่อให้นักศึกษานำผลที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในสังคมต่อไป 

       เนื้อหาในตัวเล่มประกอบด้วย ภาค 1 การพูด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด การเตรียมตัวและฝีกฝนการพูดเบื้องต้น การวิเคราะห์ผู้ฟังและโอกาสในการพูด การปฏิบัติระหว่างการพูด การประเมินผลการพูด และการพูดในชีวิตประจำวันและการพูดในโอกาสพิเศษ  ภาค 2 การเขียน ความรู้พื้นฐานทางการเขียน การเขียนโครงเรื่อง  การเขียนย่อหน้า การเขียนรายงานทางวิขาการ การเขียนบทความ การเขียนสารคดี การเขียนบันเทิงคดี และการเขียนวิจารณ์

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น

โดย สถาบันราชภัฏสวนดุสิต หนังสือเล่มนี้จัดทำเพื่อใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสถาบัน โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หน่วยได้แก่ การสื่อสารและการสืบค้น  การพัฒนาทางปัญญา  และสารนิเทศปัจจุบันกับการพัฒนาทางปัญญา ซึ่งรายละเอียดของเนื้อหามีทั้งทฤษฎีและตัวอย่าง เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งค้นพบและพัฒนาแนวทางการสื่อสารและสืบค้นต่อไป

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

โดย คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เนื้อหาในเล่มจัดทำเพื่อมุ่งหวังที่จะพัฒนาทักษะทางด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน รวมทั้งศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมให้การสื่อสารมีศักยภาพและประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น ทักษะการใช้ภาษาไทยเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย เพราะเราต้องใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารทั้งในชีวิตประจำวัน และในหน้าที่การงาน ตลอดจนการศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ อีกด้วย  เนื้อหาประกอบด้วย 

  • ภาษากับการสื่อสาร 
  • การฟังเพื่อการสื่อสาร 
  • การอ่านเพื่อการสื่อสาร 
  • การพูดเพื่อการสื่อสาร 
  • บทส่งท้ายการเขียนเพื่อการสื่อสาร

 

เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7

โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เนื้อหาในชุดวิชานี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ เล่มที่ 1 หน่วยที่ 1-7 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาไทยโดยเลือกมาเฉพาะที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ไวยากรณ์หรือภาษาศาสตร์โดยตรง 

เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15

โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เนื้อหาในชุดวิชานี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนละหนึ่งเล่ม  เล่มที่ 2  คือหน่วยที่ 8-15 เป็นเนื้อหาภาษาที่ใช้ในวงการสื่อสารมวลชน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่นักนิเทศศาสตร์ควรศึกษา

ภาษาเพื่อการสื่อสาร

   ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร บรรณาธิการโดย จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ วีรวัฒน์ อินทรพร
     เล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจในการใช้ทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เนื้อหาประกอบด้วย การสื่อสารกับการแสดงความคิด ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย การฟังและการอ่านเพื่อความเข้าใจ การเขียนเพื่อการสื่อสาร และ การพูดในที่ประชุมชน


เรียนวิชานี้ที่ Thai MOOC

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top