จดโน้ตแบบนี้สมองชอบจัง

จดโน๊ตแบบนี้สมองชอบจัง

จดโน้ตแบบนี้สมองชอบจัง เป็นหนังสือที่จะช่วยจัดระเบียบความคิด เป็นมิตรกับสมอง

จดโน๊ตแบบนี้สมองชอบจัง  ช่วยตอบคำถามที่ว่า จดโน้ตเพื่ออะไร ? เมื่อถามคำถามนี้ออกไปคนส่วนใหญ่มักตอบกลับมาว่า จดเพื่อไม่ให้ลืม ปกติแล้วเราจดโน้ตเพื่อไม่ลืมก็จริงนะคะ แต่ถ้าจุดประสงค์ของการจดโน้ตมีไว้เพื่อไม่ลืมเท่านั้นแสดงว่าเราก็ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการจดโน้ตอย่างเต็มที่ค่ะ ถ้าอย่างนั้นเราต้องจดโน้ตอย่างไรล่ะ คำตอบก็คือเราต้องจดโน้ตที่ทำให้ จำได้ทันที อ่านแล้วจำได้ทันทีนอกจากจะทำให้คิดไอดีใหม่ๆได้ง่ายแล้วเรายังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการจดโน๊ตในหนังสือ จดโน๊ตแบบนี้สมองชอบจัง มีดังนี้

  • เรียบเรียง (เรียบเรียงประเด็นสำคัญของงาน)
  • กำหนด (ค้นหาปัญหาและกำหนดเป้าหมายใหม่)
  • พิจารณา ค้นหาไอเดียใหม่ ๆ)
  • ให้คำแนะนำ (ให้คำแนะนำแก่ลูกน้องหรือสมาชิกในทีม)

จดโน้ตให้ตัวเองในอนาคตที่ขี้ลืมได้ทันที เวลาจดโน้ตให้นึกถึงตัวเราในอนาคต เช่นถ้าจดแบบนี้น่าจะเข้าใจ ถ้าจดแบบนี้น่าจะรู้สึกสนุก หรือถ้าจะเอาแบบนี้ตัวเองน่าจะอ่านไม่เข้าใจ การจดโน้ตโดยนึกถึงตัวเองในอนาคตเป็นเรื่องสนุกอย่างคาดไม่ถึงเรื่องได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างเห็นได้ชัดการจดโน๊ตจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

แทนที่จะให้สมองจดจำให้จดข้อมูลลงไปในสมุดโน๊ต ปัจจุบันเป็นยุคที่เราต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมาศาล ด้วยเหตุนี้เราไม่ควรพึ่งพาสมองเพียงอย่างเดียวแต่เราควรจดข้อมูลลงไปในสมุดโน๊ตแล้วให้สมองได้คบคิด เวลาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมากลงไปได้หมดเราจึงจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์แบบพกพา แบบเดียวกันเวลาที่สมองของเราไม่สามารถจดจำข้อมูลได้หมดเราก็จำเป็นต้องเก็บข้อมูลลงในสมุดโน๊ต เพื่อให้สามารถหยิบมาใช้ได้ทุกเวลาและสิ่งจำเป็นในการจดสมุดโน๊ตในยุคนี้ที่มีข้อมูลล้นหลามก็คือการจดโน้ตแบบอนาคต

เทคนิคจดโน้ตที่ทำให้นำไอเดียเก่ากลับมาใช้ประโยชน์ได้ เทคนิคนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นหาข้อมูลเจอ เราจึงควรเขียนวันเดือนปีที่จดข้อมูลหรือไอดีเอาไว้เมื่อตัวเราเองอนาคตกลับมาอ่านสมุดโน้ตแล้วก็แค่เปิดไปดูหน้าที่จดวันเวลา ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่คุณค้นหาข้อมูลแล้วคุณก็จะได้เจอไอเดียเก่าที่ตัวเองเคยหยุดวันไหนนั้น

การจดโน้ตแบบอนาคต 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 การจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูล

ประเภทที่ 2 การจดโน้ตสำหรับคิดไอเดีย

ประเภทที่ 3 การจดโน้ตสำหรับถ่ายทอดความคิด

การจดโน๊ตทำสรุปข้อมูล เทคนิคจดโน้ตที่สรุปข้อมูลให้เข้าใจง่ายขึ้นการทำงานจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราใช้เทคนิคนี้เมื่อต้องการเรียบเรียงข้อมูลที่ยุ่งเหยิงหรือสรุปประเด็นสำคัญที่พูดคุยกันในระหว่างที่ประชุมพูดอีกอย่าง ก็คือมันเป็นเทคนิคที่ทำให้ข้อมูลที่ยุ่งเหยิงกลายเป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ง่ายและนำไปใช้ได้ เพียงแค่นำเทคนิคจดโน้ตนี้ไปใช้การทำงานก็จะราบรื่นมากขึ้นค่ะ

การจดโน๊ตสำหรับคิดไอเดีย เทคนิคจากโน้ตที่จะช่วยให้คิดไอเดียได้ง่ายการจดประเภทที่ 2 นี้จะใช้รูปประกอบเนื่องจากการใช้แผนภาพหรือรูปภาพจะช่วยกระตุ้นสมองซีกขวาของคน เราจึงสามารถคิดไอเดียใหม่ๆได้ ถ้าเราจดจำเทคนิคนี้ได้และนำไปใช้เราก็จะคิดไอเดียออกได้ง่ายขึ้นจนน่าทึ่งอาจถึงขั้นสามารถคิตตี้เดือนนับด้วยไอเดียได้ในเวลา 1 ชั่วโมง

การจดสำหรับถ่ายทอดความคิด เทคนิคจดโน้ต เป็นเทคนิคจดโน้ตที่นำข้อมูลจากการจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูลและจดโน้ตไอเดียมาถ่ายทอดให้คนเข้าใจง่าย จึงแนะนำเทคนิคจดโน้ตนี้ให้กับคนที่ทำงานเป็นทีม คนที่จะมาร่วมกับหัวหน้าและลูกน้องหรือคนที่ต้องติดต่อประสานงานกับคนภายนอกบริษัท

จดโน๊ตแบบนี้สมองชอบจัง ช่วยให้เราได้ข้อมูลที่สรุปแล้วเปรียบเทียบเหมือนอาวุธ

ข้อมูลที่ไม่ได้สรุปเปรียบเทียบเหมือนขยะ

เราไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ถ้าไม่เรียบเรียงข้อมูลเสียก่อน ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ก็ไม่ต่างกับขยะที่กองสำหรับตัวเราการจดโน๊ตสำหรับข้อมูลเป็นเทคนิคจะโน้ตที่ช่วยให้การเรียบเรียงข้อมูลส่งผลให้เราสามารถเรียบเรียงข้อมูลที่ต้องใช้ในเวลาทำงานได้

       ความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานระยะหลังนี้เรามักได้ยินคำว่าความคิดสร้างสรรค์อยู่บ่อยๆ นอกจากในวงการภาพยนตร์ โทรทัศน์และดนตรีแล้วแม้แต่บริษัท ผู้ผลิต ธนาคารถึงผู้บริหารในหน่วยงานสการก็ยังพูดเป็นเสียงเดียวว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็น สตีฟ จอบส์ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple ก็มองว่าความคิดสร้างสรรค์จะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อทำธุรกิจในยุคสมัยหลังจากนี้จะได้ ประหลาดใจก็คือมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่รู้ว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นช่วยกันทำงานไม่เพียงเท่านี้เรามักได้ยินหลายคนในบริษัทที่ทำงานพูดในทำนองเดียวกันว่า งานที่ตัวเองทำอยู่หรือที่ต้องทำในนาคตไม่เกี่ยวอะไรกับความคิดสร้างสรรค์ แต่จริง ๆ แล้วความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบันและหลังจากนี้อีกทั้งมีความสำคัญมากกับคนที่ต้องคิดไอเดีย

           สิ่งที่ช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์คือการได้ทักษะการจอดรถที่ยอดเยี่ยม ในบทนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดโน๊ตสำหรับคิดไอเดียช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์และสามารถคิดไอเดียได้ง่ายอย่างคาดไม่ถึง แม้แต่คนที่คิดว่าตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์มาโดยตลอดก็สามารถทำได้และมีความคิดสร้างสรรค์ได้

เทคนิคจดโน้ตกับการถ่ายทอดความคิด เนื่องจากการทำงานเราจำเป็นจะต้องติดต่อประสานงานกับผู้อื่นเช่น หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ลูกค้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นควรเข้าใจความคิดกันและกัน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญหากเราสามารถถ่ายทอดความคิดหรือความตั้งใจของตัวเองให้คนอื่นเข้าใจได้การทำงานก็ดำเนินไปได้ด้วยดี อันที่จริงเราจดโน้ตโดยใช้เทคนิคจดโน้ตสลับสรุปข้อมูลและไอเดียแล้วถ่ายรูปสมุดโน๊ตส่งไปให้สมาชิกในทีมลูกค้าดูพวกเขาก็จะเข้าใจแล้วค่ะ อย่างไรก็ตามอยากให้พวกเราลองนำเทคนิคเทคนิคจดโน้ตสำหรับถ่ายทอดความคิดไปใช้ดูค่ะเพื่อให้คุณถ่ายทอดความคิดได้ดีมากขึ้น การจดโน๊ตสำหรับการถ่ายทอดความคิดที่มีอยู่ด้วยกัน 3 เทคนิคเมื่อเรานั้นเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ก็จะสามารถถ่ายทอดความคิดได้อย่างถูกต้องและน่าสนใจค่ะ

จดโน้ตแบบนี้สมองชอบจัง / โคนิชิ โทชิยูกิ.

Authorโทชิยูกิ, โคนิชิ
Publishedกรุงเทพฯ : วีเลิร์น, 2562
Detail275 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซม
Subject
Added Authorทินภาส พาหะนิชย์ ผู้แปล
เลขหมู่LB2395.25 ท9จ 2562
Contentsการจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูล — การจดโน้ตสำหรับคิดไอเดีย — การจดโน้ตสำหรับถ่ายทอดความคิด — การจดโน้ตแบบเซียน

Hits: 64

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกดแชร์ด้วยนะคะ

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top