9 นวนิยายซีรีส์ผ้า : ซึมซับวัฒนธรรมหลากผืนผ้าผ่านงานเขียนของพงศกร

นวนิยายซีรีส์ผ้า เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของผืนผ้าโบราณที่มีอายุยืนยาวล้วนต่างเจ้าของ ต่างวัฒนธรรม มีความสวยงามและทรงคุณค่าทั้งลวดลายและสีสันทั้งนั้น และยังแฝงด้วยเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ ชวนคุณมาซึมซับวัฒนธรรมหลากผืนผ้าของคุณหมอพงศกร ผ่านหนังสือ นวนวนิยายซีรีส์ผ้า ทั้ง 9 เรื่อง  หาอ่านกันได้

จากผลงานของคุณหมอพงศกร  จินดาวัฒนะ  เจ้าของนามปากกา “พงศกร”  ใน นวนิยายซีรีส์ผ้า  เขียนเรื่องราวหลากหลายมุม โดยใช้ผืนผ้าหลายประเทศ หลากภูมิภาค และหลากหลายวัฒนธรรม ผืนผ้าเหล่านี้มีความสวยงาม หลากสีสัน และนับเป็นความยิ่งใหญ่แห่งสีสันของวัฒนธรรมในแต่ละสังคม และหน้าที่ในการถักทอผืนผ้าล้วนเป็นกิจกรรมของผู้หญิง อาจกล่าวได้ว่า ผ้าทอมีความผูกพันที่เกี่ยวโยงกับพิธีกรรมและเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนแต่ละชนชาติมานานนับศตวรรษ จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “มรดกทางสังคม” ดังนั้น ลวดลายผ้าจึงเป็นสื่อวัตถุเชิงสัญลักษณ์ที่ ผู้หญิงใช้แสดงออกในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือความหมายออกไปยังสังคม ด้วยหลายนัยความหมาย และสะท้อนภาพความเป็นหญิงที่มีความผูกพันกับชิ้นงานผ่านกรรมวิธีการผลิตและสภาพแวดล้อมทางสังคมหลายมุม (กิ่งผกา อังกาบ, 2561) ลองมาอ่านกันค่ะ 

รายชื่อนวนิยายซีรีส์ผ้า ทั้ง 9 เล่ม
นวนิยายซีรีส์ผ้า

กี่เพ้า

TagData
CallnumberFic. พ2ก 2555
Authorพงศกร
Titleกี่เพ้า / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 6
Publishedกรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2555
Detail589 หน้า ; 21 ซม
กี่เพ้า

กี่เพ้า ภาษาจีนเรียกว่า ฉีผาว แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาวชิ้นเดียว เกิดขึ้นในสมัยการปกครองของราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) หรือสมัยที่ชาวแมนจูเป็นใหญ่ในประเทศจีนทำให้ชาวแมนจูเป็นผู้มีอิทธิพลในสมัยนั้น และพวกเขาได้ออกกฏหมายให้ผู้หญิงชาวแมนจูใส่ “ชุดกี่เพ้า” เป็นชุดใส่ทั่วไปในชีวิตประจำวันทำให้สมัยก่อน “ชุดกี่เพ้า” ได้ชื่อว่าเป็นชุดของคนชนชั้นสูง  แต่เดิมทรงของชุดกี่เพ้าจะไม่ใช่อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ แต่จะเป็นชุดทรงกว้าง ใส่หลวม ๆ คลุมทั้งตัวผู้หญิงเหลือไว้เพียงหัว มือ และเท้าเท่านั้น แต่ก็ค่อย ๆ ถูกผสานเข้ากับทรงของชาวฮั่น (ชาวจีนท้องถิ่น) รวมถึงทรงของโลกตะวันตกทำให้ทรงชุดกี่เพ้าเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

(ที่มา : KomChadLuekOnline)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

สิเน่หาส่าหรี

agData
CallnumberFic. พ2ส 2555
Authorพงศกร
Titleสิเน่หาส่าหรี / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 3
Publishedกรุงเทพฯ : อักษรโสภณ, 2555
Detail649 หน้า ; 21 ซม
นวนิยายซีรีส์ผ้า
ขอบคุณภาพจาก freepix

ส่าหรีและการนุ่งห่ม

ส่าหรีเป็นเครื่องแต่งกายของหญิงชาวอินเดีย ซึ่งเกิดจากการนำผ้าชิ้นผืนยาวกว่า 5 เมตร มานุ่งหรือพันให้ถูกวิธี ผ้าที่นำมาทำส่าหรีนั้นมีตั้งแต่เนื้อผ้าบางเบา จนถึงผ้าไหมส่วนวิธี (ขอเรียกว่า) พันส่าหรีนั้น มีมากกว่า 30 วิธี บางครั้งวิธีแต่งการด้วยส่าหรีของผู้หญิงอินเดีย สามารถบ่งบอกถึงภูมิลำเนาของเธอได้ด้วย เพราะแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละเมืองก็มีวิธีแต่งกายด้วยส่าหรีที่เป็นเอกลักษณ์ ของตนเองแตกต่างกันออกไป ส่วนวิธีพันส่าหรีที่ มาเรียนกันในวันนี้เป็นแบบที่เรียกว่า Nivi Style ซึ่งเป็นแบบที่ผู้หญิงชาวอินเดียนิยมที่สุด และใช้ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป เรียกได้ว่าเป็นวิธีพันส่าหรีที่เบสิกสุดๆ เลยก็ได้
(ที่มา : PostJung KomChadLuekOnline)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

เลห์ลุนตยา

tagData
CallnumberFic. พ25ล 2562
Authorพงศกร
Titleเล่ห์ลุนตยา / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 3
Publishedกรุงเทพฯ : กรุ๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2562
Detail483 หน้า ; 21 ซม
นวนิยายซีรีส์ผ้า
ขอบคุณภาพจาก Dada ลุนตยา ผ้าโบราณ

ลุนตยา

ผ้าลุนตยาเป็นชื่อเรียกย่อของคำว่า “ลุนตยาอะฉิก” ชาวพม่าออกเสียง “โลนตะหย่า” แปลว่า ร้อยกระสวย เนื่องจากเป็นผ้าทอเทคนิคพิเศษที่ต้องใช้กระสวยบรรจุเส้นไหมสีต่างๆ นับร้อยๆ กระสวย ส่วน “อะฉิก” แปลว่าลายคลื่น เรียกตามลวดลายลูกคลื่นที่ปรากฏบนผ้าทอ ว่ากันว่า ลายลูกคลื่นนี้ไม่ใช่สักแต่ว่าประดิษฐ์ขึ้นให้มีความงามพลิ้วไหวเท่านั้น แต่ยังซ่อนสัญลักษณ์คติจักรวาลทางพุทธศาสนาอีกด้วย  เหตุเพราะลายลูกคลื่นนี้ทำซ้อนขดตัวกันถึงเจ็ดชั้นไล่โทนสีกันไป หมายถึงเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้งเจ็ดที่ตั้งรายล้อมเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของโลก ภูเขาทั้งเจ็ดลูกนับจากชั้นในสุดออกมา กอปรด้วย ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินันตะกะ อัสกัณณะ แต่ละช่วงภูเขาถูกคั่นด้วยมหานทีสีทันดร เกลียวคลื่นทะเลนี้ถ่ายทอดบนผืนผ้าด้วยลายโค้งมนตอนล่างรองรับเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเวลาทอช่างต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งด้วยเทคนิคการล้วงแบบพิเศษ เพราะไม่ใช่ลายเรขาคณิตเหมือนผ้าทอประเภทอื่นๆ

(ที่มา : (khunchaiyod9t .#เกร็ดความรู้ “ผ้าซิ่นลุนตยา”)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

บุหงาบาติก

 

TagData
CallnumberFic. พ25บ 2560
Authorพงศกร
Titleบุหงาบาติก / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 3
Publishedกรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2560
Detail571 หน้า ; 21 ซม
นวนิยายซีรีส์ผ้า
ขอบคุณภาพจาก Thailand Plus Online

ผ้าบาติก

 ผ้าบาติก หรือเรียกอีกอย่างว่า ผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเท่านั้น ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ เมื่อย้อนกลับไปคำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาที่ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำ ว่า “ ติก”  มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ๆ และลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกที่ยังคงอยู่ก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีกเป็นมาตรฐาน นับเป็นกรรมวิธีที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง 

(ที่มา : (Peeranat Chansakoolnee, 2562)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

กลกิโมโน

TagData
CallnumberFic. พ2ก4 2557
Authorพงศกร
Titleกลกิโมโน / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 1
Publishedกรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2557
Detail496 หน้า ; 21 ซม
นวนิยายซีรีส์ผ้า
ขอบคุณภาพจาก Vogue Thailand

กิโมโน

ตามตัวอักษรคันจิ คำว่า ‘กิโมโน’ แปลเป็นภาษาไทยว่า เสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งกิโมโนเป็นการนำผ้า 4 ส่วนมาเย็บต่อกันเป็นรูปทรงคล้ายตัวอักษร T เมื่อใส่แล้วจะพรางรูปผู้สวมใส่โดยไม่ให้เห็นสัดส่วนที่แท้จริง ส่วนวิธีการสวมใส่เริ่มจากการพบทับของผ้าไปมา ซึ่งต้องเริ่มพับจากด้านขวาแล้วทับด้วยด้านซ้ายเสมอ จากนั้นรัดด้วยสายรัดที่เรียกว่า ‘โอบิ’ เพื่อรัดเสื้อคลุมให้อยู่คงที่ ซึ่งเงื่อนของโอบิสามารถผูกปมได้หลายประเภทตามความต้องการ อีกส่วนที่ขาดไม่ได้คือส่วนของปกคอ ซึ่งปกคอที่สวยงามจะต้องมีความกว้างประมาณฝ่ามือและเผยให้เห็นหลังคอผู้สวมใส่ นอกจากนี้ การใส่กิโมโนจะต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ มากถึง 15 ชิ้น ในการประกอบกันเป็นชุดกิโมโน ซึ่งต้องอาศัยความประณีตและความชำนาญสูงในการใส่แต่ละครั้ง

(ที่มา : (Vogue Thailand, 2564)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

เลื่อมลวง

TagData
CallnumberFic. พ25ล 2561
Authorพงศกร
Titleเลื่อมลวง / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 3
Publishedกรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2561
Detail443 หน้า ; 21 ซม
การปักเลื่อม
ขอบคุณภาพจาก Pinterest

การปักเลื่อม

งานปัก เป็นรูปแบบของศิลปะการแต่งเติม เพื่อเสริมความสวยงามให้แก่เครื่องแต่งกาย งานปักมีทั้งแบบเป็น งานปักมือ ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน ที่ถือว่าเป็นงานฝีมือชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความพิถีพิถัน ความละเอียดรอบคอบ นอกจากงานปักจะเป็นของที่ช่วยเสริมความสวยงามแล้ว ยังสามารถสื่อความหมายได้อีกด้วย 

การปักเลื่อม เป็นรูปแบบการปักเลื่อมเข้ากับผ้า เพื่อให้เกิดความวิบวับ แวววาวของลาย เป็นรูปแบบของงานปักที่ต้องอาศัยความพิถีพิถันอย่างสูง การปักเลื่อมอาจจะใช้ลูกปัดมาปักเพิ่มด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงามได้ อีกทั้งการปักเลื่อมยังเป็นการปักที่ช่วยทำให้ของดูมีราคาขึ้นอีกด้วย การปักนี้ใช้กับการปักเสื้อ ปักกางเกง ปักกระเป๋า ปักรองเท้า ปักหมวก พวกกุญแจ เข็มกลัด เพื่อเพิ่มมิติ และ ความสวยงามให้เครื่องแต่งกาย ข้อดีคือน้ำหนักเบา เพิ่มความสวยงามให้กับเครื่องแต่งกาย

(ที่มา : (bemyfriend agency, 2021)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

ลูกไม้ลายสนธยา

TagData
CallnumberFic. พ25ล 2557
Authorพงศกร
Titleลูกไม้ลายสนธยา / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 2
Publishedกรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2557
Lace fabric)
ขอบคุณภาพจาก Pinterest

ผ้าลูกไม้

ผ้าลูกไม้ (Lace) เป็นผ้าเนื้อละเอียดที่ทำจากเส้นด้ายด้วยการถักทอจากมือหรือเครื่องจักรให้มีลวดลายที่สวยงามจากผ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นลวดลายเเบบไหน  หรือว่าทำมาจากวัสดุอะไร (ออร์แกนิก ผ้าใยสังเคราะห์) ผ้าลูกไม้ซึ่งได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 16 ถือได้ว่ามีพลังพิเศษอย่างมากในโลกของผ้าที่ใช้ในการตกเเต่ง เมื่อก่อนผ้าลูกไม้สื่อถึงหญิงขายบริการ เเต่ทุกวันนี้กลับสื่อถึงความเป็นผู้หญิง

  ลูกไม้เข้ามาได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 16 โดยเมื่อก่อนผ้าลูกไม้ทำด้วยผ้าลินิน ผ้าไหมสีทองหรือสีเงิน ปัจจุบันลูกไม้ที่เย็บด้วยมือมักทำด้วยด้ายฝ้าย ในขณะที่ลูกไม้ที่เย็บจากเครื่องจักรจะทำจากใยสังเคราะห์   ช่างสมัยใหม่บางคนทำลูกไม้ด้วยลวดทองแดงหรือเงิน 

ในประเทศไทย ผ้าทอไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ให้การทอผ้าเป็นความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมของประเทศ ผ้าซิ่นไหมไทยทอมือและเสื้อลูกไม้ (Lace Thailand) มักสวมใส่ในโอกาสสำคัญทางสังคมในประเทศไทย            

(ที่มา : (United Lace, 2021)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

รอยไหม

หาซื้อได้จากร้านหนังสือทั่วไป 

ผ้าไหม
ขอบคุณภาพจาก Bareo&ISYSS

ผ้าไหม

       ผ้าไหม ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของเมืองไทย มีความงดงามของเส้นไหมที่เป็นเอกลักษณ์ ลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ทำให้เป็นผ้าไทย ที่ได้รับความนิยม และโด่งดังไปทั่วโลก สำหรับเดือนนี้ทางบาริโอ บริษัทออกแบบตกแต่งภายใน จึงขอถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นไทยในเรื่องของ ผ้าไหมไทย และงานออกแบบมาให้คนรักการตกแต่งภายใน นำไปประยุกต์ใช้หรือเป็นความรู้เพิ่มเติมสำหรับการตกแต่งภายในบ้าน

      การทอผ้าไหมของประเทศไทย ในอดีตเป็นการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน หรืองานสังคมต่างๆ คนไทยมีการนำเอาศิลปะมาประยุกต์ใช้กับวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และมากยิ่งกว่าการใช้งาน คือความสวยงามและความมีเสน่ห์แบบไทย เป็นการแสดงถึงความประณีตของคนไทยที่มีมาแต่ในอดีตและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบซึ่งยังสืบต่อมาถึงปัจจุบัน และยังคงสร้างสรรค์ผลงานจากผ้าไหมในรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น 

      ผ้าไหมมีมากมายหลากหลายชนิด โดยแบ่งแยกตามภูมิภาค และประเพณีดั้งเดิม โดยแต่ละที่จะมีลวดลายที่แตกต่างกัน โดยการจำแนกชนิดของผ้าไหมจะจำแนกตามลวดลายที่ได้ทอขึ้นมาซึ่งมีมากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่จะขอยกเพียงตัวอย่างชนิดของผ้าเพื่อเป็นแบบอย่างในการเลือกซื้อ หรือการปรับปรุงการใช้งานต่อไปของคนรักการออกแบบตกแต่งภายใน ได้แก่ ผ้ายก ผ้าจก ผ้าแพรวา ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมเกาะหรือล้วง ผ้าไหมพื้น เป็นตัน

(ที่มา : (Bareo&ISYSS)

นวนิยายซีรีส์ผ้า

สาปภูษา

TagData
CallnumberFic. พ2ส 2552
Authorพงศกร
Titleสาปภูษา / พงศกร
Editionพิมพ์ครั้งที่ 3
Publishedกรุงเทพฯ : เพื่อนดี, 2552
ขอบคุณภาพจาก Posted on by ร้านพิดา ชุดผ้าไทย

ความเชื่อเกี่ยวกับผ้า

ผู้เขียนได้นำความเชื่อเกี่ยวกับผ้ามาเล่าผสานในการดำเนินเรื่องได้อย่างน่าสนใจ จะเห็นว่าชุดชาวม้งในเรื่อง “สาปภูษา” มีวิถีที่เกี่ยวพันกับความเชื่อ และวิถีวัฒนธรรมอันสืบทอดมาจากบรรพกาล โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องประเพณี และความเชื่อในเรื่อง การแต่งชุดม้งให้กับผู้ที่เสียชีวิต อีกทั้งยังเป็นการแทรกคติความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตายอีกด้วยอาจกล่าวได้ว่า ความสำคัญของลวดลายผ้า นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ในแง่ของความเชื่อยังเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของผู้สวมใส่หรือเจ้าของเสื้อผ้า กล่าวคือ ผ้าทอสามารถถ่ายทอดวิถี เรื่องราว ความหมาย ความเชื่อ ความศรัทธา ผ่านการถักทอสู่ลวดลายใน ดังปรากฏในหนังสือของผู้เขียน  (ที่มา : (กิ่งผกา อังกาบ, 2561)

จากเรื่องราวของ นวนิยายซีรีส์ผ้า ของผู้เขียนนั้น แสดงให้เห็นถึงความลุ่มลึกและการค้นคว้าหาความรู้ของตัวผู้เขียนเอง และนำมาเขียนเป็นเรื่องราวที่น่าติดตาม อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียนและเรื่องเหล่านี้

ขอบคุณภาพจาก พงศกร
นวนิยายซีรีส์ผ้า
ขอบคุณภาพจาก GROOVE PUBLISHING
Karo
Karo

บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ อ่านนิยายไม่เยอะ แต่ชอบชุดนี้มาก

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top