29 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : 29 ชื่อเรียก

29 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : 29 ชื่อเรียก 

มีชื่อเฉพาะอะไรบ้าง หรือมีที่มีอย่างไร

       29 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  จะครบรอบการสถาปนาในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ชื่อเรียกสถานที่ อาคารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกกันยังคงใช้กันมาถึงปัจจุบัน และยังมีชื่อเรียกทั่วไปที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละช่วงเวลา แต่ชื่อเรียกทั้งหลายล้วนมีที่มาและเป็นชื่อที่มีความหมายเฉพาะ เรามาเรียนรู้กันว่า 29 ชื่อเรียกที่คัดสรรมานั้นมีชื่อเรียกอะไรบ้าง  มาค่ะ ชวนอ่าน  กันค่ะ 

ในโอกาสครบรอบการสถาปนา 29 ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงขอคัดชื่อเรียกที่มีืทั้งเก่าและใหม่ปนกันไป แต่ทุกคำล้วนมีที่มา และมีความหมายเฉพาะที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เท่านั้ 

       ชื่อ หรือ นาม  หมายถึง สิ่งที่ใช้เรียกแทนตัวบุคคล อันสื่อถึงตัวบุคคลหนึ่งได้ทันที ใช้จำแนกลักษณะบุคคล ตลอดจนสิ่งของต่าง ๆ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต  และหากเรามีชื่อที่ดี  ดีในที่นี้คือเป็นชื่อที่ฟังแล้วไพเราะ มีความโดดเด่น เมื่อเอ่ยชื่อนั้น ๆ เราจะนึกภาพได้ทันที  หรืออาจะเป็นชื่อเรียกที่เราไม่คุ้น  เราจะต้องอ่าน เรียนรู้และจดจำชื่อนั้นได้ 

ชื่อเรียกเฉพาะ

1. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ชื่อมหาวิทยาลัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อมหาวิทยาลัย ที่จัดตั้งที่จังหวัดนครศรีธรรมราช นามว่า "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Walailak Univertsity มีชื่อย่อว่า "มวล." และ "WU"
2. มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มีรูปแบบเป็น "มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล" บริหารอิสระจากระบบราชการ มีระบบบริหารงานเป็นของตนเอง
3. มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ
มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University และเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน โดยจัดพื้นที่ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบในลักษณะอุทยานการศึกษา และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตเดียว
4. ตรา จภ.
มาจากพระนามย่อของ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี หรือขณะนั้นนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระราชทานอนุญาตให้อัญเชิญตามพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัย
5. UKPSF
ระบบ UKPSF (The UK Professional Standards Framework) เป็นการเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนแบบเดิมที่เน้นการท่องจำ มาเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตั้งโจทย์คำถาม หรื Active Learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ และใกล้ชิดกันตลอดเวลา และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นอันดับ 1 ในประเทศไทยที่มีการเรียนการสอน UKPSF
6. WU LAND of Glory
วลัยลักษณ์ดินแดนแห่งความรุ่งโรจน์ เป็นแนวคิด WU LAND of Glory เพื่อฉลองครบปีที่ 26 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย และยังคงมาถึงปีนี้ ปีที่ 29 เห็นถึงพัฒนาการความก้าวหน้าในการจัดการศึกษา ความก้าวหน้าของงานวิจัยผลงานวิชาการ และการดำเนินงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
7. ประดู่
เป็นชื่อต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd. ชื่อวงศ์ FABACEAE ชื่อสามัญ Padauk ชื่ออื่นๆ เรียกว่า Burmese Rosewood, ประดู่ ดู่บ้าน ภาคใต้เรียกว่า สะโน ต้นประดู่ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เป็นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงา และชื่อนี้ยังใช้เรียกแทนนักศึกษาที่เข้ามาเรียนแต่ละรุ่นว่า ช่อประดู่
8. Smart Classroom
ห้องเรียนที่เป็นห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทคลาสรูม (Smart Classroom) ที่ได้นำเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน อาจารย์สามารถดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ปี
9. ระบบไตรภาค
ระบบการศึกษา เริ่มแรก เรียกว่า ระบบไตรภาคและระบบทวิภาคร่วมด้วย เพื่อความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้จัดการระบบการศึกษาแบบไตรภาค (Trimester System) โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคการศึกษา หนึ่งภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ไม่มีภาคฤดูร้อนเสริมพิเศษ เนื่องจากระบบนี้ยังผลให้ระบบการจัดการศึกษาต่าง ๆ มีบรรยากาศทางวิชาการมากขึ้น
10. ศึกษิต
เป็นคำที่ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้านได้นำความหมายมาจาก น.ม.ส. หรือพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือพระนามเดิม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (น.ม.ส.) ได้ถอดความหมายว่า หมายถึง ผู้มีการศึกษา (Educated Person) ซึ่งปณิธาณของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้นมุ่งมั่นที่จะสร้างบัณฑิตให้เป็นทั้ง “คนดีและคนเก่ง”
11. เดือนประดู่-ดาวประดับ
เดือนประดู่-ดาวประดับ (Walailak University The Star Awards) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ดาวเดือน เป็นการเฟ้นหานักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีความสามารถ เพียบพร้อมทั้งทางด้านภาวะผู้นำ ด้านบุคลิกภาพ และความกล้าแสดงออก เป็นตัวแทนทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการตอบสนองปณิธานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการสร้างบัณฑิตให้เป็น คนดี และคนเก่งอีกด้วย
12. สหกิจศึกษา
ระบบการฝึกงานของนักศึกษาที่เรียกว่า สหกิจศึกษา ที่โดดเด่นและเข้มแข็ง และเป็นมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาต้องฝึกสหกิจศึกษาเป็นเวลา 8 เดือน สะท้อนถึงคุณภาพการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

ชื่อเรียกสถานที่

13. สวนวลัยลักษณ์
สวนสาธารณะของมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 225 ไร่ เป็นสวนสาธารณะมีภูมิทัศน์ที่ร่มรื่น สวยงาม ให้บุคลากร นักศึกษา ประชาชนทั่วไปได้มาออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ ปัจจุบันกลายเป็นจุดเช็กอินของผู้ที่มาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา
14. โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้ตอนบน บนพื้นที่ 405 ไร่ กำลังจะเปิดให้บริกาเต็มรูปแบบในปี 2565
16. สำนักวิชา
สำนักวิชา เป็นชื่อเรียกหน่วยงานเหมือนคณะ มีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยเฉพาะสาขา โดยแต่ละสำนักวิชาประกอบด้วยส่วนธุรการและสถานวิจัย ซึ่งเป็นแหล่งปฏิบัติการวิจัยของคณาจารย์ในสำนักวิชานั้น ๆ
17. อาคารไทยบุรี
เป็นชื่ออาคาร 1,500 ที่นั่ง และมีห้องประชุมขนาด 1,500 ที่นั่งด้วย เรียกว่า ห้องประชุมใหญ่ ไทยบุรี คำว่าไทยบุรี มาจากที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2, 3, 6, 8 และ 10 ตำบลไทยบุรี ซึ่งชื่อนี้มีที่ีมาจากชื่อของเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งมีที่ตั้ง อยู่ ณ บริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปัจจุบัน
18. ตุมปัง
ชื่อห้องประชุม 72 ที่นั่ง ชั้น 2 อาคารไทยบุรี มีที่มาจากโบราณสถานตุมปัง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่ของอำเภอท่าศาลา
19.ซุ้มประตูวลัยคม
ซุ้มประตูวลัยคม” มีความโดดเด่น สวยงาม ดูยิ่งใหญ่ สามารถใช้เป็นสถานที่ประดับตกแต่ง เพื่อเทิดพระเกียรติ และใช้เป็นจุดประดิษฐานเครื่องสักการะอันเนื่องในวโรกาสงานพระราชพิธีต่างๆ ได้อย่างสมพระเกียรติ สามารถติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ประจำพระองค์ได้อย่างสวยงามในช่วงวาระสำคัญต่างๆ
20. ถนนมหาวิทยาลัย
เป็นถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยสายหลัก (ถนนมหาวิทยาลัย) แยกจากถนนเอเชีย (ถนนทางหลวงสาย ๔๐๑ ตอนเลี่ยงเมืองท่าศาลา) ช่วงสุราษฎร์ธานีทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร ช่วงนครศรีธรรมราชทางทิศใต้ ประมาณ ๒๘ กิโลเมตร เข้าสู่มหาวิทยาลัยทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่สองข้างทางได้จัดไว้เป็นที่ร่มรื่นให้ผู้ที่เข้ามาติดต่อได้ชื่นชมกับทัศนียภาพที่ดีในการเดินทางเข้าสู่เขตการศึกษา
21. ถนนวิทยามรรคา
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผังเมืองที่สวยงามมาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผังเมืองดีมาก มีลักษณะเป็นวงแหวนเป็นชั้น ๆ โดยวงแหวนรอบใน ชื่อว่า วิทยมรรคา ความยาวทั้งสิ้น 3,155 เมตร ใช้สัญจรภายในมหาวิทยาลัย และภายในถนนมีซอยเชื่อมถึง 5 สายคือ วิทยามรรคา 1-5
22. ถนนวลัยลักษณา
ถนนวลัยลักษณา ความยาว 5,965 เมตร เชื่อมต่อระหว่างเขตการศึกษาและกลุ่มหอพักนักศึกษา บ้านพักบุคลากร และสถานที่ต่าง ๆ โดยเขตการศึกษา จะอยู่ตอนกลางของพื้นที่ล้อมรอบด้วยถนนที่ทำหน้าที่เป็นคันกั้นน้ำ อาคารอยู่ในบริเวณถนนรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส และมีถนนรอบนอกพร้อมเกาะกลาง เกิดเป็นภาพสี่เหลี่ยม 2 รูปวางซ้อนกัน มีลักษณะคล้ายคลึงกับผังวัดของไทยในพระพุทธศาสนา
23. ลานเพลินตา
ลานอเนกประสงค์ด้านหน้าอาคารไทยบุรี อยู่บริเวณใจกลางเขตการศึกษาเป็นลานกว้างเหมือนใจกลางมหาวิทยาลัย ชื่อนี้มีที่มาจากเจ้าของที่ดินเดิมที่เคยอาศัย ชื่อป้าเพลินตา ปัจจุบันใช้สำหรับการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
24. ถนนลักษณามรรคา
ถนนลักษณามรรคา มีความยาวทั้งสิ้น 1,555 เมตร เป็นถนนรอบเขตหอพักนักศึกษา โดยจะผ่านกลุ่มหอพักนักศึกษาทั้งหมด อาคารโรงอาหาร และศูนย์อาหารกลางคืน หรือปัจจุบันเรียกว่า โรงอาหารช่อประดู่
26. ถนนวลัยมรรคา
ถนนวลัยมรรคา มีความยาวทั้งสิ้น 1,216 เมตร เป็นถนนที่ใช้สัญจรเชื่อมต่อระหว่างเขตการศึกษาและกลุ่มบ้านพักบุคลากร สโมสร และมีถนนซอยเชื่อมถึง 3 สาย คือซอยวลัยมรรคา 1-3
26. ถนนวลัยตุมปัง
ถนนวลัยตุมปัง ความยาวทั้งสิ้น 3,724 เมตร เป็นถนนที่อยู่ล้อมรอบโบราณสถานตุมปัง เชื่อมต่อระหว่างเขตมหาวิทยาลัย และมีถนนซอย 1 สายคือถนนซอยวลัยตุมปัง 1 และยังมีถนนวลัยชลเขต ที่กั้นแดนมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ด้าน
27. ช่อประดู่
ชื่อโรงอาหารกลางคืนของมหาวิทยาลัย ชื่อที่นักศึกษาเรียกเมื่อก่อน โรงมืด ตอนนี้ชื่อโรงประดู่ และยังมีโรงอาหารใกล้อาคารวิชาการ ชื่อหัวตะพาน นำมาจากชื่อตำบลที่ตั้งมหาวิทยาลัย คือหัวตะพาน ปัจจุบันกำลังปรับปรุงใหม่
28. ลักษณานิเวศ
เป็นชื่อของหอพักนักศึกษา อยู่ใกล้กับกลุ่มอาคารเรียนรวมด้านทิศเหนือของเขตการศึกษา เพื่อให้มีบรรยากาศแห่งการศึกษาและอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาที่จะเดินหรือขี่จักรยานไปเรียนหนังสือได้ มีทั้งหมด 15 หลัง
29. วลัยนิวาส
ที่พักบุคลากร อยู่ทางทิศใต้ของเขตการศึกษาใกล้แนวคลองเกียบ ประกอบด้วยอาคารบ้านพักรับรอง สำหรับบุคลากที่มีครอบครัวและมีบุตร อาคารชุดบุคลากรครอบครัว และอาคารชุดบุคลากรโสด เรียกวลัยนิวาส 1-10

ชื่อเรียก ทั้ง 29 ชื่อ เป็นทั้งชื่อเรียกระบบ อาคาร ถนน และชื่ออื่น ๆ ที่เป็นคำเฉพาะ ทั้งมีเฉพาะที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอาจจะเป็นชื่อเรืยกที่พบเจอได้  แต่เมื่อเป็นชื่อเรียกที่มหาวิทยาลัยหมายถึงมีลักษณะพิเศษบางอย่าง เช่น มีลักษณะโดดเด่นในชื่อเรียกนั้น ๆ เป็นต้น  คำบางคำเราอาจจะไม่เคยรู้ว่าหมายถึงอะไร 29 ชื่อเรียกนี้เมื่อใช้ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก็จะมีความหมายเฉพาะที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

29 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top