มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับการแต่งเติมสีสัน : การเปลี่ยนแปลง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กับการแต่งเติมสีสัน

การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เกิดขึ้นหลายด้าน จากมหาวิทยาลัยเล็ก ๆ แต่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่มากกว่า 9,000 ไร่ และในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนาปีที่ 29 และเป็นปีที่มีความเปลี่ยนแปลงมากมาย สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดด้วยตา สัมผัสด้วยใจในพื้นที่ 9,000 กว่าไร่แห่งนี้ คือการแต่งเติมสีสันให้อาคารและสภาพแวดล้อมให้มีสีสันสดใส สวยงาม และมีการตกแต่งสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่น สวยงาม เป็นความสดใสอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่น เป็นที่ประทับใจของผู้คนทั้งภายในและภายนอก เรามาซึมซับสีสันของ การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือ วลัยลักษณ์ในความเปลี่ยนแปลง เหล่านี้กันค่ะ 

ดื่มด่ำธรรมชาติ
ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อยู่บนพื้นที่ระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราช (เขาหลวง) ทางด้านทิศตะวันตกของมหาวิทยาลัย และพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่ขนาบทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอท่าศาลา ภายในเนื้อที่ 9,000 กว่าไร่ของมหาวิทยาลัย รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสงบ มีความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีธรรมชาติบริสุทธิ์ ไม่มีควันพิษ และมีการปรับปรุงพื้นที่ให้มีความสวยงาม บวกกับการมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความร่มรื่น สวยงาม เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยมีคุณภาพและมีความสุข ความสวยงามภายในมหาวิทยาลัยมีหลายจุดที่ีมีทัศนียภาพที่งดงาม โดยเฉพาะการได้นั่งมองพระอาทิตย์ตกดินผ่านภูเขาหลวง บริเวณระเบียงน้ำ สวนวลัยลักษณ์ ทัศนียภาพมุมนี้สัมผัสได้ในยามเช้าและยามเย็น ที่นี่คือวิวหลักล้านเลยทีเดียว และนี่คือส่วนหนึ่งของ การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สวนวลัยลักษณ์
พัฒนาสวนวลัยลักษณ์ (Walailak Park) ให้เป็น landmark สำคัญของมหาวิทยาลัย
และเป็นจุด CHECK IN ที่ทุกคนต้องไม่พลาดเมื่อมาเยือนจังหวัดนครศรีธรรมราช
สวนวลัยลักษณ์

ด้วยแนวคิดหลักของ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ต้องการให้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นแผ่นดินแห่งความรุ่งโรจน์ Walailak Land of Glory

สวนวลัยลักษณ์

สวนวลัยลักษณ์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2560-2561 เป็นสวนสาธารณะที่เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของบุคลากรของมหาวิทยาลัย พี่น้องประชาชนชาวอำเภอท่าศาลา ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชจากในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 255 ไร่ แบ่งเป็นผืนน้ำ 130 ไร่และผืนดิน 125 ไร่ โดยภายในสวนวลัยลักษณ์จะมีจุดเด่นอยู่ที่ลานมโนราห์สีทอง มีระเบียงน้ำให้ผู้มาเยี่ยมเยียนได้นั่งพักผ่อน ให้อาหารปลา พร้อมนั่งชมพระอาทิตย์ตกดินผ่านภูเขาหลวงซึ่งเป็นทัศนียภาพที่งดงามยิ่งเป็นเบื้องหลัง

จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นอกจากนี้ยังมีความร่มรื่นเขียวขจีของต้นไม้นานาชนิดและไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ มีการจัดสวนรูปแบบต่างๆ สวนอังกฤษ สวนญี่ปุ่น สวนแนวตั้ง ดงทองอุไร ดงซอลญ่า ฯลฯ พร้อมซุ้มเฟื่องฟ้ารูปห้วใจ และทุ่งดอกบราซิลเลี่ยนสีเหลืองทองอร่ามรองรับแสงอาทิตย์ยามเช้าบริเวณลานมโนราห์สีทอง อีกด้วย  แวะเวียนมาชมกันได้

 อุทยานพฤกษศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยลักษณ์ มีพื้นที่ประมาณ 1,350 ไร่ รองรับการบริการวิชาการ และเป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย ให้แก่นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปเข้ามาใช้บริการและมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาอุทยานพฤกษศาสตร์ให้มีความโดดเด่นที่สุดในภาคใต้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว

ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงและรวบรวมพันธ์ุไม้นานาชนิด ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจเข้ามาชม รวมถึงการจัดสร้างโดมกระบองเพชร โดมจัดแสดงกล้วยไม้นานาชนิด โถงแสดงวิถีชีวิตชาวเงาะป่าซาไก การจัดสร้างเส้นทางเดินป่า เป็นทางเดินเท้ายกระดับลัดเลาะเข้าไปในพื้นที่ป่าของมหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาพันธ์ุไม้และสัตว์นานาชนิด และการก่อสร้างสะพานสูงเพื่อชมทัศนียภาพธรรมชาติโดยรอบจากมุมสูง และมีเต็นท์ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งเต็นท์ขนาดเล็กสำหรับคนเดียว เต็นท์คู่ และเต็นท์สำหรับครอบครัว รวมทั้งมี ตลาดพฤหัสหรรษา Bota Market Chic & Chill  เป็นตลาดวันพฤหัส บริเวณลานด้านหน้า 

จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 เวลาเห็นอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่มีสีสันจัดจ้านสะดุดตา พลอยทำให้เรารู้สึกสดใสมีชีวิตชีวาไปด้วย ก็เพราะสีสันสด ๆ เหล่านั้น ทำให้สถานที่ที่เคยทรุดโทรม เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาอันเนิ่นนานหรือจืดชืด กลับดูมีสีสันขึ้นอีกเป็นกอง และเมื่อตึกเหล่านั้น อยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวขจี ทำให้เกิดความรู้สึกสดใส สดชื่นไปพร้อมกัน หากมองลงมาเป็นภาพมุมสูง เราจะเห็นเมืองเล็กๆ สีสันหลากหลาย อยู่ท่ามกลางสีเขียวสดชื่น และมีผังเมืองที่สวยงามและเป็นระเบียบ  คือการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สีสัน Colorful
การปรับปรุงอาคาร

อาคารต่าง ๆ มีการทาสีใหม่ พร้อมปรับปรุงภายในและภายนอกอาคารให้มีความสวยงาม และน่าอยู่น่าอาศัย  มีการปรับปรุงทั้งกลุ่มอาคารเรียน  อาคารวิชาการ  ห้องเรียน  ห้องแลป โรงอาหาร อาคารกีฬา เป็นต้น สำหรับอาคารเรียนรวม 1 3 5 7 นั้น การออกแบบออกแบบอาคารและส่วนประกอบอื่น ๆ เหมือนกันหมด ยากแก่การจดจำ จึงปรับปรุงใหม่มีการใช้สีที่แตกต่างกันแต่ละอาคาร และเสาทางเดินเป็นเสมือนการนำทางไปยังอาคารนั้น ๆ ด้วยการทาสีเดียวกับอาคารที่เราสามารถต้องการเป็นปลายทางไปสู่จุดหมายได้ และได้ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบอาคารให้ดูสวยงามมีบรรยากาศและทัศนียภาพที่สวยงาม อันจะเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา และได้ใช้สถานที่อาคารเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ รวมกลุ่มอ่านหนังสือ ทำการบ้าน และกิจกรรมอื่นๆ อย่างมีความสุข

การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อาคารเรียนรวม 7 ใช้สีเหลือง
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สีฟ้าอ่อน คืออาคารเรียนรวม 5
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สีชมพู เป็นอาคารเรียนรวม 1
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ห้องขนาด 150, 300 ที่่นั่ง ปรับปรุงใหม่เป็นห้องอบรม ประชุม สััมมนาและกิจกรรมอื่นๆ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เสากลางภายในอาคารเรียนรวม 5
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เสาระหว่างทางเดิน 3 ใช้สีเขียว
เสาทางเดินระหว่างอาคาร ใช้สีนำทาง
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปรับปรุงพื้นห้อง และทาสีใหม่
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ใช้เป็นห้องสัมมนา หรือประชุม
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทาสีให้สดใส และตกแต่งให้สวยงาม
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทาสีข้างอาคารแต่ละหลัง
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ห้องน้ำสะอาด สวยงาม น่าใช้
โรงอาหารกิจการนักศึกษา
อาคารกีฬาแบดมินตัน
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ห้องส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย (ฟิตเนส)
ศูนย์อาหารช่อประดู่
หอพักนักศึกษา
หอพักนักศึกษา
ห้องน้ำภายในหอพักนักศึกษา
ศูนย์อาหารช่อประดู่
จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อาคารสหกิจศึกษา
จุดเช็คอินมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อาคารสหกิจศึกษา

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอาคารที่ให้บริการการใช้เครื่องมือ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยแก่นักศึกษาและคณาจารย์ ในทุกสาขาวิชา จึงมีกลุ่มอาคารหลายหลังที่มีโครงสร้างภายนอกเหมือนกัน การแต่งแต้มสีสันจึงเป็นการสร้างสีสัน และง่ายต่อการจดจำของประชาคมวลัยลักษณ์และผู้มาเยือน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
AAA_6117-scaled
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ห้องเรียนโซนสีเหลือง
ห้องเรียนโซนสีเขียว
การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Smart Classroom โซนสีฟ้า
Application ประกอบการเรียนการสอน

ห้องปฏิบัติการ (Smart Laboratory) เป็นห้องปฏิบัติการที่นำระบบดิจิทัลมาใช้มากขึ้น ไม่ได้เน้นเพียงแต่อุปกรณ์ทันสมัย แต่อยู่บนแนวคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ผสานคุณค่าเดิมเข้ากับเทคโนโลยีใหม่  สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย ด้วยความสามารถของอาจารย์ และบุคลากรของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Smart Lab

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ด้านการแต่งเติมสีสัน เป็นอีกหนึ่งด้านของการพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ มีความสวยงาม ร่มรื่น สร้างความสุขให้กับผู้อยู่อาศัย และสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน

ภาพสวย ๆ

  • ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  https://dcc.wu.ac.th/ 
  • NANTAPORN KHANTHASUPAHIRAN
  • Bunpoht Baimiden

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top