
ชาร์ลี มังเกอร์ : ชายผู้ไม่เคยยอมอ่อนข้อให้กับความผิดพลาดในการลงทุน

หนังสือ ” ชาร์ลี มังเกอร์ : ชายผู้ไม่เคยยอมอ่อนข้อให้กับความผิดพลาดในการลงทุน” เล่มนี้เน้นไปที่วิธีคิดของ “มังเกอร์” ในฐานะนักลงทุน มังเกอร์บอกไว้ว่าการเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัย “การตอบสนองที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว” เขาเชื่อว่าถ้าพวกเราสามารถก้าวข้ามพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการตัดสินใจแย่ ๆ ได้ เราก็จะได้เปรียบนักลงทุนคนอื่น ๆ ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงการลงทุนของมังเกอร์เป็นหลัก แต่พวกเราก็สามารถนำวิธีคิดของเขามาปรับใช้กับการตัดสินใจเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตได้เช่นกัน เมื่อเข้าใจกรอบความคิดของ “มังเกอร์” แล้ว ย่อมเข้าใจคำพูดและถ้อยแถลงต่าง ๆ ของเขามากขึ้น ชวนอ่านค่ะ
ประวัติ ชาร์ลี มังเกอร์ เป็นรองประธานบริหารของเบิร์คไชร์ ฮาแธเวย์ เขาเป็นคู่หูของวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก และเป็นผู้ร่วมก่อร่างสร้างเบิร์คไชร์จนกลายเป็นมหาอาณาจักรการลงทุนที่ยิ่งใหญ่
มังเกอร์เกิดเมื่อปี 1924 ที่โอมาฮา เช่นเดียวกับบัฟเฟตต์ โดยเขาแก่กว่าวอร์เรน 6 ปี สมัยวัยรุ่น เขาเคยทำงานในร้านขายของชำของคุณปู่ของวอร์เรน และถูกใช้งานหนักมาก แต่ก็ได้เรียนรู้เรื่องธุรกิจมากมายจากการรับจ็อบที่ร้านของครอบครัวบัฟเฟตต์ในครั้งนั้น
คู่หูของบัฟเฟตต์ผู้นี้ เป็นคนเฉลียวฉลาดและเชื่อมั่นในตัวเอง อุปนิสัยติดดิน กินง่ายอยู่ง่ายเช่นเดียวกับปู่บัฟฟ์ ที่ต่างกันคือมัง
เกอร์มีบุคลิกโผงผาง พูดจาขวานผ่าซากจนหลายคนมองว่าหยาบคาย ต่างจากบัฟเฟตต์ที่สุภาพ พูดจาดี และน่าคบหากว่า
จริง ๆ แล้วการพบกันครั้งแรกของมังเกอร์และบัฟเฟตต์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1959 ระหว่างที่มังเกอร์ยังทำงานด้านกฏหมายอยู่ โดยเพื่อนของพวกเขานัดให้มารับประทานอาหารกลางวันกัน ปรากฏว่าทั้งสองถูกชะตากันตั้งแต่แรกพบ และรู้สึกทันทีว่าอีกฝ่ายมีอะไรที่คล้ายคลึงกับตนเอง
ทุกวันนี้ ชาร์ลี มังเกอร์ ยังทำงานกับบัฟเฟตต์ด้วยความสนุกสนานในออฟฟิศเล็กๆ ของเบิร์คไชร์ ในโอมาฮา เหมือนที่เป็นมาตลอดหลายสิบปี บัฟเฟตต์บอกว่า เขาและมังเกอร์จะทำงานต่อไปจนกว่าจะจำกันและกันไม่ได้
(ที่มา : https://clubvi.com/2012/10/16/munger/)
แนวคิดของชาร์ลี บังเกอร์ในการลงทุน
- พื้นฐานของแนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของเกรแฮม เป็นบุคคลที่บังเกอร์และบุฟเฟตต์นับถือมาก จะเริ่มกันที่คำถามสั้นๆค่ะ ว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าตามแนวคิดของเกรแฮมคืออะไร แล้วใครล่ะที่ได้ประโยชน์บ้าง
แนวคิดของหลักการนี้คือ “การลงทุนจะได้ผลมากที่สุดในช่วงตลาดขาลงหรือตลาดนิ่ง ๆ” ช่วงเวลาที่น่าลงมือทำมากที่สุด คือช่วงเวลาที่คนอื่นกลัว เราต้องเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามพฤติกรรมต่าง ๆ จะทำให้คุณ
2. หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของเกรแฮม โดยหัวข้อนี้จะพูดถึงหลักการสำคัญทั้ง 4 หลักการ โดย
หลักการที่ 1 ให้ถือว่าหุ้นเปรียบเสมือนสัดส่วนการเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น การซื้อธุรกิจใด ๆ ให้เข้าใจธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้เสียก่อนแล้วค่อยต่อยอด ออกไป
หลักการที่ 2 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ เพื่อให้มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย คือส่วนต่างที่เป็นบวกระหว่างราคาซ์ื้อขายกับมูลค่าที่แท้จริง
หลักการที่ 3 จงทำให้ตลาดเป็นผู้รับใช้คุณไม่ใช่เจ้านายคุณ แนวคิดการตลาดเปรียบเหมือนคนเป็นโรคไบโพลาร์ เราต้องรู้อารมณ์ของตลาด
หลักการที่่ 4 ทำตัวมีเหตุผลไม่มีอคติและไม่ใช้อารมณ์ คุณสมบัติที่ดีที่สุดของนักลงทุน คือการคิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
3. ภูมิปัญญาอันหลากหลายจากทั้งโลก หลักการเรื่องภูมิปัญญาอันหลากหลายจากทั้งโลกนี้อาจเข้าใจได้ง่ายขึ้นถ้าเห็นภาพว่าเอามาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เราต้องมีกรอบแนวคิดหลายแบบ และนำมารวมกับประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว่้าง ๆ มังเกอร์ยกตัวอย่างธุรกิจหนึ่งซึ่งขึ้นราคาสินค้าแต่กลับขายได้มากขึ้นดู แล้วเปิดแล้วเหมือนจะขัดกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์เรื่องอุปสงค์อุปทาน แต่ถ้ามองในมุมจิตวิทยาก็อาจสรุปได้ว่าสินค้านี้น่าจะเป็นสินค้าประเภทที่ยิ่งราคาสูงคนยิ่งต้องการหรือไม่ก็อาจจะสรุปได้ว่าราคาที่ต่ำเกินไปส่งสัญญาณว่าสินค้าคุณภาพต่ำดังนั้นการขึ้นราคาจึงทำให้ขายดีขึ้น
4. จิตวิทยาแห่งการตัดสินใจที่ผิดพลาดของมนุษย์ มนุษย์นั้นมีหลักการง่ายๆ ที่จะช่วยให้การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกว่าวิธีคิดทางลัดหรือหลักการการตัดสินใจแบบคร่าวๆ หลักการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้คนเราตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้ในชีวิตประจำวันโดยที่เราสามารถจัดการกับการมีข้อมูลที่มากเกินไปหรือต้องคิดคำนวณมากเกินจะรับไหวได้รวมทั้งช่วยให้เรารับมือกับความเสี่ยง ความไม่แน่นอน ความไม่รู้ต่างๆ อย่างไรก็ตามบางครั้งการตัดสินใจแบบคร่าวๆก็ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะทำผิดพลาดแต่มันก็เป็นแค่แนวโน้มค่ะ การที่ผู้คนมีแนวโน้มจะทำอะไรบางอย่างไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะต้องทำแบบนั้นเสมอไปและไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่สามารถเรียนรู้ที่จะก้าวผ่านผลแนวโน้มนั้นนั้นไปได้ค่ะ ซึ่งหมายความว่าทุกคนจำเป็นต้องระมัดระวังที่จะไม่ทำเรื่องผิดพลาดเรานั้น
5. สิ่งที่ถูกที่ควร โรเจอร์ โรแวนสไตล์ ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชี้ให้เห็นว่าความอัจฉริยะของบัฟเฟตต์อยู่ที่ลักษณะนิสัยความใจเย็นความมีวินัยและความมีเหตุผล ความสามารถของเขาเกิดขึ้นจากความเป็นตัวของตัวเองที่หาได้ยากรวมถึงความสามารถที่จะจดจ่ออยู่กับงานแบบตัดขาดจากโลกภายนอกซึ่ง เราก็สามารถพูดถึงมังเกอร์ได้ในทางเดียวกันนักลงทุนทั้งสองคนนี้เป็นคนพิเศษ ในโลกนี้มีชาร์ลี มังเกอร์แค่คนเดียวและมีวอร์เรน บัฟเฟตต์แค่คนเดียว แต่คุณไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับคู่หูนี้เป๊ะๆ นะคะ หากอยากเป็นนักลงทุนที่ดีขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยพวกเราสามารถเพิ่มทักษะในการอ่านคิดเรียนรู้หลีกเลี่ยงเปล่าจากความผิดพลาดและความสนใจคุณลักษณะที่นำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย 13 สิ่งที่ควรทำ ที่เขาได้ค้นพบมาตลอดหลายปี
- อดทนใจเย็น
- มีวินัย ทำตามแผนการที่วางไว้
- สงบนิ่ง แต่กล้าหาญ
- ฉลาดพอสมควร แต่อย่าโดนไอคิวสูง
- ซื่อสัตย์
- มั่นใจแต่ไม่ยึดติดกับอุดมคติ
- มองระยะยาว
- มีความหลงไหล
- ขยันที่จะเรียนรู้
- หาเพื่อน
- อารมณ์ที่มั่นคง ยืนหยัด
- ประหยัด
- หลีกเลี่ยงความเสี่ยง คือการไม่ได้ผลตอบแทนที่เพียงพอ
6. ตัวแปรต่าง ๆ ในวิธีการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของ เกรแฮม เราได้พูดถึงหลักการพื้นฐานของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของเกรแฮมไปเรียบร้อยแล้วตอนนี้เรามาดูกันค่ะว่านักลงทุนจะสร้างแบบแผนการลงทุนเฉพาะตัวได้อย่างไรโดยที่ยังเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าอยู่จากที่เคยเก่าถึงโครงสร้างที่ประกอบด้วยหลักการสิ่งที่ถูกที่ควรและตัวแปรต่างๆ ในตอนต้นของหนังสือเล่มนี้ไปนั้นตัวแปรที่ว่านั้นก็คือสิ่งที่ทำให้นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า แต่ละคนสามารถสร้างแบบแผนการลงทุนเฉพาะตัวขึ้นมาได้ 8 ตัวแปรที่มีผลต่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ได้แก่
– ตัวแปรที่ 1 การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจ
– ตัวแปรที่ 2 การประเมินส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยที่เหมาะสม หรือ MOS คิดจากราคาที่เหมาะสม ลบด้วยราคาตลาด หารด้วย 100
– ตัวแปรที่ 3 การประเมินขอบเขตความสามารถของตัวนักลงทุนเอง
– ตัวแปรที่ 4 การประเมินว่าการซื้อหลักทรัพย์แต่ละตัวมากน้อยเท่าใด ลงทุนแบบกระจุกตัว และเน้นการหวังผล
– ตัวแปรที่ 5 การประเมินว่าการขายหลักทรัพย์เมื่อใด เขาชอบซื้อธุรกิจและถือครองไปตลอดกาล
– ตัวแปรที่ 6 การประเมินว่าจะลงเงินเท่าไหร่เมื่อเจอสินทรัพย์ที่ตั้งราคาผิดพลาด เขาไม่มีวันลงทุนหากเสียผลสูงและได้โอกาสเพียงเล็กน้อย
– ตัวแปรที่ 7 การประเมินว่าควรจะพิจารณาคุณภาพของธุรกิจด้วยหรือไม่
– ตัวแปรที่ 8 การประเมินว่าควรจะเป็นเจ้าของธุรกิจอะไรบ้าง เขามองหาธุรการที่ได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
7. สิ่งที่ถูกที่ควรสำหรับธุรกิจ หลายๆ คนอาจจะกำลังสงสัยว่าทำไมหนังสือเล่มนี้ถึงในเรื่องพื้นฐานทางธุรกิจถ้าคุณกำลังคิดแบบนี้อยู่ จงจำไว้ว่าสินทรัพย์ทางการเงินอย่างหุ้นส่วนสามัญนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กระดาษแผ่นนึงแต่เป็นส่วนแบ่งในธุรกิจที่อยู่บนเบื้องหลังหุ้นตัวนั้นๆ คุณจะไม่สามารถเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ประสบความสำเร็จได้เลย ถ้าคุณไม่เข้าใจธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังแต่ก่อน หนึ่งแง่มุมที่สำคัญของทุกๆธุรกิจก็คือการบริหารค่ะ เป็นที่รู้กันดียุทั่วว่า มังเกอร์และเบฟเฟตต์ได้กระจายทั้งความรับผิดชอบและอำนาจการบริหารเกือบทั้งหมดไปให้แต่ละธุรกิจในเครือเบิร์กเชียร์บริหารจัดการกันเอง ยกเว้นแต่เรื่องการจัดสรรเงินทุนและเรื่องผลตอบแทน ขอให้คุณขึ้นฝั่งพร้อมกับความหวังว่าควรจะเรียนรู้ที่จะตั้งอกตั้งใจและลงทุนได้อย่างประสบผลสำเร็จ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณไม่แน่ใจว่าควรตัดสินใจอย่างไรไม่ว่าจะในเรื่องการลงทุนหรือเรื่องอื่นๆให้ลองถามตัวเองว่า ชาร์ลีมันเกอร์จะทำอย่างไร
1. การจัดสรรเงินทุน
2. มีการจ่ายผลตอบแทนที่เหมาะสม
3. ทักษะการขยาย “คูเมือง” หรือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
4. บริษัทที่มาพร้อมผู้บริหารที่มีศิีลธรรมจรรยา
5. ผู้จัดการยอดเยี่ยมที่หาได้ยาก
ในหนังสือเล่มนี้คุณจะเข้าใจความคิดของชาร์ลี บังเกอร์ และทำไมบัฟเฟตต์จึงขาดเขาไม่ได้ มาอ่านเนื้อหาในหนังสือกัน แล้วคุณจะเข้าใจ
การคิดคำนวณแบบเบิร์กเชียร์ เบิร์กเชียร์ใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 30 ปีเป็นอัตราคิดรถในการคำนวณมูลค่าที่แท้จริง มังเกอร์เชื่อว่าผู้จัดการทุกคนควรจะคิดถึงมูลค่าที่แท้จริงเวลาตัดสินใจจัดสรรเงินทุนโดยในการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงมังเกอร์ไม่เชื่อนิยายของนักการตลาดต่างๆที่ตีฆ้องร้องป่าวเกี่ยวกลับกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายและรายได้ต่างๆที่ไม่ได้คำนวณตามหลักการบัญชีทั่วไปเค้าชอบกระแสเงินจริงๆค่ะที่เหลือจากการดำเนินงานและกิจกรรมการลงทุนและมองว่าการมีเงินสดท่วมหัวนั้นเป็นเรื่องที่ดีอย่างแท้จริง
คูเมือง มังเกอร์ไม่ได้อธิบายทฤษฎีการสร้างและรักษาคูเมืองไว้อย่างละเอียดครอบคลุมเท่ากับเบฟเฟตต์ แต่ความเห็นของเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ช่วยให้ผู้คนเกิดความกระจ่างแจ้งได้องค์ประกอบ 5 ตัวอย่างที่ช่วยในการสร้างคูเมืองคือ 1 การประหยัดจากขนาดและจากขอบเขตในฝั่งอุปทาน 2 การประหยัดจากขนาดในฟังอุปสงค์ 3 แบรนด์ 4 กฎระเบียบข้อบังคับ 5 สิทธิบัตรและสินทรัพย์ทางปัญญาา
เน้นการลงทุนแบบเน้นคุณค่ากับการลงทุนแบบเน้นปัจจัย เบน เกรแฮมและชาวสาวกของเขาได้คิดคนระบบการลงทุนที่เรียกว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าขึ้นมาในขณะที่ยูจีนฟามาและ เคน เฟสคิดค้นอีกระบบหนึ่งซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงที่เรียกว่าการลงทุนแบบเน้นปัจจัยไว้สำหรับหาหุ้นคุณค่าถึงแม้ว่าทั้งสองแนวคิดนี้จะใช้คำว่าคุณค่าเหมือนกันแต่โดยพื้นฐานแล้วการลงทุนตั้งสองแบบนี้แตกต่างกันอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่