ห้องเรียนอัจฉริยะ Smart Classroom

ความหมายของห้องเรียนอัจฉริยะ Smart Classroom

ห้องเรียนอัจฉริยะ Smart Classroom

ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) คือห้องเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) อย่างเหมาะสมทั้งสถานที่ตั้งห้องเรียน โต๊ะเก้าอี้ ระบบไฟฟ้า เครื่องเสียงระบบปรับอากาศ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ ในห้องเรียนไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group), การบรรยาย (Lecture), โครงงาน (Project Work), นำเสนอหน้าชั้นเรียน (Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Skill)  และทักษะการเรียนรู้จากการสืบค้น (Research Skill) ได้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนอง ความต้องการเรียนรู้เป็นรายบุคคลของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการเรียน (Collaborative Learning) ของผู้เรียนและผู้สอนได้อย่างเต็มศักยภาพ

องค์ประกอบของ Smart Classroom ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ผู้สอน (Teacher) ผู้เรียน (Learner)  และสื่อ (Media) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) โน็ตบุค (Notebook) แท็ปเล็ต (Tablet) สมาร์ทโฟน (Smart Phone) สมาร์ทบอร์ด (Smart Board) เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ (Projector) อินเทอร์เน็ต (Internet) และระบบเครือข่ายไร้สาย (WiFi) เป็นต้น จะเห็นว่าองค์ประกอบของ Smart Classroom ได้นำแนวคิดของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษากับห้องเรียนอัจฉริยะ ห้องเรียนอัจฉริยะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาไทยทางไกลรูปแบบหนึ่งที่ต้องการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการเรียน โดยสามารถจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางของเทคโนโลยีต่าง ๆ และระบบอินเตอร์เน็ต (แอมโบรส, 2556) ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่มีการผสมผสานกันอย่างลงตัว

กรอบแนวคิดของระบบสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนห้องเรียน Smart Classroom
จากภาพจะเห็นว่าห้องเรียนต้องมีเทคโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย สามารถรองรับการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา โดยเชื่อมโยงองค์ประกอบสำคัญ 6 ระบบย่อย ประกอบด้วย

ระบบบันทึกการเรียนการสอน

(1) ระบบบันทึกการเรียนการสอนในห้องเรียน (Classroom Capturing System) ประกอบด้วย ระบบบันทึกการเรียนการสอนด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์ Aver Media, ระบบบันทึกกการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม OBS และระบบบันทึกวีดิทัศน์ด้วยตนเองด้วยเครื่อง Swivl ROBOT

ระบบการนำเสนอออนไลน์

(2) ระบบการนำเสนอผ่านอุปกรณ์ส่วนตัวหรือระบบปฏิสัมพันธ์ภายในห้องเรียน (Collaboration System) เพื่อการสื่อสารและสร้างความร่วมมือระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รองรับ Mobile Devices & Application On Mobile และระบบและซอฟแวร์ในการดำเนินการเรียนการสอน (Software & Application) อื่น ๆ

ระบบประเมินผลระหว่างเรียน

(3) ระบบประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) เพื่อรองรับการประเมินผลในชั้นเรียนที่ง่ายและสะดวก เป็นการประเมินผลแบบออนไลน์ โดยใช้ร่วมกับ Mobile Application เช่น Kahoot หรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์ Clicker ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าสู่บทเรียน เป็นต้น

ระบบการเรียนการสอน Active Learning

(4) ระบบการเรียนการสอน Active Learning เพื่อรองรับการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ทำให้ผู้สอนออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกได้ เช่น นำเสนองานผ่าน App การเรียนรู้แบบ Team-Based Learning และการจัดการเรียนรู้แบบ MOOCs Courses เป็นต้น

ระบบการจัดการเรียนการสอน

(5) ระบบการจัดการเรียนการสอน (Learning Management System) เพื่อใช้งาน Online Courses ร่วมกับ eLearning Platform ที่มีให้บริการอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Moodle, I-Tuens University, เป็นต้น.

ระบบทรัพยากรการเรียนรู้

(6) ระบบทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resource System) เพื่อรองรับและเชื่อมต่อกับระบบการให้บริการสื่อ/ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนได้ เช่น รายชื่อทรัพยากรประกอบการอ่านในรายวิชา (Reading List) คลังสารสนเทศสถาบัน (Information Repository) เป็นต้น

การสนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียนอัจฉริยะ Smart Classroom

การสนับสนุนการเรียนการสอน

Smart Classroom ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) มีความหมายโดยภาพรวมคือ ห้องเรียนที่ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 สิ่งด้วยกัน คือ ผู้สอน (Teacher) ผู้เรียน (Learner) และสื่อ (Media) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) โน็ตบุค (Notebook) แท็ปเล็ต (Tablet) สมาร์ทโฟน (Smart Phone) สมาร์ท บอร์ด (Smart Board) เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ (Projector) อินเทอร์เน็ต (Internet) และระบบเครือข่ายไร้สาย (WiFi)Smart Classroom มีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) อย่างเหมาะสม ทั้ง สถานที่ตั้งห้องเรียน โต๊ะเก้าอี้ ระบบไฟฟ้า เครื่องเสียง ระบบปรับอากาศ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ต่างๆ ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group) การบรรยาย (Lecture) โครงงาน (ProjectWork) นําเสนอหน้าชั้นเรียน (Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Skill) และทักษะการเรียนรู้จากการสืบค้น (Research Skitt) ได้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองความ ต้องการเรียนรู้เป็นรายบุคคลของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการเรียน (Collaborative Learning) ของผู้เรียน และผู้สอนได้อย่างเต็มศักยภาพ