ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มวล.
สำนักงานสีเขียว
GREEN CLM

GREEN CLM

Going Green : CLM Green Office
สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

welcome to Green University

พิจารณาจาก
SI เน้นสัดส่วนของพื้นที่เปิดโล่งต่อพื้นที่ทั้งหมด 
SII สัดส่วนของพื้นที่เปิดโล่งต่อจำนวนประชากรของวิทยาเขต
SIII พื้นที่ในวิทยาเขตที่มีลักษณะเป็นป่า
SIV พื้นที่ในวิทยาเขตที่ใช้ปลูกต้นไม้
SV   พื้นที่ในวิทยาเขตที่เป็นพื้นที่ดูซึมน้ำ
SVI  งบประมาณของมหาวิทยาลัยในส่วนความพยายามเพื่อความยั่งยืนรวม

1.1 ขนาดพื้นที่ตั้งอาคารของหน่วยงาน

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นอาคารเอกเทศ 3 ชั้น มีพืันที่ปฏิบัติงานและพื้นที่ให้บริการรวม 10,854 ตารางเมตร ชั้น 1 มีพื้นที่ใช้สอย 3,000 ตารางเมตร ชั้น 2 มีพื้นที่ใช้สอย 3,343 ตารางเมตร ชั้น 3 มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,936 ตารางเมตร และรวมถึงพื้นที่ที่เป็นทางสัญจรและบริการรวม 2,365 ตารางเมตร ทำหน้าที่ในการสนับสนุนด้านทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการศึกษา และห้องเรียนอัจฉริยะของมหาวิทยาลัย

1.2 ขนาดของพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยพืชพรรณ

– จำนวนพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้/สวน/สนามหญ้า รวมถึงพื้นที่ใช้ปลูกหญ้า/สวนหย่อม/ระแนงไม้ภายในอาคารทั้งแนวนอนและแนวตั้ง (ตารางเมตร) ของหน่วยงาน จำนวนรวมทั้งหมด  19,443.48  ตารางเมตร  ประกอบด้วย

1. สวนใต้บันได ขนาด 37 ตารางเมตร

2. พื้นที่สีเขียวห้องสมุดในสวน ขนาด 4 ตารางเมตร

3. น้ำพุหน้ารปภ. ขนาด 2.68 ตารางเมตร

4. สวนบริเวณพื้นที่สูบบุหรี่ ขนาด 40 ตารางเมตร
5. สนามรอบอาคารติดริมคลองทั้งสามด้าน ขนาด 18,787 ตารางเมตร 
6. สวนศาลาพักคอยหน้าห้องผลิตเอกสารกลาง ขนาด 223 ตารางเมตร
7. สวนศาลาที่จอดรถ ขนาด 160 ตารางเมตร 
8. สวนทางเดิน Cover way ขนาด 4 ตารางเมตร
9. สนามลาดจอดรถที่มีโซล่าเซลล์ ขนาด 144 ตารางเมตร
10.สนามที่จอดรถข้าง Cover way ขนาด 36 ตารางเมตร
 
สนามหญ้าด้านติดคลอง
สนามหญ้าด้านหน้าอาคาร
สนามหญ้าด้านลานจอดรถ
สนามหญ้าด้านงานผลิตเอกสารกลาง
สวนน้ำพุด้าน รปภ
สวนหย่อมในอาคาร

1.3 จำนวนบุคลากรทั้งหมดของหน่วยงาน

จำนวนบุคลากรของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีจำนวนทั้งหมด  51 คน

แยกประเภทเป็น สายวิชาการ จำนวน 2 คน คือตำแหน่งผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ

และสายปฏิบัติการและบริหารทั่วไป จำนวน 49 คน แยกเป็นตำแหน่งได้ดังนี้

1. บรรณารักษ์   จำนวน  11 คน

2. นักเทคโนโลยีการศึกษา   จำนวน 7 คน

3. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  จำนวน  2 คน

4. พนักงานธุรการ  จำนวน 13 คน 

5. ช่างเทคนิค  จำนวน 15 คน

6. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบ จำนวน 1 คน

ดังผังโครงสร้างบุคลากรของหน่วยงาน

พิจารณาจาก
EC I การใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 
EC II การดำเนินงานโครงการอาคารอัจฉริยะ 
EC III พลังงานทดแทนซึ่งผลิตได้ในวิทยาเขต 
EC IV สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดต่อประชากรของวิทยาเขต 
EC V สัดส่วนพลังงานทดแทนที่ผลิตได้ต่อการใช้พลังงาน  
EC VI องค์ประกอบของการดำเนินงานอาคารสีเขียว 
EC VII  โครงการลดการปล่อยก๊าซรือนกระจก 
EC VIII สัดส่วนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดต่อจำนวนประชากรของวิทยาเขต

2.1 การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดพลังงาน

    สำนักงานมีการใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายประเภท   และมีหลายประเภทที่ช่วยประหยัดพลังงาน  โดยการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน   และจาการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าของสำนักงาน พบว่ามีเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า 5 ชนิดที่ช่วยในการประหยัดไฟฟ้า ได้แก่

1. เครื่องปรับอากาศแบบ  Split Type  จำนวน 10 ตัว (แยกติดตั้งตามฝ่าย/งาน)  มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
 2. เครื่องถ่ายเอกสาร RicoH   จำนวน 7 เครื่อง มีฉลาก Energy Star 
3. เครื่องพิมพ์เอกสาร  Printer จำนวน 2 เครื่อง  มีฉลาก Energy Star
4. พัดลมระบายอากาศ  จำนวน 2 ตัว มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
5. หลอดไฟฟ้า LED  จำนวน 1,950 หลอด 
เครื่องปรับอากาศแบบ  Split Type
หลอดไฟ LED ได้มีการเปลี่ยนจากหลอด ฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดประหยัดไฟ LED จำนวน 1,950 หลอด เมื่อปี 2559
เครื่องพิมพ์และถ่ายเอกสาร RicoH
เครื่องพิมพ์เอกสาร

นอกจากนี้ได้มีการกำหนดมาตรการในการใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด ปิด การติดป้ายรณรงค์ เป็นต้น  และทางสำนักงานจะต้องเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว 

มาตรการใช้ไฟฟ้า มีการกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้าดังนี้   
1)  ลดชั่วโมงการทำงานของระบบปรับอากาศและระบายอากาศบริเวณโซนทำงาน  โดยเปิดเครื่องปรับอากาศเวลา  9.00 น. และปิดเวลา 16.00 น. (โซนให้บริการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศก่อนให้บริการและหลังให้บริการครึ่งชั่วโมงยกเว้นกรณีมีเหตุจำเป็น) 
2) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการผู้ใช้บริการทุกเครื่องเซ็ตให้มีการพักหน้าจอทุก ๆ 15 นาที  
3) ปิดไฟปิดเครื่องปรับอากาศ (โซนทำงาน) ตอนพักเที่ยง เวลา 12.00 – 13.00 น.  
4) ปิดสวิตซ์เครื่องพิมพ์เมื่อไม่มีการใช้งานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมงและปิดในเวลาพักเที่ยงเวลา 12.00–13.00 น.
5) มีการกำหนดรูปแบบการใช้ไฟฟ้า เช่น วางแนวปฏิบัติกันว่าพนักงานจะไม่นำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช่้ส่วนตัว ได้แก่ กระติกน้ำร้อน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ และให้ใช้อุปกรณ์ส่วนกลางแทน และให้ปฏิบัติกันให้เหมือนกันทั้งสำนักงาน พบว่าพนักงานมีการปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักงานเป็นส่วนใหญ่  6) มีการจัดทำจัดทำสติ๊กเกอร์ประหยัดพลังงานภายในหน่วยงาน เพื่อปลูกจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานมากขึ้น

2.2 การผลิตพลังงานหมุนเวียนภายในหน่วยงาน

การใช้พลังงานทดแทน
การใช้โซลาร์เซลล์แทนไฟฟ้า
การติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์ สำหรับไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณลานจอดรถขนาด 120 วัตต์ จำนวน 1 แผง และทางเดินด้านนอกอาคาร  ด้านหน้าศูนย์บรรณสาร ฯ ขนาด 40 วัตต์ จำนวน 5 แผง เพื่อลดการใช้พลังานและลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า 
หากคำนวณกำลังการผลิตทั้งสองจุด ทั้งสองจุด คิดเป็น 0.320 กิโลวัตต์/ชั่วโมง
(และหากคิดในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายจากการติดตั้ง 5 เสา ลดได้ 132 บาทต่อเดือน  เฉลี่ย 26 บาทต่อเสาต่อเดือน (26 บาท : เสา/เดือน132 บาท/เดือน
การติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง บริเวณลานจอดรถอาคารบรรณสาร (9 หลอด) ลดค่าไฟฟ้าได้เฉลี่ย 240 บาทต่อเดือน 
ากการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวสามารถลดค่าไฟฟ้าได้
เดือนละ 132 + 240 = 372
 บาท
ดำเนินการมาตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2557 จนถึงปัจจุบัน สามารถลดการใช้ไฟฟ้
ได้เป็นเงิน 21,240 บาท 

2.3 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งปี 2561

        ศูนย์บรรณสารและสื่อการศีกษา  ได้จัดเก็บข้อมูลการไฟฟ้าของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ในปี 2561 ปรากฎผลว่ามีปริมาณการใช้ไฟฟ้า  จำนวน 547,989  กิโลวัตต์ชั่วโมง/KWH)  คิดเป็นค่าใช้จ่าย 2,139,719.89 บาท เฉลี่ยเดือนละ 178,309.99 บาท และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3.90 บาทต่อหน่วย 

2.4 โปรแกรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นโยบายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  

       ศูนยบรรณสารฯ มีการตรวจสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น เพื่อวิเคราะห์ถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลังจากที่มีการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อให้เกิดการทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากทุกกิจกรรมปฏิบัติงาน และผลที่ได้จะนำไปสู่การจัดการเพื่อลดการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานในอนาคตต่อไป

       การจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายเดือน รายปี โดยบันทึกลง ระบบ Carbon Footprint ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
– การคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้สูตร ดังนี้
– การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (KgCO2/เดือน) = ข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) × ค่า Emission Factor (EF)                            

และในปี 2561 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 772.42 tCO2e  โดยปล่อยมาจากประเภทที่ 2 ที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า

ภาพกิจกรรมที่่ช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

มีการส่งเสริมการใช้รถจักรยาน และรถไฟฟ้าในการเดินทางติดต่อประสานงาน ประชุม อบรมระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย และเน้นให้เดินทางจากบ้านมาสำนักงานด้วยรถรับ-ส่งของมหาวิทยาลัย  รวมถึงพนักงานมีการเดินทางด้วยกันระหว่างบ้านและสำนักงาน และสำนักงานและบ้าน

พนักงานมีรถจักรยานเป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการเดินทางไป-กลับทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เดินทางติดต่อประสานงาน ประชุม อบรมระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย และเน้นให้เดินทางจากบ้านมาสำนักงานด้วยรถรับ-ส่งของมหาวิทยาลัย  รวมถึงพนักงานมีการเดินทางด้วยกันระหว่างบ้านและสำนักงาน และสำนักงานและบ้าน

2.5 นโยบายอนุรักษ์พลังงานของหน่วยงาน

นโยบายสิ่งแวดล้อมของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้ประกาศนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อม โครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยผู้บริหารสำนักงานคือผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 และได้ปรับปรุงเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2561 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานด้านการบริหารจัดการองค์กรครั้งที่ 2/2561เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 มีเนื้อหาที่ครอบคลุมในการรักษาสิ่งแวดล้อม การควบคุม ป้องกันและลดผลกระทบด้านมลพิษและของเสียที่เกิดขึ้นในสำนักงาน รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ให้บุคลากรรับทราบและเป็นการสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้องในและนอกสำนักงานโดยผ่านช่องทางการสื่อสารหลากหลายช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ ป้ายประชาสัมพันธ์ ติดบอร์ดประกาศ บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ facebook page และ LINE สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) คลิปสั้น ๆ ผ่านช่อง youtube และการประชุมพนักงานในหน่วยงาน โดยผู้บริหารและผู้รับผิดชอบช่องทางการตามที่กำหนดไว้ และมีการติดตามจากผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนร่วมตามที่ระบุในการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
https://library.wu.ac.th/wp-content/uploads/sites/5/2019/06/นโยบายสิ่งแวดล้อม.pdf
พิจารณาจาก
WS I โครงการลดการใช้กระดาษและพลาสติกในวิทยาเขต 
WS II โครงการนำของเสียในมหาวิทยาลัยกลับมาใช้ใหม่ 
WS III การจัดการของเสียเป็นพิษ 
WS  IV การบำาบัดของเสียอินทรีย์ 
WS V การบำบัดของเสียอนินทรีย์ 
WS VI การบำบัดน้ำเสีย 

3.1 นโยบายการลดใช้กระดาษและพลาสติกในหน่วยงาน

       ศูนย์บรรณสารฯ มีการรณรงค์ให้พนักงานมีจิตสำนึกในการลดใช้กระดาษและพลาสติกในหน่วยงานมาอย่างต่อเนื่อง  โดยมีแนวปฏิบัติในการใช้กระดาษในการปฏิบัติงาน การประชุมในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่
1) การใช้กระดาษ 2 หน้า (Reuse) โดยการวางไว้แต่ละจุดของฝ่ายงานภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน ใกล้กับเครื่องพิมพ์เพื่อความสะดวกในการนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งกระดาษบันทึกข้อความที่ใช้แล้ว และกระดาษอื่น ๆ ที่มีการใช้แล้ว
2) การจัดพิมพ์เอกสารให้ใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น และเป็นอันดับรองจากการจัดพิมพ์แบบอิเล็กทรอนิกส์  
3) หากต้องกระดาษให้ใช้กระดาษหน้าเดียวเป็นลำดับแรก ยกเว้นเป็นเอกสารที่เป็นทางการจึงจะใช้กระดาษใหม่ 
4) การจัดพิมพ์ให้ใช้เครื่องพิมพ์ของบริษัท RiCoh ที่เก็บสถิติการสั่งพิมพ์ได้จากการเข้าใช้งาน  แต่หากต้องใช้เครื่องพิมพ์เฉพาะของส่วนงานใด ให้เขียนรายละเอียด เพื่อให้จัดเก็บสถิติได้ครบถ้วน
5) หากต้องการจัดพิมพ์หรือนำเสนอเอกสาร ให้เลือกใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับแรก และหากต้องใช้ไฟล์ร่วมกัน (Share) ให้จัดเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย 192.168.41.40 หรือใช้การจัดการเอกสารด้วยผลิตภัณฑ์ของ Google  
6) ใช้ QR Code แทนเนื้อหรือที่จัดเก็บเอกสาร 
7) ส่งเอกสารผ่าน e-mail, facebook, LINE หรือเครื่องมืออื่น ๆ ในลักษณะของอิเล็กทรอนิกส์
8) การใช้เอกสารร่วมกัน ให้จัดเก็บและนำเอกสารมาใช้จากเครื่องแม่ข่าย 192.168.41.40 และจาก google drive ของตนเอง

การนำขยะหรือสิ่งที่เหลือใช้กลับมาใช้ใหม่  มาจากการนำซองเอกสาร ซองพัสดุ กล่องบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการรับ-ส่งของส่วนตัว และนำมารวมกันและช่วยกันนำกลับมาใช้ใหม่  โดยเจ้าตัวต้องบันทึกสถิติการใช้งานทุกครั้ง

และยังมีการนำกระดาษที่ใช้แล้วมาประดิษฐ์เป็นของใช้ที่มีประโยชน์และสามารถใช้ได้จริง โดยการประดิษฐ์และสร้างสรรค์กระดาษเป็นถุงใส่ซองยามอบให้แก่รพ.สต.รายรอบชุมชนของมหาวิทยาลัย

มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือต้องลดลงร้อยละ 5 ผลปรากฎว่าพนักงานมีการใช้กระดาษต่อคนต่อหน่วย โดยในปี 2561 มีการใช้กระดาษทั้งหมด 24,851 แผ่น (ใช้กระดาษคนละ 469 แผ่น) และในปี 2562 มีการกระดาษทั้งหมด 16,003 แผ่น (ใช้กระดาษคนละ 302 แผ่น) ลดลงร้อยละ 35.60

นอกจากนี้ยังกำหนดแนวปฏิบัติในการจัดประชุมสำหรับหน่วยงานอืืนที่จะมาประชุมที่อาคารบรรณสาร จะเน้นการลดกระดาษ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดทำหรือนำเสนอเอกสาร  ใช้ระบบการประชุม โดยผ่านระบบ E-meeting (emeeting.wu.ac.th)  และขอความร่วมมือให้จัดรูปแบบอาหารว่างและอาหารกลางวันใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะ  ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดการใช้กระดาษ

emeeting
rules of meeting room

   การลดพลาสติก  มีการรณรงค์ให้ลดและแยกขยะ  รวมถึงถุงพลาสติกและกล่องโฟมที่ใส่อาหาร โดยมีการแยกชยะตามประเภทอย่างชัดเจน  มีการชั่งขยะทุกเดือนและมีการจดบันทึกไว้  นอกจากนี้ยังมีโครงการลดขยะและลดพลาสติกในสำนักงาน ได้แก่ โครงการปิ่นโตรักษ์โลก กล่องอาหารปันเพื่อน เพื่อลดปริมาณพลาสติกในสำนักงาน  และยังนำหลัก 3R มาใช้ในการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง

IMG_20190529_171629
โครงการปิ่นโตรักษ์โลก กล่องอาหารปันเพื่อน

3.2 โครงการการรณรงค์การรีไซเคิลขยะ

   ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นทั้งจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจากการเข้าใช้บริการห้องสมุดของผู้ใช้บริการ  จัดวางถังชุดคัดแยกขยะตามจุดทั้ง 3 ชั้น จำนวน 6 จุด ได้แก่

1. ทางเข้าด้านหน้าห้องสมุด  2. ทางเข้าด้านลานจอดรถ 

3. ทางลาดด้านหน้า             4. บันไดทางขึ้นสำนักงาน ชั้น 2 
5. ในห้องสมุด                    6. ห้องสมุดในสวน 
IMG_20190529_171629
ชุดคัดแยกขยะตามจุด
      มีการบันทึกข้อมูลขยะทุกวัน โดยมอบหมายให้แม่บ้านเป็นผู้บันทึกข้อมูลหลังจากได้มีการเก็บและแยกขยะแล้วในการคัดแยกขยะ ตามประเภท ตามหลักการคัดแยกขยะ

 

การชั่งน้ำหนักขยะ เพื่อตรวจสอบปริมาณขยะที่เกิดขึ้นแต่ละวัน
      ขยะทั่วไป จะในไปทิ้งในถังพักขยะ และมีผู้รับจ้างของมหาวิทยาลัยมาคัดแยกและทิ้งขยะต่อไป

 

ที่พักขยะทั่วไป ก่อนผู้รับจ้างมารับไปคัดแยก

      และมีถังขยะใสสำหรับขยะรีไซเคิล (พื้นที่ให้บริการ) จำนวน 3 จุดวางไว้บริเวณบันไดทุกชั้นของอาคาร  ขยะรีไซเคิล  จะคัดแยกประเภทและนำไปพักไว้ในห้องพักขยะ ก่อนจะนำไปขายให้กับร้านค้า

5D4_0074
ถังขยะใสสำหรับใส่ขยะรีไซเคิล
ห้องพักขยะรีไซเคิล
     ถังใส่ขยะอันตราย จำนวน 1 ถัง วางไว้บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์๋  
61339787_2914842141889229_4595613477711642624_n
ถังขยะอันตราย
     ขยะเปียก ซึ่งมีถังขยะอยู่ในครัว จะนำไปทิ้งในถังหมักรักษ์โลกทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เวลา 16.00 น. 

 

ถังขยะเปียกจัดวางในห้องครัว

3.3 การจัดการขยะมีพิษ

   ขยะมีพิษ เป็นขยะประเภทถ่านอัคคาไลน์ ของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งให้บริการกับมหาวิทยาลัย และได้กำหนดให้มีถังประเภทขยะอันตราย และเมื่อจะทำลาย ก็จะจัดส่งให้กับหน่วยงานท้องถิ่นที่มีหน้าที่ในการกำจัดต่อไป
ถังขยะเปียกจัดวางไว้ในห้องครัว
ถังหมักรักษ์โลก

3.4 การจัดการขยะอินทรีย์

   ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกนศูนย์บรรณสารฯ เกิดจากการรับประทานอาหารของบุคลากร  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ หรืออื่นๆ ที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ  ได้จัดวางขยะเปียกไว้ในห้องครัว และทุกเย็นของทุกวัน  แม่บ้านจะนำขยะเหล่านั้นไปทิ้งในถังหมักรักษ์โลกซึ่งคณะทำงานหมวด 4 ของสำนักงานสีเขียว ได้คิดค้นถังหมักรักษ์เพื่อเป็นปลายทางของขยะเปียก และเพิ่มปุ๋ยให้กับต้นไม้รอบ ๆ อาคาร ทำไว้บริเวณใต้ต้นไม้ข้างอาคาร เพื่อเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้รอบ ๆ อาคารต่อไป
ถังหมักรักษ์โลก
ถังขยะเปียกจัดวางไว้ในห้องครัว

3.5 การบำบัดขยะอินทรีย์

    ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ นอกจากเศษอาหาร ใบไม้ กิ่งไม้ ยังมีเศษไม้จากครุภัณฑ์ที่่จำหน่ายออกจากระบบแล้ง แต่เราสามารถนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้ โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้นำชั้นหนังสือที่ทำจากไม้ที่ชำรุดและหมดอายุการใช้งานแล้ว นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์  โดยนำมาทำเป็นชั้นหนังสือแบบใหม่ เป็นโต๊ะอ่านหนังสือ และกะบะใส่หนังสือ ใช้ประโยชน์ในห้องสมุดต่อไป

3.6 การจัดการน้ำเสีย

        การจัดการน้ำเสียของสำนักงานไม่ได้ดำเนินการเองแต่จะมีหน่วยงานกลางที่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัย และคอยตรวจสอบ ดูแลเส้นทางน้ำเสียก่อนผ่านบ่อบำบัดน้ำเสีย 
      ศูนย์บรรณสารฯ ยังจัดการน้ำเสียจากครัวโดยการจัดทำถังดักไขมันไว้ใต้อ่างล้างจานทั้ง 3 จุด เพื่อช่วยดักกรองเศษอาหาร ที่มาจากอ่างล้างจาน ทำให้ท่อน้ำไม่อุดตัน และช่วยลดกลิ่นที่เกิดจากการหมักหมมของเศษอาหารในท่อน้ำ ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งที่ปล่อยออกมามีคุณภาพดีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาจะมีการตักเศษอาหารที่ดักไว้หน้าตะแกรงออกเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์เพื่อลดการสะสมของขยะและกลิ่นจากเศษอาหาร
ถังดักไขมันใต้อ่างล้างจานในห้องครัว
ตารางการตักเศษอาหารในห้องครัว
WR I โครงการอนุรักษ์น้ำ
WR II โครงการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่
WR III การใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ 
WR IV การใช้น้ำที่ทำการบำบัดแล้ว
 ข้อมูลการใช้น้ำ
ปีพ.ศ.น้ำประปา (ลบ.ม.)น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (ลบ.ม.)
2560111,3860
2561121,3860
2562169,3810
 
กิจกรรมการประหยัดน้ำในหน่วยงาน

ศูนย์บรรณสารฯ ได้กำหนดมาตรการการใช้น้ำในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ให้บริการเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในการใช้น้ำแลสื่อสารให้พนักงานทราบและช่วยกันประหยัดน้ำ มีการติดป้ายรณรงค์และมาตรการการใช้น้ำในบริเวณหน้าห้องน้ำ ในห้องน้ำ ก๊อกน้ำ ครัว และมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดในห้องน้ำ โดยแจ้งข้อมูลไปที่ส่วนบริการกลาง (ของมหาวิทยาลัย) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมอุปกรณ์ 

4.1 โครงการหรือกิจกรรมการอนุรักษ์/การลดการใช้น้ำในหน่วยงาน

     ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ไม่ได้ดำเนินการ

4.2 การดำเนินโครงการรีไซเคิลน้ำ

        ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้นำน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว เป็นการรีไซเคิลน้ำที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ โดยการน้ำหน้ที่พนักงานดื่มไม่หมดมารดน้ำต้นไม้ภายในอาคาร และน้ำมาผสมกับน้ำยา เพื่อผนึกสติ๊กเกอร์ให้เรียบและแน่น ดังรายละเอียด  
การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
IMG_20190529_080850
รดต้นไม้
น้ำที่พนักงานดื่มไม่หมด นำมารดต้นไม้ในสวนหย่อมภายในอาคาร

 

ผนึกสติ๊กเกอร์
น้ำที่ดื่มไม่หมด นำมาผสมกับน้ำยา เพื่อผนึกสตื๊กเกอร์ ทำให้สามารถไล่ฟองอากาศ และเรียบได้
หล่อเลี้ยงต้นไม้รอบอาคาร
น้ำทิ้งที่เกิดจากเครื่องดูดความชื้นทำงาน มีการต่อท่อน้ำทิ้งให้ไปรดต้นไม้ที่ปลูกไว้รอบนอกอาคาร 
ท่อจากน้ำทิ้งจากเครื่องดูดความชื้น

4.3 การใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำที่ีมีประสิทธิภาพ

        ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ไม่ได้ดำเนินการ

4.4 นโยบายอนุรักษ์การใช้น้ำของหน่วยงาน

รณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด

 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา  มีนโยบายในการใช้น้ำอย่างประหยัด  รู้คุณค่าของน้ำ โดยการกำหนดมาตรการการใช้น้ำในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ให้บริการเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในการใช้น้ำและสื่อสารให้พนักงานทราบและช่วยกันประหยัดน้ำ

 ศูนย์บรรณสารแะสื่อการศึกษา  มีนโยบายในการใช้น้ำอย่างประหยัด  รู้คุณค่าของน้ำ โดยการกำหนดมาตรการการใช้น้ำในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ให้บริการเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในการใช้น้ำและสื่อสารให้พนักงานทราบและช่วยกันประหยัดน้ำ

 ศูนย์บรรณสารแะสื่อการศึกษา  มีนโยบายในการใช้น้ำอย่างประหยัด  รู้คุณค่าของน้ำ โดยการกำหนดมาตรการการใช้น้ำในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ให้บริการเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในการใช้น้ำและสื่อสารให้พนักงานทราบและช่วยกันประหยัดน้ำ

พิจารณาจาก 
TR I สัดส่วนของยานพาหนะ (รถยนต์และรถจักรยานยนต์) ต่อจำนวนประชากรของวิทยาเขต
TR II สัดส่วนของบริการรถรับส่งสาธารณะต่อจำนวนประชากรของวิทยาเขต 
TR III สัดส่วนของจักรยานต่อจำนวนประชากรของวิทยาเขต 
TR IV ประเภทของที่จอดรถ 
TR V โครงการริเริ่มด้านการขนส่งเพื่อลดจำนวนรถส่วนบุคคลในวิทยาเขต 
TR VI การลดพื้นที่จอดรถส่วนบุคคลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (จากปี 2014 – 2016) 
TR VII บริการรถรับส่งสาธารณะ 
TR VIII นโยบายเกี่ยวกับรถจักรยานและการเดินเท้าภายในวิทยาเขต

5.1 จำนวนเฉลี่ยรถจักรยานที่ใช้งานภายในหน่วยงานของแต่ละวัน

ที่จอดจักรยานยนต์ส่วนตัว อยู่บริเวณภายในศูนย์บรรณสาร ฯ
ที่จอดจักรยานส่วนกลาง อยู่บริเวณหน้าศูนย์บรรณสาร ฯ
1. จำนวนรถจักรยานที่เป็นทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่พนักงานศูนย์บรรณสารถือครอง จำนวน 6 คัน (ฝ่ายธุรการและบริหารให้ยืมกุญแจสำหรับพนักงานในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย
2. จำนวนจักรยานที่เป็นทรัพย์สินส่วนตัว  มีจำนวน 6 คัน ซึ่งมีเจ้าของคือ  ปรีชา รัสมี, เบญจา  ภูมิพงศธร, ปรารถนา คชินทร, นันทพร  ขันธศุภหิรัญ,  ธรณิศ  หาญใจ

5.2 ความคิดริเริ่มระบบการขนส่งเกี่ยวกับการกำจัดหรือลดยานพาหนะส่วนตัวในมหาวิทยาลัย

พนักงานศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีการใช้ส่วนตัวร่วมกันในการเดินทางจากบ้านมาที่ทำงาน โดยอาศัยความสนิทสนม และสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัย เช่น ทางผ่านมาที่ทำงาน หรือบ้านอยู่ใกล้กัน เป็นต้น

เพื่อนสนิท

ใช้รถร่วมก้น  สลับกันขับ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ประหยัดพลังงาน  ประหยัดเงินในกระเป๋า

พี่น้อง

ปฏิบัติงานสังกัดเดียวกัน  บ้านบริเวณเดียวกัน  

เพื่อนร่วมงาน

เพื่่อนร่วมงานที่บ้านอยู่ในเส้นทางเดียวกัน กลับพร้อมกันได้ ประหยัดเงินเงินในกระเป๋า พลังงานและได้ถึงบ้านเร็วขึ้น

5.3 นโยบายการใช้ทางเท้าและการใช้รถจักรยาน

การใช้ทางเท้าและการใช้รถจักรยานในการเดินทาง

ลักษณะทางกายภาพของอาคาร

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ตั้งอยู่ศูนย์กลางระหว่างอาคารต่าง ๆ รายรอบที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ตลอดโดยมีทางเชื่อม หรือเรียกว่า cover walk way และอาจจะมีสะพานและทางเดินที่ไม่ได้คลุมหลังคา ทำให้การเดินทางสามาถเดินไป-มาได้อย่างสะดวกระหว่างอาคาร การใช้ทางเท้าและการใช้รถจักรยานในการเดินทาง

เดินไปร่วมกิจกรรม

เดินไปร่วมกิจกรรม ณ อาคารไทยบุรี

70364916_2381382341899122_9061354424361811968_n

หรือจะเดินไปรับประทานอาหาร

เดินไปรับประทานอาหาร ณ โรงอาหาร 4 ซึ่งอยู่ใกล้กัน ประหยัดพลังงานไปในตัว

70492068_924799707879023_7668000495906062336_n
พิจารณาจาก
ED I สัดส่วนของรายวิชาเกี่ยวกับความยั่งยืนต่อรายวิชา/หลักสูตรทั้งหมด 
ED II สัดส่วนของทุนวิจัยด้านความยั่งยืนกับทุนวิจัยทั้งหมด 
ED III การตีพิมพ์ด้านความยั่งยืน 
ED IV กิจกรรมด้านความยั่งยืน 
ED V องค์กรนักศึกษาที่เกี่ยวกับความยั่งยืน 
ED VI เว็บไซต์เกี่ยวกับความยั่งยืน

6.4 จำนวนผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

ปี 2560

ผลงานตีพิมพ์
ปกรณ์ ดิษฐกิจ, ธวัชชัย ประดู่ และ เมษา สินทบทอง. (2560). ก้าวไปสู่การเป็นห้องสมุดประหยัดพลังงานกันเถอะ. PULINET Journal, 4(1), 40-151. สืบค้น จาก https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/view/186/190
ปกรณ์ ดิษฐกิจ, อาภรณ์ ไชยสุวรรณ และ ปรีชา รัสมี. (2560). ห้องสมุดสีเขียว: จากโจทย์สู่การ
ปรับเปลี่ยน. PULINET Journal, 4(1), 158-168. สืบค้นจาก  https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/view/188

ปี 2561

คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อการเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน. (2561). ความรับผิดชอบต่อสังคมของห้องสมุดสีเขียว: โครงการเพื่อการเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน. PULINET Journal, 5(2), 24-33. สืบค้นจาก  http://pulinet2018.npu.ac.th/?page_id=386  

6.5 จำนวนงานแสดงทางวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เช่น การประชุม นิทรรศการ การดูงาน จัดสัมมนา กิจกรรมที่จัดโดยหน่วยงาน

        ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีผลงานทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ทั้งการจัดการประชุม การแสดงผลงานในรูปแบบของโปสเตอร์และการนำเสนอด้วยวาจา และการอบรมหลากหลายกิจกรรม ดังนี้

การสัมมนาทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว หัวข้อ "การพัฒนาพลังงานสะอาด เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รับเป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนา ครั้งที่ 5 ประจำปี 2561
สามารถติดตามรายละเอียดทั้งหมด ได้จากเว็บไซต์

นำเสนอผลงานด้วยวาจา/โปสเตอร์ ปี 2559-2561

 

กรณ์ ดิษฐกิจ, ธรณิศ หาญใจ และพิชัยยุทธ์ สุวิทยารัตน์. (2561). ห้องสมุดคาร์บอนนิวทรัล : การตรวจประเมิน การสร้างการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้เป็นทีม. นำเสนอในการสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 8 วันที่ 8 – 11 มกราคม 2561. (โปสเตอร์). 

บุญเพ็ญ ชูทอง และ นัสราห์ จำปา. (2561). สื่อสีเขียว ปลูกจิตสำนึกรักษ์โลก นำเสนอในการสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 8 วันที่ 8 – 11 มกราคม 2561. (โปสเตอร์). 

โล่ห์รางวัลจากการนำเสนอผลงานในการสัมมนา PULINET วิชาการ


กิจกรรมที่ 1 CLM หัวใจสีเขียว

วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม

  1. เพื่อปลูกฝังทัศนคติการทำงานควบคู่ไปกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

  2. เพื่อสร้างการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากร

  3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ

  4. เพื่อยกระดับมาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

  5. เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

วิทยากร

ผู้เข้าอบรม

รอง ผอ. กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าอบรม

กิจกรรมที่ 2 การสร้างสำนักงานสีเขียว (Green Office)

วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม

1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว

2. เพื่อสร้างการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากร 

3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ก่อนสมัครเข้ารับการประเมินตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเดือนมกราคม 2562 

5. เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสำนักงาน

วันที่ 16 พฤษภาคม 2561  
ณ ห้องระเบียงบรรณ 1 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) และแนวทางในการดำเนินงาน โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  เข้าร่วมอบรม
ณ สำนักงานการไฟฟ้า เขต 2 นครศรีธรรมราช
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ก่อนสมัครเข้ารับการประเมินตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเดือนมกราคม 2562 2. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการจัดการสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างความเข้าใจ การรับรู้ด้านการจัดการสำนักงานสีเขียว
พนักงานของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสำนักงานสีเขียวของสำนักงานการไฟฟ้า เขต 2 นครศรีธรรมราช เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวทั้ง 6 หมวด ที่แต่ละคนได้รับมอบหมายตามหมวด
หมวด 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงต่อเนื่อง
หมวด 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก
หมวด 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน
หมวด 4 การจัดการของเสีย
หมวด 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
หมวด 6 การจัดซื้อและจัดจ้าง
กิจกรรม CLM GReen DAY
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ม.วลัยลักษณ์ จัดกิจกรรม "CLM Green Day" เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของคณะทำงาน และประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งมีทั้งหมด 6 หมวดได้แก่ หมวด 1 การบริหารจัดการองค์กร หมวด 2 การสื่อสารและการสร้างจิตสำนึก หมวด 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร หมวด 4 การจัดการของเสีย หมวด 5 สภาพแวดล้อมภายในและความปลอดภัย หมวด 6 การจัดซื้อและจัดจ้าง พร้อมกับจัดกิจกรรมทดสอบความเข้าใจก่อนและหลังงานครบตามกระบวนการ PDCA พร้อมมอบรางวัลให้กับผู้ที่ตอบคำถามได้คะแนนสูงสุด ณ ห้องมินิเธียเตอร์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ม.วลัยลักษณ์
วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม 1. เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของคณะทำงาน
2. เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานของคณะทำงานแต่ละหมวด ทั้ง 6 หมวด ก่อนเข้ารับการตรวจประเมินตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเดือนกรกฎาคม 2562 2.เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการจัดการสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3.เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานการดำเนินงานของคณะทำงานทุกหมวด 4.เพื่อทวนสอบความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสำนักงานสีเขียวทั้ง 6 หมวด
กิจกรรม Kick off Walailak Green University
วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา นำโดย ผศ.ดร.ศิวนาถ นันทพิชัย ผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วยทีมงานร่วมแรงร่วมใจ คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดขบวนพาเหรด ในกิจกรรม Kick off Walailak Green University ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่จะปักธงเพื่อก้าวขึ้นมาเป็น Green University ที่สมบูรณ์แบบ ศูนย์บรรณสารฯ ในฐานะหน่วยงานนำร่องด้านการบริหารจัดการ Green office ได้รับเกียรติจากคณะทำงานฯ ให้มาบอกเล่าประสบการณ์ กว่าที่ก้าวเข้ามาสู่การเป็นสำนักงานสีเขียว และคว้ารางวัลแห่งความภาคภูมิใจในระดับ G เงิน จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562

ความรับผิดชอบต่อสังคมของห้องสมุดสีเขียว

: โครงการเพื่อการเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน

วามรับผิดชอบต่อสังคม หรือเรียกกันว่า CSR เป็นแนวคิดขององค์การในการดำเนินกิจกรรมที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้านการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

2. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด 

    “ห้องสมุดสีเขียวเพื่อการเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

กิจกรรมและการดำเนินงาน

จัดอบรม “โครงการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม : การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อการเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”  เพื่อให้ความรู้  ระดมความคิดเห็นและนำสิ่งที่เป็นความต้องการและข้อเสนอแนะของโรงเรียนที่เข้าร่วมอบรม จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม   หลังจากนั้นจัดกิจกรรม “ห้องสมุดสีเขียวเพื่อการเรียนรู้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ณ สถานที่ตั้งโรงเรียน เพื่อ

  1. กระตุ้นให้ห้องสมุดของโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง 
  2. ปลูกฝังทัศนคติและสร้างการเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่เยาวชน

และให้โรงเรียนเสนอโครงการตามกรอบและกิจกรรมที่กำหนด 

อบรมให้ความรู้ด้านห้องสมุดสีเขียว

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมการอบรมให้ความรู้ด้านการดำเนินงานห้องสมุดจากวิทยากรผู้เชียวชาญ และจัดทำแผนการดำเนินโครงการร่วมกับโรงเรียนภายใต้ข้อตกลงร่วมกันและนำสิ่งที่เป็นความต้องการและข้อเสนอแนะของโรงเรียน มาจัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ฐานความรู้การประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการที่เราสามารถใช้พลังงานอย่างชาญฉลาดเพื่อปลูกจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างระมัดระวัง และมีของตัวอย่างด้านการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน

ฐานความรู้ลดและแยกขยะ

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ความหมายของขยะ ปริมาณและองค์ประกอบของขยะ และประเภทขยะ และคุณค่าของขยะ และมีการปฏิบัติแยกขยะตามประเภทที่กำหนด

ฐานความรู้สีเขียว

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ความหมายของความรู้สีเขียว รู้จักแหล่งความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีแหล่งความรู้ให้มากมายหลายรูปแบบ

ฐาน DIY เพื่อลดโลกร้อน

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจภาวะโลกร้อน และตระหนักรู้และลดการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ให้วาดภาพเกี่ยวกับการลดโลกร้อนลงบนถุงผ้าด้ายดิบ

ฐานความรู้รอยเท้านิเวศ

ให้ความรู้และเกิดความตระหนักต่อการเกิดภาวะโลกร้อน และมีแบบทดสอบเรื่องการเดินทาง การกิน การอยู่อาศัย และบริการที่ีส่งผลกระทบการเกิดภาวะโลกร้อนและการเกิดก๊าซเรือนกระจก

Clm go green : Green Office
Go Green University
การดำเนินกิจกรรมภายใต้การเป็นห้องสมุดสีเขียว สำนักงานสีเขียว เป็นการดำเนินกิจกรรมภายในสำนักงานต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า จัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ
CLM Go Green : Green office that is environmentally friendly

สื่อประชาสัมพันธ์ สำนักงานสีเขียว