ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มวล.
จัดอบรมการป้องกันอัคคีภัย ประจำปี 2562
จัดอบรมการป้องกันอัคคีภัย ประจำปี 2562

จัดอบรมการป้องกันอัคคีภัย ประจำปี 2562

วัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม : วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2562 เวลา 10.00-16.00 น.จัดอบรมการป้องกันอัคคีภัย ณ ห้องระเบียงบรรณ 1 และลานจอดรถอาคารบรรณสาร

กิจกรรมนี้ได้มีการปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องหลายปี  โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วิทยากรอบรม

นายสุชาติ หนูโสด และเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชำนาญงาน ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
เนื้อหาการอบรม
อันตรายที่เกิดจากไฟไหม้
1. ไฟไหม้จะมีความมืดปกคลุม ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้ เนื่องจากอยู่ภายในอาคารกระแสไฟฟ้าถูกตัด หมอกควันหนาแน่น และอาจเป็นเวลากลางคืน
2. ไฟไหม้จะมีแก๊สพิษและควันไฟ ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ในที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ประมาณร้อยละ 90 ผลกระทบที่เกิดจากควันไฟ ซึ่งมีทั้งแก๊สพิษ เป็นสาเหตุทำให้ขาดออกซิเจน
3. ไฟไหม้จะมีความร้อนสูงมาก การหายใจเอาอากาศที่มีความร้อนสูง 150 องศาเซลเซียส จะเสียชีวิตได้ทันที ในขณะที่เพลิงไหม้นานกว่า 4 นาที อุณหภูมิจะมีความร้อนสูงขึ้นกว่า 400 องศาเซลเซียส
4. ไฟไหม้ลุกลามรวดเร็วมาก ชีวิตรอด ระยะการเกิดเพลิงไหม้ 3 ระยะ ดังนี้ – ไฟไหม้ขั้นต้น คือ ตั้งแต่เห็นเปลวไฟจนถึง 4 นาที และสามารถดับได้โดยใช้เครื่องดับเพลิงเบื้องต้น – ไฟไหม้ขั้นปานกลาง คือ ระยะไฟไหม้ 4 นาที ถึง 8 นาที และอุณหภูมิจะสูงกว่า 400 องศาเซลเซียส – ไฟไหม้ขั้นรุนแรง คือ ไฟไหม้เกิน 8 นาที และมีเชื้อเพลิงอีกมากมายอุณหภูมิสูงกว่า 600 องศาเซลเซียส ไฟลุกลามขยายไปทุกทิศทุกทางอย่างรวดเร็ว

อัคคีภัย

การป้องกันอัคคีภัย

การป้องกันมิให้เกิดจะเป็นหนทางแรกที่ประชาชนทุกคน ควรเลือกปฏิบัติ ซึ่งการป้องกันนั้นมีหลักอยู่ว่า กำจัดสาเหตุ คุมเขตลุกลาม และลดความสูญเสีย "ป้องกันอย่าให้เกิด คือสิ่งประเสริฐสุด "

กำจัดสาเหตุของอัคคีภัย

1.1 ประมาท ในการใช้เชื้อเพลิง การใช้ความร้อน การใช้ไฟฟ้า 1.2 อุบัติเหตุทั้งโดยธรรมชาติและเกิดจากมนุษย์ 1.3 ติดต่อลุกลาม การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน 1.4 ลุกไหม้ขึ้นเอง การทำปฏิกิริยาทางเคมี การหมักหมมอินทรีย์สารวางเพลิงทั้งทางตรงและทางอ้อม

การคุมเขตลุกลาม

การคุมเขตลุกลาม เป็นการรีบระงับ ยับยั้งไฟ ด้วยการทำความเข้าใจในหลัก วิธีการดับไฟ จึงมีอย่างน้อย  3  วิธี คือ

1. ลดความร้อน ทำให้เย็นลง

1. ลดความร้อน ทำให้เย็นตัวลงด้วยการใช้น้ำ

2. ทำให้อับอากาศ

2. ทำให้อับอากาศ ขาดออกซิเจน ใช้การคลุมดับต้นเหตุชองการลุกไหม้

3. ตัดเชื้อเพลิง

3. ตัดเชื้อเพลิง กำจัดเชื้อเพลิงให้หมดไป * และการตัดปฏิกิริยาลูกโซ่  *

การติดต่อลุกลาม

ขยายขอบเขตของไฟได้ 3 ประการ คือ 1.การนำความร้อน 2.การพาความร้อน 3.การแผ่รังสีความร้อน

1. การนำความร้อน

การที่ความร้อนเคลื่อนที่ไปตามโมเลกุลของโลหะ ที่เป็นตัวนำความร้อนเช่น ทองแดง อลูมิเนียม ทองเหลือง เงิน เหล็ก อันจะเป็นสื่อหรือสะพานไฟทำให้ความร้อนเคลื่อนที่ไป ลุกไหม้ วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงที่ทาบทับอยู่ เช่นกรณีที่ กรอบหน้าต่างทำด้วยอลูมิเนียม เมื่อเกิดเพลิงไหม้ในอาคารก็ย่อมทำให้หน้าต่างบานไม้หรือวัสดุอย่างอื่นพลอยไหม้ไปด้วย

2. การพาความร้อน

เป็นการเคลื่อนที่ของความร้อน ไปกับมวลอากาศที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งการเคลื่อนที่ของความร้อนในลักษณะเช่นนี้ จะไปตามแนวลมในทางตั้ง เช่น การลอยตัวขึ้นไปและแผ่ตัวคล้ายดอกเห็ดในส่วนเพดาน หรือขึ้นไปตามช่องบันได หรือท่อทางที่อากาศจะลอยขึ้นไปได้

3. การแผ่รังสีความร้อน

การส่งผ่านความร้อนจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง โดยการแผ่รังสีผ่านช่องว่างในอากาศออกไปโดยรอบ เป็นไปในลักษณะคล้ายการเปล่งแสงและเช่นเดียวกับการส่งผ่านความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังพื้นโลกที่ทำให้เรารู้สึกร้อน

ลดความสูญเสีย  

ด้วยการ
1. สำรวจตรวจตรา เช่น ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสม่ำเสมอ จัดหาเครื่องมือ เช่น ถังดับเพลิง ฝึกปรือผู้ใช้ เช่น มีการฝึกอบรม การซ้อมอัคคีภัย

2. มีเจ้าหน้ารักษาสถานทีในขณะทำงาน และนอกเวลาทำงาน เมื่อปิดสำนักงานแล้ว

3. ให้ความรู้เจ้าหน้าที่ ตลอดถึงผู้เป็นเวรยามรักษาสถานที่ ทุกคนทราบถึงวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้  ด้วยการแจ้งสัญญาณเพลิงไหม้  โทรศัพท์แจ้งดับเพลิงที่อยู่ใกล้ที่สุด  และทำการดับเพลิงเอง

อุปกรณ์การป้องกันและระงับอัคคีภัย

1. อุปกรณ์เตือนภัย เช่น – เครื่องดักจับความร้อน  (Heat detectors) – เครื่องดักจับควัน  (Smoke detectors) – สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้  (Fire alarm)   – แผงควบคุมอุปกรณ์เตือนภัย  (Fire control panel) ซึ่งต้องมีทีม ดับเพลิงคอยตอบสนอง

2.  อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น – หัวฉีดน้ำอัตโนมัติ (Sprinkler)  ฯลฯ

3.   อุปกรณ์ส่องสว่างฉุกเฉิน (Emergency light) เช่น ไฟฉุกเฉิน

บัญญัติ 10 ประการในอาคารสูง

1. สำรวจตรวจตรา

พึงระลึกเสมอว่า “แม้เพียงย่างก้าวเข้าอาคารสูง ชีวิตหายไปแล้วครึ่งหนึ่งที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งท่านจะนำออกมาเองหรือจะให้มูลนิธิร่วมกตัญญู นำออกมา”ดังนั้น เมื่อเข้า อาศัยในอาคารใดก็ตาม พึงสำรวจดังต่อไปนี้ 1. อุปกรณ์เตือนภัย  อาทิ เครื่องดักจับควัน(Smoke Detectors) เครื่องดักจับความร้อน (Heat Detectors)  ฯลฯ 2. อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ  (Sprinkler) 3. อุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน  (Fire / Emergency Alarm) 4.เครื่องดับเพลิง (Fire Extinguisher) สำรวจว่าเป็นแบบไหน

2. หาทางหนี

ตรวจสอบทางออก(อย่างน้อย 2 ทาง) บันไดหลัก  บันไดหนีไฟ หน้าต่างระบบและอุปกรณ์ในการหนีไฟอื่น ๆ ว่าเป็นแบบใด อยู่ที่ใด  จำนวน เท่าไรและใช้อย่างไร

3. มีการซ้อม

เมื่อเข้าพักอาศัย หรือทำงานในอาคารสูง ควรฝึกซ้อม การหนีไฟด้วยตนเอง โดยให้หลับตา หรือขณะที่มืดสนิททำการซ้อมหนีออกจากอาคาร จดจำตำแหน่งของกุญแจห้อง (นำกุญแจห้องพักติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ออกจากห้อง)ไฟฉาย หน้ากากกันควันอยู่ไหน ประตูเปิดอย่างไร ซ้อมให้ชำนาญ ถ้าเป็นอาคารที่ท่านอยู่อาศัยถาวร ควรจัดให้มีการซ้อมอพยพทุก 6 เดือน และกำหนดจุดนัดพบ (จุดรวมพล) ถาวรเอาไว้ด้วย

4. พร้อมแจ้งไฟ Alarm

เมื่อพบเหตุไฟไหม้ ให้แจ้งเหตุ โดยตะโกนบอกให้คนมาช่วย ท่านต้องทราบว่าจะโทรศัพท์ไปแจ้งที่ไหนในอาคาร กดปุ่มสัญญาณเตือนภัยที่ไหน อย่างไร ก่อนที่จะเข้าทำการระงับเหตุ (ถ้าสามารถทำได้)

5.ให้รีบเผ่น

เมื่อพบเหตุไฟไหม้ให้แจ้งเหตุ โดยตะโกนบอกให้คนมาช่วย ท่านต้องทราบว่าจะโทรศัพท์ไปแจ้งที่ไหนในอาคารกดปุ่มสัญญาณเตือนภัยที่ไหน อย่างไร ก่อนที่จะเข้าทำการระงับเหตุ (ถ้าสามารถทำได้)ห่วงชีวิต เดินชิดขวาเอาไว้ จุดรวมพล)

6.เน้นปิดอับ

ปิดประตู้หน้าต่างห้องที่เกิดเพลิงไหม้ให้สนิทที่สุด ถ้าทำได้(ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครติดอยู่ข้างใน)เพื่อป้องกันการลุกลาม

7.อย่าสับสน

ควบคุมสติให้ดี  อย่าตื่นเต้นจนทำอะไรไม่ถูก พิจารณาหาทางออกอย่างปลอดภัย ใช้หลังมือสำรวจความร้อนของห้องที่จะออกไป และสังเกตว่ามีไฟไหม้อยู่หรือเปล่าถ้ามีความร้อนอย่าเปิดประตู ให้เปิด หน้าต่าง หาทางส่งสัญญาณให้คนมาช่วย

8.หาคนช่วย

พยายามทำให้ห้องของเราปลอดภัยที่สุด และทำให้คนข้างนอกรู้ว่า เราติดอยู่ในอาคาร ถ้าไฟลามมาถึงห้องเราแล้วออกไปไม่ได้..ให้ใช้ผ้าชุบน้ำ อุดใต้ประตูหรือช่องโหว่ไม่ให้ควันเข้า  ก่อนส่งสัญญาณทางหน้าต่างด้วยการโบกผ้าและตะโกน

9.ช่วยตนเอง

โอกาสสุดท้าย หาทางออกโดยการใช้หน้ากากฉุกเฉิน, ถุงพลาสติกใสใหญ่, ตักอากาศบริสุทธิ์ครอบหัว,ผ้าชุบน้ำปิดจมูกพร้อมผ้าห่มชุบน้ำชุ่ม ๆ ฝ่าความร้อนโดยวิ่งต่ำหรือหมอบคลาน ถ้าอยู่ในอาคารสูง ใช้รอกหนีไฟ หรือสายฉีดน้ำดับเพลิง  หรือเชือก หรือฉีกผ้าปูที่นอนต่อเป็นเชือกลงทางหน้าต่าง

10.เจ๋ง หรือ จ๋อย

อย่าใช้ลิฟต์เวลาเกิดเพลิงไหม้  ทำใจเสียเถอะว่า..แล้วแต่บุญแต่กรรม แล้วแต่วาสนาที่ต้องอยู่ในที่ๆมีภัยควรเลือกที่อยู่  ที่ทำงาน ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีอุปกรณ์และมาตรการในความปลอดภัยอย่างมีมาตรฐาน
จัดกิจกรรมเสร็จแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ด้วย ผ่านช่องทาง google form หรือ QR Code
cr.ภาพจาก Photoandvideo Clm WU
หาก “ความปลอดภัย” คือคำขวัญที่สร้างแรงจูงใจในพื้นที่การทำงาน "การอบรมอัคคีภัยและซ้อมการหนีไฟ" ก็เป็นอีกกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานของเรา

การรักษาตัวรอดเป็นยอดดี

ด้วยความขอบคุณ

เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชำนาญงาน
ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

4 Comments

  1. greenlib_2017

    เวลาซ้อมจริงน้อยไปนิดนึง และควรให้นักศึกษามีส่วนร่่วมด้วย

  2. Cheng

    ควรจัดซ้อมทุกปี จำลองเหตุการณ์เสมือนจริง ให้ผู้ใช้ห้องสมุดร่วมกิจกรรมโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

  3. ปรีชา รัสมี

    -ควรจัดอบรมให้ความรู้และซ้อมอพยพผู้ใช้บริการห้องสมุดร่วมด้วย

    -เน้นจัดทำแผนการอพยพหนีไฟมากกว่าบรรยายภาคทฤษฏี

    -ควรมีแผนตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันภัยอย่างชัดเจน

    -ควรมี จนท.มหาวิทยาลัย มาให้ความรู้ของระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่ในอาคาร

    -ควรจัดหาอุปกรณ์ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับประเภทวัสดุสิ่งของที่มีอาคารต่างๆ เป็นต้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.