ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มวล.
สำนักงานสีเขียว
หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ “สำนักงานสีเขียว (Green office) “ ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์ 4.1 การจัดการของเสีย

สำนักงานจะต้องมีการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมปริมาณขยะและความรุนแรง/อันตราย ที่จะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน สิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบข้าง โดยสำนักงานจะต้องเลือกวิธัีการจัดการขยะที่เหมาะสม ซึ่งการจัดการขยะมีหลายประเภท ได้แก่ การลดปริมาณของเสียจากแหล่งกำเนิด การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การคัดแยกขยะ เป็นต้น และที่สำคัญจะต้องมีการปลูกฝังความตระหนักของพนักงาน การตรวจสอบปริมาณขยะและความถูกต้องในการคัดแยกขยะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและการส่งกำจัดจะต้องมีความเหมาะสม
สำนักงานมีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นทั้งจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจากการเข้าใช้บริการห้องสมุด
ของผู้ใช้บริการ  จัดวางถังชุดคัดแยกขยะตามจุดต่าง ๆ ทั้ง 3 ชั้น จำนวน 6 จุด ได้แก่ 
1. ทางเข้าด้านหน้าห้องสมุด 1 ชุด                                        2. ทางเข้าด้านลานจอดรถ 1 ชุด
3. ทางลาดด้านหน้า 1 ชุด                                                   4. บันไดทางขึ้นสำนักงาน ชั้น 2  1 ชุด
5. ในห้องสมุด 1 ชุด                                                          6. ห้องสมุดในสวน 1 ชุด
และมีถังขยะใสสำหรับขยะรีไซเคิล (พื้นที่ให้บริการ) จำนวน 3 จุดวางไว้บริเวณบันไดทุกชั้นของอาคาร และมีถังใส่ขยะ
อันตราย จำนวน 1 ถัง วางไว้บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์๋  ถังขยะทั้งหมดจะมีพร้อมป้ายบ่งชี้
ประเภทของถังขยะ และมีจัดพักขยะ 1 จุด อยู่บริเวณลานจอดรถอาคารบรรณสาร โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละ
ประเภทอย่างเพียงพอในแต่ละวัน
มีการบันทึกข้อมูลขยะทุกวัน โดยมอบหมายให้แม่บ้านเป็นผู้บันทึกข้อมูลหลังจากได้มีการเก็บและแยกขยะแล้วในการ
คัดแยกขยะ จะมีกระบวนการดังนี้ 
1)  ขยะเปียก ซึ่งมีถังขยะอยู่ในครัว  จะนำไปทิ้งในถังหมักรักษฺ์โลกทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เวลา 16.00 น.
2) ขยะทั่วไป จะในไปทิ้งในถังพักขยะ และมีผู้รับจ้างของมหาวิทยาลัยมาคัดแยกและทิ้งขยะต่อไป
3) ขยะรีไซเคิล  จะคัดแยกประเภทและนำไปพักไว้ในห้องพักขยะ ก่อนจะนำไปขายให้กับร้านค้า 
4) กรณีของการเผาขยะอันตราย  มหาวิทยาลัยมีเตาเผาขยะประเภทต่าง ๆ  โดยเฉพาะขยะติดเชื้อ และในอนาคตจะ
    พัฒนาโรงขยะเตาเผาให้เป็นต้นแบบของการกำจัดขยะที่ถูกต้องและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  
ปริมาณขยะ
แยกตามประเภท เดือนธันวาคม 2561-พฤษภาคม 2562




รวมขยะทั้งหมด

2,748.10 กิโลกรัม

145.20 กิโลกรัม

235 กิโลกรัม

2,358.90 กิโลกรัม

ชุดคัดแยกขยะ 6 ชุด
ถังขยะใส สำหรับรองรับขยะของผู้ใช้บริการ วางไว้ในห้องสมุด จำนวน 3 จุด

ถังขยะเปียก  รองรับเศษอาหารและภาชนะบรรจุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม    วางไว้ในห้องครัว

ถังขยะอันตราย
จุดพักขยะอาคารบรรณสาร
ห้องพักขยะรีไซเคิล รอขายให้กับร้านค้า
จุดชั่งน้ำหนักขยะก่อนจะบันทึกข้อมูล
สถานที่ให้บริการเตาเผาขยะ
การปรับปรุงซ่อมแซมเตาเผาของมหาวิทยาลัยเองทั้งหมด โดยเตาเผาขยะติดเชื้อ สามารถรองรับการเผาขยะติดเชื้อได้ในปริมาณ 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ด้วยระบบการเผาแบบแก๊สและความดัน
ส่วนขยะเปียก และมีการเก็บทุกวัน  และคณะทำงานหมวด 4 ได้คิดค้นถังหมักรักษ์เพื่อเป็นปลายทางของขยะเปียก และเพิ่มปุ๋ยให้กับต้นไม้รอบ ๆ อาคาร
ถังขยะเปียกในห้องครัว 2 จุด
จุดวางถังหมักรักษ์โลก

การนำขยะกลับมาใช้ใหม่

การนำกลับใช้ใหม่ คิดเป็นร้อยละ 20.2 

การนำขยะไปรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 8.55 

ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่

คิดจากร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ = (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ x 100) /ปริมาณขยะสะสมที่เกิดขึ้นทั้งหมด

การคิดจากการเก็บข้อมูลขยะในแต่ละวัน ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิลและขยะเปียก (สถิติเดือนธันวาคม 2561 – เมษายน 2562 รวมขยะทั้งหมด 2,748.10 กิโลกรัม แยกเป็นขยะรีไซเคิล 235 กิโลกรัม
ดังนั้นขยะดังกล่าว รวมทั้งหมด 2,748.10 กิโลกรัม มีการนำกลับมาใช้ใหม่ (ขยะรีไซเคิล) 235 กิโลกรัม
ดังนั้น รวมมีการนำกลับมาใช้ใหม่ 235×100 /2748.10

                = 8.55

การนำขยะหรือสิ่งที่เหลือใช้กลับมาใช้ใหม่  มาจากการนำซองเอกสารและกล่องพัสดุที่มีการรับ-ส่งของส่วนตัว และนำมารวมกันและช่วยกันนำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมกับเก็บสถิติการใช้งาน
โดยที่ขยะทั้งหมด 45 ชิ้น (กล่อง 25 ชิ้น, ซองเอกสาร 20 ชื้น)
มีการใช้ทั้งหมด 9 ชิ้น (กล่อง 7 ชิ้น, ซองเอกสาร 2 ชิ้น)
รวมมีการนำกลับมาใช้ใหม่ 9×100/45  

                  = 20.2

4.2 การจัดการของเสีย
หมวด/ตัวชี้วัดหลักฐานการดำเนินการ
1. มีการดำเนินการคัดแยกขยะตามประเภท และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ที่ทำงานอย่างเหมาะสม และติดป้ายบ่งชี้ชัดเจน




2. มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนสรุปขยะรายเดือนแยกพื้นที่

สรุปขยะรายเดือนไม่แยกพื้นที่
3. มีการส่งขยะให้กับหน่วยงานที่รับจ้างของมหาวิทยาลัย
4. มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ
5. ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง๗
6. ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ หมายเหตุ ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ = (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ x 100)/ปริมาณขยะสะสมที่เกิดขึ้นทั้งหมด)คำนวณการนำขยะกลับมาใช้ใหม่

เกณฑ์ 4.2 การจัดการน้ำเสีย

สำนักงานจะต้องดำเนินการจัดการน้ำเสียจากทุกกิจกรรมการปฏิบัติงาน โดยเริ่มจากการศึกษาองค์ประกอบของส้ำเสีย เพื่อที่จะเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งแนวทางการจัดการน้ำเสีย ได้แก่ การลดปริมาณการใช้น้ำหรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้สำนักงานจะต้องดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนืื่อง

4.2 การจัดการน้ำเสีย

       การจัดการน้ำเสียของสำนักงานไม่ได้ดำเนินการเอง  แต่จะมีหน่วยงานกลางที่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัย และคอยตรวจสอบ ดูแลเส้นทางน้ำเสียก่อนผ่านบ่อบำบัดน้ำเสีย ขณะนี้มี 3 บ่อ โดยใช้โอโซนในการบำบัดก่อนจะระบายสู่แก้มลิงและลงธรรมชาติ 
ละมหาวิทยาลัยยังได้คิดค้นนวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียโดยเดินระบบที่อุณหภูมิสูงจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้รวดเร็ว  โดยเดินระบบที่อุณหภูมิสูงจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้รวดเร็ว  ลดจำนวนถังหมักและประหยัดเวลาในการหมัก 
ละมหาวิทยาลัยยังได้คิดค้นนวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียโดยเดินระบบที่อุณหภูมิสูงจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้รวดเร็ว  โดยเดินระบบที่อุณหภูมิสูงจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้รวดเร็ว  ลดจำนวนถังหมักและประหยัดเวลาในการหมัก

 

 

การจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัย
ถังดักไขมันใต้อ่างล้างจานในห้องครัว
ตารางการตักเศษอาหารนในห้องครัว
4.2 การจัดการน้ำเสีย
หมวด/ตัวชี้วัดหลักฐานการดำเนินการ
1. การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน คุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม และครบทุกจุดที่มีการปล่อยน้ำเสีย มีผลการตรวจสอบคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด
2. การดูแลอุปกรณ์สำหรับบำบัดน้ำเสีย มีการดักและทำความสะอาดเศษอาหารและไขมันออกจากตะแกรงตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมการดูแลถังดักไขมัน
การดูแลถังดักไขมัน
มีการนำเสษอาหาร น้ำมันและไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง รวมทั้งตรวจสอบ แก้ไข ซ่อมแซมให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.