USMLE Step 2 เป็นขั้นตอนการสอบเพื่อขอใบประกอบวิชาชีพของแพทย์สหรัฐอเมริกา และเป็นการสอบต่อจาก เตรียมสอบ USMLE Step 1 : ความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ ซึ่งเป็นการสอบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์อเมริกา และอ่านการสอบ USMLE ได้จากบทความเรื่อง USMLE กับ Access Medicine มาแล้วนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าสอบเกึ่ยวกับการสอบนี้มากยิ่งขึ้น
สำหรับการเตรียมสอบ USMLE Step 2 การสอบทางคลินิก นี้เป็นการสอบที่เน้นด้านคลินิก 2 ด้านคือ Clinical Knowledge(CK) เป็นความรู้ทางคลินิก (MCQ) และ Clinical Skill(CS) ทักษะในการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก
เนื้อหาในการสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Step 2 CK (USMLE Step 2 Clinical Knowledge) และ Step 2 CS (USMLE Step 2 Clinical Skills)
– Step 2 CK การสอบแบ่งออกเป็น 9 session โดยมีรูปแบบการตอบข้อสอบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับข้อสอบ เป็นการวัดความรู้แพทย์และโรคต่าง ๆ เนื้อหาประกอบด้วย อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ป้องกัน จิตเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์ รวมถึงการให้การรักษาให้ศาสตร์อื่น ๆ
– Step 2 CS เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะการรักษาและการสื่อสารกับผู้ป่วย โดยจัดสอบเพียง 5 รัฐเท่านั้น ได้แก่ Philadelphia Chicago Atlanta Houston และ Los Angeles เนื้อหาในการสอบประกอบด้วย 3 รายวิชา คือ 1. Communication and Interpersonal Skills (CIS) เป็นการประเมินทักษะการสื่อสาร โดยมีคนไข้เป็นศูนย์กลาง ดูการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ ความสามารถของแพทย์ในการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ การให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้ป่วยในการตัดสินใจ รวมถึงการสนับสนุนด้านอารมร์แก่ผู้ป่วย การประเมินจะประเมินกับผู้ป่วยจริง โดยประเมินเป็นขั้นตอนจากการสังเกตุพฤติกรรม
2. Spoken English Proficiency (SEP) เป็นการประเมินความชัดเจนในการสื่อสารภาษาอังกฤษระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย สิ่งที่วัดคือการออกเสียง การเลือกคำ การพูดอย่างเหมาะสม สามารถสื่อสารให้ผู้ป่วยเข้าใจ การทวนคำถาม ผู้ป่วยสามารถฟังเข้าใจ รวมไปถึงสำเนียงที่ฟังง่าย เข้าใจง่าย
3. Integrated Clinical Encounter (ICE) เป็นการประเมินทักษะการรวบรวมข้อมูล การตีความข้อมูลที่ได้จากคนไข้ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการวินิจฉัยโรคที่ใกล้เคียงมากที่สุด สามารถวินิจฉัยแยกโรคได้
สำหรับ step 2 มีทรัพยากรที่ฐานข้อมูล Access Medicine แนะนำให้อ่าน Test-Taking Strategies for the USMLE STEP 2 Exam: Proven Methods to Succeed อ่านได้จาก https://accessmedicine.mhmedical.com/Book.aspx?bookid=3248

และการเตรียมสอบ USMLE Step 2 เป็นการสอบที่มีเนื้อหามาก จึงได้มีการแบ่งออกเป็น 9 session และต้องใช้เวลาสอบ 1 วันเต็ม ดังนั้นต้องมีกลยุทธ์ที่ดี เพื่อให้การสอบครั้งนี้ผ่านไปได้ และช่วยลดความเครียด สร้างความมั่นใจ และสอบผ่านได้ โดยทักษะในการทำข้อสอบ หมายถึง ทักษะทางความคิด (Cognitive skills) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะทักษะเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความสามารถในการประมวลผล วิเคราะห์ และจดจำข้อมูล ประกอบไปด้วยความมั่นใจ การจัดการกับความวิตกกังวล และการบริหารเวลา และทักษะที่จำเป็น ความสามารถในการจัดการกับคำถามที่ยาก การนำความรู้พื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ การจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างเหมาะสม กลยุทธ์ในการทบทวนคำตอบ และความสามารถในการใช้เหตุผล
การมีทักษะในการทำข้อสอบที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อคะแนนสอบที่ทำได้ การเตรียมตัวโดยการการอ่านเนื้อหามาก ไม่ได้รับประกันว่าจะสามารถทำคะแนนสอบได้มากตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยเฉพาะในการศึกษาทางการแพทย์ ซึ่งต้องเรียนเนื้อหาที่หลากหลาย และมีปริมาณมาก การมีทักษะการทำข้อสอบที่ดีเป็นทักษะที่จำเป็นและมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง
การให้ความสำคัญกับเนื้อหาจนละเลยการฝึกทำข้อสอบและแบบฝึกหัด และไม่มีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาและเพิ่มพูนทักษะในการทำข้อสอบ ดังนั้นนักศึกษาแพทย์ส่วนมากจึงให้ความสำคัญกับเนื้อหามากกว่าการนำไปประยุกต์ใช้และฝึกปฏิบัติ การปรับวิธีการเตรียมตัวสอบจะช่วยให้ทำคะแนนสอบได้ดีขึ้น ผลการสอบที่ได้รับทำให้นักศึกษาเปลี่ยนแนวคิด มุมมองในการเรียนและการสอบ เพราะการฝึกฝนทักษะการทำข้อสอบที่ดีและเพียงพอ สามารถช่วยให้การสอบประสบผลสำเร็จ และมีขั้นตอนในการเตรียมตัวที่ถูกต้อง ระบุปัญหาได้ รวบรวมการวินิจฉัยที่เป็นไปได้ได้อย่างรวดเร็ว จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่ได้รับ และกรองข้อมูลที่ไม่สำคัญออกไป สรุปและวางแผนการดำเนินการช่วยให้ทำข้อสอบได้ดี และช่วยแก้ปัญหาการขาดกลยุทธ์ในการทำข้อสอบ ความยากลำบากในการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์แนวคิดและการจัดหมวดหมู่ข้อมูล และอคติจากการยึดติดกับข้อมูลเดิม (anchoring bias)
เนื้อหาหนังสือ Test-Taking Strategies for the USMLE STEP 2 Exam: Proven Methods to Succeed
บทที่ 1: ทักษะและข้อผิดพลาด
แบ่งออกเป็น 4 บทย่อย คือ การจัดการเวลา การทบทวนค่าผลแลป การขาดความมั่นใจ การทบทวนคำตอบ
บทที่ 2: วิธีการ
แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
สิ่งสำคัญคือการมีแนวทางที่เป็นระบบในการจัดการกับคำถาม ดังนั้นจึงต้องมีแนวทางที่เป็นระบบ เพราะการมีแผนที่เป็นระบบ จะทำให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในแนวทางคือกระบวนการหยุดและสังเคราะห์ข้อมูล โดยการสังเคราะห์ข้อมูลหมายถึงการรวมส่วนต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ซึ่งการสังเคราะห์ข้อมูลได้ดี จะทำให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าอะไรที่สำคัญจริงๆ อีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการสังเคราะห์คือการมอบความสำคัญให้กับข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1: อ่านสองประโยคสุดท้ายก่อน แล้วจึงอ่านสองประโยคแรก รวมถึงคำถาม
ซึ่งประโยคที่สองจากท้ายมักจะมีข้อมูลที่สำคัญที่สุด โดยในการอ่านคำถามตั้งแต่ต้นจะช่วยให้ผู้เข้าสอบให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เหลือในคำอธิบายได้อย่างมีทิศทาง โดยในสองประโยคแรกมักจะเป็นการให้บริบทของสถานการณ์ ซึ่งบริบทคือการสร้างพื้นฐานของเหตุการณ์ ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น อายุ เพศ สถานะสุขภาพ อาการหลัก และเวลาที่เกิดเหตุการณ์
ขั้นตอนที่ 2: การตีความและสังเคราะห์ข้อมูลในคำอธิบายเพื่อกำหนดโรคที่เป็นไปได้
การสังเคราะห์หมายถึงการสรุปสถานการณ์โดยพิจารณาจากส่วนต่างๆ ของข้อมูลทั้งหมดและกำหนดความหมายของข้อมูลที่นำเสนอ โดยให้คิดขั้นตอนนี้เหมือนเป็นประโยคแรกในการประเมินและวางแผน (Assessment & Plan)
ขั้นตอนที่ 3: ยึดมั่นกับคำตอบก่อนที่จะอ่านตัวเลือกคำตอบ
ลองพยายามสร้างข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งที่คิดว่าเกิดขึ้น สำหรับข้อมูลที่คิดว่าจำเป็นเพื่อหาคำตอบ โดยการยึดมั่นกับคำตอบก่อนที่จะอ่านตัวเลือกคำตอบและคำอธิบายส่วนที่เหลือ ทำให้ได้รับการบังคับให้สร้างข้อสรุปจากสี่ประโยคที่สำคัญที่สุด นี่หมายความว่าจะมีโอกาสน้อยที่จะถูกหลอกโดยตัวเลือกคำตอบที่คล้ายกัน
ขั้นตอนที่ 4: อ่านตัวเลือกคำตอบและพยายามเลือกคำตอบก่อนที่จะอ่านคำอธิบายที่เหลือ
พยายามเลือกคำตอบ โดยการยึดมั่นกับตัวเลือกคำตอบก่อนที่จะอ่านคำอธิบายส่วนที่เหลือจะช่วยให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องได้ ซึ่งหากคำตอบที่ได้ในขั้นตอนที่ 3 ไม่ใช่หนึ่งในตัวเลือกที่มีให้ ควรประเมินเหตุผลที่เกิดขึ้น และถึงแม้ว่าจะยังเลือกคำตอบไม่ได้ในขั้นตอนนี้ ก็ควรอ่านคำอธิบายส่วนที่เหลือ จะช่วยให้ตรวจสอบคำตอบที่เลือกให้ตรงกับตัวเลือกคำตอบที่มี
ขั้นตอนที่ 5: อ่านคำอธิบายที่เหลือ
เมื่อได้ทำขั้นตอนที่ 1-4 เสร็จแล้ว ควรมีกรอบความคิดดังนี้ในขณะที่อ่านคำอธิบายที่เหลือ
แต่หากยังไม่ได้เลือกคำตอบในขั้นตอนที่ 4 ให้หยุดอ่านเมื่อคิดว่ารู้คำตอบแล้ว และเปลี่ยนคำตอบได้ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลใหม่ที่ขัดแย้งกับคำตอบ
สรุป
ทักษะเหล่านี้ต้องฝึกจนสามารถทำได้รวดเร็ว และรู้สึกเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทาง 5-Step Approach สามารถนำไปดัดแปลงให้เหมาะสม และเมื่อเกิดการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอในการตอบคำถามและใช้สำหรับทุกคำถาม และกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในชุดทักษะการสอบ คือ เริ่มตั้งแต่ อ่านสองประโยคสุดท้ายก่อน จากนั้นอ่านสองประโยคแรก ซึ่งรวมถึงคำถามด้วย ตีความและสังเคราะห์ข้อมูลในบทความเพื่อช่วยในการกำหนดความเป็นไปได้ของโรค ยึดกับคำตอบก่อนที่จะอ่านตัวเลือกคำตอบ อ่านตัวเลือกคำตอบและพยายามเลือกคำตอบก่อนที่จะอ่านบทความที่เหลือ
- การจัดการเวลา คือ การใช้เวลาในการทำข้อสอบ โดยมีการนำกลยุทธ์การเฉพาะเจาะจงเข้ามาใช้ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด และใช้พลังงานให้น้อยที่สุด วิธีการที่ควรทำคือ การมีแผนสำหรับการอ่านกรณีศึกษา และการให้ความสำคัญกับส่วนที่จำเป็นในกรณีศึกษา การฝึกฝนเกิดความชำนาญจะทำให้หาคำตอบได้ทันทีหลังจากอ่านเพียงบางส่วนของกรณีศึกษา เพราะการสอบ USMLE Step 2 ใช้เวลา 1 วันเต็ม ดังนั้นผู้เข้าสอบจะต้องมีเวลาพอที่จะตอบคำถามทั้งหมดและต้องทำได้ดีเท่ากันทั้งในส่วนแรกและส่วนสุดท้าย ผู้เข้าสอบจะต้องเรียนรู้ที่จะอ่านและให้ความสนใจเฉพาะข้อมูลสำคัญ เพราะเป้าหมายคือ การอ่านให้ฉลาดขึ้น ไม่ใช่อ่านให้มากขึ้น โดยสรุปแล้ว การจัดการเวลาต้องใช้กลยุทธ์การอ่านที่มีทิศทางและมีจุดมุ่งหมาย การจัดสรรพลังงานให้เหมาะสม
- การอ่านผลแลปก่อนการอ่านบทนำ เพราะผลแลปให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับพยาธิสภาพของสถานการณ์นั้น ๆ และจะช่วยเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยแยกโรคและช่วยให้ความสนใจกับสิ่งที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ดังนั้น จึงควรอ่านผลแลปก่อนเพราะการอ่านผลแลปล่วงหน้าช่วยให้สร้างสมมติฐานโดยไม่ถูกชี้นำด้วยข้อมูลจากอาการทางคลินิก หลังจากอ่านผลแลป คำถาม และตัวเลือกคำตอบแล้ว มีโอกาสสูงที่อาจตอบคำถามได้อย่างถูกต้องโดยไม่ต้องอ่านบทนำ ผลแลปยังสามารถเป็นข้อมูลที่ตรงไปตรงมามากกว่าเบาะแสทางคลินิกที่บรรยายในบทนำ โดยสรุปคือ การใช้วิธีการที่เป็นระบบพัฒนาความสามารถในการใช้เหตุผลผ่านความผิดปกติของผลการทดสอบโดยการเข้าใจสรีรวิทยาพื้นฐาน แยกแนวคิดออกเป็นหมวดหมู่ย่อยที่สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น ทบทวนและตีความผลการทดสอบในภาพรวม แทนที่จะดูแยกเป็นส่วนๆ
- การขาดความมั่นใจ สามารถแก้ไขโดยการมีเครื่องมือและทักษะในการทำข้อสอบที่จำเป็นสำหรับการสอบ โดยต้องมุ่งเน้นไปในสิ่งที่รู้มากกว่าสิ่งที่ไม่รู้ และต้องรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอเพื่อสนับสนุนสมมติฐาน ทักษะการทำข้อสอบช่วยเพิ่มความมั่นใจในการรับมือกับคำถามทุกประเภท
- การทบทวนคำตอบ ต้องมีระบบที่ช่วยให้ทบทวนคำตอบบางคำตอบ เพื่อป้องกันความรีบร้อนจนเกิดข้อผิดพลาด วิธีการในการทบทวนคำตอบ คือ ควรตรวจสอบคำตอบก่อนที่จะไปคำถามถัดไป โดยต้องหยุดคิดและพิจารณา หรือควรกำหนดเกณฑ์ในการทำธงคำถามสำหรับข้อที่ไม่มั่นใจ เพราะคำถามที่ทำธงคำถามไว้จะเป็นแนวทางให้ทบทวนคำถามที่ควรทบทวน การทบทวนคำตอบจะสัมพันธ์กับการจัดการเวลา หากมีการจัดการเวลาที่ดีก็สามารถทบทวนคำตอบได้ดีตามไปด้วย ในการเรียนรู้จากการทบทวนคำถามในการฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทบทวนและวิเคราะห์คำถามอย่างละเอียด และยังมีประโยชน์จากการฝึกทำคำถามหลายพันหลายหมื่นข้อเพื่อเปิดรับข้อมูลให้มากที่สุดในทุกรูปแบบของสถานการณ์ที่อาจเจอ นี่คือวิธีที่จะเรียนรู้ที่จะจดจำสิ่งที่สำคัญ (high yield) มันสำคัญที่จะหาความสมดุลระหว่างปริมาณและคุณภาพ และควรหาแนวทางที่เหมาะกับตัวเอง ซึ่งการทบทวนจะช่วยให้เข้าใจจุดอ่อนของตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถแก้ไขได้ถูกจุด และต้องฝึกทักษะการใช้เหตุผลประกอบเพื่อเพิ่มความมั่นใจในอีกทางหนึ่ง โดยสรุปคือ เน้นการทบทวนคำตอบเฉพาะคำถามที่ยากที่สุด ทำการอ่านครั้งแรกและทบทวนคำถามที่ไม่ยากในช่วงเวลาเดียวกัน และไม่ควรกลับไปทบทวนคำตอบของคำถามเหล่านั้น ไม่ควรเปลี่ยนคำตอบเมื่อไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลเฉพาะที่ควรเปลี่ยน รวมทั้งการใช้เครื่องมือ “ธง” อย่างชาญฉลาด
บทที่ 3: การให้เหตุผล
การจัดหมวดหมู่เป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ เพราะเป็นการจัดกลุ่มและให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่รอบตัว ในการสอบก็เช่นกัน ต้องอาศัยการจัดหมวดหมู่เข้าช่วย เพื่อเป็นการกรองข้อมูลที่สำคัญออกมา โดยเริ่มต้นจากการอ่านคำถามและตัวเลือกคำตอบก่อนที่จะอ่านข้อมูลในเนื้อเรื่อง ซึ่งจะช่วยกำหนดความคิดในเรื่องการจัดหมวดหมู่ข้อมูล เมื่อฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนาฐานความรู้ และพัฒนาไปเป็นสคริปต์ของโรค ซึ่งช่วยให้สามารถระบุสิ่งที่สำคัญได้เร็วขึ้น
สรุป
การเข้าใจบริบทเป็นขั้นตอนแรกในการระบุข้อมูลที่สำคัญ สคริปต์ของโรค (Illness scripts) แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับโรคในรูปแบบสรุปที่มีระเบียบ สคริปต์ของโรคช่วยเพิ่มความเร็ว ต้องมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือ การฝึกฝนการแยกข้อมูลออกเป็นส่วนที่จัดการได้ วิธีที่ดีที่สุดในการระบุว่าข้อมูลนั้นมีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ จะช่วยให้สามารถทำข้อสอบได้รวดเร็วและถูกต้องมาก
บทที่ 4: การจัดหมวดหมู่ข้อมูลและสคริปต์ของโรค
การให้เหตุผลคือ “พลังในการทำความเข้าใจ, อนุมาน, หรือคิด โดยเฉพาะในลักษณะที่มีระเบียบและมีเหตุผล” การให้เหตุผลทางคลินิกการรวมความรู้และประสบการณ์เพื่อไปสู่การวินิจฉัยหรือพัฒนาการวางแผนการรักษา ช่วยทำให้การวินิจฉัยผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างจากการวินิจฉัยของแพทย์ การได้มาซึ่งการวินิจฉัยหรือแผนการรักษาที่ถูกต้อง เมื่ออ่านการนำเสนอของผู้ป่วยในบททดสอบหรือพบกับผู้ป่วยจริง สถานการณ์ทั้งหมดมีความสำคัญมากกว่าส่วนประกอบเพียงบางอย่าง และจำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการให้เหตุผลเพื่อไปถึงข้อสรุปที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ
สรุป
การให้เหตุผลทางคลินิกเกี่ยวข้องกับการรวมความรู้และประสบการณ์เพื่อไปสู่ข้อสรุป ต้องอาศัยความเข้าใจในพยาธิสภาพ ต้องระวังข้อมูล ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากตัวเลือกคำตอบ
บทที่ 5: การยึด (Anchoring)
การยึด (Anchoring) เป็นคำที่จะเริ่มได้ยินบ่อยขึ้นเมื่อเริ่มฝึกงานทางคลินิก และต้องระวังในเรื่องการยึดติดกับการวินิจฉัย และเรียกสิ่งนี้ว่า “การยึดที่ไม่ดี” (Bad Anchoring) การยึดที่ไม่ดีคืออคติที่เกิดขึ้นเมื่อยึดติดกับจุดอ้างอิงหรือข้อสรุปที่เฉพาะเจาะจง หลังจากที่ “ยึด” ข้อมูลที่ตามมาจะถูกตีความหรือทำความเข้าใจในแบบที่ผิดเพี้ยน เมื่อยึดติดกับการวินิจฉัยในช่วงต้น จะเสี่ยงที่จะมองข้ามหรือเข้าใจข้อมูลที่ขัดแย้งกับการวินิจฉัยผิด การยึดติดนั้นมักจะถูกอธิบายว่าเป็นจุดอ่อนในการทำข้อสอบ: “ผู้เรียนที่มีความบกพร่องนี้จะตัดสินใจเกี่ยวกับการวินิจฉัยเร็วเกินไป, มองข้ามหรือทำให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกับการวินิจฉัยมีความสำคัญน้อยลง, และอาจจะเขียนข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับการวินิจฉัยที่เลือกไว้ หรืออาจจะไม่สังเกตเห็นความไม่สอดคล้องกัน”
ความแตกต่างระหว่างการยึดที่ “ดี” และ “ไม่ดี” คือ การยึดที่ “ดี” ควรจะทำให้มีความมั่นใจในข้อสรุปพอสมควร แต่ไม่มากจนมองข้ามข้อมูลใหม่ที่สำคัญ ต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะพิจารณาอย่างรอบคอบว่าข้อมูลใหม่ควรจะมีผลต่อข้อสรุปหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้ที่จะหาสมดุลระหว่างการยึดที่ “ดี” และ “ไม่ดี”
สรุป
การยึดที่ “ไม่ดี” (Bad anchoring) เป็นอคติที่เกิดจากสมมติฐานที่อาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาด การยึดที่ “ดี” (Good anchoring) ผสมผสานความมั่นใจกับความยืดหยุ่นทางความคิดในการตอบสนองต่อข้อมูลใหม่ การตัดสินใจว่าข้อมูลใดมีประโยชน์, ไม่มีประโยชน์, หรือเป็นกับดัก สามารถป้องกันอันตรายจากการยึดได้
นอกจากนั้นก็ยังมีทรัพยากรอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาสนับสนุนการเตรียมตัวสอบ USMLE ซึ่งฐานข้อมูล Access Medicine เป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาและทรัพยากรที่สนับสนุนการเตรียมตัวสอบ USMLE อย่างครบถ้วน และหลากหลาย นักศึกษาสามารถเลือกวิธีการทบทวนได้ตามความสะดวก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลา ดังนี้
Behavioral Medicine: A Guide for Clinical Practice, 5e | |
Basic & Clinical Biostatistics, 5e | |
Critical Care | |
Current Diagnosis & Treatment Otolaryngology—Head and Neck Surgery, 4e | |
Current Diagnosis & Treatment: Surgery, 15e | |
Emotion in the Clinical Encounter | |
First Aid for the® Family Medicine Boards, 3rd Edition | |
Medical Genetics: An Integrated Approach | |
Schwartz’s Principles of Surgery, 11e | |
Understanding Value-Based Healthcare | |
Understanding Teamwork in Health Care |
บรรณานุกรม
Reading, J. I. (2023). Test-Taking Strategies for the USMLE STEP 2 Exam: Proven Methods to Succeed. McGraw Hill LLC. https://accessmedicine.mhmedical.com/Book.aspx?bookid=3248