Skip to content

คุยเฟื่องเรื่องไขมัน

คุยเฟื่องเรื่องไขมัน

คุยเฟื่องเรื่องไขมัน หนังสือเล่มนี้จะทำให้เรารู้จักไขมันชนิดต่าง ๆ มาลองทบทวนความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับไขมันอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ไขมันมักเป็นสิ่งแรกที่จะถูกตัดออก เพื่อให้การลดน้ำหนักประสบผลสำเร็จ แต่ในความเป็นจริง ไขมันเป็นสารอาหารที่สำคัญ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ถ้าหากขาดไขมัน ร่างกายจะทำงานผิดปกติ และส่งผลเสียหลายอย่างตามมา เราจำเป็นต้องบริโภคไขมันให้เพียงพอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับเรื่องไขมันให้ถูกต้อง ทั้งในเรื่องของชนิดของไขมัน และหน้าที่ของไขมัน เพื่อให้สามารถบริโภคได้อย่างสมดุล และดีต่อสุขภาพ

ในเล่มมีเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้เรื่องไขมันจำเป็นต่อสุขภาพและการลดน้ำหนัก ความลับของไขมันที่จำเป็นต่อสุขภาพและความงาม เคล็ดลับบริโภคน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพในมื้ออาหารประจำวัน รู้จักกับไขมันยิ่งขึ้น เขียนโดยผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ “ศาสตราจารย์ โมริงุจิ โทรุ”

ป็นหนังสือหนึ่งในซีรีส์ชุด สนุกจนตาสว่าง ซึ่งเป็นหนังสือแนวความรู้ทั่วไป สำหรับแนวสุขภาพในซีรีส์ชุดนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น “เล่าเรื่องโปรตีน กินแบบนี้สุขภาพดีแน่” และ “เรื่องลึกแต่ไม่ลับของร่างกายมนุษย์”

เนื้อหาใน “คุยเฟื่องเรื่องไขมัน” ประกอบด้วย 4 ตอน ได้แก่
ตอน 1 ความรู้เรื่องไขมันจำเป็นต่อสุขภาพและการลดน้ำหนัก (ไขมันมีทั้ง “น้ำมันเหลว” และ “ไขมัน (แข็ง)” ต่างกันอย่างไร | สิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของไขมัน คือกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบไขมัน | กินไขมันแล้วจะอ้วนจริงหรือ กลไกที่ทำให้เราอ้วน | ไขมันจำเป็นแม้ยามไดเอ็ต ควรบริโภคไขมันแค่ไหนใน 1 วัน | โอเมก้า X คำที่ได้ยินบ่อย ๆ สำคัญมากในการเลือกไขมัน)
ตอน 2 ความลับของไขมันที่จำเป็นต่อสุขภาพและความงาม (การปฏิเสธไม่กินน้ำมันอย่างสื้นเชิง “งดน้ำมัน” กลับไม่ดีต่อร่างกาย | แก้ไขสหภาพอารมณ์จิตใจ และทำให้สมองตื่นตัว ไขมันช่วยได้ | ทรมานจากภูมิแพ้ เช่น แพ้เกสรดอกไม้ ลองกรดไขมันโอเมก้า 3 สิ | อาหารนอกบ้าน อาหารในร้านสะดวกซื้อ อาหารแปรรูปมักใช้ “น้ำมันไม่ดี” อย่างนั้นหรือ! | การได้รับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ไม่สมดุล นำไปสู่โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต)
ตอน 3 เคล็ดลับบริโภคน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพในมื้ออาหารประจำวัน (ระวังอย่าบริโภคน้ำมันจากอาหารประเภทเนื้อมากเกินไป | น้ำมันงาขี้ม้อนและปลากระป๋อง ช่วยแก้ปัญหาการขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้| เช็คส่วนประกอบบนฉลากให้ดี! ระวังอย่าให้คำว่า “ไขมัน 0%” หลอกเอาได้ | อาหารเพื่อสุขภาพที่บอกว่าลดไขมัน ต้องเลือกกินอย่างรอบคอบ | มีน้ำมันที่ทำให้อ้วนอยู่ด้วย! ไม่ต้องฝืนจำกัดไขมันนักก็ได้ |)
ตอน 4 รู้จักกับไขมันยิ่งขึ้น (วันละหนึ่งช้อนทุกวันก็โอเคแล้ว! กินน้ำมันดีต่อเนื่อง ป้องกันและบรรเทาได้หลายโรค | กินปลาสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไป! เพื่อได้ EPA และ DHA | ลดการพึ่งพาอาหารในร้านสะดวกซื้อ เพื่อสุขภาพตัวคุณเอง | น้ำมันโอเมก้า 3 อย่างน้ำมันงาขี้มัอน น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ และอื่น ๆ กินกันเถอะนะ! |)

ชื่อเรื่อง : คุยเฟื่องเรื่องไขมัน
ผู้แต่ง : โมริงุจิ โทรุ
ผู้แปล : จินดาภร เสนาจักร์
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : บุ๊คไทม์, 2567.
รายละเอียด : 128 หน้า : ภาพประกอบ ; 23 ซม.
ISBN 9786161405601
Barcode : 1011765904
Call Number : QU86 ม94ซ 2567
Collection : Health Sciences Collection

ความรู้เรื่องไขมันจำเป็นต่อสุขภาพและการลดน้ำหนัก

  • การรู้เรื่องไขมันจำเป็นต่อการรักษาสุขภาพและการลดน้ำหนัก — ไขมัน เป็นหนึ่งในสามสารอาหารที่สำคัญ (ที่ให้พลังงาน) ถัดจากคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และที่จริงแล้วไขมันมีหลายชนิด และจำเป็นต้องบริโภคให้สมดุล
  • “น้ำมัน” ก้บ “ไขมัน” ต่างกันอย่างไร — น้ำมันที่เป็นของเหลวในอุณหภูมิปกติ ส่วนใหญ่ได้จากพืช กับไขมันที่เป็นของแข็งในอุณหภูมิปกติ ส่วนใหญ่ได้จากสัตว์  และถึงแม้จะเป็นสารอาหารเดียวกัน แต่ส่งผลต่อร่างกายต่างกันมาก
  • กรดไขมัน โครงสร้่างไขมัน — กรดไขมันเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของไขมัน ไขมันแบ่งเป็น 2 ชนิด คือน้ำมันและไขมัน สิ่งที่ทำให้ทั้งสองมีคุณสมบัติแตกต่างกัน คือกรดไขมันซึ่งเป็นองค์ประกอบของไขมัน
  • กรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว — กรดไขมันมีสองชนิด เป็นกรดไขมันอิ่มตัว มีโครงสร้่งโมเลกุลหนาแน่นจึงเป็นไขมันที่แข็ง และกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลับมีโครงสรตรสร้างโมเลกุลอ่อนแอไม่เกาะกันแน่น
  • ฯ9ฯ

เคล็ดลับบริโภคน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพในมื้ออาหารประจำวัน

  • เน้นกินเนื้อมากเกินไปจะเสียสุขภาพ — หากมองในแง่ไขมัน เนื้อสัตว์เป็นไขมันสัตว์ (เน้นวัว) ทำให้อ้วนง่าย มีส่วนประกอบเป็นไขมันอิ่มตัวและโอเมก้า 9 ส่วนเนื้อปลาเป็นน้ำมัน เป็นของเหลวในอุณหภูมิปกติ เท่ากับอ้วนยาก อุดมด้วยโอเมก้า 3 โดยเฉพาะ EPA และ EHA
  • ไขมันสัตว์ไม่มีข้อดี — บริโภคกรดไขมันจากเนื้อสัตว์มากเกินไปหรือเปล่า — แต่กรดไขมันเหล่านี้ยังมีมากในไขมันอื่น ๆ จึงมีโอกาสบริโภคมากเกินไป เข่น น้ำมันปาล์ม ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับกรดไขมันอิ่มตัวและโอเมก้า 9 มากเกินไป
  • ถ้าเป็นเนื้อสัตว์จะกินเนื้ออะไรดี — จริงแล้วเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน แต่ต้องระวังสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงสัตว์อาจจะทำให้ส่วนประกอบในเนื้อสัตว์เปลี่ยนไป เช่น วัวที่เลี้ยงด้วยธัญพืช มีกรดไขมันโอเมก้า 6 เพิ่มมากขึ้นให้ระวังข้อนี้ ในขณะนี้วัวที่เลี้ยงด้วยหญ้า จะมีความสมดุลกรดไขมัน ดังนั้นหากเราจะกินให้คำนึงถึงข้อนี้ด้วย
  • ฯ9ฯ 

ความลับของไขมันที่จำเป็นต่อสุขภาพและความงาม

  • ถ้าใช้ชีวิตโดยไม่บริโภคไขมันเลย จะเป็นอย่างไร — ไขมันเป็นสารอาหารที่ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิต แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไปจะสะสมในร่างกายทำให้อ้วนได้ ตรงกันข้ามหากได้รับไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะอ่อนแอ ผิวหน้งหยาบกร้าน อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ
  • อยากผิวสวยใสต้องเปลี่ยนน้ำมัน — เพราะหากสมดุลไม่ดีทำให้เกิดปัญหาผิว เพราะผิวมีรอบการผลัดเซลล์ผิวที่ช้าลง ไม่เป็นไปตามวงจรปกติ และหากกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ต่ำลง การผลัดเซลล์ผิวจะไม่คงที่ ไขมันผิวหนัง และน้ำในผิวหนังเสียสมดูล ผลคือเกิดปัญหาผิวอย่างรอยฝ้ากระ ริ้วรอย ความหย่อนคล้อยและน้ำในผิวเสียสมดูล ส่งผลต่อการเกิดรอยฝ้า กระ ริ้วรอย ความหย่อนคล้อย ผิวหนังหยาบกร้าน 
  • หดหู่ หงุดหงิด เพราะสมองได้รับไขมันไม่เพียงพอ — สมองประมาณ 65% สร้างมาจากไขมัน ดังนั้นหากไขมันในสมองมีไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อการเกิดภาวะไม่มั่นคงทางจิตใจและอารมณ์แปรปรวนได้และเป็นสาเหตุให้สมองเสียสมดุลอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือสมองเสื่อมได้
  • ไม่ควรซื้อน้ำมันที่หาง่ายที่สุด อย่าง “น้ำมันพืช” — เพราะน้ำมันพืชเป็นน้ำมันที่ผ่านกรรมวิธี 9 ชนิด เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันรำข้าว น้ำมันเม็ดองุ่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกผักกาด น้ำมันเมล็ดฝ้าย เป็นต้น เพราะน้ำมันเหล่านี้อุดมไปด้วยกรดลิโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 6 หากจะให้มีผลดีควรกินให้สมดุลกับโอเมก้า 3 ดีกว่า
  • ฯ9ฯ

รู้จักกับไขมันยิ่งขึ้น

  • น้ำมันดี ๆ วันละช้อน เปลี่ยนร่างกายได้อยางไม่น่าเชื่อ — โดยยึดหลักบริโภคนน้ำมันโอเมก้า 6 วันละ 4 กรัม หรือ 1 ช้อน ในมื้่ออาหาร น้ำมันเหล่านี้ไม่ทนความร้อน จึงไม่เหมาะจะปรุงผ่านความร้อน  มีในน้ำมันงาชี้ม้อน น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันถั่วอินคา ซึ่งมีส่วนประกอบหลักคือ ไขมันโอเมก้า 3 
  • ปรับฮอร์โมนสมดุลด้วยน้ำมันดี — จะช่วยเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของผู้หญิงได้ดี น้ำมัที่มีไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยลดอาการภาวะวัยทองก่อนหลังระยะหมดประจำเดือน 5-10 ปี ได้อีกด้วย
  • กินปลาสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้้นไป สุขภาพดีแน่นอน — EPA และ EHA เป็นกรดไขมันที่มีโอเมก้า 3 มาก มีอยู่ในปลา โดยเฉพาะ EHA ช่วยเลือดไหลสะดวก ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
  • พึ่งร้านสะดวกซื้อมากเกินไป ร่างกายได้รับน้ำมันดีไม่เพียงพอ — ดังนั้น หากเลือกซื้ออาหารจากร้านสะดวกซื้อให้ระวัง 4 ข้อคือ เลือกอาหารที่ไม่ค่อยใช้ไขมันจากพืช หลีกเลี่ยงของทอด เลือกอาหารประเภทผักสด และเลือกอาหารประเภทปลา เป็นหลัก 
  • เวลาเลือกน้ำมันให้เช็กตรงนี้ — เช่น หากเขียนว่า “สกัดเย็น” ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีที่ยุ่งยาก จะได้น้ำมันออกมาประมาณ 60-70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เพราะไม่ได้ใช้คยวามร้อนเกิน 30 องศาจึงได้น้ำมันไม่สูญเสียกลิ่น รส และคุณค่าทางอาหารเดิมของน้ำมันชนิดนั้น ๆ ดังนั้นแม้ราคาค่อนข้างแพง แต่เลือกใช้น้ำมันชนิดไขมันโอเมก้า 3 หรือ โอเมก้า 9 กันเถอะ
  • ฯ9ฯ

หนังสือ คุยเฟื่องเรื่องไขมัน  หากคุณอ่านด้วยความตั้งใจ และมานึกย้อนว่าที่ผ่านมาสิ่งที่เรานำเข้าสู่ร่างกายนั้น  อาหารที่ประกอบไปด้วยไขมันหรือน้ำมันเหล่านี้มากน้อยเพียงใด และจะส่งผลต่อสุขภาพเราอย่างไรบ้าง และหากส่งผลไม่ดี เราสามารถหลีกเลี่ยง ปรับเปลี่ยนมาบริโภคไขมันที่ดีได้ และหนังสือเล่มนี้ช่วยคุณได้มาก เมื่ออ่านแล้วก็ค่อย ๆ เปลี่ยนนิสัยการกินของเรา เพื่อให้มีสุขภาพดีในอนาคตข้างหน้า

 

เล่มหนังสือ

ชื่อเรื่อง : สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์ Barcode : 1011765904 Call Number : QU86 ม94ซ 2567 Collection : Health Sciences Collection

เรื่องเล่าของน้ำตาล
สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์
ชวนอ่าน (July 17, 2025) คุยเฟื่องเรื่องไขมัน. Retrieved from https://library.wu.ac.th/content/oilandfat/.
"คุยเฟื่องเรื่องไขมัน." ชวนอ่าน - July 17, 2025, https://library.wu.ac.th/content/oilandfat/
ชวนอ่าน April 17, 2568 คุยเฟื่องเรื่องไขมัน., viewed July 17, 2025,<https://library.wu.ac.th/content/oilandfat/>
ชวนอ่าน - คุยเฟื่องเรื่องไขมัน. [Internet]. [Accessed July 17, 2025]. Available from: https://library.wu.ac.th/content/oilandfat/
"คุยเฟื่องเรื่องไขมัน." ชวนอ่าน - Accessed July 17, 2025. https://library.wu.ac.th/content/oilandfat/
"คุยเฟื่องเรื่องไขมัน." ชวนอ่าน [Online]. Available: https://library.wu.ac.th/content/oilandfat/. [Accessed: July 17, 2025]

Facebook Comments

facebook comments