Skip to content

เรื่องเล่าของความชรา

เรื่องเล่าของความชรา

เรื่องเล่าของความชรา กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดจากความชราของคนวัยกลางคนเป็นหลัก เนื้อเรื่องแต่ละตอนล้วนชวนอ่าน เข้าใจง่าย ประกอบกับเนื้อหาที่น่าเชื่อถือ โดยอ้างอิงแหล่งที่มาเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขียนโดยแพทย์หรือนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเรื่องความชราโดยเฉพาะ พร้อมภาพอธิบายประกอบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

อายุที่มากขึ้น หมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาที่ผ่านไปตั้งแต่ลืมตามดูโลก แต่คำว่า "ความชรา" จะหมายถึงความเสื่อมสภาพของระบบการทำงานในร่างกายที่เป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้นหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

รายละเอียดหนังสือ

ชื่อเรื่อง : เรื่องเล่าเกี่ยวกับความชรา

ชื่อเรื่องต้นฉบับ : Nemurenakunaru Hodo Omoshiroi Zukai Roka No Hanashi

ผู้เขียน อิซาโอะ นางาโอกะ
ผู้แปล วิภาดา สาครสถิตย์
ISBN : 9786161405984

ไม่มีใครหยุดยั้งความชราได้ แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะชราไปอย่างมีคุณภาพ หนังสือเล่มนี้ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกี่ยวกับกลไกของร่างกายออกมาได้อย่างกระชับ เรียบง่าย พร้อมภาพอธิบายประกอบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เนื้อหาน่าเชื่อถือ โดยอ้างอิงแหล่งที่มาเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขียนโดยแพทย์หรือนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเรื่องความชราโดยเฉพาะ ในบทที่ 1 เป็นเรื่องของมาไขความลับความชรา ด้วยวิทยาศาสตร์กันดูสิ เนื้อหาจะเกี่ยวกับกลไกของอายุที่เพิ่มขึ้น และบทที่ 2 รายละเอียดเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตามความชราและอาการเจ็บป่วยเพื่อตอบคำถามเรื่อง “ความชราทำให้เป็นโรคอะไร และทำให้ป่วยง่ายจริงหรือ”

หนังสือ เรื่องเล่าของความชรา เล่มนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดจากความชราของคนวัยกลางคนเป็นหลัก เนื้อเรื่องแต่ละตอนล้วนชวนอ่าน เข้าใจง่าย ประกอบกับเนื้อหาที่น่าเชื่อถือ โดยอ้างอิงแหล่งที่มาเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขียนโดยแพทย์หรือนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเรื่องความชราโดยเฉพาะ พร้อมภาพอธิบายประกอบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

เนื้อหาในบทที่ 1 มาลองไขความลับ “ความชรา” ด้วยวิทยาศาสตร์กันดูสิ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลไกของ อายุที่เพิ่มขึ้น เช่น ทำไมสิ่งมีชีวิตถึงต้องแก่ลงด้วยล่ะ การแก่ตัวลงของร่างกายคืออะไรกันนะ เพราะอะไรตรงไหนที่ทำให้ร่างกายแก่ตัวลงกันนะ จริงหรือไม่ว่า เซลล์ที่เป็นโครงสร้างของร่างกายแก่ตัวลงได้  เป็นต้น

มาลองไขความลับ "ความชรา" ด้วยวิทยาศาสตร์กันดูสิ

  • ทำไมสิ่งมีชีวิตต้องแก่ลงด้วยอ่ะ — บนโลกนี้สืิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ทั้งในเขตอบอุ่นที่พวกเราดำรงชีวิตอยู่ไปจนถึงบริเวณหนาวจัด จากใต้ทะเลลึกไปจนถึงบนพื้นที่สูงที่มีออกซิเจนอยํู่น้องนิด วงจร “การเกิด” และ “การตาย” ที่เกิดขึ้นโดยนานาวิธีนั้นช่วยดำรงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ มีลูกหลานสืบทอดต่อไปในอนาคต ตราบใดที่ยังมี “การตาย” อยู่ ไม่อาจะหลีกเลี่ยง “ความชรา” ไปได้ เรื่องเหล่านี้เป็นความจริงที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกประเภท
  • การแก่ตัวลงของร่างกายคืออะไรกันนะ  — จะมีความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในแต่ละส่วน ด้านกายภาพ ได้แก่ เส้นผมมีสีขาว หัวล้าน หูตึง ไขข้อผิดรูปและความยึดหยุ่นลดลง หลอดเลือดแข็งตัว ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง กระดูกหัก เซลล์สมองลดลง การตอบสนองช้าลง และการทรงตัวไม่ดี สายตายาว เป็นต้อกระจกและต้อหิน ความสามารถในการสูบฉีดเลือดลดลง และกล้ามเนื้อลดลง
  • พอแก่ตัวไปแล้ว จะกลับมาเหมือนเดิมไม่ได้อีกจริงเหรอ — อาจะตอบได้ว่า ความชราคือความหดเล็กลง คือการมีสื่งไม่ดีมาสะสมและมีสิ่งดีไม่เพียงพอ
  • ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป เร่งให้เกิดความชราได้จริงหรือ — การนอนหลับช่วยสร้างความกระปรี้กระเปร่าให้เซลล์ภูมิคุ้มกัน และจากการสำรวจพบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงในแต่ละวัน จะเป็นหวัดง่ายกว่าคนที่นอนมากกว่า 7 ชั่วโมง ถึง 4.2 เท่า และการมีเวลานอนสั้น ระบบประสาทอัตโนมัติจะแปรปรวนและส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบภูมิคุ้มกันด้วย แต่การนอนมากเกินไปจะทำให้ะรบบประสาทอัตโนมัติแปรปรวนและภูมิคุัมกันตกได้เช่นเดียวกัน
  • ความชราคืออะไรกันแน่ ใช่อาการป่ายหรือเปล่า — อาจจะมีความสงสัยว่าความชราคืออาการป่วยหรือเปล่า คำตอบ คือไม่ใช่อาการป่วย แต่ถือเป็นสภาวะตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งมวล และนั่นคือสาเหตุของการป่วยต่าง ๆ
  • ฯลฯ

อาการป่วยและโรคภัยได้บ้างที่มักถามหาในยามชรา

  • ทำไมถึงเป็นโรคเหงือกอับเสบได้ง่ายในยามชรา — โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มาฝังตัวบริเวณรอบฟันในช่องเหงือก จนเกิดการอักเสบ ทำให้เหลือกและกระดูกเกิดการอักเสบ ทำให้กระดูกขากรรไกรอ่อนตัว จนฟันหลุดร่วงออกมาได้ จึงควรพบทันตแพทย์ทุกปี 
  • เสมหะและการไออย่างต่อเนื่องนั้นเกี่ยวข้องกับความชราด้วยหรือ — การเกิดเสมหะหรือการไอ นั้นถือเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยทางเดินอาหารจำนวนมาก เช่น ผู้ป่วยโรคปอดกั้นเรื้อรัง (COPD) ที่เกิดจากโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง  ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำหนักลด ภาวะตัวเชียว ผนังหลอดลมใหญ่หนา มีเสมหะสะสม ผนังถุงลมเสียหาย แรงดีดอ่อนลง
  • จริงหรือเปล่าที่อาการปอดอักเสบจากการสำลักจะเกิดขึ้นง่ายในวัยชรา — บางทีอาหารที่เรากลืนเข้าไปอยู่ในหลอดลม (สำลัก) และผลคือแบคทีเรียอาจจะเข้าไปในปอดพร้อมกับสิ่งที่กลืนเข้าไป ส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือที่เรียกว่า ปอดอักเสบจากการสำลัก นั่นเอง 
  • จริงหรือไม่ที่ความชราส่งผลให้ความสามารถในการรับรสแย่ลง — เมื่อนำอาหารเข้าไปในปาก มนุษย์จะรับรู้รสชาติจากการรับรสโดยปุ่มรับรสซึ่งอยู่บนลื้น ที่จะาทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าถ่ายทอดไปยังบริเวณศูนย์กลางรับรสในสมองส่วนเซรีบรัม แต่ปุ่มรับรสที่อยู่อยูู่ตรงลื้นและภายในช่องปากของเราจะลดลงเมื่อแก่ตัวลง และเมื่ออายุมากขึ้นแรงในการเคี้ยวก็จะลดลง ปริมาณน้ำลายผลิตออกมาได้น้อยลงด้วย 
  • อาการหน้ามืดก็มีสาเหตุมาจากความชราเหมือนกันหรือ— อาการหน้ามีด เราเรียกว่า บ้านหมุน วิงเวียน มีนงง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหว แต่เกิดจากความสมดุลในร่างกาย เพราะอวัยวะรับสัมผัส เช่น ตา หู จมูก รวมถึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และอื่น ๆ ที่คอยส่งข้อมูลไปให้สมองวิเคราะห์ ก่อนจะเป็นผู้ออกคำสั่งไปควบคุมกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย ดังนั้นการรักษาสมดุลในร่างกาย โดยเฉพาะขาและกล้ามเนื้อตามร่างกายนั้นเป็นส่วนสำคัญมาก 
  • ทำไมถึงมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น เมื่ออายุมากแล้ว — สาเหตุใหญ่ที่สุดนั้นเกี่ยวข้องกับ DNA ที่ถือเป็นพิมพ์เขียวกำหนดชีวิตของคนเรานั่นเอง เพราะร่างกายเราประกอบด้วยเซลล์ถึง 37 ล้านล้านเซลล์ และในเซลล์เหล่านั้นมีสารที่เป็นตัวกำหนดพันธุกรรมซึ่งเรียกว่า DNA รวมอยู่ด้วย และเซลล์เหล่านี้มีโอกาสที่จะผิดพลาดจากการคัดลอก DNA ซึ่งเรียกว่าการกลายพันธุ์ ความสามารถในการคัดลอก DNA ถดถอยไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และหากซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมไม่ได้ ก็จะมีโอกาสกลายเป็นเซลล์มะเร็งแทนได้
  • กลิ่นคนแก่นี่เป็นกลิ่นยังไง แล้วเกิดจากอะไรกันแน่ — กลิ่้นตัวเป็นกลิ่นที่เกิดจากสารคัดหลั่ง เช่น เหงื่อหรือต่อมไขมัน และแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนังของเรา กลิ่นตัวของคนเราจะเปลี่ยนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย คนอาย 10-29 ปีจะเป็นกลิ่นเหงื่อ และคนอายุ 30-59 ปีจะเป็นกลิ่นเหงื่อผสมกับกลิ่นไขมันกลาง และคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีกลิ่นคนแก่ที่แรงขึ้น แต่กลิ่นแต่ละคนจะแตกต่างกันและเปลี่ยนแปลงไปตามสุขภาพร่างกายหรืออาการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเอง
  • ฯลฯ

ชวนอ่าน เรื่่องเล่าของความชรา เพราะหนังสือเล่มนี้ใกล้ตัวมากกับหลาย ๆ คน เช่นด้วยกับผู้เขียน และสังคมไทยเป็นสังคมสูงวัยเกือบเต็มตัว หากเรารู้เรื่องเหล่านี้ดี จะช่วยให้เรารับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความชราหลายจุดตรงกับเนื้อหาที่เขียนไว้ในตัวเล่ม อีกทั้งกล่าวถึงเรื่องของผู้ชายและผู้หญิง จึงช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของเพศตรงข้ามอีกด้วย จึงชวนกันมาอ่านหนังสือเล่มนี้  เพื่อเตรียมตัวรับมือกับความชราที่จะมาเยือนเราทุกคนและใช้ชีวิตในวัยชราได้อย่างมีความสุข

อ่านแล้วชอบ กด ให้ด้วย 1-5
{{ reviewsTotal }}{{ options.labels.singularReviewCountLabel }}
{{ reviewsTotal }}{{ options.labels.pluralReviewCountLabel }}
{{ options.labels.newReviewButton }}
{{ userData.canReview.message }}

รายละเอียดการหาอ่านและยืมหนังสือของสมาชิกวลัยลักษณ์

เล่มหนังสือ

ชื่อเรื่อง : เรื่องเล่าของความชรา Barcode : 1011765915 Call Number : WT100 ช64 2567 Collection : Health Sciences Collection

ชวนอ่าน (July 18, 2025) เรื่องเล่าของความชรา. Retrieved from https://library.wu.ac.th/content/talesofaging/.
"เรื่องเล่าของความชรา." ชวนอ่าน - July 18, 2025, https://library.wu.ac.th/content/talesofaging/
ชวนอ่าน May 12, 2568 เรื่องเล่าของความชรา., viewed July 18, 2025,<https://library.wu.ac.th/content/talesofaging/>
ชวนอ่าน - เรื่องเล่าของความชรา. [Internet]. [Accessed July 18, 2025]. Available from: https://library.wu.ac.th/content/talesofaging/
"เรื่องเล่าของความชรา." ชวนอ่าน - Accessed July 18, 2025. https://library.wu.ac.th/content/talesofaging/
"เรื่องเล่าของความชรา." ชวนอ่าน [Online]. Available: https://library.wu.ac.th/content/talesofaging/. [Accessed: July 18, 2025]

หนังสือชุด ซีรีส์สนุกจนตาสว่าง

Facebook Comments

facebook comments