นวนิยายซีรีส์ผ้า เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของผืนผ้าโบราณที่มีอายุยืนยาวล้วนต่างเจ้าของ ต่างวัฒนธรรม มีความสวยงามและทรงคุณค่าทั้งลวดลายและสีสันทั้งนั้น และยังแฝงด้วยเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ ชวนคุณมาซึมซับวัฒนธรรมหลากผืนผ้าของคุณหมอพงศกร ผ่านหนังสือ นวนวนิยายซีรีส์ผ้า ทั้ง 9 เรื่อง หาอ่านกันได้

จากผลงานของคุณหมอพงศกร จินดาวัฒนะ เจ้าของนามปากกา “พงศกร” ใน นวนิยายซีรีส์ผ้า เขียนเรื่องราวหลากหลายมุม โดยใช้ผืนผ้าหลายประเทศ หลากภูมิภาค และหลากหลายวัฒนธรรม ผืนผ้าเหล่านี้มีความสวยงาม หลากสีสัน และนับเป็นความยิ่งใหญ่แห่งสีสันของวัฒนธรรมในแต่ละสังคม และหน้าที่ในการถักทอผืนผ้าล้วนเป็นกิจกรรมของผู้หญิง อาจกล่าวได้ว่า ผ้าทอมีความผูกพันที่เกี่ยวโยงกับพิธีกรรมและเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนแต่ละชนชาติมานานนับศตวรรษ จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “มรดกทางสังคม” ดังนั้น ลวดลายผ้าจึงเป็นสื่อวัตถุเชิงสัญลักษณ์ที่ ผู้หญิงใช้แสดงออกในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือความหมายออกไปยังสังคม ด้วยหลายนัยความหมาย และสะท้อนภาพความเป็นหญิงที่มีความผูกพันกับชิ้นงานผ่านกรรมวิธีการผลิตและสภาพแวดล้อมทางสังคมหลายมุม (กิ่งผกา อังกาบ, 2561) ลองมาอ่านกันค่ะ

กี่เพ้า
กี่เพ้า ก็จะเล่าถึงชีวิตและความรักของเพกา หรือพิ้งค์ นางเอกของเรื่องที่ทำงานเป็นภัณฑารักษ์ อยู่ที่ Metropolitan Museum of Art พิพิธภัณฑ์ใหญ่อันดับหนึ่งของอเมริกาที่ตั้งอยู่ที่นิวยอร์ก เพกาทำงานประจำสถาบันเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (The Costume Institute) ดูแลห้องจัดแสดงงานในพิพิธภัณฑ์ผ้า เพกาได้พบกับพระเอกคือ เจ้าหมิงเทียน หนุ่มฮ่องกง คุณชายรอง บุตรชาย เจ้าเหวินเยี่ย ประมุขตระกูลเจ้า มหาเศรษฐีตระกูลเก่าแก่ในฮ่องกง เจ้าของคอลเลคชั่นชุดกี่เพ้าโบราณสะสม ที่ส่งชุดกี่เพ้ามาร่วมแสดงในพิพิธภัณฑ์ผ้าที่นิวยอร์กด้วย เจ้าหมิงเทียนเคยมีคนรักอยู่แล้ว คือ สุคนธา หรือ เมย์ลี หรือ เหมยลี่ หญิงสาวชาวไทยที่เจ้าหมิงเยี่ยรับมาอุปการะหลังพ่อแม่ที่เป็นเพื่อนสนิทของเจ้าหมิงเยี่ยเสียชีวิต เมย์ลีเติบโตขึ้นมาพร้อมเจ้าหมิงเทียน และเจ้าหมิงซานพี่ชายคนโตของเจ้าหมิงเทียน ที่ถูกกำหนดไว้ว่าในอนาคตจะเป็นคู่แต่งงานของเมย์ลี ในขณะที่เจ้าตัวกลับรักอยู่กับน้องชาย ความรักจึงมีอุปสรรค วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ที่เมย์ลีถูกฆ่าตายในขณะที่สวมกี่เพ้าสีแดงเลือดนกลวดลายโบตั๋นสีชมพูอ่อน ชุดกี่เพ้าที่เตรียมไว้ใส่แต่งงานกับเจ้าหมิงเทียน ในวันเดียวกันนั้น คุณชายใหญ่เจ้าหมิงซานที่จริง ๆ แล้วเป็นเกย์ และไม่อยากแต่งงาน ก็มีปากเสียงกับพ่อแม่ ขับรถออกจากบ้านจนเกิดอุบัติเหตุตกเขาเสียชีวิตในวันเดียวกันนั้น พ่อแม่จึงนำศพของทั้งคู่มาฝังในสุสานบนหน้าผาร่วมกัน เสมือนหนึ่งเป็นคู่สมรส วิญญาณเมย์ลีไม่ไปผุดไปเกิด ยังตามหลอกหลอนและระลึกถึงเจ้าหมิงเทียนแบบไม่ปล่อยวาง
แล้วปรากฏว่ากี่เพ้าชุดนั้นถูกแอบส่งไปจัดแสดงที่นิวยอร์ก เพกาได้เห็นแล้วก็รู้สึกเหมือนมีแรงดึงดูดให้หยิบมาลองสวม จนถูกวิญญาณเมย์ลีหลอกหลอน แล้วในนวนิยายก็บรรยายว่าทั้งเพกาและสุคนธาหรือเมย์ลี มีใบหน้าคล้ายคลึงกัน เหตุการณ์วุ่นวายตามมาเมื่อเจ้าหมิงเทียนและเจ้าหมิงเย่เห็นชุดกี่เพ้าต้องห้ามนั้นมาปรากฏในงานแสดง ก็พาลโกรธเพกา แต่แล้วต่อมาก็เกิดอุบัติเหตุชุดกี่เพ้าที่จัดแสดงชุดสำคัญอีกชุดหนึ่งขาดเสียหาย สุดท้ายทางพิพิธภัณฑ์ต้องส่งเพกาเป็นตัวแทนพิพิธภัณฑ์เดินทางมาฮ่องกงแล้วพักอยู่บ้านเจ้าหมิงเทียนเพื่อซ่อมแซมกี่เพ้า แล้วเพกากับเจ้าหมิงเทียนก็ใกล้ชิดกัน จนสุดท้ายเกิดเป็นความรัก ในขณะที่มีเหตุการณ์ลึกลับมากมายทั้งปริศนาเบื้องหลังการตายของเมย์ลีรวมไปถึงเหตุการณ์พยายามฆ่าเพกาหลายครั้ง ระหว่างที่อ่านก็จะมีเรื่องซ่อมแซมกี่เพ้า ผสมไปกับฉากความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหมิงเทียนกับเพกา เมื่อเขาเสนอตัวเป็นไกด์พาเธอท่องเที่ยวในฮ่องกงระหว่างวันหยุดพักผ่อนและการออกตามหาวัตถุดิบหรือไหมชนิดพิเศษเพื่อมาใช้ซ่อมกี่เพ้า (kapook.Com


กี่เพ้า ภาษาจีนเรียกว่า ฉีผาว แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาวชิ้นเดียว เกิดขึ้นในสมัยการปกครองของราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) หรือสมัยที่ชาวแมนจูเป็นใหญ่ในประเทศจีนทำให้ชาวแมนจูเป็นผู้มีอิทธิพลในสมัยนั้น และพวกเขาได้ออกกฏหมายให้ผู้หญิงชาวแมนจูใส่ “ชุดกี่เพ้า” เป็นชุดใส่ทั่วไปในชีวิตประจำวันทำให้สมัยก่อน “ชุดกี่เพ้า” ได้ชื่อว่าเป็นชุดของคนชนชั้นสูง แต่เดิมทรงของชุดกี่เพ้าจะไม่ใช่อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ แต่จะเป็นชุดทรงกว้าง ใส่หลวม ๆ คลุมทั้งตัวผู้หญิงเหลือไว้เพียงหัว มือ และเท้าเท่านั้น แต่ก็ค่อย ๆ ถูกผสานเข้ากับทรงของชาวฮั่น (ชาวจีนท้องถิ่น) รวมถึงทรงของโลกตะวันตกทำให้ทรงชุดกี่เพ้าเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
(ที่มา : KomChadLuekOnline)
Tag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ2ก 2555 |
Author | พงศกร |
Title | กี่เพ้า / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 6 |
Published | กรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2555 |
Detail | 589 หน้า ; 21 ซม |
สิเหน่หาส่าหรี
ส่าหรีสีขาวนวลที่งดงามอ่อนหวานยิ่งกว่าส่าหรีผืนใดที่นวลเนื้อแก้วเคยเห็นมา ส่าหรีที่ปักลวดลายดอกแมกโนเลียที่ตกทอดกันมานานนับร้อยปี สมบัติอันล้ำค่าของราชมาตาสริตาส่าหรีผืนงามที่เจ้าหญิงแห่งมันตราปุระจะต้องสวมใส่ในวันสยุมพร นั่นหมายถึงว่า นิลปัทม์จะต้องสวมส่าหรีโบราณผืนนี้ เข้าพิธีสยุมพรกับเจ้าชายหนุ่มรูปงาม... ถ้าเพียงแต่สาวิตรี คู่หมายของเจ้าชายชัยทัศน์จะไม่ก้าวเข้ามาขวางเส้นทางรักของเธอเสียก่อน และครั้งนี้ นวลเนื้อแก้วจะไม่ยอมให้ใครหน้าไหนมาทำลายงานวิวาห์อันยิ่งใหญ่แห่งปีอย่างแน่นอน !

ส่าหรีและการนุ่งห่ม
ส่าหรีเป็นเครื่องแต่งกายของหญิงชาวอินเดีย ซึ่งเกิดจากการนำผ้าชิ้นผืนยาวกว่า 5 เมตร มานุ่งหรือพันให้ถูกวิธี ผ้าที่นำมาทำส่าหรีนั้นมีตั้งแต่เนื้อผ้าบางเบา จนถึงผ้าไหมส่วนวิธี (ขอเรียกว่า) พันส่าหรีนั้น มีมากกว่า 30 วิธี บางครั้งวิธีแต่งการด้วยส่าหรีของผู้หญิงอินเดีย สามารถบ่งบอกถึงภูมิลำเนาของเธอได้ด้วย เพราะแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละเมืองก็มีวิธีแต่งกายด้วยส่าหรีที่เป็นเอกลักษณ์ ของตนเองแตกต่างกันออกไป ส่วนวิธีพันส่าหรีที่ มาเรียนกันในวันนี้เป็นแบบที่เรียกว่า Nivi Style ซึ่งเป็นแบบที่ผู้หญิงชาวอินเดียนิยมที่สุด และใช้ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป เรียกได้ว่าเป็นวิธีพันส่าหรีที่เบสิกสุดๆ เลยก็ได้
(ที่มา : PostJung KomChadLuekOnline)

ag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ2ส 2555 |
Author | พงศกร |
Title | สิเน่หาส่าหรี / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 3 |
Published | กรุงเทพฯ : อักษรโสภณ, 2555 |
Detail | 649 หน้า ; 21 ซม |

เล่ห์ลุนตยา
ลุนตยาสีชมพูหวานราวกลีบกุหลาบแรกแย้ม
ลุนตยาที่ผ่านการล่มสลายของราชวงศ์สุดท้ายของพม่า
ลุนตยาผืนสุดท้ายที่เอละวินทุ่มชีวิตทอขึ้นถวายเจ้าหญิงผู้ทรงสิริโฉมงดงาม
ก่อนที่ดวงตาของเธอจะมองไม่เห็น
ลุนตยาที่งามจับใจภุมรี จนเกินจะห้ามความปรารถนา
ลุนตยาที่ทำให้แทนไท ได้เรียนรู้ว่านอกจากสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์แล้ว
สำหรับคนบางคน จิตของเขาอาจสามารถสัมผัสสิ่งที่คนทั่วไปไม่อาจสัมผัสได้ !
มาร่วมเดินทางเพื่อค้นหาตัวเองไปกับภุมรีและแทนไท ในเล่ห์ลุนตยา…ปฐมบทของสาปภูษาได้ ณ บัดนี้

ลุนตยา
ผ้าลุนตยาเป็นชื่อเรียกย่อของคำว่า “ลุนตยาอะฉิก” ชาวพม่าออกเสียง “โลนตะหย่า” แปลว่า ร้อยกระสวย เนื่องจากเป็นผ้าทอเทคนิคพิเศษที่ต้องใช้กระสวยบรรจุเส้นไหมสีต่างๆ นับร้อยๆ กระสวย ส่วน “อะฉิก” แปลว่าลายคลื่น เรียกตามลวดลายลูกคลื่นที่ปรากฏบนผ้าทอ ว่ากันว่า ลายลูกคลื่นนี้ไม่ใช่สักแต่ว่าประดิษฐ์ขึ้นให้มีความงามพลิ้วไหวเท่านั้น แต่ยังซ่อนสัญลักษณ์คติจักรวาลทางพุทธศาสนาอีกด้วย เหตุเพราะลายลูกคลื่นนี้ทำซ้อนขดตัวกันถึงเจ็ดชั้นไล่โทนสีกันไป หมายถึงเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้งเจ็ดที่ตั้งรายล้อมเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของโลก ภูเขาทั้งเจ็ดลูกนับจากชั้นในสุดออกมา กอปรด้วย ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินันตะกะ อัสกัณณะ แต่ละช่วงภูเขาถูกคั่นด้วยมหานทีสีทันดร เกลียวคลื่นทะเลนี้ถ่ายทอดบนผืนผ้าด้วยลายโค้งมนตอนล่างรองรับเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเวลาทอช่างต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งด้วยเทคนิคการล้วงแบบพิเศษ เพราะไม่ใช่ลายเรขาคณิตเหมือนผ้าทอประเภทอื่นๆ
(ที่มา : (khunchaiyod9t .#เกร็ดความรู้ “ผ้าซิ่นลุนตยา”)

tag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ25ล 2562 |
Author | พงศกร |
Title | เล่ห์ลุนตยา / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 3 |
Published | กรุงเทพฯ : กรุ๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2562 |
Detail | 483 หน้า ; 21 ซม |

บุหงาบาติก
หลายสิบปีที่ ‘ร้อยเอกภพ สิรเสนา’ ติดตามเจ้านายไปประทับที่บันดุง และหายไปโดยไร้ร่องรอย ทิ้งให้ ‘มาลัย’…หญิงคนรักเฝ้ารอคอยอย่างไม่มีจุดหมาย
เมื่อมีโอกาสเดินทางไปทำงานที่นั่น ‘แพรพัสสา’ จึงตั้งใจจะลองตามหาร่องรอยคนรักเก่าของคุณย่า ค้นหาคำตอบว่าเขาหายไปไหน หายไปอย่างไร
และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับเจ้าชายหนุ่ม…‘ระเด่นรามิลัน’ ผ้าบาติกแสนงามผืนนั้น และวิญญาณร้ายที่ถูกจองจำอยู่ที่วังสะการะตาหราโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้…

ผ้าบาติก
ผ้าบาติก หรือเรียกอีกอย่างว่า ผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสีเท่านั้น ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ เมื่อย้อนกลับไปคำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาที่ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำ ว่า “ ติก” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ๆ และลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกที่ยังคงอยู่ก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีกเป็นมาตรฐาน นับเป็นกรรมวิธีที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง
(ที่มา : (Peeranat Chansakoolnee, 2562)

Tag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ25บ 2560 |
Author | พงศกร |
Title | บุหงาบาติก / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 3 |
Published | กรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2560 |
Detail | 571 หน้า ; 21 ซม |

กลกิโมโน
โมโนสีน้ำเงินเข้มอมดำ งดงามราวท้องฟ้ายามราตรี
ลวดลายกระเรียนสีขาวบริสุทธิ์กางปีกโบยบิน เหินสู่ฟากฟ้าสรวงสวรรค์
ทันทีที่ย่างเท้ามาสู่ศาลเจ้ากระเรียนทอง รินดาราพบว่าเมืองเล็กๆ แห่งนี้มีความลับซ่อนเร้นอยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นกิโมโนของบุรุษผู้หนึ่งที่สตรีในตระกูลมิยาคาวะ
สืบทอดการทอต่อมาหลายชั่วอายุคน
โฮชิโนโอจิ ท่านชายแห่งดวงดาว… ชายหนุ่มลึกลับผู้สง่างาม
และน้ำเสียงที่ไพเราะยิ่งกว่าระฆังเงิน
ตำนานเก่าแก่ เรื่องราวความขัดแย้งของสองตระกูลยิ่งใหญ่
แห่งหุบเขาดวงจันทร์ บุญคุณ ความรัก และความแค้น
ที่รอการสะสางมานานนับร้อยปี…

กิโมโน
ตามตัวอักษรคันจิ คำว่า ‘กิโมโน’ แปลเป็นภาษาไทยว่า เสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งกิโมโนเป็นการนำผ้า 4 ส่วนมาเย็บต่อกันเป็นรูปทรงคล้ายตัวอักษร T เมื่อใส่แล้วจะพรางรูปผู้สวมใส่โดยไม่ให้เห็นสัดส่วนที่แท้จริง ส่วนวิธีการสวมใส่เริ่มจากการพบทับของผ้าไปมา ซึ่งต้องเริ่มพับจากด้านขวาแล้วทับด้วยด้านซ้ายเสมอ จากนั้นรัดด้วยสายรัดที่เรียกว่า ‘โอบิ’ เพื่อรัดเสื้อคลุมให้อยู่คงที่ ซึ่งเงื่อนของโอบิสามารถผูกปมได้หลายประเภทตามความต้องการ อีกส่วนที่ขาดไม่ได้คือส่วนของปกคอ ซึ่งปกคอที่สวยงามจะต้องมีความกว้างประมาณฝ่ามือและเผยให้เห็นหลังคอผู้สวมใส่ นอกจากนี้ การใส่กิโมโนจะต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ มากถึง 15 ชิ้น ในการประกอบกันเป็นชุดกิโมโน ซึ่งต้องอาศัยความประณีตและความชำนาญสูงในการใส่แต่ละครั้ง
(ที่มา : (Vogue Thailand, 2564)

Tag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ2ก4 2557 |
Author | พงศกร |
Title | กลกิโมโน / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 1 |
Published | กรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2557 |
Detail | 496 หน้า ; 21 ซม |

เลื่อมลวง
แม้มีรอยยิ้มฉาบบนดวงหน้า หากภายในใจของเขาอาจถือมีดเตรียมทำร้าย แม้ปากตอบตกลง หากใจอาจบอกปฏิเสธ ไม่มีใครรู้ว่าคนที่อยู่ตรงหน้าเรา แท้จริงแล้วปากของเขาตรงกับใจหรือไม่ คำพูดและการกระทำนั้นอาจลวงได้ แต่ออร่าของคนนั้นไม่เคยลวง เมื่อ "หริศจันทร์" มีความสามารถพิเศษ สามารถเห็นออร่าหรือรังสีของคน นั่นหมายความว่าเธอเห็นความจริงแท้ของมนุษย์ เธอเคยกลัดกลุ้มกังวล ไม่รู้จะจัดการกับความจริงที่ได้เห็นอย่างไร แต่แล้ววันหนึ่งความสามารถในการมองเห็นออร่ามนุษย์และสิ่งของต่าง ๆ กลับกลายมาเป็นประโยชน์มหาศาล เมื่อหริศจันทร์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับความตายของ "รุศยา" ไฮโซสาวเพื่อนสนิท และชุดปักเลื่อมโบราณที่เพื่อนทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า หริศจันทร์พบว่าทุกคนที่อยู่รอบกายรุศยา อาจเป็นฆาตกรได้ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ "พันตำรวจตรีบริพัตร" นายตำรวจหนุ่มรูปหล่อผู้เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งความเป็นชาย!

การปักเลื่อม
งานปัก เป็นรูปแบบของศิลปะการแต่งเติม เพื่อเสริมความสวยงามให้แก่เครื่องแต่งกาย งานปักมีทั้งแบบเป็น งานปักมือ ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน ที่ถือว่าเป็นงานฝีมือชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความพิถีพิถัน ความละเอียดรอบคอบ นอกจากงานปักจะเป็นของที่ช่วยเสริมความสวยงามแล้ว ยังสามารถสื่อความหมายได้อีกด้วย
การปักเลื่อม เป็นรูปแบบการปักเลื่อมเข้ากับผ้า เพื่อให้เกิดความวิบวับ แวววาวของลาย เป็นรูปแบบของงานปักที่ต้องอาศัยความพิถีพิถันอย่างสูง การปักเลื่อมอาจจะใช้ลูกปัดมาปักเพิ่มด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงามได้ อีกทั้งการปักเลื่อมยังเป็นการปักที่ช่วยทำให้ของดูมีราคาขึ้นอีกด้วย การปักนี้ใช้กับการปักเสื้อ ปักกางเกง ปักกระเป๋า ปักรองเท้า ปักหมวก พวกกุญแจ เข็มกลัด เพื่อเพิ่มมิติ และ ความสวยงามให้เครื่องแต่งกาย ข้อดีคือน้ำหนักเบา เพิ่มความสวยงามให้กับเครื่องแต่งกาย (ที่มา : (bemyfriend agency, 2021)

Tag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ25ล 2561 |
Author | พงศกร |
Title | เลื่อมลวง / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 3 |
Published | กรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2561 |
Detail | 443 หน้า ; 21 ซม |

ลูกไม้ลายสนธยา
จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับดินแดนลึกลับที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ตามเนื้อหาจาก ไตรภูมิกถา หรือชื่อที่เรารู้จักกันดี ไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่ามนุษย์นั้นอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 ทวีป คือ อุตตรกุรทวีป ปุพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีป ชมพูทวีป ผู้อ่านและน้องอินทร์เองอาศัยอยู่ในชมพูทวีป ส่วนเหมหิรัญญ์ พระเอกของเรื่องนั้นอาศัยอยู่ที่ อุตตรกุรุทวีป โดยความพิเศษชาวอุตตรกุรุทวีปคือ อายุยืนยาวถึง1,000ปี สังขารไม่แก่ หนุ่มสาวอยู่เสมอ ไม่ต้องทำงาน มีอาหารและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา เป็นภพภูมิที่มนุษย์มีศีลธรรมมากที่สุด ลูกไม้ลายสนธยา” นวนิยายผสมผสานผสานหลากหลายอรรถรสไว้ได้อย่างลงตัว มีเรื่องราวของผ้าลูกไม้ ที่เป็นซิกเนเจอร์ของคุณหมอพงศกร นิยายเล่มนี้จะพาผู้อ่านไปชมความสวยงามของผ้าลูกไม้ลายสนธยา ผ้าที่มาจากดินแดน‘อุตตรกุรุทวีป’ ดินแดนที่ชวนให้สงสัยว่ามีอยู่จริงหรือเปล่า นอกจากผู้อ่านได้สนุกกับเรื่องลี้ลับ เหลือเชื่อ การตามหา “ฆาตกร” การตามแก้ปมปริศนา การฆาตกรรมของคุณยายที่เดาทางของเรื่องได้ยากมากว่าใครคือ “ฆาตกร”

ผ้าลูกไม้
ผ้าลูกไม้ (Lace) เป็นผ้าเนื้อละเอียดที่ทำจากเส้นด้ายด้วยการถักทอจากมือหรือเครื่องจักรให้มีลวดลายที่สวยงามจากผ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นลวดลายเเบบไหน หรือว่าทำมาจากวัสดุอะไร (ออร์แกนิก ผ้าใยสังเคราะห์) ผ้าลูกไม้ซึ่งได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 16 ถือได้ว่ามีพลังพิเศษอย่างมากในโลกของผ้าที่ใช้ในการตกเเต่ง เมื่อก่อนผ้าลูกไม้สื่อถึงหญิงขายบริการ เเต่ทุกวันนี้กลับสื่อถึงความเป็นผู้หญิง
ลูกไม้เข้ามาได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 16 โดยเมื่อก่อนผ้าลูกไม้ทำด้วยผ้าลินิน ผ้าไหมสีทองหรือสีเงิน ปัจจุบันลูกไม้ที่เย็บด้วยมือมักทำด้วยด้ายฝ้าย ในขณะที่ลูกไม้ที่เย็บจากเครื่องจักรจะทำจากใยสังเคราะห์ ช่างสมัยใหม่บางคนทำลูกไม้ด้วยลวดทองแดงหรือเงิน
ในประเทศไทย ผ้าทอไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ให้การทอผ้าเป็นความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมของประเทศ ผ้าซิ่นไหมไทยทอมือและเสื้อลูกไม้ (Lace Thailand) มักสวมใส่ในโอกาสสำคัญทางสังคมในประเทศไทย
(ที่มา : (United Lace, 2021)

Tag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ25ล 2557 |
Author | พงศกร |
Title | ลูกไม้ลายสนธยา / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 2 |
Published | กรุงเทพฯ : กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง, 2557 |

รอยไหม
...วิญญาณของเจ้าศิริวัฒนายังคงถูกกังขังให้วนเวียนอยู่ในพระราชวังหลวง จนกว่าฉันจะกลับมาทอผ้าไหมผืนนั้นให้เสร็จสิ้นและให้อภัยแก่เขา เรื่องราวทั้งหมดนี้น่าเศร้าเกินกว่าจะมีผู้ใดบันทึกเอาไว้ ภายหลังต่อมาเมื่อผู้คนที่อยู่ร่วมยุคร่วมสมัยล้วนละสังขารล่วงไปตามกาลเวลา จึงไม่มีผู้ใดจดจำโศกนาฏกรรมในครั้งนั้นได้อีก แต่อย่าได้แปลกใจเลยว่าฉันรู้เรื่องทั้งหมดนี้ได้อย่างไร ฉันรู้เรื่องทั้งหมดนี้จากบันทึกของเผียพัน บิดาของแม่หญิงดวงดอกไม้ และรับรู้จากคำบอกเล่าของเจ้าศิริวัฒนา… ใช่แล้ว…ฉันได้พบกับเขาที่หอพิพิธภัณฑ์.. นอกจากนี้ฉันยังได้พบกับผ้าไหมที่เจ้าหญิงมะณีรินทอค้างเอาไว้อีกด้วย ทุกวันนี้ฉันจึงกลับไปที่พิพิธภัณฑ์ เพื่อทอผ้าผืนสุดท้ายของเจ้าหญิงมะณีรินให้เสร็จ เพื่อที่ดวงวิญญาณของเจ้าศิริวัฒนาจะได้เป็นอิสระเสียที หลังจากที่ต้องทนทุกข์ทรมานมานานนักหนา….

ผ้าไหม
ผ้าไหม ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของเมืองไทย มีความงดงามของเส้นไหมที่เป็นเอกลักษณ์ ลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ทำให้เป็นผ้าไทย ที่ได้รับความนิยม และโด่งดังไปทั่วโลก สำหรับเดือนนี้ทางบาริโอ บริษัทออกแบบตกแต่งภายใน จึงขอถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นไทยในเรื่องของ ผ้าไหมไทย และงานออกแบบมาให้คนรักการตกแต่งภายใน นำไปประยุกต์ใช้หรือเป็นความรู้เพิ่มเติมสำหรับการตกแต่งภายในบ้าน
การทอผ้าไหมของประเทศไทย ในอดีตเป็นการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน หรืองานสังคมต่างๆ คนไทยมีการนำเอาศิลปะมาประยุกต์ใช้กับวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และมากยิ่งกว่าการใช้งาน คือความสวยงามและความมีเสน่ห์แบบไทย เป็นการแสดงถึงความประณีตของคนไทยที่มีมาแต่ในอดีตและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบซึ่งยังสืบต่อมาถึงปัจจุบัน และยังคงสร้างสรรค์ผลงานจากผ้าไหมในรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น
ผ้าไหมมีมากมายหลากหลายชนิด โดยแบ่งแยกตามภูมิภาค และประเพณีดั้งเดิม โดยแต่ละที่จะมีลวดลายที่แตกต่างกัน โดยการจำแนกชนิดของผ้าไหมจะจำแนกตามลวดลายที่ได้ทอขึ้นมาซึ่งมีมากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่จะขอยกเพียงตัวอย่างชนิดของผ้าเพื่อเป็นแบบอย่างในการเลือกซื้อ หรือการปรับปรุงการใช้งานต่อไปของคนรักการออกแบบตกแต่งภายใน ได้แก่ ผ้ายก ผ้าจก ผ้าแพรวา ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมเกาะหรือล้วง ผ้าไหมพื้น เป็นตัน
(ที่มา : (Bareo&ISYSS)

อยากอ่านเพิ่มเติม หาซื้อได้จากร้านหนังสือทั่วไป

สาปภูษา
ผ้าห่มสะพักตาดทองผืนนั้นสวยงามนัก หากรอยด่างตรงมุมของผ้านั้นแลดูคล้ายกับหยดเลือดมากกว่าร่องรอยที่กาลเวลาฝากเอาไว้ หยดเลือดที่เกิดจากความอาฆาตพยาบาทของเจ้าสีเกด เจ้าหญิงที่นิราศร้างมาจากแดนไกล เจ้าหญิงลาวผู้อาภัพปักผ้าผืนนี้ขึ้นมาด้วยดวงจิตอันรุ่มร้อนด้วยไฟโทสะ แรงแค้นอันรุนแรงยังคงสิงสู่อยู่ในผ้าผืนงาม แม้เวลาจะเนิ่นนานนับร้อยปี เรา สีเกด ขอสาปแช่ง ทุกฝีเข็ม ทุกเส้นไหม ข้าจะขอทำลายชีวิตของทุกคน !

ความเชื่อเกี่ยวกับผ้า
ผู้เขียนได้นำความเชื่อเกี่ยวกับผ้ามาเล่าผสานในการดำเนินเรื่องได้อย่างน่าสนใจ จะเห็นว่าชุดชาวม้งในเรื่อง “สาปภูษา” มีวิถีที่เกี่ยวพันกับความเชื่อ และวิถีวัฒนธรรมอันสืบทอดมาจากบรรพกาล โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องประเพณี และความเชื่อในเรื่อง การแต่งชุดม้งให้กับผู้ที่เสียชีวิต อีกทั้งยังเป็นการแทรกคติความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตายอีกด้วยอาจกล่าวได้ว่า ความสำคัญของลวดลายผ้า นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ในแง่ของความเชื่อยังเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมต่อกับจิตวิญญาณของผู้สวมใส่หรือเจ้าของเสื้อผ้า กล่าวคือ ผ้าทอสามารถถ่ายทอดวิถี เรื่องราว ความหมาย ความเชื่อ ความศรัทธา ผ่านการถักทอสู่ลวดลายใน ดังปรากฏในหนังสือของผู้เขียน (ที่มา : (กิ่งผกา อังกาบ, 2561)

Tag | Data |
---|---|
Callnumber | Fic. พ2ส 2552 |
Author | พงศกร |
Title | สาปภูษา / พงศกร |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 3 |
Published | กรุงเทพฯ : เพื่อนดี, 2552 |
จากเรื่องราวของ นวนิยายซีรีส์ผ้า ของผู้เขียนนั้น แสดงให้เห็นถึงความลุ่มลึกและการค้นคว้าหาความรู้ของตัวผู้เขียนเอง และนำมาเขียนเป็นเรื่องราวที่น่าติดตาม อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียนและเรื่องเหล่านี้
- นวนิยายซีรีส์ผ้า ได้มีการต่อยอดไปทั้งการนำมาเป็นหนังและละคร ตามไปดูรายละเอียดกัน
- การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นงานวิจัย ของกิ่งผกา อังกาบ. มิติทางวัฒนธรรมผ่านผืนผ้าในนวนิยายชุด “ผ้า”.



บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ อ่านนิยายไม่เยอะ แต่ชอบชุดนี้มาก
ข้อมูลอ้างอิง
kapook.com. (ม.ป.ป.) ชวนคุยถึงหนังสือ กี่เพ้า หนึ่งในซีรีส์ชุดผ้าแนววิญญาณลึกลับและปริศนาฆาตกรรม. kapook.com. https://creator.kapook.com/view278332.html