Skip to content

ปันสุขจากการอ่าน

สัญลักษณ์แห่งการให้และการแบ่งปัน

ตู้ปันสุข
“หยิบไปแต่พอดี ถ้าท่านมีใส่ตู้แบ่งปัน”
พอดี แบ่งปัน
The Pantry of Sharing
“พ่อแม่ปั้นให้ปันสุข”
การให้ สุขกายและใจ
กระเพื่อมสังคมทำดี
การมาร่วมกันทำให้การช่วยมันใหญ่ขึ้นสามารถสร้างแรงกระเพื่อมส่งต่อการให้ได้เยอะขึ้นกว่าแยกกันทำ
แรงส่ง
การให้ดีเสมอ
สิ่งที่พวกเราทำและทุกๆ คนพร้อมช่วยเหลือกัน พร้อมเอามาแบ่งปัน สิ่งนี้เลยเหมือนแรงชุ่มชื่นในสังคมรู้สึกว่าสังคมไทยรอดอยู่ได้เพราะเรารู้จักกับการให้”
ทำไปอย่างได้ท้อ
แบบดสอบใจ
วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตทดสอบจิตใจ ซึ่งจะผ่านไป ขอเพียงคนไทยรู้จักการให้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อดทนอีกนิดครับเดี๋ยวเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน”
เราต้องรอด

โครงการตู้ปันสุข

กลุ่มจิตอาสา จัดโครงการ THE PANTRY OF SHARING ตู้ปันสุข ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

หลังจากมีกลุ่มจิตอาสา ในนามกลุ่มอิฐน้อย จัดตั้งโครงการ THE PANTRY OF SHARING ตู้ปันสุข “หยิบไปแต่พอดี ถ้าท่านมีใส่ตู้แบ่งปัน” มีแนวคิดมาจาก โครงการ Free Pantry ของต่างประเทศ โดยนำมาประยุกต์ใช้ในสภาวะวิกฤติ COVID-19 ในประเทศไทย มีจำนวนตู้ปันสุขในกรุงเทพฯทั้งหมด 5 ตู้  โดยตุ้ที่ 1 อยู่ที่ซอยสุขุมวิท 71 ตู้ที่ 2 อยู่ที่ซอยเพชรเกษม 54 ตู็ที่ 3 อยู่ซอยวิภาาวดี 60 ตู้ที่ 4 อยู่ที่ตลาดบางคอแหลม ตู้ที่ 5 อยู่ที่ จ.ระยอง บริเวณหน้าโครงการ Sky Ville  

      ขณะที่เมื่อหลังจากกลุ่มจิตอาสากลุ่มนี้ได้นำร่องจัดตั้งโครงการตู้ปันสุขขึ้น ณ วันนี้ได้มีผู้คนนำไปเอาเป็นตัวอย่างซึ่งมีมากกว่า 100 ตู้ กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือความเดือดร้อนจากพิษเชื้อไวรัสโควิด-19

     โดยที่มาของการให้ครั้งนี้มาจาก”พ้่อแม่ปั้นให้ปันสุข” จุดเริ่มต้นของการนำเอาไอเดียรูปแบบตู้ปันสุขของต่างประเทศ Free Pantry มาปรับใช้มาช่วยเหลือพี่น้องคนไทยด้วยกันให้พ้นวิกฤตเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นมีรากฐานมาจากตอนเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่มักจะพาไปเข้าวัดทำบุญจึงทำให้ตนนั้นซึมซับเรื่องของธรรมะและการให้

(ที่มา : โพสต์ทเดย์)

แนวคิดการให้ การแบ่งปันแบบนี้ เราสามารถหาได้ในสังคมไทย และยังมีการให้ในรูปแบบต่าง ๆ เราหาอ่านได้จากห้องสมุด
ภาพจาก สวนผักพอเพียง

สวนผักหฤหรรย์ปันยิ้ม แบ่งปันความสุข ปลูกฝังการพึ่งตนเอง / วรเทพ ศุภวาสน์. เกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 4 (2560), หน้า 9-11

บทความ

“ฟาร์มสุขไอศกรีม” ทำให้ชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งชื่นชอบ “รสชาติไอศกรีม” ได้สัมผัสกับ “รสชาติความสุข” ของชีวิต

ฟาร์มสุขไอศกรีม ไอศกรีมเพื่อสังคมแบ่งปันความสุขไม่มีวันละลาย / พงษ์นภา กิจโมกข์. อุตสาหกรรมสาร ปีที่ 59 (พฤศจิกายน – ธันวาคม 2560), หน้า 22-23.

แบ่งฟ้า ปันดิน / Author ชมัยภร แสงกระจ่าง Published กรุงเทพฯ : คมบาง, 2546 Detail 320 หน้า ; 21 ซม

เรื่องของครอบครัวที่ฝ่ายหญิงต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว แทนฝ่ายชายที่ป่วยหนัก ต้องฟันฝ่าอุปสรรคชีวิต สุดท้ายก็สามารถเข้าใจกันได้ด้วยความรักในครอบครัว

อ่านสร้างสุข ยกกำลังสุข

ที่นี่เราอยู่กันแบบไม่มีใครเป็นเจ้าของอะไร เพื่อทำลายความเป็นเจ้าของลง”
ที่บอกว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของอะไร เพราะที่นี่ไม่มีใครถืออะไรเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างเป็นของส่วนกลาง และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันให้ได้โดยที่ไม่มีกฎระเบียบ ไม่มีผู้นำ ไม่มีหัวหน้า แม้ว่าโจน จันได จะเป็นคนบุกเบิกที่ดินผืนนี้ แต่ตัวเขาเองก็ไม่ได้นับว่าตัวเองมีสิทธิมากกว่าเพื่อนร่วมชุมชนคนอื่นๆ

Food Truck Club ช่วยเหลือ แบ่งปัน สร้างสรรค์ธุรกิจ /ฉัฐพร โยเหลา อุตสาหกรรมสาร ปีที่ 61 (กันยายน - ตุลาคม 2562), หน้า 19-22.

Facebook Comments

facebook comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.