turnitin

Turnitin : Check Plagiarism

Turnitin : check Plagiarism

    Turnitin เป็นฐานข้อมูลที่ช่วยให้นักวิชาการมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน ซึ่งเป็นสิ่งท่ี่ทั้งอาจารย์และนักศึกษาในสถาบันการศึกษานั้น ๆ จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการสร้างสรรผลงานของตนเอง มารู้จักความหมายการคัดลอกผลงานกัน

     The Compact Edition of the Oxford English Dictionary (COED) ที่ให้ความหมายของคําว่า Plagiarism ไว้ว่า

 

turnitin

Plagiarism

“การกระทําหรือการปฏิบัติที่ถือว่าเป็นการคัดลอก นั่นก็คือ การนําผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเองโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง (wrongful appropriation) การขโมย (Purloining) และการตีพิมพ์ข้อความของคนอื่น หรือการแสดงความคิด แนวคิด (วรรรณกรรม งานศิลป ดนตรี งานประดิษฐ์ เป็นต้น) ของผู้อื่นเสมือนว่าเป็นงานของตนเอง หรือการนําเสนอความคิด แนวคิด ตอนแบบ ข้อความ ส่วนของข้อความ หรืองาน ที่ได้มีการขโมยมา”

Plagiarism

ความพยายามชักจูงผู้อื่น ด้วยการนําเอางาน คําพูด หรือคําของคนอื่นมาเป็นของตนเอง เช่น การคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Academic plagiarism) เกิดขึ้นเมื่อผู้เขียนรายงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ลอกคําจากต้นฉบับมากกว่า 4 คําโดยปราศจากการใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) หรือ เครื่องหมายคําพูดตรงข้อความที่คัดลอก ทําให้เสมือนว่าเป็นผลงานของตนเอง การถอดความหรือการเขียน ในลักษณะแตกต่างจากเดิมแต่ยังมีความหมายเช่นเดิม (Paraphrasing) โดยปราศจากการอ้างความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างจริงจัง หรือปราศจากการเพิ่มเติมผสมผสานข้อความใหม่อย่างเข้าใจถ่องแท้ ถือเป็นแบบอย่างหนึ่งของการคัดลอกผลงานทางวิชาการ”

Turnitin

เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ พร้อมทั้งชี้แหล่งข้อมูลที่ปรากฏซ้ำเป็นแถบสี และแสดงระดับเปอร์เซ็นต์การเทียบซ้ำ (Similarity index) โดยโปรแกรมนี้จัดอยู่ในกลุ่มของ Anti-Plagiarism Software มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้บอกรับเพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย

การให้บริการ

      การให้บริการ  มหาวิทยาลัยให้สมาชิกได้ใช้งานได้ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2564 – 30 พฤศจิกายน 2565  โดยจะให้สิทธิ์การใช้งานกับสมาชิืกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีวิธีการเข้าใช้และมีบทบาทการใช้งานโปรแกรมแตกต่างกัน ดังนี้

1. อาจารย์  มีสิทธิ์ใช้งานในบทบาทของ Instructor (อาจารย์ผู้สอน) ทึี่สามารถสร้าง Class และ add Assignment งานของตนเองหรืองานของนักศึกษาได้ หากไม่มีคต้องการในการตรวจผลงานด้วยตนเอง สามารถส่งผลงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารฯ ตรวจสอบให้ได้

2. นักศึกษา  ที่ทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/โครงงาน ฯลฯ ไม่ได้สิทธิ์ในการสร้าง Class Assignment แต่สามารถตรวจสอบผลงานตนเองผ่าน Class ที่อาจารย์ประจำรายวิชา หรือ Class ที่ศูนย์บรรณสารฯ สร้างไว้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน

3. บุคลากร ที่ต้องการตรวจการคัดลอกผลงานของตนเอง สามารถส่งผลงานมายังศูนย์บรรณสารฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้ 

การขอใช้บริการให้ตรวจสอบผลงานให้ ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการและส่งไฟล์ผลงานผ่านทางออนไลน์ โดยบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด ตั้งแต่นำไฟล์ผลงานเข้าโปรแกรม และตรวจสอบผลงาน และส่งรายงานผลกลับให้ผู้ใช้บริการ กรอกข้อมูลในฟอร์มด้านล่าง ฟอร์มจะแจ้งเตือนไปยังผู้รับผิดชอบ และตรวจสอบพร้อมส่งกลับพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
turnitin
Teachers save time
อาจารย์ (ที่ต้องการสร้าง Class ของตนเอง) / ตรวจสอบผลงาน

1. หากต้องการตรวจสอบด้วยตัวเอง สามารถขอ account for instructor ได้ โดยะบุชื่อ นามสกุล หน่วยงาน (ภาษาอังกฤษ) e-mail (WU) และแจ้ง e-mail ส่งมายัง caporn@wu.ac.th

2. หากต้องการให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดตรวจสอบผลงาน  ส่งรายละเอียดมายังฟอร์มกรอกฟอร์มขอใช้บริการตามรายละเอียดด้านบน หรือส่งรายละเอียดมายังอีเมล์ : caporn@wu.ac.th 

turnitin
Students gain more formative learning opportunities

3. กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องการเป็นผู้ตรวจสอบผลงานเอง  ติดต่อขอ Class ID และ Enrollment Key เพื่อตรวจผลงานใน class ที่ห้องสมุดกำหนดไว้ (มีการเปลี่ยนแปลงทุกเดือนทุกวันที่ 1)  ติดต่อขอรับได้ที่ e-mail :

 nassara.ja@wu.ac.th; caporn@wu.ac.th หรือ add friend line ด้านล่าง 

 

4. นักศึกษาระดับปริญญาตรี  ศูนย์บรรณสารฯ จะเป็นผู้ตรวจสอบผลงานเอง

ติดต่อผ่านฟอร์ม/ส่งผลงานได้ที่ e-mail : caporn@wu.ac.th หรือ add friend

 

สมาชิกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถเข้าร่วมอบรมการใช้งานโปรแกรมได้  จะมีการจัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ทั้งหลักสูตรสำหรับอาจารย์ และนักศึกษา  ดูรายละเอียดตารางการอบรมและลงทะเบียนอบรมได้ที่นี่ Register

Contact

0 75 673340, 3364

available from mon.-fri. 08.30 AM – 4.30 PM

Email caporn@wu.ac.th

facebook page

ชวนอ่าน

Mastermind

Librarian

Leave a Reply