Skip to content

สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์

สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์

สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์ ผู้เรียบเรียงคือนักประสาทวิทยา เนื้อหามีข้อความ พร้อมภาพประกอบเป็นภาพวาดการ์ตูน การจัดเรียงองค์ประกอบภาพได้น่าสนใจ การเรียบเรียงเนื้อหาในเล่มมี 2 ลักษณะ คือเทคนิคที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ความจำ สมาธิ และคลายเครียด องค์ประกอบและการทำงานของสมอง ความรู้ ที่รู้ไว้เฉย ๆ หรือจะเอามาคุยอวดให้เพื่อนฟังแบบเพลิน ๆ ก็ได้

สมองเป็นกระจกส่องให้เห็นตัวเอง อ่านแล้วจะเข้าใจระบบการทำงานของมนุษย์ที่ไม่แพ้ปัญญาประดิษฐ์

หนังสือเล่มนี้  นำเสนอเนื้อหาเป็นบทสั้น ๆ 51 บทใน 5  ตอน  ท้ายเล่มมี 10 เกร็ดความรู้พื้นฐานของสมอง ให้โอกาสสมองได้เข้าใจระบบการทำงานของตัวเอง ด้วยการหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านกันเถอะ!

สารบัญแบบย่อ: บทนำ – ตอนที่ 1 คู่มือการปฏิบัติต่อสมอง ความรู้พื้นฐานของสมอง – ตอนที่ 2 สมองมีการพัฒนา วิธีทำให้สมองมีประสิทธิผลสูงสุด – ตอนที่ 3 สมองปิ๊งไอเดีย จากนี้ไปเป็นยุคแห่งการปิ๊งไอเดีย – ตอนที่ 4 อนาคตของสมองกับ AI การใช้สมองในยุค AI– ตอนที่ 5 การทำงานของสมอง ลองส่องดูหน้าที่สมองบางส่วนกัน

ชื่อเรื่อง: สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์

เรียบเรียงโดย โมงิ เคนอิจิโร่

แปลโดย เสาวณีย์ นวรัตน์จำรูญ

พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566

สำนักพิมพ์: ไดฟุกุ บริษัท ไทม์ จำกัด

จำนวนหน้า 132 หน้า

ISBN: 9786161404420

โครงสร้างภาพรวมของสมอง

ลักษณะภายนอกของสมอง สมองประกอบไปด้วยอาณาเขตใหญ่ ๆ 3 เขต ได้แก่ สมองใหญ่ (ซีรีเบลลัม) (Cerebrum) สมองน้อย (ซีรีเบสลัม) (Cerebellum) และก้านสมอง  (Brain Stem) พื้นที่สมอง 85% เป็นสมองใหญ่ ก้านสมองประกอบด้วย ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า (ไดเอนเซฟาลอน Diencephalon) สมองส่วนกลาง (มีเซนเซฟาลอน Mesencephalon พอนส์ (Pons) และก้านสมองส่วนท้าย (เมดัลลา ออบลองกาตา Medulla Oblongata) 

สมองใหญ่ซึ่งครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของสมอง แบ่งเป็นสมองซีกซ้ายและซีกขวา โดยแต่ละซีกมีรอยลึก เรียกว่า ร่อง  เป็นเขตแบ่งพื้นที่ในสมองเป็นสี่ส่วนคล้ายกับใบโคลเวอร์สี่แฉก พื้นผิวของสมองใหญ่ถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกสมองใหญ่ ซึ่งเป็นระบบที่มีเซลล์ประสาทรวมกันอยู่ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปแต่ละส่วน

คู่มือการปฏิบัติต่อสมอง ความรู้พื้นฐานของสมอง

  • ทั้งที่สมองเป็นสสารชนิดหนึ่ง แต่ทำไมถึงเกิดสติขึ้นได้ — ถือเป็นปริศนาน่าฉงนที่สุดของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่ยังไขไม่ออก
  • คนฉลาดเป็นคนอย่างไร — คนที่เข้ากับคนอื่นได้ด้วยการอ่านใจ เรียกว่าทฤษฎีของจิตใจ การยอมรับผู้อื่นและอยู่ร่วมกันเกี่ยวโยงกับ “ความฉลาด” กล่าวคือ การอยู่อย่างปรองดองกันทำให้ฉลาดขึ้น
  • การเล่นอย่างไร เป็นการเล่นที่ทำให้สมองยินดี — การเล่นที่สามารถดังกฎกติกาได้เอง แนะนำให้เล่นเกม ตารางสามแถว ลบเส้น วาดรูปต่อคำ
  • มีวิธีทำให้สมองคลายเครียดหรือไม่ — การมีเวลาให้สมองเหม่อลอยเป็นวิธีการคลายเครียดให้สมอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างสภาพจิตใจเหม่อลอยเพื่อกระตุ้น DMN (Default Mode Network) ตื่นตัว ซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดสมองซึ่งช่วยคลายเครียดได้ดีด้วย
  • เวลาทองของสมองที่ตื่นตัวคือเวลาใด — สมองตอนเช้าจะฟิตเปรี๊ยะ หลังจากตื่นตอนเช้า ความจำในสมองจะได้แก้ไข จัดระเบียบ ทำให้สมองโล่งสบายมาก ดังนั้น ตอนเช้าจึงเหมาะกับการใส่ข้อมูลใหม่ เรียนได้ว่าสมองแล่น ปิ๊งไอเดียใหม่ ๆ ได้ดีในตอนเช้า
  • ฯลฯ

สมองมีการพัฒนา วิธีทำให้สมองมีประสิทธิผลสูงสุด

  • วิธีทำให้สมองทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด — การลองทำสิ่งใหม่ ๆ จะทำให้สมองตื่นตัว เพราะสารโดพามีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ในสมองจะหลั่งออกมา  
  • สมองจะพัฒนาเมื่อมีคนชม จริงหรือไม่ — เมื่อชม “ทันที” “ละเอียดชัดเจน” สมองจะรู้สึกยินดี สิ่งสำคัญในตอนนั้น คือจังหวะเวลา การทำงานของสารโดพามีนด้านการได้รับรางวัล มีลักษณะเด่นคือต้องชมพฤติกรรมอันเป็นสาเหตุที่กระตุ้นการทำงานของสารโดพามีนและชมเวลาใกล้เคียงกับพฤติกรรมนั้น มิฉะนั้นจะไม่มีความหมาย ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องชมทันที
  • การใช้ชีวิตไม่รีบเร่ง ทำให้สมองเสื่อมหรือไม่ — สมองจะลองสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลาโดยสัญชาตญาณ ดังนั้น ต่อให้ใช้ชีวิตไม่รีบเร่ง ไม่คิดอะไร สมองจะยังคงเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา ถ้าอยากลองสิ่งใหม่ ๆ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ยิ่งต้องสร้างฐานอันมั่นคง
  • การพัฒนาของสมองมีข้อจำกัดรื่องอายุหรือไม่ — สมองของมนุษย์พัฒนาได้ ไม่ว่าอายุเท่าไรก็ตาม เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต และแฝงความสามารถในการพัฒนาได้ทุกช่วงวัย
  • ฯลฯ

สมองปิ๊งไอเดีย จากนี้ไปเป็นยุคแห่งการปิ๊งไอเดีย

  • ชื่อแวบที่ปิ๊งไอเดียเกิดอะไรขึ้นในสมอง — สมองกลีบหน้าจะตกใจ ขณะที่สมองกลีบขมับจะนิ่งเงียบ  เพราะข้อมูลการปิ๊งไอเดียเป็นสิ่งที่อยู่ในหน่วยเก็บความจำถาวร ซึ่งสมองกลีบขมับรู้อยู่แล้ว
  • อะไรคือพลังขับเคลื่อนให้ปิ๊งไอเดีย — ความสามารถในการเรียบเรียงความจำคือพลังขับเคลื่อนให้ปิ๊งไอเดีย ความจำของมนุษย์ไม่ใช่การปลุกสิ่งที่จำได้ แต่เป็นการเรียบเรียงใหม่ในสมองและแสดงผลลัพธ์ออกมา
  • อยากได้สมองที่มีเอเดียพรั่งพรูอยู่เรื่อย ๆ — สร้างนิสัยปิ๊งไอเดียด้วย “ประสบการณ์อะฮ่า!” สมองคิดแล้วก็ลบออก คิดใหม่แล้วลบออก วนซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง คลำหาทางจากมุมมองอื่น ๆ สมองเดินเครื่องเต็มที่เพื่อหาสิ่งที่ใช่ จนเกิดไอเดียขึ้น “นี่ไง!” การไม่หยุดคิดจะได้ประสบการณ์อะฮ่า!
  • ตอนเกิดประสบการณ์อะฮ่า! ในสมองกำลัวเกิดอะไร — เซลล์ประสาทตื่นตัวพร้อมกับสารโดพามินหลั่ง ในเวลาปกติเวลาเกิด “ประสบการณ์อะฮ่า!”สมองคนเราจะตอบสนองต่างกันชัดเจน  การทำงานพร้อมกันของเซลล์ประสาทกับการหลั่งสารโดพามีนนี้เอง คือตัวจริงชองความรู้สึก “รู้แล้ว” ของ “ประสบการณ์อะฮ่า!”
  • ฯลฯ

อนาคตของสมองกับ AI การใช้สมองในยุค AI

  • จะมีวันที่มนุษย์ตกเป็นทาสรับใข้ AI หรือไม่ — ถ้ามนุษย์เพิ่มศักยภาพด้านที่เหนือกว่า เพราะในอนาคตอันใกล้ มนุษย์จะถูกแซง จนในที่สุดบางสาขาอาชีพอาจนำ AI เข้ามาแทนที่อย่างแน่นอน เพียงแต่ AI ไม่อาจมีบุคลิกภาพที่โยงไปสู่ความเป็นปัจเจกบุคคลหรือลักษณะเฉพาะตนได้ เพราะยังไม่มีรูปบบตัวอย่างดี ๆ ที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะตน ยิ่งไปกว่านั้น AI ยังไม่สามารถแสดงความรู้สึกมากมายของมนุษย์ได้อีกด้วย AI ก็อยู่ร่วมกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
  • ปัญญาของมนุษย์ กับ AI ต่างกันอย่างไร — สัญชาตญาณการรับรู้และการนึกออกเป็นกุญแจไขปัญญาของมนุษย์ 
  • AI มี IQ สูงกว่ามนุษย์หรือไม่ — ไม่มีความหมายที่จะเปรียบเทียบ IQ ของ AI กับของมนุษย์ เพราะสมองคนเราจะมีกรอบความคิด 2 กรอบ ได้แก่ เหตุผล และ อารมณ์ สมองคนเราได้พัฒนาโดยให้ความสำคัญกับอารมณ์มากกว่า ดังนั้น จึงมีความแตกต่างระหว่างมนุษย์ แต่เฉพาะระดับ IQ เท่านั้น
  • การพัฒนา AI เป็นเรื่องดีสำหรับมนุษย์หรือไม่ — ทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตแบบ “ชิล ๆ “ได้ เพรา AI มีลักษณะเด่น คื ทำงานร่วมกับมนุษย์อย่างซื้อสัตย์ โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบ เกณฑ์การประเมินที่มนุษย์เป็นผู้ตั้งขึ้น ดังนั้น เหล่า AI ผู้ให้อิสระแก่มนุษย์

การทำงานของสมอง ลองส่องดูหน้าที่สมองบางส่วนกัน

  • สมองเป็นศูนย์บัญชาการการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด — พื้นที่ใหญ่มีหน้าที่ต่างกันไป แต่ทำงานร่วมกันเป็นศูนย์บัญชาการของการใช้ชีวิตทั้งหมด
  • วงจรประสาทเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงภายในสมอง — วงจรประสาทสามารถทำหน้าที่อันซับซ้อนได้ กลไกเซลล์ประสาทในการถ่ายทอดข้อมูล ซึ่งมีเพียงแค่ 10 % จะคอยช่วยกระตุ้นการทำงาน จัดการข้อมูลซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของสมอง
  • สารสื่อประสาทมีความสัมพันธ์อย่างมากกับร่างกายและจิตใจ — สภาพจิตใจขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของสารสื่อประสาท ดังนั้นเราควรหาเวลาไม่คิดอะไรเลยไว้บ้าง สมองจะมี DMN จัดระเบียบภายในสมองได้
  • หน้าที่และความสมดุลของสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา — ลักษณะของสมองส่วนการใข้ภาษาเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะตัวของมนุษย์ สมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา ไม่มีความแตกต่างในการทำงานด้านการเคลื่อนไหวหรือความรู้สึก แต่จะแตกต่างในการทำงานด้านปัญญา โดยทั่วไปสมองซีกซ้ายทำงานด้านความเป็นเหตุเป็นผล เช่น ภาษา การคำนวณ ส่วนสมองซีกขวาทำงานด้านสัญชาติญาณการรับรู้ เช่น การจำแนกตำแไหน่ง งานเทคนิค เป็นต้น
  • ฯลฯ

หนังสือ สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์ เล่มนี้ ” เราจะช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับสมองมนุษย์อันลึกลับ ผ่านข้อสงสัยรอบตัวมากมาย” ประโยคนี้เลยที่จำเป็นต้องหยิบเปิดอ่าน และยิ่งรู้ว่าผู้เรียบเรียงคือนักประสาทวิทยา เปิดมาคือ น่าอ่านมากกกกก มีข้อความ พร้อมภาพประกอบเป็นภาพวาดการ์ตูน การจัดเรียงองค์ประกอบภาพได้น่าสนใจ  อยากจะหยิบมาอ่าน ตัวหนังสืออ่านง่ายสบายตา ด้านกายภาพคือเหมาะสมกับชื่อเรื่องมาก ดึงดูดความสนใจจากสมองได้ดี และสมาชิกวลัยลักษณ์ หาอ่านได้จากตัวเล่มจริง ที่นี่ 

รายละเอียดการหาอ่านและยืมหนังสือของสมาชิกวลัยลักษณ์

เล่มหนังสือ

ชื่อเรื่อง : สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์ Barcode : 1011765937 Call Number : WL300 ม92ส 2566 Collection : Health Sciences Collection

ชวนอ่าน (July 22, 2025) สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์. Retrieved from https://library.wu.ac.th/content/brain_human/.
"สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์." ชวนอ่าน - July 22, 2025, https://library.wu.ac.th/content/brain_human/
ชวนอ่าน April 18, 2568 สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์., viewed July 22, 2025,<https://library.wu.ac.th/content/brain_human/>
ชวนอ่าน - สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์. [Internet]. [Accessed July 22, 2025]. Available from: https://library.wu.ac.th/content/brain_human/
"สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์." ชวนอ่าน - Accessed July 22, 2025. https://library.wu.ac.th/content/brain_human/
"สมอง มหัศจรรย์ของมนุษย์." ชวนอ่าน [Online]. Available: https://library.wu.ac.th/content/brain_human/. [Accessed: July 22, 2025]

หนังสือชุด ซีรีส์สนุกจนตาสว่าง

Facebook Comments

facebook comments