



ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีภารกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนรวมทั้งการออกแบบเครื่องมือในห้องเรียนตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานที่ได้ทำล่าสุดนั้นคือการออกแบบห้องเรียนในรูปแบบห้อง Studio Classroom คือห้องเรียน 5209 ณ อาคารเรียนรวม 5 ห้อง 5209 ซึ่งมีคุณสมบัติในรูปแบบ Smart Classroom และเป็นห้องเรียนเชิงปฏิบัติการสนับสนุนการเรียนการสอนและสามารถถ่ายทำคลิปการเรียนการสอนอีกด้วยโดยมีคุณสมบัติดังนี้
- สนับสนุนการเรียนการสอนในเนื้อหากระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์
- ห้องผลิตสื่อวีดิทัศน์ของงาน งานผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอน
- ห้องถ่ายทอดสดวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยโดยมีจุดเด่นคือระบบสตูดิโอเสมือน 3D Virtual Studio ดังรายละเอียดดังนี้
- ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบครัน ที่สนับสนุนการถ่ายทำวีดิทัศน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การถ่ายทอดสด ผลิตวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอนใน ระบบสตูดิโอเสมือน 3D Virtual Studio
- ระบบสตูดิโอเสมือน 3D Virtual Studio คือ โดยการถ่ายทำใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบกับกระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์ โดยนำภาพฉาก 3 มิติมาใช้แทนฉากจริง เพื่อใช้ในการถ่ายทำรายวิชาในการเรียนการสอนต่างๆ ได้อย่างทันสมัย สมจริง และประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงฉากหลัง ให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและสามารถนำเสนอเนื้อหาต่าง ๆ ในฉากหลังรวมถึงยังสามารถใช้ถ่ายทำรายการหลากหลายรูปแบบได้
- ในระบบสตูดิโอเสมือนนี้ อาจารย์ผู้สอนจะถ่ายทำรายการอยู่ภายในห้องที่เป็นฉากสีเขียว เพื่อให้ระบบ 3D Virtual Studio สามารถตัดภาพของอาจารย์เพื่อไปซ้อนในฉาก 3 มิติได้ โดยเมื่ออาจารย์ทำการบรรยายภายในฉากสีเขียวนี้ ระบบ 3D Virtual Studio ก็จะทำการจำลองให้เสมือนว่าอาจารย์กำลังอยู่ในฉากรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งจำลองแสงเงาให้มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
- กรณีการบันทึกวีดิทัศน์ถ่ายทำบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC ซึ่งการบันทึกวีดิทัศน์ดังกล่าวได้ใช้เทคนิคการถ่ายทำประสานการทำงานทางไกลโดยใช้การสื่อสารในรูปแบบ Skype ใช้เทคนิคฉากเสมือน (Green Screen) และระบบระบบสตูดิโอเสมือน 3D Virtual Studio ร่วมกัน ทำการบันทึกการสอนระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งรายวิชานี้เป็นรายวิชาร่วมสอนหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนารายวิชา สื่อ ข้อสอบ การจัดการสอนระบบเปิด (MOOC) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ และประฐานเครือข่ายย่อย C9 มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย


เทคนิคการถ่ายทำทางไกลให้อาจารย์อยู่ในเฟรมเดียวกัน
- กรณีการบันทึกวีดิทัศน์ถ่ายทำบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC ซึ่งการบันทึกวีดิทัศน์ดังกล่าวได้ใช้เทคนิคการถ่ายทำประสานการทำงานทางไกลโดยใช้การสื่อสารในรูปแบบ Skype ใช้เทคนิคฉากเสมือน (Green Screen) และระบบระบบสตูดิโอเสมือน 3D Virtual Studio ร่วมกัน ทำการบันทึกการสอนระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งรายวิชานี้เป็นรายวิชาร่วมสอนหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนารายวิชา สื่อ ข้อสอบ การจัดการสอนระบบเปิด (MOOC) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ และประฐานเครือข่ายย่อย C9 มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย




ประโยชน์ของห้อง Studio Classroom
- ศูนย์บรรณสาร ฯ สามารถผลิตสื่อวีดิทัศน์โดยใช้เทคโนโลยี 3D Virtual Studio ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
- เป็นห้องเรียนสนับสนุนการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี 3D Virtual Studio และกระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์ เพื่อตอบรับต่อกระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์ในองค์กรต่าง ๆ ที่มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
- สนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนการสอนทางไกล ก็สามารถนำเทคโนโลยี 3D Virtual Studio ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถนำสื่อประเภทอื่นๆ เช่น PowerPoint Presentation, Video Clip หรือแม้แต่ Website มาแสดงผลในฉากหลังเพื่อเสริมความเข้าใจในเนื้อหาต่างๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้นอีกด้วย