เรียนเรื่องอะไร การคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา | Critical thinking and problem solving OCSC009
เพื่ออะไร ตอบโจทย์สิ่งที่เชื่อ สิ่งที่เรียนรู้ ว่าถูกหรือผิด เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ได้อะไร
- มีวิจารณญาณในการคิด เหตุและผล
- เข้าใจในเหตุและผล
- เชื่อมโยงเหตุและผลเข้ากับความคิด
- มีกระบวนการประเมินข้อมูล
มาดูกันค่ะว่า “การคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา” จะช่วยตอบโจทย์ใครได้อีกบ้าง
ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking Skill ถูกจัดอยู่ในทักษะการจัดการปัญหา ร่วมกับทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเรียกกลุ่มทักษะนี้ว่า 4Cs 21st Century Skills ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่ทุกองค์กรต้องการ
การคิดเชิงวิพากษ์ คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุมีผล มีวิจารณญาณในการคิดเรื่องต่าง ๆ เข้าใจในเหตุและผลที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความคิดในเรื่องต่าง ๆ ได้ และได้มาซึ่งคำตอบที่สมเหตุสมผล สมบูรณ์แบบมากกว่าเดิม ให้ความสำคัญกับกระบวนการ ความเป็นเหตุเป็นผล ตรวจสอบสิ่งที่เชื่อว่าถูกหรือผิด ช่วยสืบค้นความจริงแทนการคล้อยตามความเชื่อ
ความสำคัญ
- ช่วยสืบค้นความจริง แทน คล้อยตามความเชื่อ
- ช่วยสังเกต ความแตกต่างท่ามกลางความเหมือน
- เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง มีการคิดแบบรอบคอบ
- ตัดสินตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก
- เกิดการพัฒนา เพราะพิจารณาครบถ้วนไม่บกพร่อง
- จุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ เพราะกล้าคิดแนวใหม่ คิดนอกกรอบ
ลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์

- มีความมุ่งมั่น เป็นผู้มีความพยายามและมีความแน่วแน่ในการรับผิดชอบงานของตนเองให้ประสบความสำเร็จ
- หมั่นใคร่ครวญ ทบทวนความคิดและการกระทำของตนเองอยู่เสมอเพื่อนำพาชีวิตไปสู่ทางที่ดีขึ้นไป ความพยายามจำเป็นต้องอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง
- รักการปรับตัว เป็นผู้มีความยืดหยุ่น พร้อมปรับตัวและปรับกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย
- ใส่ใจในการสื่อสาร เป็นผู้มีความสามารถในการพูด ถ่ายทอดความคิดและข้อมูล ได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น แม่นยำ
- ความคิดเชื่อมโยง เป็นผู้มีความสามารถในการเชื่อมโยงต่อความรู้เดิมไปสู่ความรู้ชุดใหม่
- รักการทำงานเป็นทีม เป็นผู้สามารถร่วมงานกับผู้อื่นเพื่อทำให้ผลงานออกมาดีที่สุด
- ใฝ่รู้ เป็นผู้รักการเรียนรู้ โดยการหมั่นสอบถาม และหมั่นหาความรู้จากแหล่งอื่นๆ รอบตัว
- รักการตรวจสอบ เป็นผู้ที่แสวงหาวิธีการ เครื่องมือ ในการเข้าถึงและวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ
- มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้ใช้ความรู้และจินตนาการในการนำเสนอและการถ่ายทอด
การคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน
- ขั้นตอนที่ 1 หาความรู้ (Knowledge)
- ขั้นตอนที่ 2 ทำความเข้าใจ (Comprehension)
- ขั้นตอนที่ 3 ประยุกต์ใช้ (Application)
- ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ (Analysis)
- ขั้นตอนที่ 5 สังเคราะห์ (Synthesis)
- ขั้นตอนที่ 6 ลงมือทำ (Action)
- ขั้นตอนที่ 7 ประเมิน (Evaluation)
ทักษะสำคัญ
- การตีความ
- การวิเคราะห์
- การประเมินข้อมูล
- การหาข้อสรุป
- การใช้ตรรกะอธิบายหลักการ
- การตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
โดยยังมีลักษณะนิสัยจำพวกการชอบตั้งคำถาม การเข้าใจผู้อื่น เป็นองค์ประกอบย่อย ดังนั้นคุณลักษณะนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแค่ “การคิด” เท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงไปยัง “การฟัง” ด้วย
หลักการวินิจฉัยข้ออ้างและข้อสมมติ เพื่อพัฒนาความสามารถในการวินิจฉัย รวบรวมข้อมูลที่เป็นจริงในเรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ ต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งต่อไปนี้
- ความจริงกับความเชื่อ
- ข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น
- ความคุ้นเคยกับความสมเหตุสมผล
การฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
- ฝึกตั้งคำถาม
- รวบรวมข้อมูล
- ลองทดสอบข้อมูล
- คิดถึงผลกระทบ
- สำรวจมุมมอง
- สรุปเหตุผล
ตั้งคำถามแบบความคิดเชิงวิพากษ์
- ใครเป็นคนพูด (Who) คนพูดเป็นคนที่เรารู้จักหรือไม่ คนพูดเป็นคนที่มีความเหมาะสมหรืออยู่ในตำแหน่งที่น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่พูดนั้นสำคัญมากน้อยแค่ไหน
- พูดเรื่องอะไร (What) สิ่งที่พูดนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็น ข้อเท็จจริงมีครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่
- พูดที่ไหน (Where) พูดในที่ชุมชนหรือการพูดแบบส่วนตัว
- พูดเมื่อไหร่ (When) พูดเกิดก่อนหรือหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้นมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน
- พูดเพื่ออะไร (Why) เหตุผลในสิ่งที่พูดหรือการนำเสนอความ พูดพยายามทำให้ตัวเองดูดีและคนอื่น ๆ ดูแย่หรือไม่
- พูดอย่างไร (How) คนพูดมีความสุข เศร้า หรือ โกรธในขณะที่พูด พูดตามที่เขียนหรือเข้าใจสิ่งที่พูด เราเข้าใจในสิ่งที่พูดหรือไม่
จากกระบวนการทั้งหมด เป็นการไม่ยอมเชื่อโดยปราศจากหลักฐาน หรือการหาข้อเท็จจริงมาหักล้างสมมติฐาน การตั้งข้อสังเกตและการตั้งคำถามจนถึงการตั้งข้อสรุปที่เหตุผล
การคิดเชิงวิพากษ์จึงมีความสำคัญเพราะข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมาย ยุคสารนิเทศล้นหลามในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการคิดพิจารณา ประเมินข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล มีคำถาม มีการวิเคราะห์ก่อนที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ
คนที่มีกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ จะเป็นคนที่เชื่อมโยงตรรกะและไอเดียต่าง ๆ ได้อย่างสมเหตุสมผล วิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่ได้รับแล้วตั้งคำถามหรือข้อโต้แย้งที่เหมาะสมได้ สามารถหาจุดบกพร่องจากข้อมูลต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือจะเข้าใจและมีเหตุผลรองรับความคิด ความเชื่อของตัวเอง
ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ และตอบโจทย์ความคิดให้ตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Reference:
1. การคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา = Critical thinking and problem solving
2. วิธีคิดเชิงวิพากษ์ : คิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ = Critical thinking / Daniel A. Feldman ; แปลและเรียบเรียงโดย วราภรณ์ สืบสหการ
Hits: 88

Cataloger สาย Cat Slave