การทำให้ภาพถ่ายน่าสนใจ เทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย จะช่วยทำให้ภาพถ่ายของเราสวย น่ามอง โดดเด่น เพียงแค่เราเรียนรู้ และนำมาใช้งานRead More →

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา PSU: PSU008 การออกแบบการนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย | Creative and Modern Presentation Design สรุปได้ดังนี้ เทคนิคการออกแบบการนำเสนอผลงานอย่างสร้างสรรค์ การเลือกใช้ Background การเลือก Template หรือการจัดวาง layout ในการนำเสนอการใช้ background หรือ template ถือเป็นประการแรกๆ ในการวางแผนการออกแบบ presentation ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมหรือการวาง layout ของงาน โดยให้เริ่มต้นจากการออกแบบสไลด์นำเสนอโดยการสร้างพื้นที่ว่าง หรือหน้าสไลด์เปล่าขึ้นมาแล้วออกแบบสไลด์นำเสนอให้ดูเรียบง่าย ดูสะอาดตา หรือมีความแปลกใหม่ หรือเลือกการออกแบบที่เข้ากับ Trend อย่างเช่นในปัจจุบัน ก็จะให้ความสนใจกับงานออกแบบที่เป็น Flat Design ซึ่งเน้นเป็นงานแบนราบ ลดองค์ประกอบที่เป็นมิติ เน้นไปที่ Content มากกว่า จะทำให้งานออกแบบมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การกำหนดบรรทัดหรือข้อความในการนำเสนอ ไม่ควรมีตัวอักษรที่มากเกินไป ผู้นำเสนอจึงควรเลือกเฉพาะหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ หรือข้อความสำคัญ ดังนั้นสไลด์ที่ดีในแต่ละหน้าจึงไม่ควรมีเนื้อหาที่กระจุกเกินไปหรือRead More →

การถ่ายภาพเกิดจากศาสตร์ของการถ่ายภาพเกิดจาก 2 ศาสตร์คือ ศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์และศาสตร์ทางด้านเคมีพวกสารใวแสงกับวัสดุใวแสงทำให้ปรากฎภาพออกมาศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์เกิดขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อนคริสศักราชโดยนักปราชชื่อ อริสโตเติล ได้เขียนบันทึกไว้ว่า ถ้าเราปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปในช่องเล็กๆในห้องมืดแล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 เซ็นติเมตรจะปรากฎภาพบนกระดาษมีลักษณะภาพจริงหัวกลับแต่เป็นภาพที่ไม่ชัดเจนนักหลักการคือมีห้องที่มืดแล้วมีรูในห้องติดกระดาษสีขาวภาพจะไปปรากฎขึ้นทำให้เกิดการสร้างห้อง ออบสคิวล่า หรือว่าห้องมืด แล้วใช้จิตกรร่างภาพตามตัวแบบที่ส่องเข้ามาและต่อไปใด้พัฒนาห้องให้มีขนาดเล็กลงแล้วเอาโต๊ะไปวางแล้วใช้กระดาษวางข้างบนแล้วแสงส่งลงมาจากรูบนห้องทำให้เกิดภาพขึ้นต่อมามีวัฒนาการที่มากขึ้นในปี ค.ศ. 1676 โดยพัฒนาเป็นกล้องรีเฟร็กซ์ขึ้นมากล้องจะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแล้วเอากระจกสะท้องแสงใส่เข้าไปทำให้เห็นภาพในกล่องได้แต่ยังบันทึกภาพไม่ได้ต่อไปเป็นศาสตร์ทางด้านเคมีโดยคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ให้สารไวแสงทำให้เกิดสีออกมาได้ซึ้งอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1727- ค.ศ. 1777 เป็นช่วงคิดค้นสารไวแสงขึ้นมา ต่อมาปี ค.ศ. 1825- ค.ศ.1840 เป็นช่วงที่ถ่ายภาพกำลังได้รับความนิยมช่วงนี้จะมีบุคคลสำคัญอยู่ 3 ท่านที่คิดค้นการถ่ายภาพถาวรไม่ถูกลบเลือนไปคือ โจเซฟ นีเซโฟร์ เนียพซ์ เป็นชาว ฝรั่งเศษ ภาพแรกที่เนียพซ์ถ่ายข้างหน้าต่างห้องทดลองโดยบันทึกลงในวัตถุไวแสงทำให้ภาพติดทนนานไม่หายไปโดยภาพนี้เปิดให้แสงเข้ามา 8 ชั่วโมงแล้วนำวัถุไวแสงไปล้างทำให้ภาพติดถาวร บุคคลสำคัญคนที่ 2 คือ หลุยดาแกส์เป็นชาวฝรั่งเศษ ดาแกร์กับเนียพซ์ช่วงแรกไม่ได้ทำงานด้วยกันต่างก็คิดค้นให้ภาพคงทนถาวรได้พอทำงานระยะหนึ่งทั้งคู่ได้รวมมือกันคิดค้นโดยเอาการค้นพบของแต่ละคนมาผสมประสานกันเพื่อให้ภาพดียิ่งขึ้นแต่พอสักพักเนียพซ์ก็เสียชีวิตไปดาร์แกร์ก็ได้คิดค้นด้วยตัวคนเดียวต่อไปทำให้การบันทึกภาพจาก 8 ชั่วโมงเหลือ 30 นาทีใด้สำเร็จ บุคลที่ 3 ที่ค้นพบกระบวนการ CopyRead More →

ปัญหาที่เจอ ?เมื่อถ่ายภาพและวิดีโอด้วยโทรศัพท์มือถือ “ปัญหา” ที่มักเจอบ่อยๆ ภาพเบลอ / ไม่ชัดการถือกล้องไม่นิ่งโฟกัสไม่ตรงจุด / เกินระยะโฟกัสการซูมสภาพแสงน้อยเลนส์เปื้อนหรือสกปรก ภาพมืดเกินไป / สว่างเกินไปเกิดจากการถ่ายภาพย้อนแสง / ฉากหลังที่สว่างเกินไปสภาพแสงที่ไม่เอื้ออำนวย / เกินข้อจำกัดของสภาพแสง ความผิดพลาดจากการตั้งค่าอุปกรณ์ตั้งความละเอียดผิดผิดจุดประสงค์การนำไปใช้งาน การแก้ไขภาพเบื้องต้นโปรแกรม Snapseed Hits: 5suttirak jaritngamRead More →

ทักษะการถ่ายภาพพื้นฐานเป็นคุณสมบัติที่มีในช่างภาพทุกคน แต่สิ่งที่สามารถสร้างความแตกต่างและน่าสนใจให้กับผลงานภาพถ่ายของตนเองได้ก็คือการถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ซึ่งอาจมาจากมุมมองหรือแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร หรือการใช้เทคนิคพิเศษในการปรับตั้งค่ากล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริม ดังนั้น การถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์จึงเป็นทักษะการถ่ายภาพสำคัญที่สามารถยกระดับให้กับช่างภาพที่ต้องการสร้างผลงานที่แตกต่าง และยังช่วยสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับบุคคลทั่วปที่สนใจการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกก่อนที่จะก้าวสู่การเป็นช่างภาพอาชีพในอนาคต การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง (Stop Action/Stop Motion) ภาพที่หยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น การเล่นกีฬา วัตถุหรือสัตว์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือที่นิยมถ่ายกันในปัจจุบันก็คือการกระโดดลอยตัว ซึ่งอาจจะสื่อถึงความสนุกสนานหรือจะทำท่าแปลก ๆ เสมือนลอยอยู่กลางอากาศ หรือที่เรียกว่า ภาพแนว Levitation เทคนิคการถ่ายภาพที่ต้องการบันทึกภาพวัตถุให้หยุดนิ่งเช่นนี้ก็ คือการเลือกใช้ความไวชัตเตอร์สูง (High  Speed Shutter) โดยอาจใช้โหมด M หากมีความชำนาญ  สำหรับการถ่ายภาพ stop motion สามารถเลือกใช้ได้ 2  โหมด คือ M กับ TV (Canon) หรือ S (Nikon) เพื่อความสะดวกในการปรับตั้งค่าความไวชัตเตอร์เพียงอย่างเดียวแล้วให้กล้องปรับค่าที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ความไวชัตเตอร์ที่สามารถหยุดความเคลื่อนไหว ควรเริ่มตั้งแต่ 1/250 วินาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุ เช่น นกบินหรือผีเสื้อบินก็ราวRead More →

การเขียน Content เล่าเรื่องต่างๆ ให้น่าสนใจจะต้องมีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซึ่งเราจำเป็นต้องมีภาพให้คัดเลือกก่อน หรือเขียนเนื้อหาแล้วค่อยหาภาพที่สอดคล้องกับเนื้อหา? อันไหน ยาก ง่ายกว่ากัน? จากประสบการณ์นักเล่าเรื่องในอดีต มักจะตั้งหัวข้อไว้ก่อนคร่าวๆ แล้วค่อยไปค้นหาภาพประกอบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อย่างเช่น การเขียนเรื่องการใช้บัตรนักศึกษาสแกนผ่านประตูอัตโนมัติศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา Hits: 26Santat Sarakบรรณารักษ์Read More →

คำว่า “กราฟิก” มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Graphikos กับ Graphein Graphikos หมายถึง การเขียนภาพทั้งที่เป็นภาพสีและภาพขาวดำ Graphein หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นในการสื่อสาร ดังนั้น “Graphic” จึงหมายถึง การเขียนทั้งภาพสีและภาพขาวดำ ตลอดจนการเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นเพื่อสื่อความหมาย ในความหมายที่ไปในทางของงานด้านการออกแบบ กราฟิก หมายถึง วัสดุต่างๆ ที่ประกอบด้วยภาพถ่าย ภาพวาด สัญลักษณ์ คำบรรยาย สามารถใช้เป็นสื่อถ่ายทอด ข้อเท็จจริง และแนวความคิดบางประการได้  การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ องค์ประกอบพื้นฐานของงานกราฟิก          สิ่งสำคัญซิ่งเป็นปัจจัยหลักของการออกแบบกราฟิก คือ การจัดวางองค์ประกอบ หรือที่นิยมเรียกว่า “การวางคอมโพส” ถือเป็นหัวใจหลักที่ทำให้งานจะออกมาดีหรือไม่ดี องค์ประกอบพื้นฐานของงานกราฟิกRead More →

สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้ 1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย 2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี 3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี สีตรงข้าม หรือสีคู่ (Complementary Colors) หมายถึง สีสองสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มี 6 คู่ คือ 1. เหลือง (Yellow) กับ ม่วง (Violet, Purple) 2. แดง (Red) กับ เขียว (Green) 3. น้ำเงิน (Blue) กับ ส้ม (Orange) 4. ส้มเหลืองRead More →

แสงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นต้นกำเนิดที่ทำให้เกิดภาพที่ตาของเราสามารถมองเห็น แสงที่เราเห็นเป็นสีขาวประกอบด้วยคลื่นแสงของสีหลาย ๆ สีมารวมกัน เมื่อแสงเดินทางไปกระทบวัตถุหนึ่ง ๆ คลื่นแสงของสีบางสีถูกวัตถุดูดกลืนไปและสะท้อนคลื่นแสงสีอื่นเข้าสู่ตาเราทำให้เรามองเห็นวัตถุเป็นสีนั้น การที่ตาของเราเห็นความเข้มของแสงที่บริเวณต่าง ๆ บนผิวของวัตถุไม่เท่ากันเนื่องมาจากระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับผิวของวัตถุที่บริเวณต่าง ๆ ยาวไม่เท่ากัน และระนาบของผิวของวัตถุทำมุมกับแหล่งกำเนิดแสงไม่เท่ากัน บริเวณที่สว่างที่สุดบนผิววัตถุเรียกว่า Highlight ส่วนบริเวณของวัตถุที่ไม่ถูกแสงกระทบจะพบกับความมืด ความมืดบนผิวของวัตถุจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีแสงจากที่ใดที่หนึ่งมากระทบน้อยหรือมาก บริเวณที่มืดที่สุดบนผิววัตถุเรียกว่า Core of Shadow การที่แสงส่องมายังวัตถุ จะถูกตัววัตถุบังไว้ทำให้เกิดเงาของวัตถุไปปรากฏบนพื้นที่ที่วางวัตถุนั้น Hits: 4706Sompop Iadsiกราฟิกสายปั่น!!!Read More →

จากการไปศึกษาการถ่ายภาพเบื้องต้น จะได้รู้ถึงด้านวิทยาศาสตร์และด้านศิลปศาสตร์มารวมกัน การถ่ายภาพจึงหมายถึง การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนะคติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั่นคือการปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนจากวัตถุผ่านเข้ามา กระทบกับวัสดุไวแสงและนำวัสดุไวแสงนั้นไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏออกมา หากเป็นระบบฟิล์มแบบเก่าเราไปล้างกับน้ำยาและมีภาพปรากฏออกมา หากเป็นระบบดิจิทัลคือการแปลงสัญญาณไฟฟ้าออกมาเป็นภาพ เป็นความหมายของการถ่ายภาพที่รวบรวมทั้งในส่วนของ วิทยาศาสตร์และศิลปะเข้ามาร่วมมือกัน ประเภทของกล้องถ่ายภาพประเภทของกล้องถ่ายภาพสามารถที่จะจำแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ1) กล้องฟิล์ม เป็นกล้องที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยการถ่ายภาพยุคแรกไปจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานอยู่แต่อาจจะเฉพาะเจาะจงอยู่ในกลุ่มที่อนุรักษ์นิยมหรือเป็นงานอดิเรก กล้องฟิล์มสามารถจำแนกตามขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้อง 2) กล้องถ่ายภาพแบบทันที (Instant Camera) หรือทั่วไปเรียกว่า กล้อง Polaroid (โพลารอยด์) เป็นกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มและกระดาษอัดภาพผสมน้ำยาเรียบร้อยแล้วบรรจุภายในกล้อง โดยหลังจากกดปุ่มบันทึกภาพแล้วกลไกในกล้องจะทำให้ฟิล์มเลื่อนผ่านลูกกลิ้ง ลูกกลิ้งจะรีดน้ำยาให้กระจายไปทั่วฟิล์มและทำปฏิกิริยาสร้างภาพขึ้นบนกระดาษ เมื่อลอกฟิล์มกับกระดาษออกจากกันจะทำให้เห็นภาพที่บันทึกไว้ กระบวนการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 2-3 นาที เท่านั้น กล้องชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว เช่น การถ่ายภาพติดบัตร การถ่ายภาพท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ หรือใช้สำหรับถ่ายภาพเพื่อทดสอบสภาพแสงและการจัดองค์ประกอบภาพก่อนถ่ายจริงในสตูดิโอ 3) กล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นกล้องที่กำลังได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน โดยแทนที่จะบันทึกภาพลงในฟิล์มภาพที่ถ่ายจะถูกแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัลและบันทึกลงหน่วยความจำในกล้อง ช่างภาพสามารถเห็นภาพได้ทันทีจากจอภาพของกล้องหรือต่อผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์มและอัดลงบนกระดาษเหมือนกล้องฟิล์มRead More →