งานพื้นฐานช่างไฟฟ้า
การติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับช่างไฟฟ้าเบื้องต้นในการปฏิบัติงาน การสร้างนิสัยอุตสาหกรรมในการปฏิบัติงาน เครื่องมือช่างทั่วไป เครื่องมือวัดและหน่วยวัดทางไฟฟ้า อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าเบื้องต้น ระบบไฟฟ้ากาลังแรงดันต่ำ ข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุเบื้องต้น การอ่านแบบและเขียนแบบงานไฟฟ้าเบื้องต้น และเรื่องวงจรไฟฟ้า และความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ช่างทุกคนจะต้องตระหนัก และให้ความสาคัญเป็นลำดับแรกก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานแต่ละครั้ง
1.1ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ป้องกัน
อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบล่วงหน้าอย่างไม่คาดหมาย และเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงานทำให้ทรัพย์สินเสียหาย บุคคลได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นความสูญเสียอย่างมากสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เกิดได้จากสาเหตุหลายประการแต่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ
1. มนุษย์เป็นผู้กระทำเช่นฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับใช้เครื่องมือผิดประเภทไม่มีความรู้และทักษะ
2 . เครื่องมือ เครื่องจักร การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่ชำรุด หรือหมดอายุการใช้งาน
3. สภาพแวดล้อม หมายถึงการปฏิบัติงานในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือสถานที่คับแคบ
1.2 การป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
1. รองเท้าที่ใช้ในการปฏิบัติงานต้องสวมให้ถูกประเภท เช่น งานที่มีเศษโลหะ หรือเศษวัสดุตกอยู่บนพื้น ขณะปฏิบัติงานต้องสวมรองเท้าพื้นแข็งเท่านั้น
2. สวมแว่นตานิรภัยการปฏิบัติงานที่มีเศษโลหะ เช่น งานสกัด งานเจาะ จะต้องสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันเศษหรือสะเก็ดโลหะกระเด็นเข้าตา
3. การแต่งกายในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรต้องมีความรัดกุม กระดุมทุกเม็ดต้องติดให้เรียบร้อย เพราะขณะปฏิบัติงานส่วนของแขนเสื้อ หรือชายเสื้ออาจจะเข้าไปพันกับส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักรได้
4. การ์ดป้องกันเครื่องจักรควรมีฝาครอบส่วนที่เคลื่อนไหว เช่น สายพาน เฟือง เพื่อป้องกันส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเข้าไปสัมผัส
5. การบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องปิดเมนสวิตช์ก่อนทุกครั้ง
6. ก่อนใช้เครื่องจักรทุกครั้งควรมีการตรวจสอบว่า อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้หรือไม่ หากไม่พร้อมให้รีบแจ้งช่างเพื่อตรวจซ่อมทันที
7. การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ในการปฏิบัติงานจะต้องใช้ให้ถูกประเภท และเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน
8. การจับยึดชิ้นงานไม่ควรจับด้วยมือ โดยเฉพาะชิ้นงานที่ต้องอาศัยแรงตัด เฉือน เช่น งานเจาะที่เจาะรูโตๆ ชิ้นงานอาจหลุดออกมาตีมือได้
9. การเชื่อมงานในสถานที่อับอากาศเป็นอันตรายอย่างยิ่งสาหรับผู้เชื่อมงาน เนื่องจากจะขาดอ๊อกซิเจนในการหายใจ
10. การเชื่อมถังน้ามันที่มีน้ามันตกค้างอยู่ในถัง ความร้อนจากการเชื่อมอาจทาให้เกิดการลุกไหม้ หรือระเบิดทำอันตรายได้
อันตรายของไฟฟ้าต่อร่างกาย
ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นไฟฟ้าจึงถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางแพร่หลาย ในขณะเดียวกันไฟฟ้าก็มีโทษมากมายเช่นกัน ถ้าการใช้งานไม่ถูกต้องปลอดภัยอันตรายของไฟฟ้าที่เกิดกับร่างกายมนุษย์ เนื่องจากร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสถูกตัวนาไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ และในเวลาเดียวกันร่างกายส่วนอื่นๆ สัมผัสอยู่กับพื้นดิน โลหะที่ต่อลงดิน หรือพื้นน้ำ เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงพื้นดิน หรือพื้นน้ำ ร่างกายจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ลงดิน
ตารางที่ 1 ปริมาณกระแสและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
คนที่ถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่านส่วนมากไม่สามารถบังคับ และควบคุมตัวเองให้หลุดพ้นจากไฟฟ้าได้จึงถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายเป็นเวลานานๆ ดังนั้นถ้าไม่มีบุคคลอื่นช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาจได้รับอันตรายสาหัสจนถึงเสียชีวิตได้
ตารางที่ 2 ปริมาณกระแสไฟฟ้าระยะเวลาและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
ส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีผลคือ ตำแหน่งสัมผัสและสภาพของผิวหนังตรงจุดสัมผัส กล่าวคือถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายตรงบริเวณอวัยวะที่สาคัญ เช่น บริเวณศีรษะและทรวงอก อันตรายที่ได้รับจะสาหัสกว่ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายส่วนอื่น
ตารางที่ 3 ความแตกต่างกันแสดงให้เห็น
ผิวหนังของร่างกายเป็นส่วนที่มีความต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าอยู่บ้าง ผิวหนังส่วนที่หนาและแห้งสนิท ย่อมมีความต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าดีกว่าผิวหนังที่บาง และเปียกชื้นฉะนั้นผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเปียกชื้นด้วยเหงื่อหรือน้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้มากขึ้น อันตรายที่ได้รับก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าของร่างกายที่มีสภาพ
การป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า
การต่อสายดิน (Ground Wire) เข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทามาจากโลหะ วิธีที่สองคือใช้ฉนวนกั้นกระแสไฟฟ้าไว้ไม่ให้ไหลผ่านร่างกายขณะที่ต้องเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าคือ การเดินสายดินจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เต้ารับ กล่องเมนสวิตช์ และโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้ามายังขั้วต่อสาย ซึ่งต่อกับสายศูนย์ในเมนสวิตช์สายดินอาจใช้สายวีเอเอฟ (สายไฟฟ้า มอก. 11-2531) ชนิดที่มี 3 แกน แต่สายชนิดนี้หายากในท้องตลาดจึงนิยมใช้สายพีวีซีเดี่ยวชนิดไอวีหรือทีเอชดับบลิวเดินควบคู่ไปกับสายพีวีซีคู่
รูปแสดงการต่อสายดิน
รูปแสดง เต้ารับชนิด 3 รูและเต้าเสียบชนิด 3 ขา
อ้างอิงที่มา รูปภาพ https://itoolmart.com/blog/content/7cte9
อ้างอิงที่มาบทความ เว็บไซร์ Thaimook ทักษะงานช่างพื้นฐาน | Basic Engineering Skill
