การถ่ายภาพเบื้องต้น
ยุคนี้ สมัยนี้ ทุกคนจะคุ้นชินกับการถ่ายภาพ แต่เป็นการถ่ายภาพจากโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหลายๆ คน ยังไม่ทราบหลักการถ่ายภาพที่ดี ผู้เรียนเองก็มีความอยากรู้ว่า การถ่ายภาพให้สวย ให้ดูดี มีหลักการ มีเทคนิคอะไรบ้าง บทเรียน การถ่ายภาพเบื้องต้น สอนเรื่องการใช้กล้อง องค์ประกอบของภาพ เทคนิคของการถ่ายภาพ และมีเรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe ด้วย
มาเรียนรู้การถ่ายภาพเบื้องต้นกันเลย
ประเภทของกล้องถ่ายภาพ

- กล้องฟีล์ม
- กล้องฟิล์มขนาดเล็กซึ่งใช้กับฟิล์มขนาดเบอร์ 110 หรือว่า 126
- กล้องฟิล์มขนาด 35 มม. เป็นกล้องฟิล์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- กล้องฟิล์มขนาด 120 มม. เป็นกล้องที่มีขนาดของฟิล์ม ที่ค่อนข้างใหญ่เรียกว่า เหมาะกับงานที่ต้องใช้ ความละเอียดสูง เช่น งานนิตยสารหรืองานโฆษณา
- กล้องวิว เป็นกล้องที่มีขนาดใหญ่วางอยู่บนแท่นใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ อาจจะ ขนาดใหญ่ถึง 8×10 นิ้ว ให้ความละเอียดสูง
2. กล้องถ่ายภาพแบบทันที (Instant Camera) หรือทั่วไปเรียกว่า กล้อง Polaroid (โพลารอยด์) เป็นกล้องถ่าย ภาพที่ใช้ฟิล์มและกระดาษอัดภาพผสมน้ำยาเรียบร้อยแล้วบรรจุภายในกล้อง
3. กล้องดิจิทัล (Digital Camera) ภาพที่ถ่ายจะถูกแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัลและบันทึกลงหน่วยความจำในกล้อง ช่างภาพสามารถเห็นภาพได้ทันทีจากจอภาพของกล้องหรือต่อผ่านคอมพิวเตอร์
- กล้องคอมแพกต์ (Compact) เหมือนกับกล้องระบบฟิล์ม การทำงานส่วนใหญ่เป็นระบบ อัตโนมัติ ช่วยผู้ใช้ในการถ่ายภาพได้อย่างสะดวกง่ายดาย มีขนาดเล็ก บางเบา พกพาสะดวก มีระบบปรับ เปลี่ยนระยะเลนส์ถ่ายใกล้ถ่ายไกลได้ในตัวกล้องเอง แต่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้
- กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) หรือ กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวแบบดิจิทัล กล้อง DSLR ยังแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กล้องฟูลเฟรม (Full Frame) คือ กล้อง DSLR และ กล้อง APS-C คือ กล้อง DSLR
- กล้อง DSLR-Like หรือกล้อง “เหมือน DSLR” แต่ไม่ใช่ DSLR เพราะจริง ๆ ก็คือ กล้อง คอมแพกต์ที่ออกแบบรูปร่างหน้าตาให้คล้ายกล้อง DSLR นั่นเอง
- กล้อง Mirrorless คือ กล้องดิจิทัลที่รูปร่างหน้าตาเหมือนกล้องคอมแพกต์ แต่ “เปลี่ยน เลนส์ได้” และมีคุณภาพเทียบเท่ากับ DSLR แต่ต่างกันตรงที่กล้อง DSLR มีกระจกสะท้อนภาพทำให้ ขนาดของกล้องใหญ่เทอะทะ
4. กล้องชนิดพิเศษ เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้านที่แตกต่างจากกล้องทั้ง 3 ประเภทที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น กล้องถ่ายภาพใต้น้ำ กล้องถ่ายภาพ ทางอากาศ กล้องทิวทัศนียภาพ หรือพาโนรามา กล้องดักถ่ายภาพ สัตว์ป่า

องค์ประกอบของการถ่ายภาพ
- รูปทรง ในการถ่ายภาพ ช่างภาพควรพิจารณาเลือกวัตถุที่มีรูปทรงเด่น ชัดเจนกว่าส่วนอื่น ๆ เพื่อนำมาเป็นจุดสนใจของภาพ
- รูปร่าง สามารถแยกแยะสิ่งนั้นให้เด่นชัดจากฉากหลัง ช่วยให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ สะดุดตา และแสดง อารมณ์ความรู้สึกได้ดีถึงแม้จะไม่มีมิติความลึกหนาก็ตาม
- รูปแบบ หรือเรียกว่า “ภาพแบบซ้ำซ้อน” ซึ่งหมายถึงลักษณะรูปร่าง รูปทรง เส้น รวมถึงสิ่งที่ปรากฏซ้ำซ้อน เหมือนกันมากๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องกัน หรือเรียงกันไปตามลำดับ ซึ่งจะพบเห็นได้ทั่วไปทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีขึ้นเองตามธรรมชาติ
- พื้นผิว วัตถุสิ่งของแต่ละอย่างจะมีผิวเรียบมัน หยาบ หรือมีลวดลายและสีสันที่แตกต่างกันออกไป
- ความสมดุล การจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ เมื่อแบ่งภาพออกเป็นด้านซ้ายด้านขวาให้มีน้ำหนักเท่ากัน หรือใกล้เคียงกันทั้งสองด้าน มองดูแล้วสมดุลไม่เอียงหรือหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง
- กรอบ การจัดองค์ประกอบภาพ เป็นการใส่ตั้งแต่ตอนถ่ายภาพ โดยการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ลักษณะเส้น ลวดลาย หรือแม้แต่แสง มาทำให้เกิดเป็นกรอบภาพ
- น้ำหนักสี น้ำหนักสีหรือโทนสีในทางศิลปะจำแนกตามวงล้อของสีออกได้เป็น 2 วรรณะ ได้แก่ สีโทนร้อน (Warm Tone) และสีโทนเย็น (Cool Tone)
- ฉากหน้า ฉากหลัง หมายถึง ส่วนประกอบในภาพที่อยู่ด้านหน้าตัวแบบ หรือวัตถุสถานที่ที่เป็นจุดสนใจหลักของภาพ เช่น กิ่งไม้ยอดหญ้า โขดหิน หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้อง
- กฎ 3 ส่วน “สามส่วน” หมายถึง การแบ่งพื้นที่ของภาพที่มอง เห็นออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน ผลจากการมีเส้นแบ่งทั้งแนวนอนและแนวตั้ง จะทำให้พื้นที่ทั้งหมดของภาพมีลักษณะเป็นเหมือนตาราง 9 ช่อง และเกิดจุดตัด 4 จุด ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุด
- ช่องว่าง เป็นองค์ประกอบที่มักใช้ร่วมกับกฎสามส่วน หลักการเกี่ยวกับช่องว่าง คือ การเว้นพื้นที่ว่างบริเวณรอบข้างให้กับจุดสนใจ
- เส้นและความลึก “เส้น” เกิดจากการเรียงตัวต่อเนื่องกันของจุด ตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป จนมองเห็นเป็นเส้น ช่างภาพนิยมใช้เส้น เพื่อสร้างความแปลกใหม่ดึงดูดความสนใจให้กับภาพ

เทคนิคการถ่ายภาพต่างๆ
- การถ่ายภาพบุคคล
- จัดท่าทางให้เป็นธรรมชาติ
- เตรียมเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยงามเหมาะกับแบบ
- หลีกเลี่ยงฉากหลังที่มาแย่งความสนใจของบุคคล
- เลนส์ที่เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล คือ เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสคงที่ขนาด 50 มม. และ 85 มม. เพราะจะให้ ได้สัดส่วนของบุคคลที่ถูกต้อง
- พยายามหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพในตอนเที่ยงวัน เพราะแสงแรงทำให้เกิดเงาใต้ตา ไม่สวยงาม
- ภาพเด็กควรเน้นที่แววตา โดยย่อตัวลงมาถ่ายในระดับเดียวกับสายตาเด็ก เพื่อให้เห็นแววตาที่สดใสไร้เดียงสาของเด็ก

2. การถ่ายภาพสัตว์
- ควรศึกษานิสัยของสัตว์ที่ต้องการถ่าย เพื่อจะได้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของมัน และสามารถวางแผนการถ่ายภาพได้อย่างรอบคอบ เช่น สัตว์ชนิดนี้ชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงต้องใช้ความไวชัตเตอร์สูง
- ควรตั้งกล้องในระดับที่มองเห็นสายตาของสัตว์ แสงในแววตาจะช่วยดูน่ารัก น่าเอ็นดู มีชีวิตชีวาและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- การถ่ายภาพนกและสัตว์ป่า ควรใช้เลนส์ถ่ายภาพระยะไกลและขาตั้งกล้อง เนื่องจากต้องถ่ายจากระยะที่ห่างจากสัตว์มาก ๆ เพื่อไม่ให้สัตว์ตกใจ
- การถ่ายภาพสัตว์ในสวนสัตว์ หากถ่ายผ่านกรงให้ตั้งช่องรับแสงกว้างมาก ๆ เพื่อให้ได้ภาพชัดตื้น แต่หากถ่ายภาพในสวนสัตว์เปิดก็จะไม่มีปัญหาเรื่องกรง แต่จะมีปัญหาเรื่องระยะห่างระหว่างสัตว์กับช่างภาพแทน

3. การถ่ายภาพดอกไม้และแมลง เวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้า เพราะพืชหรือดอกไม้จะสดชื่น มีน้ำค้างเกาะ หากเป็นดอกไม้ ควรเน้นดอกไม้เพียง 1-2 ดอก
4. การถ่ายภาพทิวทัศน์ สิ่งสำคัญอันดับแรกในการถ่ายภาพทิวทัศน์และสถาปัตยกรรม คือ การเลือกจุดสนใจในบริเวณทั้งหมดเสียก่อน โดยใช้สายตามองเพื่อหาสิ่งที่เด่นและน่าสนใจที่สุด
5. การถ่ายภาพกลางคืน ต้องการบรรยากาศเหมือนจริง ไม่นิยมใช้แฟลชในการถ่าย เพราะการถ่ายภาพในสภาพแสงที่น้อย ต้องใช้ความไวชัตเตอร์ที่ต่ำมาก

6. การถ่ายภาพเทคนิคสร้างสรรค์
- ภาพหลอกตา โดยการใช้มุมกล้องในการสร้างมุมมองที่แปลกตาตามจินตนาการของช่างภาพ และใช้ช่องรับแสงที่แคบเพื่อให้ภาพมีความชัดลึก ทำให้ทั้งสิ่งที่อยู่ใกล้หรือที่อยู่ไกลมีความคมชัดเท่ากัน จนดูเหมือนของในระนาบเดียวกัน
- ภาพซ้อน เป็นเทคนิคที่นิยมถ่ายในยุคของกล้องฟิล์ม โดยการถ่ายซ้อนลงไปในฟิล์มเฟรมเดียวกัน ส่วนกล้องดิจิทัลก็สามารถถ่ายภาพซ้อนได้โดยใช้โหมด Double Exposure หรือ Multiple Exposure หรือไม่ก็ใช้การปรับแต่งด้วยโปรแกรมแต่งภาพของกล้อง เพื่อให้ได้ภาพในลักษณะซ้อนกัน
- การสร้างโบเก้ โบเก้แปลว่าเบลอ ซึ่งหมายถึงลักษณะของประกายแสงเบลอๆ ที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงต่าง ๆ เมื่อใช้การถ่ายภาพในลักษณะชัดตื้น
- การวาดด้วยแสงไฟ เป็นการใช้แสงสว่างจากวัตถุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไฟฉาย ธูป หรือแม้กระทั่งไฟตกแต่งในท้องถนนสร้างลวดลายต่าง ๆ โดยในการถ่ายภาพจะใช้ชัตเตอร์B หรือตั้งเวลาเปิดปิดชัตเตอร์เป็นเวลานาน จากนั้นวาดลาย เส้นที่ต้องการด้วยแสงไฟดังกล่าว
- เทคนิคการซูมเข้า ซูมออก หรือที่นิยมเรียกว่า “ระเบิดซูม” เป็นการสร้างความแปลกตาให้กับภาพวิธีหนึ่งที่ไม่ยุ่งยาก
- เทคนิค stop Action โดยการใช้ความไวชัตเตอร์สูง (อย่างน้อย 1/250 ขึ้นไป) เพื่อให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวในภาพมีอาการหยุดนิ่ง
- เทคนิคแพนกล้อง ขึ้นอยู่กับความเร็วของสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหว วัตถุเคลื่อนที่เร็วมากก็ใช้ความไว ชัตเตอร์สูงขึ้น วัตถุเคลื่อนที่ช้าก็ใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำลง
ที่มา https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:KMITL+KMITL001+2017/course/
ผศ.ดร.ณัฐกร สงคราม
ดร.กุลชัย กุลตวนิ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากการได้เรียนรู้ การถ่ายภาพเบื้องต้นแล้ว คิดว่าได้ประโยชน์ดังนี้
1. ได้เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพ
2. การถ่ายภาพแต่ละสิ่ง แต่ละวัสดุ แต่ละคน แต่ละตัว ต้องเรียนรู้ศึกษาสิ่งๆ นั้นด้วย เพื่อการถ่ายภาพที่สวยงาม
3. ก่อนจะกดชัตเตอร์ต้องดูองค์ประกอบของภาพที่จะถ่ายก่อนว่า สวยงาม สมดุลแล้วหรือยัง
4. ได้เรียนรู้ความไวชัตเตอร์ แสง ถึงแม้กล้องสมัยนี้จะอัตโนมัติแล้ว แต่ก็ยังใช้ความรู้นี้ได้อยู่
5. ได้รู้ถึงการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe