ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มวล.
สำนักงานสีเขียว
หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ “สำนักงานสีเขียว (Green office) “ ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรม
ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์ 3.1 การใช้น้ำ

       สํานักงานมีการใช้พลังงานหลายรูปแบบและที่ขาดไม่ได้คือการใช้ทรัพยากรนํ้า เพื่อมาใช้ในการอุปโภคและบริโภค ดังนั้นทางสํานักงานจะต้องปลูกฝังในการใช้อย่างรู้คุณค่า ประหยัดและมีการควบคุมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแต่ละกิจกรรม โดยกําหนดมาตรการในการใช้ทรัพยากรนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องเก็บข้อมูลการใช้นํ้าเป็นประจําอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้ทรัพยากรนํ้า
        การกำหนดมาตรการการใช้น้ำในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ให้บริการเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในการใช้น้ำและสื่อสารให้พนักงานทราบและช่วยกันประหยัดน้ำ โดยติดป้ายรณรงค์และมาตรการการใช้น้ำในบริเวณหน้าห้องน้ำ ในห้องน้ำ ก๊อกน้ำ ครัว และมีการสื่อสารผ่านช่องทางป้ายอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือเวียน หน้าเพจ facebook และหน้าเว็บไซต์ มีการกำหนดเวลาในการใช้น้ำตามเวลาเปิดปิดของสำนักงาน และมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดในห้องน้ำ โดยแจ้งข้อมูลไปที่ส่วนบริการกลาง (ของมหาวิทยาลัย) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมอุปกรณ์ 

มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำให้เหมาะสมกับสำนักงาน โดยมีการกำหนดมาตรการการใช้น้ำ และมีผู้รับผิดชอบประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลการใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน จากผลการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ปรากฎผลการใช้น้ำในปี 2560-2562 ดังนี้
มีการใช้น้ำ 4,543 ลิตร
 จำนวนผู้ใช้ 93,666 คน

การใช้น้ำต่อคน

ปี 2560

มีการใช้น้ำ 9,213 ลิตร  
จำนวนผู้ใช้ 260,684 คน

9,213/260,684

การใช้น้ำเฉลี่ยลิตร/คน/วัน

0.22

ปี 2561

มีการใช้น้ำ 9,315 ลิตร
 จำนวนผู้ใช้ 159,409 คน

9,315/159,409

การใช้น้ำเฉลี่ยลิตร/คน/วัน

0.40

ปี 2562

มีการใช้น้ำ 4,543 ลิตร
 จำนวนผู้ใช้ 93,666 คน

4,534/93,666

การใช้น้ำเฉลี่ยลิตร/คน/วัน

0.64

 การใช้น้ำของบุคลากร เปรียบเทียบจากปี 2560-2562 ปรากฎว่ามีการใช้น้ำไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เนื่องจาก อาคารบรรณสารมีการเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูงแบบ Magnetic Bearing พร้อมหอระบายความร้อนด้วยน้ำทดแทนของเดิม  และติดตั้งโอโซนสำหรับหอระบายความร้อนด้วยน้ำ ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบ (VSD) สำหรับปั้มน้ำเย็น เครื่องส่งลมเย็น  มอเตอร์เติมอากาศพร้อม DO Sensor ที่บ่อบำบัดน้ำเสีย และปั้มสูบจ่ายน้ำเข้าระบบท่อ ที่อาคารโรงผลิตน้ำประปา  และติดตั้งโปรแกรมบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า และควบคุม Peak Demand อาคารศูนย์บรรณสารฯ  เมื่อเดือนกรกฏาคม 2561 ซึ่งจะส่งผลการต่อปริมาณการใช้น้ำในสำนักงานสูงขึ้น  
ที่มา : https://www.wu.ac.th/th/news/14058
3.1 การใช้น้ำ
หมวด/ตัวชี้วัดหลักฐานการดำเนินการ
1.ร้อยละของมาตรการการใช้น้ำเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วยการสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ การกำหนดเวลาการใช้น้ำ การกำหนดรูปแบบการใช้น้ำ กและการเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำตารางสำรวจน้ำ

ตารางสำรวจน้ำ_พื้นที่ชั้น 1

ตารางสำรวจน้ำ_พื้นที่ชั้น 2

มาตรการน้ำประปามาตรการการใช้น้ำ
2. มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายสถิติการใช้น้ำปี2559-2562-LASTEST
3. ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)ตารางสำรวจน้ำ
ตารางสำรวจน้ำ_พื้นที่ชั้น 1ตารางสำรวจน้ำ_พื้นที่ชั้น 2
การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
IMG_20190529_080850
รดต้นไม้
น้ำที่พนักงานดื่มไม่หมด นำมารดต้นไม้ในสวนหย่อมภายในอาคาร

 

ผนึกสติ๊กเกอร์
น้ำที่ดื่มไม่หมด นำมาผสมกับน้ำยา เพื่อผนึกสตื๊กเกอร์ ทำให้สามารถไล่ฟองอากาศ และเรียบได้
หล่อเลี้ยงต้นไม้รอบอาคาร
น้ำทิ้งที่เกิดจากเครื่องดูดความชื้นทำงาน มีการต่อท่อน้ำทิ้งให้ไปรดต้นไม้ที่ปลูกไว้รอบนอกอาคาร 
ท่อจากน้ำทิ้งจากเครื่องดูดความชื้น

เกณฑ์ 3.2 การใช้พลังงาน

       สํานักงานมีการใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง  และการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสำนักงาน แต่จะใช้มากใช้น้อยขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม ดังนั้น ทางสำนักงานจะต้องกำหนดมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด ปิด การติดป้ายรณรงค์ เป็นต้น  และทางสำนักงานจะต้องเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว ทั้งนี้ทางสำนักงานจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ตามมาตรการของสำนักงานด้วย

3.2 การใช้พลังงาน

1. มาตรการใช้ไฟฟ้า ได้แก่ การสร้่างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า โดยการสื่อสารให้พนักงานทราบเพื่อช่วยสร้างนิสัยประหยัดพลังงานโดยการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำสติ๊กเกอร์ประหยัดพลังงานต่าง ๆ ภายในสำนักงาน  เพื่อช่วยให้เกิดความตระหนัก  เช่น มีการกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้าดังนี้
          1)  ลดชั่วโมงการทำงานของระบบปรับอากาศและระบายอากาศบริเวณโซนทำงาน  โดยเปิดเครื่องปรับอากาศเวลา  9.00 น. และปิดเวลา 16.00 น. (โซนให้บริการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศก่อนให้บริการและหลังให้บริการครึ่งชั่วโมงยกเว้นกรณีมีเหตุจำเป็น)                                                                                                                                         2) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการผู้ใช้บริการทุกเครื่องเซ็ตให้มีการพักหน้าจอทุก ๆ 15 นาที                                       3) ปิดไฟปิดเครื่องปรับอากาศ (โซนทำงาน) ตอนพักเที่ยง เวลา 12.00 – 13.00 น.                                                   4) ปิดสวิตซ์เครื่องพิมพ์เมื่อไม่มีการใช้งานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมงและปิดในเวลาพักเที่ยงเวลา 12.00–13.00 น.

2. มีการกำหนดรูปแบบการใช้ไฟฟ้า เช่น วางแนวปฏิบัติกันว่าพนักงานจะไม่นำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช่้ส่วนตัว ได้แก่ กระติกน้ำร้อน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ และให้ใช้อุปกรณ์ส่วนกลางแทน และให้ปฏิบัติกันให้เหมือนกันทั้งสำนักงาน พบว่าพนักงานมีการปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักงานเป็นส่วนใหญ่
3. มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้มีการเปลี่ยนจากหลอด        ฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดประหยัดไฟ LED จำนวน 1,950 หลอด เมื่อปี 2559
 มีการจัดทำข้อมูลและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องทุกเดือน จากผลการเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ตั้งแต่ปี 2560-2562 ปรากฎผลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดังนี้
การใช้พลังงานไฟฟ้าต่อคน

ปี 2560

การใช้ไฟเฉลี่ย/คน

11.22

ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (บาท/หน่วย)

3.55

ปี 2561

การใช้ไฟเฉลี่ย/คน

18.38

ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (บาท/หน่วย)

3.67

ปี 2562

การใช้ไฟเฉลี่ย/คน

43.95

ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (บาท/หน่วย)

5.63

นอกจากนี้ยังมีการจัดทำข้อมูลและเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างและรถขนอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์มาอย่างต่อเนื่องทุกดือน จากผลการเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ตั้งแต่ปี 2561-2562 ปรากฎผลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดังนี้
3.2 การใช้พลังงาน
หมวด/ตัวชี้วัดหลักฐานการดำเนินการ
1.ร้อยละของมาตรการการใช้ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วยการสร้างความตระหนักในการรใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาการรใช้ไฟฟ้า การกำหนดรูปแบบการรใช้ไฟฟ้า และการเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้ามาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
2. มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากปี 60 - 62 ของศูนย์บรรณสารฯ
3. ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงานศูนย์บรรณสารฯ

ตารางสำรวจไฟฟ้า
4. การจัดการและรณรงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง เช่น การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การวางแผนการเดินทาง การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ และการใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงานมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงานศูนย์บรรณสารฯ

ตารางสำรวจไฟฟ้า
5. ข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากปี 60 - 62 ของศูนย์บรรณสารฯ
มีการจัดการและรณรงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง มีการดำเนินการคือ
1) มีการสื่อสารผ่าน facebook ในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง 
2) วางแผนในการเดินทางภายนอกมหาวิทยาลัยของพนักงาน เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่หรือ อบรม สัมมนาตามที่ได้รับมอบหมาย  จะต้องดำเนินการขอรถของมหาวิทยาลัยตามวัน และเวลาที่หน่วยงานเจ้าของกำหนด คืออย่างน้อยต้องขอรถล่วงหน้า 2 วันก่อนเดินทาง
3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ รถที่ใช้ภายในสำนักงาน ได้แก่ รถสำหรับขนอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และรถจักรยานยนต์พ่วงข้างสำหรับขนเอกสาร มีการตรวจสภาพให้ใช้งานได้ดีเสมอ เช่น ตรวจสอบลมยางและน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และไส้กรองอากาศตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งแ มีการซ่อมแซมและบำรุงรักษาตามแผนที่กำหนดไว้ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ ส่วนพัสดุ/ส่วนอาคารสถานที่
4) มีการส่งเสริมการใช้รถจักรยาน และรถไฟฟ้าในการเดินทางติดต่อประสานงาน ประชุม อบรมระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย และเน้นให้เดินทางจากบ้านมาสำนักงานด้วยรถรับ-ส่งของมหาวิทยาลัย  รวมถึงพนักงานมีการเดินทางด้วยกันระหว่างบ้านและสำนักงาน และสำนักงานและบ้าน 
จักรยาน_พี่เฉ่ง
การใช้พลังงานทดแทน
การใช้โซลาร์เซลล์แทนไฟฟ้า
การติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์ สำหรับไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณลานจอดรถและทางเดินด้านนอกอาคาร    เพื่อลดการใช้พลังานและลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยทางเดิน (ติดตั้ง 5 เสา ลดได้ 132 บาทต่อเดือน  เฉลี่ย 26 บาทต่อเสาต่อเดือน (26 บาท : เสา/เดือน132 บาท/เดือน
การติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง บริเวณลานจอดรถอาคารบรรณสาร (9 หลอด) ลดค่าไฟฟ้าได้เฉลี่ย 240 บาทต่อเดือน 
จากการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ เดือนละ 132 + 240 = 372 บาท ดำเนินการมาตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2557 จนถึงปัจจุบัน สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้เป็นเงิน 21,240 บาท 

เกณฑ์ 3.3 การใช้ทรัพยากรอื่น ๆ

พลังงานและทรัพยากรมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินการภายในสำนักงาน ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรอีกหลายประเภท ได้แก่ กระดาษ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน และอุปกรณ์สำนักงาน ซ่ึ่งทรัพยากรดังกล่าวมีความสำคัญต่อกิจกรรมในสำนักงาน และที่สำคัญมีการใช้ปริมาณมากในแต่ละวัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดแนวทางการใช้ทรัพยากรดังกล่าวอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

3.3 การใช้ทรัพยากรอื่นๆ

มีการใช้กระดาษในการปฏิบัติงาน การประชุมในสำนักงานอย่างเหมาะสม ประกอบด้วย

1) มีการสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ โดยมีการใช้กระดาษอย่างประหยัด  และให้ใช้กระดาษสองหน้าก่อนกระดาษใหม่ 
2) การจัดพิมพ์เอกสารให้ใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น และเป็นอันดับรองจากการจัดพิมพ์แบบอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมการประชุมแบบ e-Meeting และหากต้องกระดาษให้ใช้กระดาษหน้าเดียวเป็นลำดับแรก ยกเว้นเป็นเอกสารที่เป็นทางการจึงจะใช้กระดาษใหม่ และในการจัดพิมพ์ให้ใช้เครื่องพิมพ์ของบริษัท RiCoh ที่เก็บสถิติการสั่งพิมพ์ได้จากการเข้าใช้งาน  แต่หากต้องใช้เครื่องพิมพ์เฉพาะของส่วนงานใด  ให้เขียนรายละเอียด เพื่อให้จัดเก็บสถิติได้ครบถ้วน
3) หากต้องการจัดพิมพ์หรือนำเสนอเอกสาร ให้เลือกใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับแรก  และหากต้องใช้ไฟล์ร่วมกัน (Share) ให้จัดเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย 192.168.41.40 หรือใช้การจัดการเอกสารด้วยผลิตภัณฑ์ของ Google  
4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ เป็นนโยบายของสำนักงานที่จะต้องใช้กระดาษที่ใช้แล้วหน้าเดียวเป็นอันดับแรกในการพิมพ์เอกสาร

            มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือต้องลดลงร้อยละ 5 ผลปรากฎว่าพนักงานมีการใช้กระดาษต่อคนต่อหน่วย โดยในปี 2561 มีการใช้กระดาษทั้งหมด 24,851 แผ่น (ใช้กระดาษคนละ 469 แผ่น) และในปี 2562 มีการกระดาษทั้งหมด 16,003 แผ่น (ใช้กระดาษคนละ 302 แผ่น) ลดลงร้อยละ 35.60 

มีการจัดทำมาตรการการใช้อุปกรณ์สำนักงาน ได้แก่ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ให้เหมาะสมกับสำนักงาน และมีการสร้างความตระหนักในการใช้ ดังนี้ 
1.  ลดการใช้กระดาษโดยใช้ Google drive ในการจัดเก็บเอกสาร  ใช้ Line แจ้งข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรม  ใช้ระบบ eoffice ในการรับ-ส่งเอกสาร/ระบบ emeeting ในการประชุม  
2. เอกสารเก่าที่ไม่ใช้งาน คัดแยกใส่กล่อง นำกระดาษมาใช้งาน  ใช้กระดาษขนาดเล็กในการส่งเอกสารทางโทรสาร ซองเอกสารนำกลับมาส่งต่อได้อีก
3.   การพิมพ์ (Print) เอกสารสำหรับการตรวจสอบใช้กระดาษหน้าเดียว และลดความละเอียดของหมึก  และใช้เครื่องพิมพ์ส่วนกลางร่วมกัน
4.  ออกแบบสื่อ/เอกสาร ประหยัดหมึกพิมพ์โดยการลดความละเอียดในไฟล์ข้อมูลให้ถูกต้องก่อนทำการพิมพ์ 5. อุปกรณ์สำนักงานที่ไม่ได้ใช้บ่อย ให้ใช้ร่วมกันและลดการเบิกจากส่วนพัสดุ ในลักษณะของ Stationary ส่วนกลางแต่ละงาน 
6. การเบิกใช้อุปกรณ์สำนักงาน เบิกมาแล้วควรเก็บรักษาให้ดีป้องกันการสูญหาย และขอเบิกใหม่ควรมีซากเก่าคืนตอนขอเบิกใหม่        และควรเบิกเฉพาะวัสดุที่จําเป็น
7. กําหนดความถี่ในการเบิกอุปกรณ์สํานักงาน เดือนละ 2 ครั้ง 
และมีการเบิกวัสดุสำนักงาน หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ จำนวนเงินทั้งสิ้น 11,679.84 บาท และเมื่อแยกเป็นฝ่าย/งาน ฝ่ายบริหารทั่วไปเบิกใช้มากที่สุด รองลงมาคือ งานบริการผู้ใช้ ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา และงานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และงานที่ใช้กระดาษน้อยที่สุดคือ งานผลิตเอกสาร ฝ่ายสนับสนุนการศึกษา

 

3.3 การใช้ทรัพยากรอื่น ๆ
หมวด/ตัวชี้วัดหลักฐานการดำเนินการ
1.ร้อยละมาตรการการใช้กระดาษเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย การสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ การกำหนดเวลาการใช้กระดาษ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่มาตรการทรัพยากรอื่น
2. มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษอหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายเปรียบเทียบสถิติเครื่องถ่ายเอกสาร-CLM-2561 2562
สถิติเครื่องถ่ายเอกสาร-CLM-2561สถิติเครื่องถ่ายเอกสาร-CLM-2562
3. ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
4. ร้อยละมาตรการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์เหมาะสมกับสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย การสร้างความตระหนักในการใช้ การกำหนดรูปแบบการใช้ และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สถิติวัสดุสำนักงาน คิดแยกฝ่ายงาน
สถิติวัสดุสำนักงานสถิติวัสดุสำนักงาน แยกตามประเภท
4. ร้อยละของการดำเนินการตามมาตรการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

เกณฑ์ 3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ

       สํานักงานจะต้องมีการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องทางด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดประชุมและนิทรรศการทุกครั้ง โดยจะต้องคำนึงถึงการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การลดปริมาณของเสีย การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการจัดประชุมและนิทรรศการ เป็นต้น นอกจากนี้หากมีการจัดประชุมหรือนิทรรศการนอกสถานที่ จะต้องพิจารณาถึงสถานที่จัดงาน ถึงความสามารถในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม หรือสถานที่ดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 มาตรฐานใบไม้เขียว เป็นต้น

3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ

การจัดประชุมของสำนักงานทุกการประชุม จะเน้นการลดกระดาษ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดทำหรือนำเสนอเอกสาร  ดังนี้
1) ใช้ระบบการประชุม โดยผ่านระบบ E-meeting (emeeting.wu.ac.th) 
2) ใช้ QR Code แทนเนื้อหรือที่จัดเก็บเอกสาร 
3) ส่งรายงานการประชุมโดยผ่านอีเมล์ และ facebook, LINE
4) การจัดเก็บและนำเอกสารมาใช้จากเครื่องแม่ข่าย 192.168.41.40 และจาก google drive ของตนเอง
การจัดการประชุมและนิทรรศการมีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดการใช้กระดาษโดยใช้เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษ  และขอความร่วมมือให้จัดรูปแบบอาหารว่างและอาหารกลางวันใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะ
แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การประชุมผ่านระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ WU e-meeting
ช่องทางการเผยแพร่เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประชุม เผยแพร่ผ่าน Social Network และเครืองแม่ข่าย 192.168.41.40

การจัดเก็บเอกสารประชุมในเครื่องแม่ข่าย 192.168.41.40

หมวด/ตัวชี้วัดหลักฐานการดำเนินการ
3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ
1.ร้อยละมาตรการการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, intranet เป็นต้น
2. การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร-พลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการดังนี้
1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุม เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม หรือจัดนิทรรศการ
2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้องลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การจัดนิทรรศการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
62230115_370860896892025_6596108681824174080_n
เครื่องพิมพ์
ในการจัดพิมพ์นิทรรศการใช้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ Roland
นิทรรศการสีเขียว
จัดนิทรรศการโดยใช้ผ้าด้ายดิบ และระบายสีด้วยสีน้ำมัน Oil Pastels ยี่ห้อ pentels ซึ่งเป็นสีที่เป็นมิตรกับ         สิ่งแวดล้อม และใช้เศษผ้าซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาประดับตกแต่งนิทรรศการ
การใช้พลังงานทดแทน
การใช้โซลาร์เซลล์แทนไฟฟ้า
การติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์ สำหรับไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณลานจอดรถและทางเดินด้านนอกอาคาร    เพื่อลดการใช้พลังานและลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยทางเดิน (ติดตั้ง 5 เสา ลดได้ 132 บาทต่อเดือน  เฉลี่ย 26 บาทต่อเสาต่อเดือน (26 บาท : เสา/เดือน132 บาท/เดือน
การติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง บริเวณลานจอดรถอาคารบรรณสาร (9 หลอด) ลดค่าไฟฟ้าได้เฉลี่ย 240 บาทต่อเดือน 
จากการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ เดือนละ 132 + 240 = 372 บาท ดำเนินการมาตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2557 จนถึงปัจจุบัน สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้เป็นเงิน 21,240 บาท 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.