ชวนอ่าน เพราะความรู้เกิดขึ้นง่ายจากการอ่าน
Content for Longlife Learning

      หนังสือ “5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น ฉลาดแบบไม่ต้องพึ่งใคร”  มา ชวนอ่าน ดูว่าอะไรคือความลับที่ทำให้คนญี่ปุ่นสามารถผงาดขึั้นมาอยู่แถวหน้าของโลกได้ เขามีอะไรจึงประสบผลสำเร็จได้ขนาดนี้  ต้องอ่านดู เรื่องนี้เป็นการเผยความลับที่จะทำให้เราหัวดีได้ โดยใช้เวลาไม่มาก แนะนำจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่บอกเล่าถึงหลักคิด กระบวนการและผลที่ได้อย่างละเอียด ที่เรา ๆ สามารถทำตามได้ 

     หลักคิดทั้ง 5 นี้ เมื่ออ่านแล้ว เข้าใจได้ไม่ยากเกินไปสามารถทำตามได้  คิดว่าน่าจะเป็นหนังสืออีกเล่มที่เหมาะสำหรับยุคนี้ที่่มีการแข่งขันกันมาก

         ผู้เขียน คือ “ฮิเดโนริ ชิบาโมโตะ” เคยเป็นเด็กหลังห้องแถมสอบตกซ้ำซากสามารถพัฒนาตัวเองจนกลายเป็นนักเขียนโปรแกรมมือฉมัง และเป็นถึง CEO ของบริษัทที่ปรึกษาชื่อดังในญี่ปุ่นด้วยเทคนิคลับพิเศษใน “การคิด” ซึ่งเกิดจากศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการอ่าน การซักถาม การสังเกต แล้วนำมาขบคิด หลังจากนั้นจึงมือทำ และทำอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นคนเก่งได้ หมายถึงว่า  หากเราเข้าใจเรื่องรอบตัวได้ลึกซึ้งและรวดเร็วได้ทุกเรื่อง เราจะเป็นคนฉลาด โดยไม่ต้องพึ่งพาใครได้เลย

          เขาได้บอกเล่าตั้งแต่เรื่อง “การคิด”  เพราะเรามีทักษะการคิดติดตัว จะทำให้เรามีข้อถกเถียงใหม่ ๆ และเข้าใจช่องโหว่ของข้อถกเถียง ให้คำแนะนำไ้ด  สอนงานเป็น และนำเสนองานให้คนเข้าใจง่าย ทำค่มือที่คนอ่านและทำตามได้ง่าย   เพราะสิ่งที่สำคัญในทำธุรกิจหรือทำงาน คือ การมองเห็นในสิ่งที่เป็นมโนทัศน์ หรือ concept หรือทักษะเชิงมโนทัศน์ ซึ่งก้อคือความสามารถในการรับมือกับสิ่งไร้รูปร่างให้เหมือนเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง โดยผู้กระทำจะแสดงออกมาในรูปแบบของภาษา ซึ่งยุคนีี้มีความจำเป็นและเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพราะอาจจจะส่งผลต่อ “ช่วงเปลี่ยนผ่านในอาชีพ” หรือช่องว่างระหว่างตำแหน่งงานในองค์กรนั้นๆ และทักษะเชิงมโนทัศน์ เป็นสิ่งต้องการมากในตำแหน่งหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนก

5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น

          โดยการแก้ไขปัญหากับทักษะการคิดทั้ง 5  การคิดอย่างรอบคอบ หมายความว่่า เป็นการคิดอย่างลึกซึ้งโดยเลือกทักษะการคิดที่เหมาะสมกับเป้าหมายและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการตระหนัก และเข้าใจ สถานการณ์ตรงหน้าที่เกิดขึ้น แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร  อาจจะใช้วงจาก “STPD” ในการช่วยแก้ปัญหา วงจรนี้จะช่วยบอกความสำคัญของการมองสถานการณ์ตรงหน้าให้เราได้รู้

5 ทักษะ การคิดฉบับญี่ปุ่น​
5 ทักษะ การคิดฉบับญี่ปุ่น​
แผนภาพขั้นตอนการแก้ไขปัญหาพร้อมเครื่องมือ และทักษะการคิดที่ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอน

มาดูกันว่า 5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น  มีอะไรบ้าง

  • การเปลี่ยนความคิดให้เป็นคำพูด
  • การเชื่อมโยง (ความสัมพันธ์)
  • การทำให้เป็นโครงสร้าง
  • การดึงใจความสำคัญ
  • การขึ้นลงบันไดที่มองไม่เห็น

    การเปลี่ยนความคิดให้เป็นคำพูด มีวิธีการฝึกฝน คือ ลองคิดว่าปกติแล้วตัวเองทำอะไร  คิดถึงสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งนั้น (คำตรงข้าม) และหาข้อแตกต่างจากคำใกล้เคียง

    ทักษะการเชื่อมโยง   หมายถึงการคิดด้วยเหตุและผล ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เรื่องใดก็ตาม ซึ่งเหตุผลในที่นี้คือ ความสัมพันธ์

5 ทักษะ การคิดฉบับญี่ปุ่น​

ทักษะด้านโครงสร้าง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์  สถานการณ์ตรงหน้ามีโครงสร้างอยู่เบื้องหลังเสมอ เมื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ก็จะเห็นโครงสร้าง และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจะทำให้เราแก้ปัญหา   เราอาจจะใช้ “แผนผังก้างปลา” หรือ Ishikawa Diagram มาช่วยมาในการแก้ปัญหา หรืออาจจะใช้วิธีการปรับเปลี่ยน Input กับ Output ให้อยู่ในรูปของโครงสร้าง ก็ได้

5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น ทักษะการดึงใจความสำคัญ  หรือเรียกว่า การคิดรวบยอด หมายถึงการรับรู้หรือมองสิ่งที่ต่างกันให้เป็นสิ่งที่เหมือนกัน เช่น สุนัข แมว และมนุษย์เป็นสิ่งที่ต่างกัน แต่ถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน

        เราจะดึงใจความสำคัญหรือความคิดรวบยอดได้ ก็ต่อเมื่อรู้จัก “เพิกเฉยต่อความแตกต่าง” ได้นั่นเอง 

5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น  ทักษะการขึ้นลงบันไดที่มองไม่เห็น เป็นความสามารถในการบูรณาการ ทักษะนี้เป็นการคิดเกี่ยวกับระดับนามธรรม ระดับความอิสระ และขอบเขตของการนำไปใช้  เนื่องจากนามธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้ แต่ทุกคนต้องสื่อสารและรับส่งสิ่งไร้รูปร่างอยู่เสมอ 

       หวังว่าเมื่อคุณได้อ่าน 5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น เล่มนี้แล้ว คงจะช่วยให้เราคิดหรือทำได้ เพราะหากเราคิดได้ครบทั้ง 5 อย่างแล้ว คือมีทักษะการเปลี่ยนความคิดให้เป็นคำพูด ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะด้านโครงสร้าง การดึงความสำคัญ ทั้งหมดนี้แล้ว ก็จะสามารถบูรณาการได้และมีทักษะการขึ้นลงบันไดที่มองไม่เห็น ซี่งเป็นทักษะของการผสมผสานหรือบูรณาการทั้งหมดมาใช้  คุณสามารถทำได้อย่างแน่นอน

เนื้อหาในเล่ม

เรื่องกังวลของทุกคน

* ลักษณะเฉพาะของคนที่คิดไม่รอบคอบ * อย่าคล้อยตามสิ่งที่มองเห็น * ทักษะคืออะไร? * ทักษะเชิงมโนทัศน์คืออะไร? * ยุคที่ทักษะเชิงมโนทัศน์เป็นที่ต้องการมากกว่าเดิม * ช่วงคับขันในอาชีพการงานของทุกคน * คนญี่ปุ่นกับสิ่งนามธรรม * องค์ประกอบสำคัญในทักษะเชิงมโนทัศน์ * “ชูฮาริ” * แบบแผนในชูฮาริ * “เฟรมเวิร์ก” * ภาระหน้าที่เพื่อการเปลี่ยนแปลง ลงมือ

ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา กับ ทักษะการคิดทั้ง 5

* นิยามปัญหา * เข้าใจสถานการณ์ตรงหน้า * วิเคราะห์สาเหตุ * ออกมาตรการการแก้ไข * ประเมินมาตรการแก้ไข * วางแผนดำเนินงาน * ลงมือดำเนินงาน * มองย้อนกลับมา * ทักษะการคิดทั้ง 5 * กับดักความคิด

ทักษะการเปลี่ยนความคิดให้เป็นคำพูด

* คุณค่าคืออะไร? * ระวังศัพท์หรู * วิธีฝึกฝนเพื่อเปลี่ยนความคิดให้เป็นคำพูด * นิยาม “การจัดการ” * ความแตกต่างของการจัดการและการควบคุม * นิยามบทบาทของตัวเอง * วาดภาพ * ความแตกต่างของ “ปัญหา” กับ “โจทย์”

ทักษะการเชื่อมโยง

* “ความสัมพันธ์” ที่ใช้ในการทำงาน * ความสัมพันธ์แบบที่ 1 “สาเหตุกับผลลัพธ์” * ความสัมพันธ์แบบที่ 2 “เป้าหมายกับวิธีการ” * การทำงานคือการปรับเปลี่ยนของ “เป้าหมายกับวิธีการ” * ความสัมพันธ์แบบที่ 3 “Input กับ Output” * ความสัมพันธ์แบบที่ 4 “การขยายตัวกับความสมดุล” * ความสัมพันธ์แบบที่ 5 “นามธรรมกับรูปธรรม” และความสัมพันธ์แบบที่ 6 “ภาพรวมกับเฉพาะส่วน” * ทำไมการจัดการโปรเจกต์ถึงยาก?

ทักษะเชิงโครงสร้าง

* เรื่องราวของซิงค์ล้างมือส่งกลิ่นเหม็น * มองปัญหาในด้านโครงสร้าง * ปรับเปลี่ยน Input กับ Output ให้อยู่ในรูปของโครงสร้าง * เขียนกระบวนการทำงานด้วย Process Flow Diagram * นำ Process Flow Diagram มาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย* กระบวนการสร้างที่มีความเห็นชอบร่วมกัน * โครงสร้างของการให้เหตุผล * ตรรกบทที่ใช้ไม่ได้ในการทาธุรกิจ * “ทูลมินโมเดล” ที่ใช้สำหรับอุดช่องโหว่ของตรรกบท * 6 องค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นมาในทูลมินโมเดล * พนักงานใหม่มาสาย เหมาะสมหรือไม่?

สองบทส่งท้าย

บทที่ 6 ทักษะการดึงประเด็นสำคัญ บทที่ 7 ทักษะการขึ้นลงบันไดที่มองไม่เห็น

และคุณสามารถอ่านหนังสือแนวนี้ได้อีกหลายเล่ม

จดโน้ตขั้นเทพเปลี่ยนกระดาษให้เป็นสมองที่สอง
จดโน้ตขั้นเทพเปลี่ยนกระดาษให้เป็นสมองที่สอง
คิดแบบยิว ทำแบบญี่ปุ่น
B2S หลักคิดที่คนญี่ปุ่นพกไปทำงาน

Visits: 318

Facebook Comments

facebook comments