อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม เป็นหนังสืออีก 1 เล่มที่จะช่วยเราให้มี เคล็ดลับการอ่าน หากเรากำลังจะซึมซับข้อมูลใหม่ๆเราจะทำอย่างไรดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพจะทำอย่างไรให้จดจำข้อมูลได้เป็นอย่างดี นี่คือเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ค่ะ และนี่คือเคล็ดลับไม่กี่ข้อที่จะช่วยให้เราเข้าใจและจดจำสิ่งที่กำลังจะเริ่มอ่านได้ดีขึ้น
10 วิธีอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
1. อ่านสารบัญ อาจดูด้วยไร้เหตุผล แต่มันทำให้เราเห็นเค้าโครงเนื้อหาที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจน
2. อ่านหนังสือเล่มนี้เข้าคร่าว ๆ ให้ความสนใจหัวเรื่องกลุ่มคำที่เป็นตัวหนาภาพและแผนภาพ
3. คิดถึงสิ่งที่คุณอยากได้จากหนังสือเล่มนี้ก่อนจะเริ่มอ่าน
4. อ่านบทสรุปท้ายบทของแต่ละบท
5. อ่านหนังสือเล่มนี้ทีละส่วนเล็กๆเช่นทีละบท
6. อย่ายอมรับสิ่งใดทดลองวิธีต่างๆด้วยตัวเอง
7. หลังอ่านจบบทหนึ่งวางหนังสือเล่มนี้ลงก่อนจดคำที่สำคัญและจำได้อย่างรวดเร็ว
8. นำข้อความที่จดไปเทียบกับบทที่เพิ่งอ่านหาส่วนที่อาจตกหล่นไป
9. หลักการวิธีและเทคนิคที่เราอยากนำไปใช้
10. นำไปใช้ได้เลย
ถ้าเราเลิกอ่านหนังสือกันหมดจะเกิดอะไรขึ้น?
สมมุติว่าพวกเราตกลงว่านับจากนี้จะไม่อ่านหนังสืออีกแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นแล้วมันจะส่งผลต่อหน้าที่การงานหรือการเรียนของเราอย่างไร นึกภาพว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหมอของคุณตกลงว่านับจากนี้จะเลิกอ่านในเวลาไม่กี่เดือน หมอคนนั้นจะทำงานของเขาหรือจะไม่ทำอีกเลย คุณอยากเข้ารับการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ที่ไม่คุ้นเคยกับวิธีหรือเทคนิคใหม่ล่าสุดหรอค่ะ สายงานหรือการเรียนของเราก็ไม่ต่างกันค่ะ ถ้านับจากนี้เราเลิกอ่านอีเมล รายงานหรือบันทึก หรือเลิกอ่านหนังสือเรียนที่เราได้รับมาเราก็คงมีปัญหาอย่างร้ายแรงค่ะ เราจะพลาดข้อมูลสำคัญต่างๆดังนั้นก็จะตามใครไม่ทันอีกสุดท้ายก็มีโอกาสที่จะตัดสินใจผิด สิ่งที่แปลกก็คือเราทำแบบนั้นอยู่บ่อยๆ ถ้าเราต้องซึมซับข้อมูลในปริมาณมหาศาลทุกวัน จะทำให้เราอ่านช้าเกินกว่าจะประมวลทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจำเป็นจะต้องประมูลได้อย่างครบถ้วน ผลก็คือคนส่วนใหญ่จะอ่านเอกสารแบบผ่านๆเท่านั้นหรือแม้กระทั่งข้ามเนื้อหาทั้งหมดไปเลยนั่นหมายถึงเราจะข้อพลาดมูลที่สำคัญไป
วิธี UseClark
คือการซึมซับการวิเคราะห์และการนำไปใช้มาพิจารณาสองขั้นตอนแรกอย่างการซึมซับและการวิเคราะห์กันสองขั้นตอนนี้แบ่งเป็นอีกห้าขั้นตอนซึมซับทำความเข้าใจวิเคราะห์การเก็บการเรียกมาใช้แต่ละขั้นตอนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ของมันเองเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดและออกจากคาบเกี่ยวกันวิธี UseClark จะช่วยให้เราพิจารณาแต่ละขั้นตอนเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป็นเรื่องของวิธีล้วนๆ
อุดช่องว่าง
ทำงานทีละอย่าง
ต่อจุด
ใช้สมองเยอะๆ
ใช้ภาพ
ใช้ความคิดสร้างสรรค์
อย่าเรียนรู้มากเกินไป
มีหลักการการ 6 ข้อของ UseClark ที่นำมาใช้ได้
1 เป็นเรื่องของวิธีล้วนๆ เชื่อกันมานานว่าความสามารถทางสติปัญญาของเราคือสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกวันนี้เรารู้ว่าวิธีที่เราใช้สมองมีผลอย่างมากต่อระดับความสามารถในการทำหน้าที่ของมัน พูดง่ายๆคือการใช้วิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพในการจำบางสิ่งบางอย่างเราก็จะนึกถึงไม่ค่อยออก ในภายหลังแล้วถ้าใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพเราก็จะรู้สึกว่าการถ่ายทอดข้อมูลในระยะยาวเป็นเรื่องง่าย


2 อุดช่องว่าง สมองของเราคิดเร็วกว่าที่เราอ่านหรือพูดเราจะมีพื้นที่ให้สมองคิดถึงสิ่งอื่นในระหว่างที่อ่านหรือฟังผลก็คือความคิดของเราจะฟุ้งซ่านและเราจะซึมซับข้อมูลได้ไม่ดีนัก เราสามารถเพิ่มระดับสมาธิได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งนักด้วยการอุดช่องว่างโดยซึมซับข้อมูลให้เร็วขึ้น หรือทำสิ่งที่ไม่ต้องใช้สมองอย่างการขีดเขียนเล่น
3 ทำงานทีละอย่าง เวลาที่ทำงานใช้สมองทีละหลายๆอย่าง เราจะเห็นผลลัพธ์โดยรวมที่แย่ลงด้วยเหตุนี้เราจึงต้องทำงานทีละอย่างในระหว่างที่ประมวลผลข้อมูลให้จดจ่อกับงานทีละอย่างและอย่าสลับงานไปมาเร็วเกินไป


4 ต่อจุด การจำข้อมูลซึ่งไม่มีความหมายและแยกส่วนอยู่เดียว เป็นเรื่องที่ยากมากสมองของเราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อทำอย่างนั้นสมองมีแนวโน้มตามธรรมชาติในเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูล ด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับความรู้เดิมด้วยการมองภาพรวมหรือไม่ก็ด้วยกันจัดโครงสร้างข้อมูล พูดอีกแบบก็คือเราจะไม่จำจุดแต่ละจุด เพื่อประกอบภาพรวมที่มีความเชื่อมโยงกันเราจะจำมันได้อย่างชัดเจนมากขึ้นยิ่งใช้สมองทำอย่างนี้เยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดีค่ะ
5 ใช้สมองเยอะๆ การบันทึกหรือการทบทวนข้อมูลแบบเรื่อยเปื่อยทำให้เสียเวลาและเกิดผลน้อยมาก เมื่อเป็นการทำงานโดยอัตโนมัติสมองจะไม่ได้ทำงานเต็มศักยภาพยิ่งต้องใช้สมองคุณยิ่งซึมซับข้อมูลได้เร็วและจำข้อมูลได้นาน ลองนำหลักการข้อนี้ไปใช้ในสัปดาห์ต่อๆไป ทบทวนข้อมูลที่คุณพบเจออย่างกระตือรือร้นและดูผลว่าจะเป็นอย่างไรในระหว่างที่อ่านเนื้อหาอย่าลืมตั้งคำถามเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอและบันทึกข้อมูลสิ่งที่เรารู้แล้วหลังอ่านจบ


6 ใช้ภาพ เราเก็บภาพไว้ในหน่วยความจำได้เป็นอย่างดี ถ้าเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพเราจะจำง่ายยิ่งขึ้นเพราะสมองประมวลข้อมูลในลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด มันจะช่วยให้สมองของเราเรียกข้อมูลมาใช้ได้ดีขึ้นในหลายๆทางด้วย อีก1ข้อดีของวิธีนี้คือรูปแบบของข้อมูลที่คุณอยากจำไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในรูปแบบใดเราก็เปลี่ยนให้เป็นภาพได้โดยใช้ความพยายามเท่าเดิม
7 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ แล้วเคยคิดว่าความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการจำ แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าไม่จริงวิธีที่ดีเยี่ยมที่ทำให้เราถ่ายทอดข้อมูลสู่สมองได้เร็วยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาจจะพูดได้ว่ามันคือกาวที่ทำให้ข้อมูลฝังแน่นอยู่ในหน่วยความจำของเรา แต่ยิ่งกว่านั้นอีกความคิดสร้างสรรค์คือส่วนประกอบสำคัญของการทำหน้าที่ของเรามันคือความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลชิ้นต่างๆเข้าด้วยกันและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ใหม่จากการเชื่อมโยงดังกล่าว


8 อย่าเรียนรู้มากเกินไป เราได้เห็นแล้วว่าเรามักจะประมวลข้อมูลพร้อมกันรวดเดียวมากเกินไปหรือพยายามซึมซับข้อมูลนานเกินไป ผลลัพธ์ก็คือสมองของเราจะทำหน้าที่ได้ไม่ดีและเราจะจำข้อมูลไม่ได้ด้วย แต่ถ้าเราแบ่งข้อมูลเป็นบล็อกสั้นๆและกระจายซึมซับและทบทวนข้อมูลระดับประสิทธิภาพจะสูงขึ้นมากทีเดียว เราจะเข้าใจข้อมูลดีขึ้นและจำได้นานขึ้นและสิ่งสำคัญที่สุดคือจะประหยัดเวลาได้มากขึ้น

อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม / มาร์ก ติกเคลาร์ เขียน ; จิรประภา ประคุณหังสิต แปล. | |
Author | ติกเคลาร์, มาร์ก |
Published | กรุงเทพฯ : อมรินทร์ฮาวทู, 2561 |
Edition | พิมพ์ครั้งที่ 2 |
Detail | 175, [4] หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม |
Subject | |
Added Author | Tigchelaar, Mark |
จิรประภา ประคุณหังสิต | |
ISBN | 9786161825478 |
Call no. | ![]() |
Facebook Comments
No related posts found