หนังสือประกอบการเรียน GEN64-132 ปรัชญา จริยศาสตร์ และวิธีคิดแบบวิพากษ์

เคยสงสัยกันมั๊ย ปรัชญา จริยศาสตร์ และการคิดแบบวิพากษ์ คืออะไร  แต่ละคำมีความหมายเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง ปรัชญา จริยศาสตร์ และการคิดแบบวิพากษ์ นี่แหละที่ทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน มีโลกทัศน์ ความคิด และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน นั่นเป็นเพราะแต่ละคนมีปรัชญาชีวิตต่างกัน  ปรัชญาจะให้คำตอบเรามากมาย ให้เรามองโลกได้หลายแบบ แลเให้ตัดสินใจเองว่าจะเลือกแบบบไหน มาเรียนรู้กันกับรายวิชา ปรัชญา จริยศาสตร์ และวิธีคิดแบบวิพากษ์ 

GEN64-132 ปรัชญา จริยศาสตร์ และวิธีคิดแบบวิพากษ์  หรือภาษาอังกฤษ ว่า Philosophy, Ethics, and Critical Thinking  ชวนน้องอ่าน หนังสือประกอบรายวิชานี้ โดยมีหนังสือหลายเล่ม ถึงแม้จะพิมพ์มาหลายปีแล้ว แต่เนื้อหาที่เป็นหลักการก็ยังคงมีคุณค่าสำหรับการประกอบการเรียนการสอนได้   

คำอธิบายรายวิชา

          รายวิชานี้ศึกษาปัญหาพื้นฐานและปัญหาทั่วไปของสังคมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ดำรงอยู่ ความรู้ ค่านิยม เหตุผล จิตใจและภาษาเพื่อให้เข้าใจความสำคัญของปรัชญาต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในส่วนของจริยศาสตร์จะมุ่งเน้นศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาทางศีลธรรมที่ให้ความสำคัญกับการรับรองความถูกและความผิดของการกระทำ และการศึกษากรอบความคิดของจริยศาสตร์เชิงปทัสถาน รวมทั้งการศึกษาหลักการและกระบวนการวิเคราะห์จากความจริงเชิงวัตถุวิสัยเพื่อนำไปสู่การใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจทั้งนี้โดยยึดหลักเหตุผล และการวิเคราะห์โดยปราศจากอคติหรือการประเมินความจริงจากหลักฐานเชิงประจักษ์

หนังสือประกอบการเรียน GEN61-142 ปรัชญา จริยศาสตร์ และวิธีคิดแบบวิพากษ์ ใช้เพื่อประกอบการเรียนหัวข้อเกี่ยวกับ ปรัชญา จริยศาสตร์ และการคิดแบบวิพากษ์ นั้นมีหลายเล่ม สามารถหยิบอ่าน หรือยืมกลับได้

1. ปรัชญา 102 ตรรกวิทยาทั่วไป

ผู้เขียน : กีรติ บุญเจือ

เนื้อหา : ให้ความหมายว่า ตรรกวิทยาคืออะไร เหตุผลในมนัส เหตุผลที่แสดงออกมา เทอม ประโยคตรรกวิทยา รูปนิรนัย เหตุผลย่อ อุปนัย เหตุผลวิบัติ การใช้เหตุผลในภาษา คุณค่าของการพิสูจน์ เทคนิคในการนิยาม ตรรกวิทยาสัญลักษณ์ ตรรกวิทยาของข้อความ ความสมเหตุสมผลของข้อความเชิงซ้อน การทดสอบความสมเหตุสมผลด้วยตารางความจริง การพิสูจน์ความสมเหตุสมผล การทดสอบโดยวิธีตลบหลัง และการประยุกต์ตรรกวิทยา           

2. ปรัชญาเบื้องต้น

เนื้อหา

ผู้เขียน : สุเมธ เมธาวิทยกูล

เนื้อหา :  ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท คือ กล่าวถึงความหมายของปรัชญา วิวัฒนาการความคิดทางปรัชญา สาขาของปรัชญา ประวัติปรัชญาตะวันตกและตะวันออกและกลุ่มต่าง ๆ อภิปรัชญาว่าด้วยทฤษฎีด้านต่าง ๆ ญาณวิทยา คุณวิทยา และปรัชญาขีวิตของคนไทย

3. ปรัชญาเบื้องต้น (ปรัชญา 101)

ผู้เขียน : บุญมี แท่นแก้ว, สถาพร มาลีเวชรพงศ์ และ ประพัฒน์ โพธิ์กลางดอน

เนื้อหา : รวบรวมเนื้อหาตั้งแต่การให้ความหมายและกำเนิดปรัชญา วิวัฒนาการแนวคิดทางปรัชญาทั้งตะวันออกและตะวันตก มีทั้งหมดรวม 8 บท คือ – บทที่ 1 ข้อความทั่วไป – บทที่ 2 วิวัฒนาการแนวคิดทางปรัชญา – บทที่ 3 ปรัชญาท้องถิ่นของไทย – บทที่ 4 อภิปรัชญา – บทที่ 5 ญาณวิทยา – บทที่ 6 จริยศาสตร์ – บทที่ 7 อิทธิพลของนักปรัชญาที่มีต่อสังคมไทย 

4. ปรัชญา

ผู้เขียน : บุญมี แท่นแก้ว

เนื้อหา :  ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา โดยครอบคลุมเรื่องปรัชญาตะวันออก  และปรัชญาตะวันตก ส่วนของปรัชญาตะวันตก มี 3 สาขา คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ และคุณวิทยา) และปรัชญาตะวันออก เน้นปรัชญาอินเดีย ปรัชญาอุปนิษัท ปรัชภควัทคีตา ปรัชญาจีน ปรัชญาพุทธศาสนามหายาน ปรัชญาญี่ปุ่น และได้รวมถึงบ่อเกิดของความคิดแของปรัชญาตะวันตก ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับตั้งแต่กำเนิดปรัชญา บ่อเกิดแห่งความคิดของปรัชญาตะวันตก จริยศาสตร์ ทฤษฎีความรู้ แนวโน้มปรัชญาร่วมสมัย และธรรมชาติของคุณธรรม

5. จริยศาสตร์ Ethics

ผู้เขียน : บุญมี แท่นแก้ว

เนื้อหา : เล่มนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของคำว่าจริยศาสตร์ บอกตั้งแต่ความหมายและขอบเขตของจริยศาสตร์ คุณค่า ประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์  จริยธรรมทั่วไป จริยธรรมศาสนาต่าง ๆ ทั้งยูดายและคริสเตียน ฮินดู พระพุทธศาสนา อิสลาม การใช้จริยธรรมในด้านต่าง ๆ รวมถึงจริยธรรมกับชีวิตของคนเรา และการฝึกปฏิบัติตนกับสังคมในชีวิตประจำวัน 

6. e-book จริยศาสตร์ (Ethics)

เนื้อหา :  ในเล่มนำเสนอหลักเกณฑ์ในการพิจารณาปัญหาว่าด้วยความดี ความชั่ว หรือเรื่องถูก ผิด ควร ไม่ควร และอุดมคติของชีวิตที่ดีไว้อย่างครอบคลุม ข้อแตกต่างจากหนังสือจริยศาสตร์เล่มอื่นๆ คือ หนังสือเล่มนี้ได้เน้นอย่างเป็นพิเศษในการวิเคราะห์ความหมาย ที่มาที่ไปเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมส่วนบุคคล กับคุณธรรมและจริยธรรมภาคสาธารณะอย่างละเอียดทุกแง่มุม โดยแสดงให้เห็น “หน้าที่ (Function) และความสัมพันธ์ในเชิงสนับสนุนกันและกันของคุณธรรมและจริยธรรมทั้งสองนั้น และได้ชี้ให้เห็นเหตุผลที่ถูกต้องว่า ทำไมสังคมจึงควรพัฒนา “คนดี” กับ “ระบบที่ดี” ควบคู่กันไป

       โดยเฉพาะใน 2 บทสุดท้าย ได้เสนอหลักคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับสังคมและปัจเจกบุคคล เสนอหลักคิดและแนวทางในการเผชิญปัญหาความขัดแย้ง ความรุนแรงทางสังคม และปัญหาการดำเนินชีวิตในยุคบริโภคนิยม ด้วยวิถีแห่งขันติธรรม วิถีแห่งสันติวิธีและวิถีแห่งอิสรภาพ โดยการประยุกต์หลักจริยศาสตร์แห่งเหตุผล จริยศาสตร์แห่งศรัทธา และจริยศาสตร์แห่งปัญญา อย่างบูรณาการกับแนวคิดของปราชญ์ร่วมสมัย

7. สารสนเทศออนไลน์

  1. ความหมายของจริยศาสตร์
  2. ลักษณะเนื้อหาและขอบเขตของจริยศาสตร์

  3. ปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของจริยศาสตร์เป็นอย่างไร?

  4. อะไรคือวิธีการในการศึกษาจริยศาสตร์?

  5. อะไรคือประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์?
  6. อะไรคือจุดหมายสูงสุดของจริยศาสตร์ ?
  7. จริยศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
  1. สาขาของปรัชญา
  2. แนวคิดทางปรัชญา
  3. ประเภทของปรัชญา
  4. ปรัชญาประยุกต์
  1. ความหมายของจริยศาสตร์

  2. วิธีการศึกษาจริยศาสตร์ 

  3. ความแตกต่างระหว่างศาสนาและจริยศาสตร์

  4. การประยุกต์ใช้จริยศาสตร์

  5. ตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่นำจริยศาสตร์มาใช้ประกอบในการพิจารณา

  • อุปนิสัยที่ 1 มีความมุ่งมั่น

  • อุปนิสัยที่ 2 หมั่นใคร่ครวญ

  • อุปนิสัยที่ 3 รักการปรับตัว

  • อุปนิสัยที่4 ใส่ใจในการสื่อสาร

  • อุปนิสัยที่ 5 ความคิดเชื่อมโยง

  • อุปนิสัยที่ 6 รักการทำงานเป็นทีม 

  • อุปนิสัยที่ 7 ใฝ่รู้

  • อุปนิสัยที่ 8 รักการตรวจสอบ

  • อุปนิสัยที่ 9 มีความคิดสร้างสรรค์

 

  • Critical Thinking หรือ “การคิดเชิงวิพากษ์” คือ การคิดหาเหตุและผลต่างๆ ถี่ถ้วน โดยใช้ข้อมูลรอบด้านเพื่อประเมินความถูกต้องโดยปราศจากการใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัว
    . ในศตวรรษที่ 21 นี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรมใหม่จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนความท้าทายใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน กระบวนการคิดแบบนี้จึงเป็นทักษะที่สำคัญเพราะจะทำให้เราสามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นกลางและถูกต้องที่สุด
    . การพัฒนาทักษะดังกล่าว ทำได้โดยการช่างสังเกตุ รู้จักสืบค้นข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรับฟังมองจากมุมต่าง และเรียนรู้อยู่เสมอเพื่อให้เราเข้าในสถานการณ์และเห็นภาพรวมในมุมที่กว้างขึ้น
    . การจดบันทึก จะทำให้เราเกิดกระบวนการคิดไตร่ตรองในสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและเกิดการฝึกการประมวลผลจากสิ่งเล็กน้อย เช่น อะไรคือสิ่งที่เราเรียนรู้ในวันนี้ เพราะเหตุใดจึงเกิดปัญหา หรือ ความสำเร็จ และหากย้อนเวลาได้เราจะทำอะไร และสุดท้ายการตั้งคำถามสมมติฐานเพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในบริบทต่างๆ ในข้อจำกัด หรือเงื่อนไขต่างๆ เพื่อทำให้เราเห็นความเป็นไปได้ที่มากขึ้น เช่น หากคุณเป็น CEO คุณจะทำอะไรเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร และเพราะอะไร
    .
    .การคิดเชิงวิพากษ์นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจแล้วนั้นยังสามารถช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีขึ้นและรอบคอบมากขึ้น แต่การคิดเก่งอย่างเดียวคงยังไม่พอ เรายังต้องสามารถสื่อสารความคิดนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

แนะนำรายวิชา GEN61-142 ปรัชญา จริยศาสตร์ และวิธีคิดแบบวิพากษ์ ผ่านการเรียนออนไลน์กับ Thai MOOC
คลิปสรุป การเรียน GEN61-142 ปรัชญา จริยศาสตร์ และวิธีคิดแบบวิพากษ์ คลิกดูได้เลย

Hits: 881

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกดแชร์ด้วยนะคะ

Facebook Comments

facebook comments

Back To Top